• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการ

1.2. หลักการจัดโปรแกรมนันทนาการ

1.3. ทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วย APIE

1.4. แนวคิดและทฤษฎีการออกแบบโปรแกรมนันทนาการ 2. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนันทนาการ

2.1. ความหมายของนันทนาการ 2.2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ 2.3. ความส าคัญของนันทนาการ 2.4. ลักษณะของนันทนาการ

2.5. ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ 2.6. ประโยชน์และคุณค่าของนันทนาการ

3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะผู้น านันทนาการ 3.1. ความหมายของผู้น านันทนาการ

3.2. คุณลักษณะของผู้น านันทนาการ

3.3. ความหมายของสมรรถนะผู้น านันทนาการ 3.4. สมรรถนะผู้น านันทนาการ

4. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับนันทนาการในสถานศึกษา 5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

5.1. ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 5.2. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้น านักศึกษา

5.3. ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษา 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6.1. งานวิจัยในประเทศ 6.2. งานวิจัยต่างประเทศ

1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมนันทนาการ 1.1. ความหมายและความส าคัญของ โปรแกรมนันทนาการ

โปรแกรมนันทนาการ เป็นกระบวนการออกแบบหลักการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ทางนันทนาการ เพื่อสร้างประสบการณ์ และตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรม นันทนาการ ซึ่งได้มีนักวิชาการหลายหลายท่าน ได้ให้ความหมาย และอธิบายถึงความหมาย และ ความส าคัญของโปรแกรมนันทนาการไว้มากมาย ดังที่จะน าเสนอต่อไปนี้

อักษราพรรธน์ ด าเด่น (2552) ได้อธิบายถึงความหมาย ของโปรแกรมนันทนาการ ไว้

ว่า โปรแกรมนันทนาการ คือ การวางแผนกิจกรรมนันทนาการอย่างมีเป้าหมาย เพื่อที่ให้บรรลุ

ความต้องการของผู้เข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ และเป็นการสร้างประสบการณ์ต่อผู้เข้าร่วม โปรแกรมนันทนาการ

วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว (2554) ได้อธิบายถึง โปรแกรมนันทนาการไว้ว่า โปรแกรม นันทนาการ (Recreation Programming) เป็นการออกแบบประสบการณ์ต่างๆ ทางนันทนาการ โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบในการจัดบริการทางนันทนาการ โดยจะใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่

มีอยู่ในองค์กร อาทิเช่น งบประมาณ บุคลากร สิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ ทางนันทนาการ มาใช้

วางแผน ออกแบบ และด าเนินงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ สร้างสมดุลให้แก่ชีวิต และน าไปสู่การ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มารับบริการ

รัชราวไล สว่างอรุณ (2561) ได้อธิบายความหมายของโปรแกรมนันทนาการไว้ว่า โปรแกรมนันทนาการ เป็นการออกแบบ วางแผน และการบริการ รวมถึงการใช้เวลาว่างให้แก่

ผู้เข้าร่วม เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งจะน าไปสู่ประสบการณ์ทางด้านนันทนาการ และการใช้เวลาว่าง

สามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมนันทนาการ คือการออกแบบ วางแผน และพัฒนาขึ้น จากแนวความคิด ทฤษฎี หรือกระบวนการในการด าเนินงานต่างๆ ทางนันทนาการ ที่ประกอบไป ด้วยองค์ประกอบต่างๆ อาทิเช่น บุคลากรทางนันทนาการ งบประมาณ ทรัพยากรสิ่งอ านวยความ สะดวกที่ใช้ในนันทนาการ น ามาใช้วางแผน ออกแบบ และด าเนินงานนันทนาการให้แก่บุคคล เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการด าเนินกาส าหรับผู้จัดโปรแกรมนันทนาการ และสร้างประสบการณ์

ทางนันทนาการให้แก่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ

1.2. หลักการจัดโปรแกรมนันทนาการ

การที่จะน าไปสู่เป้าหมายของกิจกรรมนันทนาการ ผู้น านันทนาการจะต้องค านึงถึง หลักในการจัดกิจกรรมนันทนาการ หรือโปรแกรมนันทนาการ ซึ่ง (สมควร โพธิ์ทอง, การสื่อสาร ส่วนบุคคล, 11 กรกฎาคม 2564) ได้อธิบายถึงหลักในการจัดกิจกรรมนันทนาการ ไว้ดังนี้

1) การพัฒนา นันทนาการนั้นจะต้องก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุขของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ ก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน และความพึงพอใจในการเข้าร่วม กิจกรรมนันทนาการ ก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

2) การเตรียม นันทนาการนั้นจะต้องก่อให้เกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

3) การสร้าง นันทนาการนั้นจะต้องก่อให้เกิดสัมพันธภาพ เกิดความรัก ความ ผูกพันและมิตรภาพที่ดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

4) การทดสอบ นันทนาการนั้น จะต้องสามารถทดสอบสมรรถภาพทางด้าน ร่างกาย และจิตใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการได้

5) การทบทวน นันทนาการนั้น จะต้องสร้างการท างานเป็นทีม หรือการท างาน ร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวกันได้

Kraus (1997 อ้างถึงใน สุวิมล ตั้งสัจจพจน์, 2555) ได้อธิบายถึง หลักการของจัด โปรแกรมนันทนาการ ไว้ว่า การจัดโปรแกรมนันทนาการ จะต้องค านึงถึง การสนับสนุนจาก หน่วยงานและองค์กร ศักยภาพผู้เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรม รวมไปถึงการให้บริการด้านสถานที่

และสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ และการเป็นผู้น า (Leadership)

ณรงค์ วิชัยรัตน์ (2560) ได้อธิบายถึง หลักการของจัดโปรแกรมนันทนาการ ไว้ว่า โปรแกรมนันทนาการที่จัดขึ้น จะต้องตอบสนองความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่ และใน ขณะเดียวกัน ต้องสามารถเพิ่มกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประสบการณ์ทางสังคม และความสามัคคีของหมู่คณะ โดยจะต้องพิจารณาถึงหลักการ และองค์ประกอบดังต่อไปนี้ร่วม ด้วย คือ บุคลากรผู้ควบคุมกิจกรรม ความพร้อมของโปรแกรมกิจกรรม งบประมาณเพื่อการจัด กิจกรรมต่างๆ กิจกรรมต่างๆ ต้องยืดหยุ่นและเหมาะกับโอกาส

กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดโปรแกรมนันทนาการจะให้ได้ผลดี หรือประสบผลส าเร็จ มากน้อยเพียงใด ผู้ด าเนินการจะต้องท าความเข้าใจและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมที่จะจัด แล้ว ยังต้องเข้าใจในหลักการจัดกิจกรรม หรือหลักการจัดโปรแกรมนันทนาการ เพื่อพัฒนา ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และจะต้องมองเห็นประโยชน์และ

คุณค่าของกิจกรรมนันทนาการอันจะน าไปสู่ความพึงพอใจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ต่อไป

1.3. ทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วย APIE

เครื่องมือในการสร้างโปรแกรมนันทนาการ ที่นักนันทนาการน าไปใช้ในการด าเนิน กิจกรรมนันทนาการอยู่เป็นประจ าเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งมีนักวิชาการได้น าหลักการ และแนวความคิด น าเสนอวิธีการในการสร้างโปรแกรมนันทนาการ ด้วยรูปแบบ APIE ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

Austin (2004) ได้น าเสนอวิธีการ การสร้างโปรแกรมด้วย APIE ที่นักนันทนาการ มักจะนิยมน าไปใช้ในการด าเนินการสร้างโปรแกรมนันทนาการในรูปแบบที่หลากหลาย นั่นคือ หลักการ “APIE” ซึ่งประกอบด้วย

1. การประเมินก่อนหรือการประเมินความพร้อม (Assessment) เป็นการประเมิน เพื่อให้ทราบถึงความพร้อม ความต้องการ ของผู้ที่จะเข้าร่วม อาทิเช่น การส ารวจสถานที่ การ ส ารวจความต้องการ และการส ารวจกิจกรรมก่อนเริ่มด าเนินการ

2. การวางแผน (Planning) คือการน าเอาข้อมูลที่ได้จากการประเมินในขั้นตอนที่

หนึ่ง น ามาวางแผนในการด าเนินงานโปรแกรมนันทนาการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

3. การน าไปใช้ (Implementation) เมื่อผ่านกระบวนการในข้อหนึ่ง และข้อสอง แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ส าคัญอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือการน าแผนไปใช้ และคอยสังเกต และต้องจดบันทึก การใช้เครื่องมือหรือสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ

4. การประเมินผลโปรแกรม (Evaluation) เมื่อได้ด าเนินการไปตามโปรแกรม นันทนาการแล้ว ให้น าผลการปฏิบัติ ในประเด็นต่างๆ อาทิเช่น ข้อดีข้อเสียในด้านต่างๆ น ามาสรุป ผล และท าการประเมินผล จากนั้นน าข้อมูลไปท าการปรับปรุง และพัฒนาโปรแกรมให้มี

ประสิทธิภาพต่อไป

ภาพประกอบ 2 กระบวนการสร้างโปรแกรมนันทนาการด้วย APIE ของ Austin ที่มา: (Austin, 2004)

การประเมินก่อน

การน าไปใช้

การประเมินโปรแกรม การวางแผน

โดยการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดโปรแกรมนันทนาการ ส าหรับผู้น านักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเขตภาคกลาง ผู้วิจัยเลือกกระบวนการ สร้างโปรแกรมนันทนาการด้วย APIE น ามาปรับใช้ในการสร้างโปรแกรม ที่จะให้เป็นเครื่องมือใน การวิจัย โดยใช้หลักการ APIE

1.4. แนวคิดและทฤษฎีการออกแบบโปรแกรมนันทนาการ

Rossman and Schlatter (2015) ได้ท าการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีการออกแบบ โปรแกรมนันทนาการของ Goffman and Denzin (1975) เพื่อน ามาเป็นองค์ประกอบหลักของการ จัดโปรแกรมนันทนาการ ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของโปรแกรมนันทนาการ ซึ่ง ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ประกอบไปด้วย

1. มีการปฏิสัมพันธ์กับคน (Interacting People) ซึ่งคนเป็นปัจจัยหนึ่งของการ ออกแบบโปรแกรมนันทนาการ ผู้น านันทนาการจึงจ าเป็นที่จะต้องเข้าใจกระบวนการพัฒนา ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของคน อีกทั้งจะต้องเข้าใจในเรื่องอายุ เพศ ระดับความสามารถ และทักษะ รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้ผู้วางแผนโปรแกรมนัทนาการ เข้าใจถึงประโยชน์และเป้าประสงค์ที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะสามารถได้รับจากการเข้าร่วม นอกจากนี้ โปรแกรมนันทนาการจะต้องตอบสนอง และตรงตามความต้องการของคนได้ ดังนั้นผู้ที่

ออกแบบโปรแกรมจะต้องก าหนด รูปแบบ กระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของผู้ที่จะเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการนั้นๆ

2. สถานที่ตั้งทางกายภาพ (The Physical Setting) สถานที่ในการจัดโปรแกรม นันทนาการ จะต้องมีองค์ประกอบที่ส าคัญต่อการรับรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย การมองเห็น (Visual) การรับรส (Teste) การได้กลิ่น (Olfactory) การได้ยิน (Aural) และการสัมผัส (Tactile) ซึ่ง ผู้ออกแบบโปรแกรมนั้นจะต้องท าความเข้าใจในจุดเด่น และข้อจ ากัดของสถานที่ตั้งในการจัด โปรแกรมนันทนาการ เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วนส่งผลต่อโปรแกรมนันทนาการ

3. วัสดุการใช้เวลาว่าง (Leisure Objects) วัสดุที่ใช้ในการด าเนินโปรแกรม นันทนาการ ประกอบไปด้วย 3 ประเภท ประกอบด้วย วัสดุทางกายภาพ ซึ่งหมายถึงสภาพ บรรยากาศของสถานที่ในการด าเนินการ วัสดุสังคม ซึ่งหมายถึงการมีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์

กันของผู้เข้าร่วม และวัสดุสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อกันและกันในด้าน ความสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วม

4. โครงสร้าง (Structure) ในโปรแกรมนันทนาการจะต้องก าหนดโครงสร้างและ รูปแบบของโปรแกรม เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการด าเนินงานในการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ