• Tidak ada hasil yang ditemukan

สถิติที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบถาม

บทที่ 2

2. สถิติที่ใช้หาคุณภาพของแบบสอบถาม

2.1 สถิติที่ใช้ในการทดสอบความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2545) มีสูตรการคํานวณดังนี้

เมื่อ  แทน สัมประสิทธิ์แอลฟา

K แทน จํานวนข้อคําถาม

แทน ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ S12 แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม

3. การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Analysis)

3.1 สถิติ t-Test for Independent sample ทดสอบความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2544)สูตรที่หาค่า t มีสูตรดังนี้

กรณีที่ความแปรปรวนของทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน 𝑡 = 𝑥̅̅̅̅− 𝑥1 ̅̅̅̅2

√𝑠𝑝2[1

𝑛1+1

𝑛2]

กรณีความแปรปรวนของทั้ง 2 กลุ่มเท่ากัน

𝑡 = 𝑥̅̅̅ − 𝑥1 ̅̅̅2

√(𝑛1 − 1)𝑠12 + (𝑛2 − 1)𝑠22

𝑛1 + 𝑛2 − 2 [1

𝑛1 + 1 𝑛2] เมื่อ t แทน df = n1 + n2 - 2

X1, X2 แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตามลําดับ S12, S22 แทน ความแปรปรวนของคะแนนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตามลําดับ n1, n2 แทน จํานวนคะแนนของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ตามลําดับ

3.2 สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) โดยจะทํา การทดสอบความแปรปรวนจากตาราง Homogeneity of Variances ถ้าพบควาแปรปรวนเท่ากัน ทุกกลุ่มจะทดสอบความแตกต่างด้วย F-test และถ้าความแปรปรวนไม่เท่ากันทุกกลุ่มจะทดสอบ ความแตกต่างด้วย Brown-Forsythe

กรณีความแปรปรวนเท่ากันทุกกลุ่ม F = MS(B)

MS(W)

เมื่อ F แทน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณา F-distribution

MS(B) แทน ค่าประมาณของความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม MS(W) แทน ค่าประมาณของความแปรปรวนภายในกลุ่ม กรณีความแปรปรวนไม่เท่ากันทุกกลุ่ม

𝛽 = MSB

MSW

เมื่อ 𝛽 แทน ค่าสถิติที่ใช้พิจารณาใน Brown–Forsythe MSB แทน ค่าความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม

MSW แทน ค่าความแปรปรวนภายในกลุ่มสําหรับสถิติ Brown–Forsythe 3.3 สถิติการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม (dependent variable) หนึ่งตัว แปรกับตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ซึ่งเป็นสถิติที่ใช้ในการ ทดสอบสมมติฐาน หากทราบค่าตัวแปรหนึ่งก็จะทํานายอีกตัวแปรหนึ่งได้ สามารถเขียนให้อยู่ใน สมการเชิงเส้นตรงรูปแบบคะแนนดิบได้ดังนี้ (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546)

𝑌̂ = 𝑎 + 𝑏1 𝑥1 + 𝑏2 𝑥2…+𝑏𝑘 𝑥𝑘 เมื่อ 𝑌̂ แทน คะแนนพยากรณ์ของตัวแปรตาม

เมื่อ 𝑎 แทน ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ

เมื่อ 𝑏1…𝑏𝑘 แทน นํ้าหนักคะแนนหรือสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ ตัวที่ 1 ถึงตัวที่ k ตามลําดับ

เมื่อ 𝑥1…𝑥𝑘 แทน คะแนนตัวแปรอิสระตัวที่ 1 ถึงตัวที่ k เมื่อ 𝑘 แทน จํานวนตัวแปรอิสระ

การวิเคราะห์เชิงถดถอยเชิงพหุคูณมีเงื่อนไขที่สําคัญ คือ

1. ตัวแปรอิสระ (X) และตัวแปรตาม (Y) ต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) หรือ ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous Variable) หรือมีระดับการวัดเป็น Interval หรือ Ratio Scale ในกรณีที่ตัวแปรอิสระ (X) บางตัวมีระดับการวัดเป็น Nominal หรือ Ordinal Scale จะต้องแปลงข้อมูลให้ เป็นตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) คือ มีค่า 0 กับ 1 จึงจะ นําไปวิเคราะห์และตัวแปรหุ่นไม่ควรจะมีหลายตัว เพราะจะทําให้เกิดความคลาดเคลื่อนมากขึ้น

2. ตัวแปรอิสระแต่ละตัวมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับตัวแปรตาม

3. ตัวแปรอิสระไม่ควรมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่ควรเกิน0.7) ในกรณีการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณเพราะจะทําให้เกิด

Multicollinearity คือ การที่ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กันมากซึ่งจะมีผลกระทบทําให้ค่า สัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (𝑅2) สูงเกินความเป็นจริง

4. การแจกแจงของตัวแปรตามเป็นแบบโค้งปกติ (Normal Distribution) ที่ทุกค่าของ X