• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย

การวิจัยเรื่องผลของการใช้โปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการ ทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อความวิตกกังวลของบุคคลวัยท างานครั้งนี้ เป็น การวิจัยเชิงปริมาณแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติ

ระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในกลุ่มบุคคลวัย ท างานที่มีความวิตกกังวลแบบติดตัว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลวัยท างานทั่วไป ในประเทศไทย ที่มีอายุอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20-59 ปี และมีคะแนนบ่งชี้ถึงความวิตกกังวล (ได้

คะแนน 21-60 คะแนน หลังการท าแบบวัดความวิตกกังวลแบบติดตัวส าหรับผู้ใหญ่ (Trait anxiety inventory, STAI form Y-2) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย) จ านวนทั้งหมด 30 คน (เพศชาย 8 คน และ เพศหญิง 22 คน) หลังสิ้นสุดกระบวนการวิจัยแล้ว คงเหลือที่จ านวน 27 คน (เพศชาย 8 คน และ เพศหญิง19 คน) ได้แก่ กลุ่มควบคุม 9 คน กลุ่มทดลองที่เข้าโปรแกรมการฝึกโยคะแบบสร้างสติ

ระลึกรู้ 9 คน และกลุ่มทดลองที่เข้าโปรแกรมการฝึกโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบาง ประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม 9 คน

โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบวัดความวิตกกังวลแบบติดตัว ส าหรับผู้ใหญ่ฉบับแปลเป็นภาษาไทย 2) โปรแกรมการฝึกโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ 3) โปรแกรม การฝึกโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและ พฤติกรรม จากนั้นน าข้อมูลมาท าการวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ

ทดสอบแบบ Friedman สถิติทดสอบแบบ Wilcoxon signed-rank และสถิติทดสอบแบบ Kruskal-wallis

โดยสามารถสรุปผลการวิจัยในเรื่องผลของการใช้โปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้

ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่มีต่อความวิตกกังวลแบบ ติดตัวของบุคคลวัยท างานว่า สามารถเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษาที่ได้เคยมีอย่างประสบ ผลส าเร็จ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ระบุเอาไว้ในเบื้องต้น กล่าวคือ สามารถแสดงประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และโปรแกรม โยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมใน

กลุ่มบุคคลวัยท างานที่มีความวิตกกังวลแบบติดตัวได้ รวมทั้งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่

ได้คาดหวังไว้ โดยสมมติฐานการวิจัย มีดังนี้

1. กลุ่มทดลองในโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ ภายหลังการเข้าโปรแกรมโยคะ แบบสร้างสติระลึกรู้ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ คะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวจะลดลง เมื่อเทียบกับคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวก่อนการเข้าโปรแกรม

2. หลังการเข้าโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ กลุ่ม ทดลองในโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ จะมีคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวที่ลดลง มากกว่ากลุ่มควบคุม

3. กลุ่มทดลองในโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการ ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ภายหลังการเข้าโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับ เทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์

คะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวจะลดลงเมื่อเทียบกับคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวก่อน การเข้าโปรแกรม

4. หลังการเข้าโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการ ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองในโปรแกรมโยคะ แบบสร้างสติระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมจะมี

ค ะ แ น น ค ว า ม วิ ต ก กั ง ว ล แ บ บ ติ ด ตั ว ที่ ล ด ล ง ม า ก ก ว่ า ก ลุ่ ม ค ว บ คุ ม

ผู้วิจัยท าการแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ จ าแนกตามกลุ่มควบคุม และ กลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ท าการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ยพิสัย ค่า ผลต่างค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ ยังท าการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์ ด้วยสถิติ

ทดสอบแบบ Friedman สถิติทดสอบแบบ Wilcoxon signed-rank และสถิติทดสอบแบบ Kruskal-wallis

ผลการแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สรุปได้ว่า บุคคลที่เข้าร่วมโปรแกรมส่วน ใหญ่เป็นเพศหญิง

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ยพิสัย และผลต่าง ค่าเฉลี่ยคะแนน สามารถแสดงได้ว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวของกลุ่ม ทดลองทั้งสองกลุ่ม ต ่ากว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวของกลุ่มควบคุม โดย พิจารณาผลต่างค่าเฉลี่ยช่วงคะแนน ช่วงหลังจบโปรแกรม และระยะติดตามผล ที่พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม ทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลลดลง โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลอง กับหลังจบโปรแกรม และค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองกับระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ โดยพบว่า กลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวลสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อน ามาวิเคราะห์ด้วย สถิติทดสอบแบบ Kruskal-wallis พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติระหว่าง กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งในช่วงหลังจบโปรแกรม และช่วงระยะติดตามผล

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลแบบ ติดตัว ใน 3 ช่วงเวลา คือ ก่อนการทดลอง หลังจบโปรแกรม และระยะติดตามผล พบความ แตกต่างกัน กล่าวคือ คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลแบบติดตัวก่อนการทดลองกับหลังจบโปรแกรม และระยะติดตามผลของทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้และกลุ่มโยคะแบบสร้างสติ

ระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ต่างมีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยส าคัญ จึงได้น าไปทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่เป็นการวิเคราะห์ในล าดับถัดไป

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบรายคู่ส าหรับค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลแบบ ติดตัว ที่มีความแตกต่างกัน พบว่า ทั้งกลุ่มโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และกลุ่มโยคะแบบสร้างสติ

ระลึกรู้ร่วมกับเทคนิคบางประการทางการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ในช่วงก่อนการ ทดลองกับหลังจบโปรแกรม และในช่วงก่อนการทดลองกับระยะติดตามผล ต่างมีความแตกต่าง กันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

อภิปรายผลการวิจัย

สามารถอภิปรายผลการวิจัยตามสมมุติฐานการวิจัย ได้ดังต่อไปนี้

สมมติฐานการวิจัยที่ 1 กลุ่มทดลองในโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ ภายหลังการ เข้าโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ คะแนนความวิตกกังวล แบบติดตัวจะลดลงเมื่อเทียบกับคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวก่อนการเข้าโปรแกรม

จากผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่ผู้เข้าทดลองได้เข้ารับโปรแกรมการฝึกโยคะแบบ สร้างสติระลึกรู้แล้ว การเข้าฝึกได้ส่งผลถึงคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวที่ลดลงภายหลังการ เข้ารับโปรแกรมการฝึก และระยะติดตามผลหลังการเข้าฝึก 4 สัปดาห์ โดยโปรแกรมมีความ แตกต่างกันในกลุ่ม ในทั้ง 3 ช่วงเวลาอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงโดยผลการ ทดสอบแบบ Friedman

โดยผลการวิจัยนี้ เป็นการสนับสนุนสมมติฐานการวิจัยที่ 1 โดยมีความสอดคล้อง กับการศึกษาแบบน าร่องที่มุ่งเน้นในเรื่องรูปแบบของโปรแกรมการฝึกโยคะ เป็นการศึกษา เปรียบเทียบผลจากการฝึกหฐโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ในรูปแบบการปฏิบัติสมาธิภาวนา กับผล จากการฝึกโยคะในรูปแบบวินยาสะแบบใช้พลัง (Power- Vinyasa yoga) ที่มีต่อความเครียดทั้ง ต่อร่างกายและต่อจิตใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างจ านวน 13 คน ได้ท าการทดสอบระดับคอร์

ติซอลในน ้าลายเพื่อตรวจสอบระดับความเครียดทางร่างกาย ใช้แบบวัดความวิตกกังวลส าหรับ ผู้ใหญ่ทั้งแบบติดตัวและแบบเผชิญสถานการณ์ (State-Trait Anxiety Inventory หรือ STAI) ส าหรับวัดความเครียด และความวิตกกังวลทางจิตใจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ได้เข้ารับโปรแกรม ฝึกหฐโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ที่มีการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยนั้น ระดับความเครียดทางร่างกาย และความเครียด ความวิตกกังวลทางจิตใจได้ลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ฝึกวินยาสะโยคะแบบใช้พลัง ที่ไม่มีการลดลงของความเครียดและความวิตกกังวลอย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติ (Marshall, McClanahan, McArthur Warren, Rogers, & Ballmann, 2020) สมมติฐานการวิจัยที่ 2 หลังการเข้าโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ และระยะติดตาม ผล 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองในโปรแกรมโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้ จะมีคะแนนความวิตกกังวลแบบ ติดตัวที่ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม

จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อท าการเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลแบบติดตัวของ กลุ่มโปรแกรมการฝึกโยคะแบบสร้างสติระลึกรู้กับกลุ่มควบคุม คะแนนกลุ่มโปรแกรมโยคะแบบ สร้างสติระลึกรู้ลดลงมากกว่าคะแนนกลุ่มควบคุม ซึ่งสามารถอธิบายจากการเปรียบเทียบคะแนน ก่อนการทดลองกับหลังจบโปรแกรม และคะแนนก่อนการทดลองกับระยะติดตามผลที่พบว่า ใน