• Tidak ada hasil yang ditemukan

จิตวิทยาเชิงบวก

6. แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 7. นิยามเชิงปฏิบัติการ

8. กรอบแนวคิดการวิจัย 9. สมมติฐาน

1. แนวคิดพลังสุขภาพจิต (Resilience) ในผู้สูงอายุ

การศึกษาพลังสุขภาพจิตให้ความส าคัญกับประชากรหลายกลุ่ม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้น ของประชากรท าให้มีการวิจัยแนวคิดพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งทรัพยากรทาง จิตวิทยาและการควบคุมอารมณ์เป็นปัจจัยส าคัญที่เกี่ยวข้องกับพลังสุขภาพจิตในวัยสูงอายุ

(Fontes A. P.; & Neri, A. L. 2015) ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยหรือมีความบกพร่องด้านต่าง ๆ สามารถมีพลังสุขภาพจิตได้ เนื่องจากพลังสุขภาพจิตเป็นความสามารถในการคงไว้ซึ่งสุขภาพทั้ง ทางร่างกายและอารมณ์ภายหลังเกิดการเจ็บป่วย โดยการปรับตัวทางบวก ควบคุมอารมณ์ และ สามารถแก้ไขปัญหาได้ (Wagnild G. M.; & Collins, J. A. 2009) จากการทบทวนวรรณกรรมทั้ง ในและต่างประเทศ การศึกษาพลังสุขภาพจิตส่วนใหญ่พบในกลุ่มประชากรวัยรุ่นหรือในกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการป่วยทางจิตใจ ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังทางกายและมี

อาการป่วยทางด้านจิตใจร่วมด้วย ผู้วิจัยในฐานะพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชจึงมีความสนใจ ศึกษารูปแบบการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุช่วงวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) ที่เป็นโรคเรื้อรัง และมีภาวะซึมเศร้า เพื่อให้การดูแลแบบองค์รวม เป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายซึ่งปัญหา

สุขภาพจิตที่รุนแรงของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า และเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดี

ขึ้นให้กับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า

โดยทั่วไปพลังสุขภาพจิตมักได้รับการพัฒนาหลังจากได้รับความเครียดหรือความกดดัน ต่าง ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียดมามากมาย ผู้สูงอายุจึงควรจะเป็นบุคคลที่มีพลังสุขภาพจิตสูง แต่เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ช่วง ปลายของชีวิตมักมีโรคประจ าตัวมากกว่า 1 โรค ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ท าให้พลังสุขภาพจิตลดลง ประกอบกับประสบการณ์ชีวิตบางอย่างท าให้ผู้สูงอายุรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่ายในชีวิต บาง รายมีความคิดท าร้ายตนเอง ท าให้การดูแลตนเองถดถอยลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถดูแลตนเองได้

แต่ผู้สูงอายุบางรายถึงแม้จะมีโรคประจ าตัว ก็ยังสามารถด าเนินชีวิตอยู่อย่างปกติได้โดยไม่ค านึง ว่าตนมีโรคประจ าตัว ไม่น าปัญหาทางร่างกายมาบั่นทอนให้เกิดภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิต

ทั้งนี้ การที่ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุมักจะพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ท้าทาย เช่น การ พัฒนาเข้าสู่ความเจ็บป่วยเรื้อรัง และความเครียดทางอารมณ์ที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่

รัก ซึ่งผู้สูงอายุที่มีพลังสุขภาพจิตจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความยากล าบากในชีวิตได้ และ สามารถด าเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุข เนื่องจากพลังสุขภาพจิตเป็นลักษณะบุคลิกภาพส่วน บุคคลอันเป็นปัจจัยป้องกันภายใน ซึ่งได้แก่ การพึ่งพาตนเองและการมีสุขภาพที่ดี โดยจะช่วยลด ผลกระทบเชิงลบของความเครียด และส่งเสริมการปรับตัวของผู้สูงอายุต่อสถานการณ์ทุกข์

ยากล าบากที่เผชิญ (Wagnaild G. M.; & Young, H. M. 1993) ซึ่งนอกจากการมีลักษณะ บุคลิกภาพส่วนบุคคลซึ่งเป็นปัจจัยภายในแล้ว ยังรวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น เครือข่ายทางสังคม ในการที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถฟื้นฟูความสมดุลในชีวิตของตนเองได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การบูรณาการพลังสุขภาพจิตอีกครั้ง (Richardson G. E. 2002)

แนวคิดพลังสุขภาพจิตได้ถูกนิยามไว้อย่างหลากหลาย การศึกษาการทบทวนและ วิจารณ์ค าจ ากัดความ แนวคิด และทฤษฎีของพลังสุขภาพจิต พบว่า พลังสุขภาพจิตเป็น คุณลักษณะ (trait) หรือกระบวนการ (process) ในการปรับตัวเชิงบวกต่อความทุกข์ยาก ซึ่ง จ าเป็นต้องมีการฟื้นตัวเพื่อตอบสนองต่อความทุกข์ยากต่างๆ จากปัญหาในชีวิตประจ าวันที่ด าเนิน อยู่ไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ส าคัญในชีวิต (Fletcher D.; & Sarkar, M. 2013) การวัดหรือการ ประเมินพลังสุขภาพจิตของบุคคล มีความแตกต่างกันไปตามค าถามการวิจัยในแต่ละเรื่อง ตัวแปร อาจเกี่ยวข้องกับพลังสุขภาพจิตที่เป็นผล (outcome) หรือกระบวนการ (process) ซึ่ง ความสามารถในการฟื้นตัวยังได้รับการประเมินว่าเป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นทันทีของบุคคลและ ชุมชน ที่อาจผ่านการพัฒนาหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ และ/หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับ

ระบบการจัดการตนเองและการดูแลตนเอง(Fletcher D.; & Sarkar, M. 2013) นอกจากนี้ ได้มี

การระบุถึงปัจจัยปกป้องที่หลากหลายในการวิจัยเกี่ยวกับพลังสุขภาพจิต เช่น ความอดทน (Bonanno G. A. 2004), อ ารม ณ์ เชิ งบ วก (Tugade M. M.; & Fredrickson, B. L. 2004), บุคลิกภาพ (Wagnaild G. M.; & Young, H. M. 1993), ความสามารถในตนเอง (Scult M.; et al.

2015), จิตวิญญาณ (Manning L. K. 2013), การเห็นคุณค่าในตนเอง (Ferreira C. L.; Santos, L. M. O.; & Maia, E. M. 2012) และผลกระทบเชิงบวก (MacLeod S.; et al. 2016)

จะเห็นได้ว่า พลังสุขภาพจิตในทางจิตวิทยามีทั้งแนวคิดว่าเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ หรือแนวคิดว่าเป็นผลลัพธ์ของพลังสุขภาพจิต และแนวคิดว่าเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ซึ่งสามารถตรวจสอบภายใต้แบบจ าลองทางทฤษฎีของพลังสุขภาพจิตที่อธิบายเชิง บูรณาการ อันจะช่วยให้สามารถวัดองค์ประกอบของพลังสุขภาพจิตออกมาเป็นผลลัพธ์ และ ตรวจสอบกระบวนการที่บ่งชี้ว่าเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นทันทีโดยการปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ พลัง สุขภาพจิตจึงเป็นทฤษฎีเปิดที่เกิดจากการหลอมรวมกันขององค์ประกอบต่างๆ อย่างมีปฏิสัมพันธ์

ต่อกัน ซึ่งจะมีประโยชน์ในฐานะเครื่องมือในการวินิจฉัย ท าความเข้าใจ และส่งเสริมการฟื้นตัวของ บุคคล อันเป็นรากฐานส าหรับอนาคตที่ยั่งยืน (Fletcher D.; & Sarkar, M. 2013) แนวความคิด กระบวนการของพลังสุขภาพจิตตระหนักดีว่าผลกระทบของปัจจัยปกป้องและปัจจัยส่งเสริมจะ แตกต่างกันตามบริบท จากสถานการณ์สู่สถานการณ์ จนตลอดสถานการณ์และตลอดอายุขัยของ แต่ละคน (Fletcher D.; & Sarkar, M. 2013) พลังสุขภาพจิตยังเป็นความสามารถขั้นพื้นฐานที่

เริ่มเกิดขึ้นในทุกคน เป็นกลไกในการแก้ปัญหา การปรับตัวทางบวกของแต่ละบุคคล เพื่อให้กลับสู่

สถานการณ์ในชีวิตที่เป็นปกติเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันหรือภาวะความยากล าบาก และ เป็นกระบวนการของบุคคลในการสะสมประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นทักษะในการแก้ปัญหาและ ฟื้นฟูสภาพของตัวเองในยามที่เกิดเหตุที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งกระบวนการพลังสุขภาพจิตนี้

สามารถพัฒนาได้ และจัดเป็นปัจจัยปกป้องหรือกลไกหนึ่งที่มีส่วนท าให้บุคคลสามารถจัดการกับ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤตได้ (Hjemdal O.; et al. 2006) การให้ความส าคัญกับผลของ การปรับตัวต่อความทุกข์ยากถือเป็นวิธีที่ส าคัญ และเป็นประโยชน์ในการด าเนินการสร้างพลัง สุขภาพจิตของบุคคล (Olsson C. A.; et al. 2003)

พลังสุขภาพจิตมีข้อบ่งชี้เกี่ยวกับผลกระทบที่ส าคัญ 5 ประการได้แก่ 1) ความต้านทาน ต่ออันตราย อาจเกิดจากการควบคุมความเสี่ยงแทนที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น 2) ความต้านทาน อาจเกิดขึ้นจากลักษณะหรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง หรือในกรณีที่ไม่มีอันตรายทางสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง 3) ความต้านทานอาจเกิดจากกระบวนการเผชิญปัญหาทางสรีรวิทยาหรือทางจิตวิทยา

แทนที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยภายนอก 4) ความล่าช้าในการฟื้นตัวอาจมาจาก "จุดเปลี่ยน"

ในชีวิต และ5) พลังสุขภาพจิตอาจถูกจ ากัดโดยการเขียนโปรแกรมทางชีววิทยา หรือจากความ เสียหายที่เกิดจากความเครียด/ ความทุกข์ยากต่อโครงสร้างเกี่ยวกับประสาท (Rutter M. 2006)

แวกนิลด์ และ ยัง ได้ศึกษาแนวคิดพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โดยพัฒนามาจากการ วิจัยเชิงคุณภาพ ในปี ค.ศ. 1987 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวที่ประสบ ความส าเร็จของผู้สูงอายุเพศหญิง จ านวน 24 คน ที่ต้องเผชิญสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความ ยากล าบากในชีวิต จากการศึกษาพบว่า พลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมีองค์ประกอบส าคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การมีจิตใจที่สงบมั่นคง (Equanimity) 2) ความเข้าใจว่าชีวิตมีความหมายและมี

คุณ ค่า (Meaningfulness) 3) ความอดทนไม่ย่อท้อ (Perseverance) 4) ความเชื่อมั่นใน ความสามารถของตนเอง (Self-reliance) และ 5) การยอมรับเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลและ ยอมรับในชีวิตตน (Existential aloneness) (Wagnaild G. M.; & Young, H. M. 1993)

ต่อมา กรอทเบิร์ก ได้น าข้อมูลจากการศึกษาคุณลักษณะของบุคคลที่มีพลังสุขภาพจิต หรือปัจจัยปกป้องที่มีความหลากหลายในระยะแรกมาจัดแบ่งกลุ่มคุณลักษณะของพลังสุขภาพจิต โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ฉันมี (I HAVE) หมายถึง การมีแหล่งสนับสนุนภายนอก (External support) ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดพลังสุขภาพจิต เช่น มีคนในครอบครัวและนอก ครอบครัวที่สามารถไว้ใจ มีต้นแบบที่ดี มีคนที่พร้อมจะให้ก าลังใจและสนับสนุนให้เป็นตัวของ ตัวเอง มีบุคคลหรือแหล่งที่ให้การดูแลในเรื่องของสุขภาพ อยู่ในครอบครัวและชุมชนที่มั่นคง ปลอดภัย เป็นต้น 2) ฉันเป็น (I AM) หมายถึง การเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็งภายใน (Inner strengths) ซึ่งช่วยสนับสนุนให้จัดการกับสถานการณ์ความยากล าบากในชีวิต เช่น เป็นบุคคลที่

สามารถที่จะรักและเป็นที่รักของผู้อื่นได้ เป็นคนสุภาพอ่อนโยน มีความภูมิใจในตนเอง เป็นคน อารมณ์ดี ยอมรับและยกย่องผู้อื่น พร้อมที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่กระท าและยอมรับผลของการ กระท านั้น มีความสามารถวางแผนอนาคตได้ เป็นต้น และ 3) ฉันสามารถ (I CAN) หมายถึง ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการมีทักษะในการแก้ไขปัญหา (Interpersonal and problem solving skill) เช่น สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการท างานและ การด าเนินชีวิตประจ าวัน รู้จักขอความช่วยเหลือจากแหล่งประโยชน์ได้ในเวลาที่ต้องการ เป็นต้น (ฉัตรฤดี ภาระญาติ. 2558; Grotberg E. H. 1997) สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องสมรรถนะพลัง สุขภาพจิต (Resilience quotient) หรือแนวคิดการฟื้นคืนสภาพของจิตใจที่ถูกน ามาใช้หลากหลาย บริบทในด้านจิตวิทยา ตลอดจนเป็นการวัดระดับของลักษณะบุคคลที่สามารถฟื้นตัวได้ ภายหลัง