• Tidak ada hasil yang ditemukan

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.2 วิพากษ์รูปแบบ

ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่ม วิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มนโยบายและแผน ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และครู

โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จ านวน 9 คน โดยใช้บันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อรวบรวมความ คิดเห็นโดยอิสระของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus group) ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom จดบันทึก และบันทึกเสียงการสนทนากลุ่มเพื่อน ามาปรับปรุงแก้ไข ร่างรูปแบบการบริหารเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) สรุป ประเด็นต่าง ๆ ที่ได้จากการสนทนากลุ่มตามข้อเสนอแนะและมติของกลุ่มสนทนาส่วนใหญ่ มีดังนี้

1. นโยบายและโครงสร้างการบริหารงานวิชาการของเครือข่าย

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) สมาชิกเครือข่ายร่วมกันพิจารณาเพื่อ น านโยบายการกระจายอ านาจการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นแนวทางในการบริหาร วิชาการของโรงเรียน 2) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายน าผลจากการวิเคราะห์ SWOT มาจัดท า ยุทธศาสตร์ร่วมกัน 3) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายมีการพัฒนางานได้สอดคล้องกับนโยบายของ หน่วยงานต้นสังกัด 4) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายมีการจัดท าแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่สามารถ น าไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายมีการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตร สถานศึกษา ที่สามารถน าไปใช้ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ 6) ผู้น าและสมาชิก เครือข่ายมีการก าหนดโครงสร้างการบริหารอย่างชัดเจน 7) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายมีการ ก าหนดการวัดและประเมินผลการปฏิบัติ 8) ผู้น าและสมาชิกเครือข่ายมีการคิดริเริ่มวิธีการเพื่อใช้

ในการปรับปรุงการท างานให้ดีขึ้น 9) ผู้น าเครือข่ายก าหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อให้การปฏิบัติบรรลุตามเป้าหมาย 10) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้

นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ 11) ก าหนดแนวการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบรวมช่วงชั้นและ แบบคละชั้นเพื่อแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้น 12) การวัดและประเมินผลการจัดการศึกษาอย่าง หลากหลายตรงตามมาตรฐาน และ13) การจัดระบบ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้

14) เครือข่ายตรวจสอบคุณภาพและประเมินภายในสถานศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้อง

2. ความร่วมมือของเครือข่ายในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียน จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) บุคลากรของสถานศึกษาสร้าง เครือข่ายการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 2) ครูและบุคลากรของสถานศึกษามีส่วนร่วมใน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) ครูและบุคลากรบริหารจัดการเครือข่ายทางวิชาการโดยใช้

หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) ครูและบุคลากรส่งเสริมการมีส่วนร่วมการนิเทศแบบเพื่อนช่วย เพื่อน 5) สมาชิกเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความ สนใจของผู้เรียน 6) สมาชิกเครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียน และการวิจัย 7) สมาชิกเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 8) สมาชิกเครือข่ายได้รับการอบรมนิเทศการเรียนการสอน 9) สมาชิกเครือข่ายสามารถจัดระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่ฯ ได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง 10) สมาชิกเครือข่ายมีการน าผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และ11) สมาชิกเครือข่ายน าผล การนิเทศการศึกษาไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และจัดท ารายงาน

3. การจัดการทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) สมาชิกเครือข่ายมีการพัฒนา ปรับปรุงสถานศึกษาให้สอดคล้องหลักการบริหารและการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2) ผู้น าเครือข่าย เปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารทรัพยากรและการด าเนินงาน ตามแผน 3) ผู้น าเครือข่ายเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และประเมินผล 4) ผู้น าเครือข่ายเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด 5) ผู้น าเครือข่ายและสมาชิกร่วมกันก าหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การใช้

ทรัพยากรร่วมกันของเครือข่าย และ 6) การปรับโครงสร้างและพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับ บริบทและสภาพการขาดแคลนครู

4. การธ ารงรักษาเครือข่าย

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม 2) การจัดกิจกรรมร่วมกันภายในเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 3) ผู้น าเครือข่าย มีการจัดหาทรัพยากรสนับสนุนอย่างพอเพียง 4) ผู้น าเครือข่ายให้ความช่วยเหลือและช่วย แก้ปัญหาให้กับสมาชิก และ 5) การสร้างผู้น ารุ่นใหม่เพื่อให้การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทาง วิชาการมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

5. บรรยากาศแห่งความเสมอภาคและแรงจูงใจในการท างานร่วมกันของ สมาชิก

จากการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) บรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้

ร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย 2) เปิดโอกาสให้สมาชิกเรียนรู้และมีแนวคิดหรือทักษะใหม่ ๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการท างาน 3) มีการท างานที่สมดุลระหว่างการท างานตามกฎเกณฑ์

และความอิสระในการพัฒนา 4) ความยืดหยุ่นในการสนองตอบความต้องการของสมาชิก เครือข่าย 5) ให้สมาชิกได้มีโอกาสในการท างานอย่างเหมาะสม เพียงพอ 6) สมาชิกทุกคนมีความ เสมอภาคกัน 7) สมาชิกเครือข่ายได้มีขวัญก าลังใจ และความพึงพอใจการปฏิบัติงานร่วมกัน 8) มีการก าหนดกลไกเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิก 9) สมาชิกเครือข่ายมีความสัมพันธ์กันอย่าง เป็นกัลยาณมิตร 10) สมาชิกเครือข่ายให้เกียรติในการยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 11) มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของสมาชิกเครือข่าย 12) เครือข่ายมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมโดย ปราศจากความขัดแย้ง 13) มีการเสริมสร้างกิจกรรมและเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่าย 14) บรรยากาศแบบพลังเกื้อกูล สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นลักษณะที่ดีของการท างาน เป็นทีม และ15) การสร้างเครือข่าย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสานความร่วมมือในการ ด าเนินกิจกรรมด้วยความ

6. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) การวางแผนและการจัดข้อมูล สารสนเทศอย่างเป็นระบบ 2) สมาชิกเครือข่ายสามารถจัดท าสารสนเทศผลการประเมินคุณภาพ ภายในสถานศึกษา 3) การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ การศึกษา 4) การใช้เทคโนโลยีเพื่อออกแบบระบบข้อมูลพื้นฐานด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและ ด้านผลผลิตการเรียนรู้ 5) การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อ านวยความสะดวกที่เอื้อต่อการด าเนินงานของ โรงเรียน 6) สนับสนุนการให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีการศึกษาค้นคว้าและจัดท าโครงงาน 7) จัดท า เว็บไซต์เครือข่ายโรงเรียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย 8) การใช้

เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างกลุ่มสังคม (Social media) ในการบริหารจัดการศึกษาของสมาชิก เครือข่ายในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ 9) เครือข่ายมีทักษะในการใช้นวัตกรรมและ สื่อการสอนที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

7. การระดมทรัพยากร

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) สถานศึกษามีวิธีการระดมทรัพยากร และปัจจัยต่าง ๆในรูปแบบที่เหมาะสม 2) การผสมผสานองค์ประกอบในการใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ให้ประสบความส าเร็จ 3) การสร้างความตระหนักถึงความร่วมมือในการระดมทรัพยากรร่วมกัน 4) การประชุมวางแผนร่วมกันกับชุมชนและสมาชิกเครือข่ายในการระดมเงิน หรือหาแหล่งทุน 5) การแสวงหา และรวบรวมแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน 6) การหารายได้จากการ ให้บริการทางด้านวิชาการให้กับชุมชนและหน่วยงาน 7) การเชิญผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่สมาชิกเครือข่าย 8) การจัดท าแผนการระดมทรัพยากร ทางการศึกษาตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ และ 9) สมาชิกเครือข่ายร่วมกันจัดหา และพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

8. การมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการวัดและประเมินผลผู้เรียน

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) การพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิด แก้ปัญหาและทักษะชีวิต 2) สมาชิกเครือข่ายร่วมกันสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลกิจกรรม พัฒนาของเรียนรู้ 3) สมาชิกเครือข่ายร่วมกันสร้างแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียน และ 4) สมาชิกเครือข่ายร่วมกันสร้างแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียนของ ผู้เรียน

9. ภาวะผู้น าทางวิชาการของผู้บริหารเครือข่าย

จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า องค์ประกอบ การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการสรุปได้ ดังนี้ 1) ผู้บริหารเครือข่ายมีภาวะผู้น า ความคิดกว้างไกล และมีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ 2) ผู้บริหารมีความตั้งใจและความเชื่อมั่นใน การน าเสนอแนวคิดเพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน 3) ผู้บริหาร ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนางานด้านวิชาการ และน าไปใช้ในทางปฏิบัติ 4) ผู้บริหารสร้างความเชื่อมั่น ว่าโครงการและกิจกรรมของโรงเรียนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา 5) ผู้บริหารใช้ผลการวิจัยและผลการปฏิบัติทางการศึกษามาใช้ในการออกแบบกิจกรรมและ โครงการของโรงเรียน 6) ผู้บริหารมีการวางแผนและปฏิบัติงานวิชาการร่วมกับครู 7) ผู้บริหารและ ครูร่วมกันประเมินผลโครงการกิจกรรมทางวิชาการ 8) ผู้บริหารให้การสนับสนุนและช่วยเหลือครู

ในการจัดกิจกรรมทางวิชาการ 9) ผู้บริหารประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการของครู และ