• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปเอกลักษณ์เฉพาะของโครงสร้างทุนจิตวิทยาเชิงบวก

เชิงบวก

ทิศทาง การวัด

ขอบเขตนิยาม การรับรู้

ความสามารถ ของตนเอง

ปัจจุบัน และ ต่อเนื่องถึงอนาคต

เชื่อมั่นในตนเอง ว่าเป็นผู้มีความสามารถที่จะท าให้

ส าเร็จในงานที่มีความท้าทาย ตั้งใจ และพยายาม ที่จะบรรลุเป้าหมาย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความหวัง อนาคต พลังจูงใจทางบวกที่สร้างและสนับสนุนว่าตนเอง

มีหนทางที่น าไปสู่ความส าเร็จ เมื่อพบอุปสรรค ก็สามารถหาหนทางอื่น ๆ เพื่อน าไปสู่ความส าเร็จ ในอนาคตได้

การมองโลกในแง่ดี อนาคต ลักษณะวิธีการคิดที่นึกถึงแต่ด้านดีเสมอเกี่ยวกับการ ท างาน คิดว่าเหตุการณ์ที่ไม่ดีจะไม่มีผลกระทบต่อ การท างานของตนเอง เป็นสิ่งที่อยู่ชั่วคราว มีมุมมองทางบวกต่อการท างาน ไม่โทษหรือต าหนิ

ตนเอง มองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป ความหยุ่นตัว อดีตที่ผ่านมา

และปัจจุบัน

ความสามารถในการปรับสภาพจิตใจให้กลับคืนเป็น ปกติ และสามารถท างานได้ดีเหมือนเดิมในปัจจุบัน ภายหลังประสบกับปัญหาอุปสรรคที่มาคุกคาม สามารถใช้ประสบการณ์ความยากล าบากที่เคย ประสบมาปรับใช้เพื่อปรับสภาพจิตใจเมื่อพบเจอ กับเหตุการณ์ไม่ดีอีก

ที่มา: ปรับปรุงมาจาก ณัฐวุฒิ อรินทร์ (2555) และกร็อบเลอร์และจูเบิร์ต (Grobler, &

Joubert, 2018)

จากองค์ประกอบของทุนจิตวิทยาเชิงบวก พบว่า องค์ประกอบที่ส าคัญของทุน จิตวิทยาเชิงบวก ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี

และความหยุ่นตัว โดยควรให้ความสนใจทั้งสี่ตัวแปรนี้ร่วมกัน มากกว่าสนใจตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง 2.4 การพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวก

ส าหรับการพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวก (Psychological Capital Intervention: PCI) ทุนจิตวิทยาเป็นตัวแปรที่สามารถพัฒนาได้ เพราะมีลักษณะเป็นสภาวะ สามารถแปรเปลี่ยนได้

ตามสภาพแวดล้อม พบว่า มีลักษณะการพัฒนาในแต่ละตัวแปร ทั้งการพัฒนาความหวัง การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง การพัฒนาการมองโลกในแง่ดี และการพัฒนาความ หยุ่นตัว (Luthan et al., 2010) ดังนี้

2.4.1 การพัฒนาความหวัง

เนื่องจากความหวัง ประกอบด้วย 1) การก าหนดเป้าหมายอย่างมีพลัง (Agency) และ 2) การวางแผนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย (Pathways) ดังนั้น การพัฒนาความหวัง ใช้วิธีการ 3 วิธีการตามกรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นเป้าหมาย ได้แก่ การออกแบบเป้าหมาย การสร้าง หนทาง และการเอาชนะปัญหาอุปสรรค

การพัฒนาความหวังในระดับบุคคล (ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจ านวน ผู้เข้าร่วมวิจัย และการใช้แบบฝึกหัด/วิดีโอคลิป) เริ่มต้นด้วยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยระบุเป้าหมายส่วน บุคคลที่จะต้องน ามาใช้ตลอดการพัฒนาในครั้งนี้ เมื่อมีการบันทึกเป้าหมายแล้ว ผู้อ านวยความ สะดวกจะอธิบายการออกแบบเป้าหมายในอนาคต ได้แก่ 1) สร้างจุดสิ้นสุดเพื่อวัดความส าเร็จ 2) กรอบแนวคิดจะต้องให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย มากกว่าการหลีกหนีจาก เป้าหมายที่ปรารถนา เช่น ท างานเพื่อเป้าหมายเชิงคุณภาพ แทนที่ด้วยการหลีกเลี่ยงการปฏิเสธ ผลิตภัณฑ์) และ 3) ความส าคัญของการระบุเป้าหมายย่อย ๆ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการ เอาชนะสิ่งเล็กน้อยก่อน

หลังจากก าหนดเป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไปคือ ค้นหาวิธีการหรือหนทางไปสู่

เป้าหมาย โดยเริ่มที่ 1) ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยสร้างวิธีการที่หลากหลายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย โดย สนับสนุนให้เกิดการระดมสมองเพื่อหาทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ 2) ตั้งกลุ่มย่อยเพื่อให้

ผู้เข้าร่วมวิจัยได้ยินค าบอกเล่าเกี่ยวกับวิธีการที่เป็นไปได้ของสมาชิกกลุ่มที่มีต่อเป้าหมาย และ 3) แจกแจงวิธีการต่าง ๆ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาแหล่งทรัพยากรที่ใช้เพื่อท า ให้วิธีการนั้นลุล่วง หลังจากคิดรอบคอบ วิธีการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงจะถูกขจัดออก และจะได้จ านวนวิธีการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางไม่ให้ไปสู่เป้าหมาย ในขั้นสุดท้าย ของการพัฒนาความหวัง คือ สร้างกระบวนการตั้งเป้าหมายของผู้เข้าร่วมวิจัยและความสามารถที่

มุ่งหวังจะเอาชนะอุปสรรค ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับค าชี้แนะให้พิจารณาถึงอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หรือ

“อะไรที่ท าให้คุณไปไม่ให้เป้าหมาย?” หลังจากการสะท้อนตนเอง ตั้งกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้ยินค าบอก เล่าเกี่ยวกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นและวิธีการในการเอาชนะอุปสรรคนั้น ผู้อ านวยความสะดวก จะมุ่งเน้นการน ากระบวนการนี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อระบุอุปสรรค และเลือกวิธีการหรือหนทาง เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกขัดขวางจากอุปสรรคนั้น

เมื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาความหวัง ผู้เข้าร่วมวิจัยมีการนิยามเป้าหมาย ส่วนบุคคลได้ มีการเตรียมตัวส าหรับอุปสรรค และมีความพร้อมส าหรับการน าวิธีการต่าง ๆ ไปปฏิบัติซึ่งเป็นการวางแผนในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ตลอดกระบวนการพัฒนา ผู้อ านวยความสะดวก พยายามยอมรับและสนับสนุนการพูดคุยกับตนเองในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ มุ่งเน้นการ ตั้งเป้าหมาย การสร้างวิธีการ และการเอาชนะอุปสรรค ว่าเป็นกระบวนการที่สามารถประยุกต์ใช้

กับเป้าหมายของผู้เข้าร่วมวิจัยในสถานที่ท างานได้ นั่นคือ แสดงถึงความสามารถในการถ่ายโยง เข้าสู่การท างาน

2.4.2 การพัฒนาการมองโลกในแง่ดี

แนวคิดการมองโลกในแง่ดี มาจากแนวคิดความคาดหวัง-คุณค่า และรูปแบบ วิธีการอธิบายเชิงบวก โดยการมองโลกในแง่ดีที่ตรงกับความเป็นจริง ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องการ โดย สามารถสร้างการมองโลกในแง่ดี โดยการพัฒนาการมองโลกในแง่ดี จะเกิดขึ้นหลังจากการฝึกฝน การรับรู้ความสามารถของตนเอง นอกจากนี้ การพัฒนาความหวังสามารถเกิดผลที่ดีต่อการ พัฒนาการมองโลกในแง่ดี ยกตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมวิจัยในเหตุการณ์ที่ไม่ดี โดยคาดหวังอุปสรรค ที่จะเกิดขึ้น และสร้างวิธีการทางเลือกอื่น ๆ เพื่อลดผลกระทบ จากกระบวนการของการเตรียมตัว ส าหรับอุปสรรคเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา บุคคลที่มองโลกในแง่ร้ายจะมองไม่เห็นทางเลือกอื่น ส าหรับการคาดหวังว่ามีสิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น เหตุการณ์ในกรณีที่แย่ที่สุด จะคาดหวังและเตรียมตัว ในเชิงรุก กระบวนการของการตอบโต้การมองดลกในแง่ร้ายจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการมอง โลกในแง่ดีที่ตรงกับความเป็นจริง รวมทั้งพัฒนาความคาดหวัง ซึ่งเสริมแรงได้ด้วยการพูดกับ ตนเองในเชิงบวก

2.4.3 การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง

แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีฐานมาจากแบนดูรา (Bandura, 1997) โดยกระบวนการสร้างการรับรู้ความสามารถหรือความมั่นใจ ใช้แหล่งการรับรู้ความสามารถ ของตนเอง ประกอบด้วย ประสบการณ์ที่ส าเร็จ การใช้ตัวแบบหรือการเรียนรู้จากการสังเกตผู้อื่น การชักจูงทางสังคม และการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก รวมทั้งการกระตุ้นทางสรีรวิทยาและ/หรือ จิตวิทยา

การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง ให้ความส าคัญกับบทบาทที่

มุ่งเป้าหมายในการสร้างการรับรู้ความสามารถ โดยบูรณาการกับการฝึกฝนเป้าหมายด้วยแหล่ง การรับรู้ความสามารถ ผู้อ านวยความสะดวกจะให้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้มีประสบการณ์และเป็นตัวแบบ ที่ประสบความส าเร็จ ผ่านการชักจูงทางสังคมและการกระตุ้น ซึ่งทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อบรรลุ

การตั้งเป้าหมายส่วนบุคคล กระบวนการสร้างการรับรู้ความสามารถจะดึงอารมณ์เชิงบวกและ สร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมวิจัยที่จะสร้างและน าการวางแผนไปใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ผู้อ านวยความสะดวกและผู้เข้าร่วมวิจัยคนอื่น ๆ ในกลุ่มย่อย จะท าหน้าที่

เป็นตัวแบบส าหรับกระบวนการสร้างการรับรู้ความสามารถ โดยการรับรู้ความเชี่ยวชาญของ ตัวแบบถือเป็นกุญแจส าคัญที่ช่วยก าหนดขนาดทิศทางของอิทธิพลดังกล่าว จากการพัฒนา ความหวังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยสร้างวิธีการ แหล่งทรัพยากรที่ใช้ได้เพื่อบรรลุเป้าหมาย และระบุเป้าหมายย่อยเพื่อบรรลุเป้าหมาย ซึ่งต้องมีการสร้างประสบการณ์ส าเร็จโดยตรง ความส าเร็จเกิดจากการเป็นตัวแบบของผู้เข้าร่วมวิจัยซึ่งกันและกัน ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถมองเห็น การบรรลุเป้าหมายในแต่ละขั้น อีกนัยหนึ่งคือ ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับประสบการณ์แห่งความส าเร็จ เพื่อเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง

2.4.4 การพัฒนาความหยุ่นตัว

การพัฒนาความหยุ่นตัว พิจารณา 3 สิ่งที่ส าคัญ คือ ปัจจัยสินทรัพย์ (Asset factors) ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) และกระบวนการอิทธิพล (Influence processes) โดยปัจจัย สินทรัพย์เป็นปัจจัยที่เพิ่มระดับความหยุ่นตัว (เช่น การมีบ้านมั่นคง และมีการศึกษาที่ดี) ปัจจัย เสี่ยงเป็นปัจจัยที่น าไปสู่ความหยุ่นตัวในระดับต ่า (เช่น การอยู่ในบ้านที่มีการทารุณ หรือการขาด พี่เลี้ยง) โดยทั้งสองเป็นสิ่งที่ได้รับมาช่วงอายุยังน้อย และมีความคงที่ตลอดช่วงชีวิต อย่างไรก็ตาม พบว่า ปัจจัยหยุ่นตัวสามารถจัดการได้ พัฒนาได้ และเปลี่ยนแปลงได้ วิธีการการพัฒนาที่มี

ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การเพิ่มสินทรัพย์ (เช่น สามารถท างานได้) และการหลีกเลี่ยงความ เสี่ยง หรือเหตุการณ์อันเลวร้าย