• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้องกับพัฒนาการ

2.1 พัฒนาการภาษาและการพูดของเด็กปกติ

ภาษาเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อความหมาย ภาษาเป็นรหัสที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่ง หนึ่งสิ่งใดเฉพาะซึ่งสัญลักษณ์ของภาษานี้จะต้องยอมรับกันในสังคม หรือภาษา หมายถึง ระบบซึ่ง มีกฎเกณฑ์บังคับซึ่งอาจใช้ร่วมกับสัญลักษณ์อื่นในสถานการณ์หนึ่งๆ ได้ ส่วนการพูดเป็นรูปแบบ หนึ่งของภาษา(Oral expression of language) การพูดต้องอาศัยกระบวนการรับรู้และการ เคลื่อนไหว ( sensorimotor process) และการคบคุมระบบประสาทของการเคลื่อนไหวร่างกาย (neurological control) เพื่อผู้พูดจะมีการเคลื่อนไหวอวัยวะในรูปแบบเฉพาะในการแสดง สัญลักษณ์ที่เป็นรหัสซึ่งเป็บเป็นภาษาภายใน (inner language) ไว้ในระบบประสาทส่วนกลาง เป็นเสียงพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้ยินและแปลรหัสเป็นความหมายได้ ภาษาประกอบไปด้วย ระบบหน่วย เสียง (phonology) ความหมาย (semantics) ประโยค (systax) ระบบหน่วยค า (morphology) ความหมายในทางสังคม (pragmatics) ในที่นี้จะกล่าวถึงการพัฒนาภาษาและการพูดเป็นหลักพอ สังเขป (เบจมาศ พระธานี.2554, พงศักดิ์ น้อยพยัคฆ์.2561) ดังนี้

2.1.1 การจัดแบ่งพัฒนาการทางภาษา

การพัฒนาภาษาและการพูดเป็นความก้าวหน้าในการใช้ภาษาในการ ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อรับรู้หรือแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น และติดต่อซึ่งกันและกัน ภาษา สามารถแสดงถึงการคิดรู้ (cognition) วัตถุหรือสังคมได้ และภาษามีความสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง กับลักษณะทางสังคมของผู้พูด ( sociological characteristic of speakers) โดยภาษาพูด ( oral language) จะพัฒนามาก่อนภาษาเขียน ( written language) เป็นเวลาที่ยาวนานมนุษย์แต่ละ เผ่าพันธุ์จะมีภาษาพูดเป็นของตัวเอง แต่ทุกเผ่าพันธุ์ไม่จ าเป็นต้องมีภาษาเขียน อย่างไรก็ตาม ภาษาพูดเป็นภาษาแรกและเป็นรูปแบบของภาษาแบบแรกของมนุษย์ ซึ่งเบญจมาศ พระธานี

(2555) ได้แบ่งพัฒนาการภาษา แบ่งเป็น 2 ด้าน ใหญ่ๆ ได้แก่ 1) การพัฒนาด้านความเข้าใจ ภาษา ( Receptive language) 2) การพัฒนาด้านการ แสดงออกทางภาษา (expressive language) มีรายละเอียดดังนี้

1.การพัฒนาด้านความเข้าใจภาษา (Receptive language)

การพัฒนาด้านความเข้าใจภาษา หมายถึง ความก้าวหน้าในการรับรู้

และเข้าใจภาษาได้แก่ การฟัง การอ่าน การอ่านสีหน้าท่าทาง และการอ่านภาษามือ การพัฒนา ความเข้าใจภาษาเกิดจากการที่เด็กรู้จักเชื่อมโยงเสียงต่างๆ ที่เคยได้ยินค าพูดนั้นมาก่อนกับสิ่ง ต่างๆ แล้วมาอยู่ในสถานการณ์ที่มีการใช้ค าพูดนั้น ที่เด็กมองเห็นและสัมผัสได้ในขณะนั้น เด็ก อาจจะเรียนรู้จากการเคยได้ยินค าพูดนั้นมาก่อน และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับค านั้นขึ้น ต่อมาได้ยินค าพูดนั้นซ ้าอีกเด็กจึงเชื่อมโยงค าที่ได้ยินกับความคิดรวบยอดที่มีอยู่ ท าให้เด็กเข้าใจ ค าศัพท์ได้ หรืออีกกรณีหนึ่งเด็กเกิดมีความคิดรวบยอดจากการที่เด็กได้ยินค าพูดในสถานการณ์

ต่างๆ เมื่อเด็กได้ยินค าพูดนั้นซ ้าอีก จึงเข้าใจค าศัพท์นั้นได้ เช่น เด็กได้ยินค าว่า “ แม่ ” ซ ้าๆ ขณะที่

มองเห็นแม่ และได้รับการโอบอุ้มอย่างอบอุ่น เด็กจะเชื่อมโยงค าว่า แม่ กับคนที่เด็กเห็นขณะที่ได้

ยินเสียงนั้น ต่อมาเมื่อเด็กได้ยินค าว่า แม่ เด็กจะระลึกได้ว่า แม่ หมายถึงใคร เป็นต้น เโดยทั่วไป แล้วในระยะแรกๆ ของการพัฒนาภาษาและการพูดเด็กจะมีจ านวนค าศัพท์ที่เข้าใจมากกว่า จ านวนค าศัพท์ที่พูดได้ ดังรูปภาพแสดงรูปแบบการเรียนรู้การเข้าใจภาษา

ภาพประกอบ 2 ขั้นตอนการพัฒนาความเข้าใจภาษา

ขั้นตอนการพัฒนาความเข้าใจภาษามีดังนี้

1.ตอบสนองต่อเสียง ( respond to sounds) เป็นขั้นแรกของการ พัฒนาภาษาซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เด็กมีอายุประมาณ 1 เดือน โดยเด็กจะตอบสนองต่อเสียงดังด้วย ปฏิกิริยาต่างๆ เช่น สะดุ้ง ขยับตัว หรือร้องไห้ เป็นต้น

2.การสนใจต่อเสียงพูด (aware to sounds) เป็นระยะที่เด็กอายุ 2 เดือนจะเริ่มสนใจต่อ เสียงต่างๆ รวมทั้งเสียงพูดของคน และเสียงของตัวเขาเอง เด็กแสดงความ พอใจ ยิ้มเมื่อได้ยินเสียง เพราะเด็กจะได้รับการตอบสนองที่ดี เช่น ได้รับการโอบอุ้ม พูดคุย และ เอาใจใส่ เมื่อเด็กได้ยินเสียงพูด ของแม่

3.การรู้ทิศทางของเสียง (localize to sounds) เด็กอายุ 4 เดือนจะรู้

ที่มาของเสียงโดยพยายามหันหน้าหรือกลอกตาหาทิศทางของเสียง

4.การตอบสนองต่อคนรอบข้างและเข้าใจค าพูด (respond to familiar persons, names and commands) เด็กอายุ 8 เดือนจะจ าหน้าคนในครอบครัว รู้จักชื่อ ตนเองและเข้าใจค าพูดบางค า เช่น อย่า หยุด ฯลฯ เด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนองเฉพาะบุคคล เช่น แสดงท่าทางอยากให้แม่อุ้ม ไม่ให้คนแปลกหน้าอุ้ม เป็นต้น

5.ท าตามค าสั่งง่ายๆ ได้ (follow commands) เด็กอายุ 9 เดือนจะ เริ่มท าตามค าสั่งง่ายๆ ที่คุ้นเคยได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย เป็นต้น

6.การรู้จักชื่อบุคคลในครอบครัว สิ่งของ สัตว์เลี้ยงที่คุ้นเคย เด็กอายุ

1-2 ปีจะรู้จักชื่อ บุคคลในครอบครัว สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว สามารถชี้อวัยวะร่างกายได้

ถูกต้อง 1-3 อย่าง และเข้าใจค าพูดที่ได้ยินบ่อยๆ ในชีวิตประจ าวันมากขึ้น เช่น เอานมไหม เอา ไม่

เอา เป็นต้น

7.การเข้าใจค าพูดทั่วไปในชีวิตประจ าวัน เด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไปจะมี

ความสามารถด้าน การเข้าใจค าพูดขยายมากขึ้นจนสามารถเข้าใจประโยคที่ได้ยินทั้งหมด ฟังเรื่อง ง่ายๆ ท าตามค าสั่ง 2 ขั้นตอนได้ ชี้อวัยวะร่างกายได้ 7 อย่างขึ้นไป รู้จักหน้าที่ของสิ่งต่างๆ ใน ชีวิตประจ าวัน ค ากริยา วิเศษณ์ คุณศัพท์ และบุพบท ซึ่งการพัฒนาด้านความเข้าใจภาษาจะมี

มากขึ้นตามล าดับจนเข้าใจเรื่องต่างๆ ใน ชีวิตประจ าวันได้เป็นอย่างดี และสามารถน าไปใช้ได้

อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่เมื่อเด็กอายุประมาณ 7-8 ปี ดังรูปภาพแสดงขั้นตอนการพัฒนา ความเข้าใจภาษา

ภาพประกอบ 3 แสดงขั้นตอนการพัฒนาความเข้าใจภาษา

2. การพัฒนาด้านการแสดงออกทางภาษา (expressive language) การพัฒนาด้านการแสดงออกทางภาษา หมายถึง ความก้าวหน้าในการ แสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ได้แก่ การพูด การเขียน การแสดงสีหน้าท่าทางและการใช้ภาษามือ การพัฒนาการพูดเกิดจากการที่เข้าใจค าศัพท์นั้นแล้วต่อมาเด็กมีความพร้อมที่ออกเสียงพูดตาม เช่น มีความสามารถในการเลียนแบบการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด มีแบบอย่างการพูดที่ดี

ประกอบกับมีสภาพการณ์ที่เด็กต้องใช้ค าศัพท์ เด็กจะพูดค าศัพท์ค านั้นได้อย่างถูกต้อง ใน ระยะแรกๆ ของการพัฒนาภาษาและการพูดเด็กจะพูดค าศัพท์ค านั้นได้หลังจากที่เข้าใจค านั้นมา ก่อนเด็กจะเรียนรู้ค าศัพท์ต่างๆ ได้ตามล าดับได้แก่ ค านาม เรียงล าดับจากชื่อสัตว์ สิ่งของ พืชและ อาหาร และสี ค ากริยา ค าคุณศัพท์ ค าวิเศษณ์ ค าบุพบท และอื่นๆ ซึ่งการแสดงออกทางภาษามี

รูปแบบการเรียนรู้การพูดดังภาพต่อไปนี้

ภาพประกอบ 4 แสดงรูปแบบการเรียนรู้การพูด ขั้นตอนการพัฒนาภาษาพูดของมนุษย์

1.เสียงแสดงปฏิกิริยาสะท้อน ( reflex sounds) เป็นขั้นแรกของการ เรียนรู้ภาษาและการพูดเริ่มตั้งแต่เด็กร้องไห้ตอนแรกคลอดจนถึงอายุ 2 เดือน เป็นการแสดงถึงการ พัฒนาการท างานของอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงและหายใจที่จะเป็นพื้นฐานของการพูดต่อไป การร้องไห้เป็นกลไกที่ส าคัญในการสื่อความหมายของเด็กต่อผู้อื่น หรือโลกภายนอก การร้องไห้ใน ระยะนี้สื่อถึงความต้องการของเด็กได้หลายอย่าง ได้แก่

1.1 การร้องไห้ทั่วไป (basic cry) เป็นรูปแบบของการร้องไห้ที่

เป็นจังหวะ มีการหยุดร้องเป็นระยะสั้นๆ หายใจเข้าสั้นๆ และมีเสียงสูงกว่าร้องไห้หลัก แล้วหยุดพัก เล็กน้อยก่อนร้องไห้รอบต่อไป ซึ่งเป็นการแสดงถึงความหิวอย่างหนึ่ง

1.2 การร้องไห้ด้วยความโกรธ (angry cry) เป็นการร้องไห้ที่

คล้ายกับการร้องไห้ทั่วไป แต่จะมีความรุนแรงฉุนเฉียวและเสียงดังมากกว่า

1.3 การร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด ( pain cry ) เป็นการ้องไห้ที่

เสียงดังทันที และร้องยาวในครั้งแรกแล้วกลั้นหายใจเป็นระยะ ซึ่งแตกต่างจากร้องไห้ที่แสดงความ หิวหรือโกรธอย่างชัดเจน

2.เสียงอ้อแอ้ ( babbling) เป็นขั้นตอนที่เด็กอายุ 2 เดือน – 2.5 ปี ส่ง เสียงด้วยความพอใจที่ได้เคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูด โดยจะส่งเสียงที่ไม่มีความหมายซึ่ง เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ จึงพบได้ในเด็กทุกคนแม้กระทั้งเด็กหูหนวกหูตึง แต่

การส่งเสียงอ้อแอ้ในเด็กเหล่านี้จะไม่พัฒนาต่อไป เพราะไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง การส่งเสียงอ้อแอ้

นี้จะมีไปเรื่อยๆ แม้ว่าเด็กจะพูดเป็นค าที่มีความหมายแล้วก็ตาม

3.การส่งเสียงเพื่อสื่อความหมาย ( Socialized vocal play) เป็นขั้นที่

เด็กอายุ 3-6 เดือนเริ่มส่งเสียงเพื่อการสื่อสารกับผู้อื่น โดยเด็กจะฟังเสียงผู้อื่นและส่งเสียงโต้ตอบ เป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นขั้นที่คาบเกี่ยวกับการส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งบางครั้งเด็กจะส่งเสียงอ้อแอ้เล่นคน เดียวบางครั้งส่งเสียงเพื่อโต้ตอบคนรอบข้าง

4.ค าแรกที่มีความหมาย ( the first meaningful word) เป็นขั้นที่เด็ก อายุ 10-18 เดือน หรือครบรอบ 1 ปี เริ่มเข้าใจค าพูดที่เคยได้ยินจากการเชื่อมโยงค าพูดกับ เหตุการณ์ต่างๆ แล้วสะสมเป็นความรู้ภายใน เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะเด็กจะสามารถพูดออกเสียงค า นั้นได้ถูกต้องในเวลาต่อมา

5.วลี ประโยค และภาษาเด็ก (phrase , sentences , and jargon) เป็นขั้นที่เด็กอายุ 12 -24 เดือนเริ่มพูดเป็นค าที่ยาว 2 พยางค์ หรือค า 2 ค า รวมกันเป็นวลีและ ประโยค ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นตามอายุ โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 1 ปี จะพูดวลีหรือประโยคที่ยาว 1 ค า เด็กอายุ 2 ปี จะพูดวลีหรือประโยคที่ยาว 2 ค า เด็กอายุ 3 ปี จะพูดวลีหรือประโยคที่ยาว 3 ค า และเด็กอายุ 4 ปี จะพูดวลีหรือประโยคที่ยาว 4 ค า แต่ในบางครั้งเด็กจะมีการทดลองใช้ค าศัพท์

ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะมีลักษณะของการหยุดคิด พูดซ ้าๆ ใช้ค าเอ้อ อ้า บ่อยๆ คล้ายคนพูดติดอ่าง (normal disfluency) ซึ่งอาจจะมีลักษณะของการหยุดคิด พูดซ ้าๆ ใช้ค าเอ อ้า บ่อยๆ คล้ายคนพูด ติดอ่าง ( normal disfuency) ลักษณะการพูดเช่นนี้เกิดขึ้นได้ในช่วงที่เด็กอายุ 2 -6.5 ปี ซึ่งจะ