• Tidak ada hasil yang ditemukan

สื่อที่ใช้ในการวิจัยความฉลาดทางดิจิทัลด้านการรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล

สื่อที่ใช้ในการวิจัย ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ

เกมการเรียนรู้ ✓ ✓

เสวนากลุ่ม ✓ ✓

แบบทดสอบ ✓

การแสดง ✓ ✓

แบบอย่าง ✓ ✓

ท าให้สังเกตได้ว่าปัจจุบันมักมีการใช้เกมการเรียนรู้เข้ามาในการวิจัยความฉลาดใน การรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล และมีการใช้กิจกรรมเช่นการแสดง การจับกลุ่มเพื่อพัฒนา ความฉลาดในการรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัลในประเด็นแตกต่างกันไป แต่สื่อแต่ละชนิดนั้น อยู่ภายใต้ข้อจ ากัดบางอย่างที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้แก่ ข้อจ ากัดในการเรียนรู้สิ่งใหม่

ข้อจ ากัดเรื่องการให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ ข้อจ ากัดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จึงกล่าวโดย สรุปคือความฉลาดในการรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัลนั้นควรใช้สื่อหลายชนิดในการพัฒนา และพบว่าการจัดเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติด้วยสื่อหลากหลายคือการ เรียนรู้ด้วยนิทรรศการ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะออกแบบและพัฒนานิทรรศการผ่านการ จัดแสดงสื่อสองมิติ สื่อสามมิติ สื่อปฏิสัมพันธ์และกิจกรรมหลายชนิด เพื่อพัฒนาให้เกิด องค์ประกอบของความฉลาดทางดิจิทัลด้านการรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัลตามที่ก าหนดไว้

2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการมีชีวิต

นิทรรศการถูกกล่าวถึงและน ามาใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการใช้นิทรรศการสื่อสาร ให้ความรู้แก่ผู้คนมาโดยตลอดด้วยคุณสมบัติของนิทรรศการและคุณค่าของนิทรรศการต่อไปนี้ ท า ให้ยังมีการพัฒนานิทรรศการให้มีศักยภาพยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

2.1 ความหมายของนิทรรศการ

นิทรรศการนั้นถูกนักวิชาการนิยามหลากหลายโดยมีความหมายที่ใกล้เคียงกันและมี

จุดร่วมกันดังนี้

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้ให้ความหมายว่า นิทรรศการ คือ การแสดงผลงาน สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปได้ชม

พจนานุกรม Cambridge Dictionary (2562) ให้ความหมายว่า หมายถึง สถานการณ์ที่แสดงวัตถุ เช่น ภาพวาด แก่สาธารณะหรือสถานการณ์ที่บางคนแสดงทักษะหรือ สมรรถนะในที่สาธารณะ

ประเสริฐ ศีลรัตนา (2546) ได้ให้ความหมายว่า นิทรรศการ คือ การจัดสื่อหลาย อย่างในขณะเดียวกัน เช่น ของจริง หุ่นจ าลอง ภาพวาด ภาพถ่าย การสาธิต ป้ายนิเทศ ภาพ โฆษณา ปาฐกถา การฉาย การทดลอง ของแจก ของจ าหน่าย ฯลฯ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความรู้และ การชื่นชม เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งส าหรับให้ความรู้ ชักชวน จูงใจ และเร้าใจหลายรูปแบบ และหลาย เรื่องราวด้วยการแสดง

ธีรศักดิ์ อัครบวร (2539) ให้ความหมายของนิทรรศการว่า เป็นการวางแผนการ ถ่ายทอดการเรียนรู้โดยใช้โสตทัศนวัสดุ เครื่องมือโสตทัศนศึกษา และกิจกรรมโสตทัศนศึกษาอย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือผสมผสานกันอย่างมีระบบเพื่อให้ผู้ชมได้รับความรู้ ตลอดจนชัดจูงความคิดความ สนใจหรือพฤติกรรมของผู้ชมไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้จัดก าหนดไว้

ส านักงานส่งเสริมและประสานมวลชน กรมทรัพยากรน ้า (2561) ได้ให้

ความหมายของ นิทรรศการ ว่าคือการให้การศึกษาอย่างหนึ่งผ่านการแสดงให้ชม เป็นการจัด แสดงและน าโสตทัศนวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์ เช่น รูปภาพ วัสดุสามมิติ หุ่นจ าลอง ป้ายนิเทศ และ กิจกรรมอาทิ การประกวด แข่งขัน การสาธิต การอภิปราย และตอบปัญหาเป็นต้น โดยมี

จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อให้การศึกษาความรู้ความเข้าใจ เพื่อกระตุ้นความสนใจและกระตุ้นให้มี

การตอบสนองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชมให้บรรลุเป้าหมายเรื่องนั้นๆ

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (2548) ให้ความหมายว่า นิทรรศการ หมายถึงการจัดแสดง ข้อมูลเนื้อผลงานต่างๆด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กัน ในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วน

ร่วมด้วยการดู การฟัง การสังเกต การจับต้องและทดลองท าจนเกิดความรู้ความเข้าใจ จาก จุดประสงค์ของผู้จัดท าด้วยสื่อที่หลากหลายเช่น รูปภาพ ของจริง หุ่นจ าลอง ป้ายนิเทศ หรือ กิจกรรมต่างๆ อาทิการประกวด การแข่งขัน การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย การตอบปัญหา เป็นต้น

จึงกล่าวโดยสรุปจากเอกสารเหล่านี้ว่า นิทรรศการนั้น หมายถึงการจัดแสดงสื่อ หลากหลายประเภทที่มีลักษณะเฉพาะตัวได้แก่ กราฟิคสองมิติ ของสามมิติ นอกจากนั้นยังมีการ จัดกิจกรรมภายในนิทรรศการภายใต้เนื้อหาที่สัมพันธ์กัน

2.2 คุณค่าของนิทรรศการ

คุณลักษณะส าคัญของนิทรรศการคือมีการจัดแสดงสื่อหลายประเภท ด้วย คุณลักษณะดังกล่าวจึงมีนักวิชาการได้กล่าวถึงคุณค่าที่นิทรรศการมีต่อผู้ชมดังต่อไปนี้

1. นิทรรศการสามารถสร้างคุณค่าในตัวมนุษย์ได้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทรา มาสุพงศ์ (2540) ให้คุณค่าของนิทรรศการด้านนี้ว่าเพราะนิทรรศการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่

สามารถน าเสนอได้รอบด้านทั้งเนื้อหา กระบวนการใช้ความคิด การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ผ่านสื่อหลายชนิดได้แก่ สื่อกราฟิกสองมิติ สื่อสามมิติซึ่งเป็นวัตถุจ าลองหรือของจริงต่างๆ การ ผสมผสานสื่อมัลติมีเดีย กิจกรรมได้แก่การสาธิต เกม การแสดง ซึ่งเนื้อหานั้นจะถูกจดจ าได้อย่าง รวดเร็วและยืนนาน อีกทั้งนิทรรศการยังไม่จ ากัดสาขาน าเสนอเนื้อหาความรู้และหากออกแบบ อย่างมีประสิทธิภาพก็จะสามารถถ่ายทอดแม้กระทั่งเนื้อหาที่ซับซ้อนได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ประเสริฐ ศีลรัตนา (2546) ให้คุณค่าของนิทรรศการในด้านการศึกษาว่านิทรรศการท าให้เกิดสิ่ง ต่างๆในตัวมนุษย์คือ ความรู้ ทักษะ และอารมณ์ความรู้สึก นอกจากนั้นยังส่งเสริมการคิดรู้เท่าทัน กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกความเชี่ยวชาญของทักษะตามความมุ่งหมายของนิทรรศการ วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (วิวรรธน์ จันทร์เทพย์, 2548)ให้ความส าคัญในด้านการเรียนรู้ว่า นิทรรศการ เป็นอิทธิพลส าคัญที่ท าให้การท าความเข้าใจสัมฤทธิ์ผลง่ายขึ้น มีผลช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ด้านพฤติกรรม การแสดงอารมณ์ และการแสดงความรู้สึกเจตคติต่อบางสิ่งของผู้ชมได้อีกด้วย

2. นิทรรศการคือสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ดี : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทรา มาสุ

พงศ์ (2540) และ วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (2548)ให้คุณค่าว่านิทรรศการมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ที่สามารถกระตุ้นความสนใจจากผู้ชม ให้ความเข้าใจในภาพลักษณ์แก่สถาบันองค์กรได้ดี

สอดคล้องกับหลักการของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลรัตนา (2546) ที่กล่าวว่า นิทรรศการ เป็นตัวช่วยสร้างภาพลักษณ์การจดจ าในตัวสินค้า ท าให้เกิดการแข่งขันในวงการสินค้าหรือบริการ เดียวกันระหว่างสถาบันองค์กร และยังสามารถใช้เพื่อเพิ่มค่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับ

ชุมชน หรือองค์กรกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สิ่งส าคัญคือเป็นการสร้างความมั่นใจในตัวองค์กร ผ่านการถ่ายทอดความเข้าใจที่ตรงกันจากการจัดนิทรรศการ

3. นิทรรศการคือแนวทางสร้างแรงจูงใจที่ดี : ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทรา มาสุ

พงศ์ (2540) กล่าวว่าเนื่องจากมีประสิทธิในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจง่ายและฝังลึกพร้อมกับ กระตุ้นความสนใจ จึงมีผลส่งเสริมความคิดของผู้ชมไปด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ ศีลรัตนา (2546) กล่าวว่านิทรรศการสามารถสร้างประสบการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้สึกการให้

ความส าคัญของผู้ชม ก่อให้เกิดการตัดสินใจเลือกที่มีการเปลี่ยนไปตามจุดประสงค์ของผู้จัดท า สอดคล้องกับหลักการของ วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (2548) ที่กล่าวว่านิทรรศการมีการจัดแสดงด้วย สื่อที่หลากหลายกระตุ้นให้สนใจจึงสามารถตอบสนองความต้องการในตัวผู้ชมจนเกิดการรับรู้และ เปลี่ยนแปลงจากภายในได้

จึงท าให้สรุปได้ว่านิทรรศการนั้นมีบทบาทเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีศักยภาพช่วยท า ให้เกิดคุณค่าในมนุษย์คือมีการสร้างความรู้ ทัศนคติ และทักษะในตัวมนุษย์ เป็นรูปแบบการ สื่อสารข้อมูลไปยังผู้รับชมที่มีประสิทธิภาพ และสามารถดึงดูดความสนใจได้ดี

2.3 ประเภทของนิทรรศการ

นิทรรศการมีการจัดประเภทที่แตกต่างกันตามวาระและยุคสมัย และได้เพิ่มปัจจัยที่

ใช้จัดประเภทตามเทคโนโลยีที่สามารถใช้จัดนิทรรศการเข้ามาเรื่อยๆ โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา นักวิชาการได้จัดแบ่งประเภทของนิทรรศการไว้ดังนี้

ธีรศักดิ์ อัครบวร (2539) แบ่งประเภทของนิทรรศการตาม 4 ลักษณะ 1. ขนาด

1.1 จุลทรรศน์ (Display) คือ การจัดแสดงภาพหรือวัสดุเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีขนาดย่อมและมุ่งต่อเป้าหมายในพื้นที่จ ากัด มักจัดในพื้นที่เล็กๆ

1.2 นิทรรศการ (Exhibition) การจัดแสดงที่มีจุดมุ่งหมายหลากหลายใน พื้นที่กว้างขวาง อาจมีนิทรรศการขนาดเล็กหลายอย่างจัดรวมในบริเวณเดียวกัน และอาจมี

กิจกรรมอื่นๆประกอบด้วย กิจกรรมแสดงบเวที กิจกรรมตอบปัญหา กิจกรรมเล่าเรื่อง เป็นต้น 1.3 มหกรรม (Festival) หรือมหกรรม เป็นการจัดการแสดงที่มีขนาดใหญ่

มาก โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นคนทั่วโลก 2. ช่วงเวลาในการจัด

2.1 นิทรรศการถาวร คือนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเดิมไม่

เปลี่ยนแปลง มีจุดประสงค์คือเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจอย่างยืนนาน เพื่อกระตุ้นและชักจูงให้