• Tidak ada hasil yang ditemukan

เปรียบเทียบขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน

Silander & Mattila (2015) Daehler & Folsom (2016) ส านักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา (2562) 1. เลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ 1. เลือกปรากฏการณ์ที่

น่าสนใจ

1. เลือกปรากฏการณ์ที่ใช้ใน การจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2. วิเคราะห์เนื้อหาในบทเรียนที่

จะบูรณาการสอนได้

2. วิเคราะห์คุณค่าของ บทเรียน

2. การวางแผนการจัดการ เรียนรู้ (Planning) 3. วางล าดับกิจกรรม 3. วางล าดับกิจกรรม 3. การด าเนินการจัดการ

เรียนรู้ (Execution) 4. วางแผนการตรวจสอบความ

เข้าใจของผู้เรียนโดยการ น าเสนอข้อมูล

4. วางแผนการตรวจสอบ ความเข้าใจของผู้เรียน

4. การประเมิน (Evaluation)

จากตาราง 5 เปรียบเทียบขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็น ฐานที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ สามารถน ามาสรุปรวมได้ดังนี้

1. ขั้นตอนการเลือกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจของ Silander & Mattila และ Daehler & Folsom กับขั้นตอนการเลือกปรากฏการณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์

เป็นฐานของส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นขั้นตอนของการเลือกปรากฏการณ์ที่ใกล้

ตัวผู้เรียน มีความหมายต่อผู้เรียน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่มีความน่าสนใจ น่าค้นหา และ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและครูผู้สอน โดยต้องค านึงถึงธรรมชาติและช่วงวัยของผู้เรียนด้วย ทั้งนี้

ปรากฏการณ์ที่น ามาใช้อาจจะเกิดขึ้นไปแล้ว ก าลังเกิดขึ้น หรือก าลังจะเกิดขึ้นในอนาคตก็ได้

2. ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหาในบทเรียนที่จะบูรณาการสอนได้ของ Silander & Mattila ขั้นตอนการวิเคราะห์คุณค่าของบทเรียนของ Daehler & Folsom และขั้นตอน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Planning) ของส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เป็นขั้นที่

ครูผู้สอนต้องพิจารณาว่าปรากฏการณ์ที่เลือกมานั้นจะท าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจาก ปรากฏการณ์ที่ศึกษา รวมทั้งสามารถน าความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้หรือไม่

3. ขั้นตอนการวางล าดับกิจกรรมของ Silander & Mattila และ Daehler &

Folsom กับขั้นตอนการด าเนินการจัดการเรียนรู้ (Execution) ของส านักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา เป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้ปรากฏการณ์แล้ว ครูผู้สอนต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนท าความ เข้าใจปรากฏการณ์โดยการสังเกต สนทนาร่วมกับผู้เรียนคนอื่น โดยครูผู้สอนมีบทบาทในการ อ านวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม รวมทั้งให้แรงเสริมทางบวกแก่ผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมและ สนับสนุนให้ผู้เรียนแสดงความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนอยากเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้น ๆ

4. ขั้นตอนการวางแผนการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนโดยการน าเสนอ ข้อมูลของ Silander & Mattila ขั้นตอนการวางแผนการตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนของ Daehler & Folsom และขั้นตอนการประเมิน (Evaluation) ของส านักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา เป็นขั้นตอนที่สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของผู้เรียน โดยมีการประเมินระหว่างเรียนอย่าง หลากหลายและรอบด้าน ซึ่งจะท าให้ครูรู้ว่าผู้เรียนได้รับความรู้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเกิดประโยชน์ และหากผู้เรียนมีความ เข้าใจที่ผิดพลาด ครูผู้สอนเองควรจะอธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้เรียนด้วย

จากผลการสังเคราะห์ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ของ Silander & Mattila; Daehler & Folsom และส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจะเห็น ว่าขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของนักการศึกษาข้างต้นนั้นมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของส านัก วิชาการและมาตรฐานการศึกษาใน 2 ขั้นตอน คือ 1) เลือกปรากฏการณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) ใช้กระบวนการ Planning Execution Evaluation (PEE) ในการ จัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์ที่เลือกโดยแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ซึ่งมีรายละเอียด คือ การ วางแผนการจัดการเรียนรู้ (Planning) การด าเนินการจัดการเรียนรู้ (Execution) และการประเมิน (Evaluation) มาปรับใช้ในงานวิจัย เนื่องจากมีเป็นขั้นตอนที่ถูกน ามาปรับใช้ในประเทศไทยส าหรับ ในระดับโรงเรียนน าร่องและระดับประเทศในอนาคต ผู้วิจัยจึงน าขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐานของส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษามาเป็นกรอบในการสร้างขั้นตอน ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานของผู้วิจัยเองออกเป็น 4 ขั้นตอนได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นเลือกปรากฏการณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนให้นักเรียน ร่วมกันเรียนรู้จากปรากฏการณ์ที่ใกล้ตัวและมีความส าคัญต่อการใช้ชีวิตประจ าวัน โดยเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตามบริบทของท้องถิ่นหรือชุมชนที่นักเรียนอาศัยได้

ขั้นที่ 2 ขั้นการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันออกแบบ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน สามารถน าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ร่วมกันศึกษามาแลกเปลี่ยนองค์

ความรู้อย่างอิสระและน าไปสู่การต่อยอดได้

ขั้นที่ 3 ขั้นการด าเนินการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนเปิดโอกกาสให้นักเรียนท าความ เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ผ่านการสังเกต สนทนาร่วมกัน อภิปรายและตั้งประเด็นค าถามที่เรียนรู้

ร่วมกันได้ ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้น ๆ ได้อย่างมีความหมาย ขั้นที่ 4 ขั้นการประเมินการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนประเมินความรู้ความเข้าใจของ นักเรียน ซึ่งประเมินได้จากการที่นักเรียนรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์

ต่าง ๆ ในชั้นเรียนมาปรับใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4.1 งานวิจัยในประเทศ

มีนักวิชาการหลากหลายคนในประเทศได้ท าการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐาน ซึ่งได้ข้อค้นพบดังนี้

อนุเบศ ทัศนิยม (2563) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพด้วยการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จ านวน 15 คน โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2562 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่

เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์

ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยก าหนดไว้ที่ร้อยละ 75

ทัณฑธร วุ้ยสวัสดิ์ (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง จลนศาสตร์เคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อ ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ที่

ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จ านวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง จลนศาสตร์เคมี ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

พณิดา เตชะผล (2564) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการ ประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด วิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้

ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ วัดศรีนคราราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการประยุกต์ใช้การสืบ เสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการ ประยุกต์ใช้สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐาน มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

โดยรวมอยู่ในระดับมาก

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ (2563) ได้ท าการศึกษาเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวน กุหลาบวิทยาลัย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและด าเนินการสุ่มแบบกลุ่ม ได้ตัวอย่างจ านวน 29 คน

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานมีคะแนนการคิด อย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และระหว่างเรียน อย่างมี

นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาสภาพจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนมีความแปลกใหม่ นักเรียนมีอิสระในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มี

ความสนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้ความร่วมมือและกระตือรือร้นในการเรียนเป็นอย่างดี

รวมทั้งมีพฤติกรรมการแสดงออกทางความคิดมากขึ้น 4.2 งานวิจัยในต่างประเทศ

มีนักวิชาการต่างหลากหลายคนในต่างประเทศได้ท าการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดย ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ซึ่งได้ข้อค้นพบดังนี้

Hung Phi Nguyen (2018) ได้ศึกษาเรื่อง Phenomenon-based Learning in Finnish and Vietnamese Upper Secondary School Curriculum for English as a Foreign Language ผลการศึกษาพบว่า การให้ครูมีอิสระในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐาน ท าให้การเรียนรู้มีความน่าสนใจและมีความหมายในสภาพแวดล้อม ทางการเรียนรู้ สามารถส่งเสริมองค์ความรู้ที่ส าคัญที่นักเรียนพึงมี ตลอดจนสามารถพัฒนา อารมณ์สังคมของนักเรียนได้เป็นอย่างดีด้วย

Daehler & Folsom (2016) ได้ท าการศึกษาเรื่อง Making Sense of Science:

Phenomena-based Learning ผลการศึกษาพบว่า เมื่อผู้เรียนได้รับข้อมูลและทักษะใหม่มาใช้กับ ปรากฏการณ์จะช่วยให้ข้อมูลใหม่นั้น ๆ มีคุณค่าส าหรับผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกิดความรู้ได้ด้วยวิธีที่ผู้เรียนท างานเหมือนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร นักเรียนไม่ต้องรอครูผู้สอน ที่จะให้ค าตอบ แต่นักเรียนหาค าตอบและวิธีการแก้ปัญหาออกแบบ การสืบสวนอธิบายสิ่งที่

ต้องการอยากรู้เพื่ออธิบายและถามค าถามใหม่ด้วยตนเอง วิธีการนี้ต้องการความเชื่อมั่นว่าผู้เรียน มีความกระตือรือร้น เป็นผู้สร้างความรู้และผู้แก้ปัญหาได้

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็น ฐานในงานวิจัยเชิงทดลองทั้งจากในประเทศและในต่างประเทศพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้

ปรากฏการณ์เป็นฐานเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ของเนื้อหาวิชา ผู้เรียนเองก็จะเข้ามามีส่วนร่วมใน การค้นหาค าตอบผ่านปรากฏการณ์ที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ สามารถพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ได้ดี และสามารถพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่าง หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ