• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความหมายของ Mala in se และ Mala prohibits

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ความหมายของ Mala in se และ Mala prohibits "

Copied!
16
0
0

Teks penuh

(1)

บทที่ 3

หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธปน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง

และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490

พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธ ปน พ.ศ.2490 นั้นเปนพระราชบัญญัติที่มีโทษในทางอาญา ซึ่งเปนกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อ กําหนดลักษณะของการกระทําที่ถือวาเปนความผิด และกําหนดบทลงโทษทางอาญาสําหรับ ความผิดนั้น เปนกฎหมายที่บัญญัติวาการกระทําหรือไมกระทําการอยางใดเปนความผิด แมวาตาม แนวคิดและทฤษฎีของกฎหมายอาญา กฎหมายควรจะมีการบัญญัติขึ้นจากเจตจํานงของประชาชน ก็ตาม แตในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญาที่ใชในปจจุบัน มิไดมีการบัญญัติขึ้นตามแนวคิด ดังกลาว หากแตเปนการเรงรัดและรีบใหมีการออกกฎหมายดังกลาวเพื่อใหกฎหมายมีความ เหมาะสมตามกาลสมัยที่พัฒนามาจาก กฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 เพื่อใหกฎหมายมีความ ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

ความหมายของ Mala in se และ Mala prohibits

1. ความผิดในตัวเอง (Mala in se) (ชาญชัย ภิรมจิตร, ออนไลน, 2550) หมายถึง การ กระทําที่เปนความผิดในตัวของมันเอง ไมวาจะกระทําลงในสถานที่ใด ยุคสมัยใด เวลาใด และโดย ผูกระทําผูใดก็ตาม ในเบื้องตนเมื่อมนุษยมาอยูรวมกันเปนสังคมและคอย ๆ พัฒนากฎเกณฑในการ อยูรวมกันในหลายรูปแบบตั้งแตศาสนา ศีลธรรม จารีตประเพณี จนกระทั่งปรากฏอยูในรูปแบบ ของกฎหมาย ดังนั้น กฎเกณฑตาง ๆ เหลานี้จึงมีสวน ที่เกี่ยวของหรือเหมือนกันอยู พึงสังเกตไดวา ความผิดประเภทที่เปน Mala in se มักจะเปนการกระทําที่เปนขอหามในทางศาสนา หรือทาง ศีลธรรมหรือเปนสิ่งที่ไมพึงปฏิบัติในทางจารีตประเพณีอยูดวย เชน ความผิดฐานฆาผูอื่น ทําราย รางกาย ลักทรัพย หรือหมิ่นประมาท เปนตน

(2)

2. ความผิดเพราะกฎหมายหาม (Mala prohibita) หมายถึง การกระทําที่กฎหมาย กําหนดใหเปนความผิด ซึ่งอาจจะแตกตางกันออกไปตามเงื่อนไขตาง ๆ กลาวคือ การกระทําหนึ่ง อาจเปนความผิดในประเทศหนึ่งหรือชวงระยะเวลาหนึ่ง แตอาจไมเปนความผิดในอีกประเทศหรือ ในระยะเวลาอื่น Mala probihita มักจะเปนความผิดที่ไมผิดตอกฎเกณฑอื่นของสังคม แตรัฐกําหนด เอาวาเปนความผิดอาญาเพื่อประโยชนของรัฐเอง เชน รัฐออกกฎหมายกําหนดราคาสูงสุดที่บุคคล จะขายทรัพยของเขาไดเปนตน และเอาโทษทางอาญาแกผูที่ขายของเกินราคาสูงสุดที่รัฐกําหนดไว

นั้น ซึ่งการขายของนี้ความจริงไมผิดศีลธรรม หรือมีขอหามทางศาสนา หรือจารีตประเพณี

นอกจากนั้นยังมีความผิดในลักษณะนี้อีกมากมาย เชน ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 เปนตน

จากการศึกษาของผูศึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 แลว ผูศึกษาพบวา สาระสําคัญของพระราชบัญญัติ

อาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 นั้นมี

สาระสําคัญกลาวคือ

หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเทียมอาวุธในประเทศไทย

เนื่องจากปญหาอาชญากรรมที่รัฐไมสามารถคุมครองความปลอดภัยใหแกประชาชนได

ทําใหรัฐจําตองใหประชาชนที่มีสิทธิในการปองกันชีวิตและทรัพยสินของตนเอง อันถือเปนสิทธิ

มนุษยชนขั้นพื้นฐานที่กฎหมายรับรอง แตการที่จะอนุญาตใหมีหรือใชสิ่งเทียมอาวุธปนไดอยางเสรี

ถาไมมีหลักเกณฑการควบคุมที่เหมาะสมหรือผูขออนุญาตไมรูจักวิธีใชที่ถูกตอง ก็จะทําใหเกิดโทษ กับตนเองและสังคมยิ่งขึ้น

1. ความหมายของสิ่งเทียมอาวุธปน

“สิ่งเทียมอาวุธปน” หมายความวา สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันนาจะทําใหหลงเชื่อวาเปน อาวุธปน (มาตรา 4 (5) แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490)

ดังนั้น จากการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของปนอัดลมเบาและจากประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 ผูศึกษามีความเห็นวา หากจะจัดปนอัดลมเบาเปนอาวุธปนตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 นั้นปนอัดลมเบาตอง สามารถสงเครื่องกระสุนออกไปโดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแกสหรืออัดลมหรือเครื่องกลไก

(3)

อยางใด ซึ่งตองอาศัยอํานาจของพลังงาน และสวนหนึ่งสวนใดของอาวุธ ซึ่งปนอัดลมเบานั้นใช

กําลังดันของแกสหรืออัดลม เปนตัวสงกระสุนพลาสติกหรือกระสุนผลิตภัณฑเซรามิคสังเคราะห

ออกไปได แตตามบทบัญญัติใน มาตรา 4(1) นั้นหากจะเปนอาวุธปนตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 ไดนั้นนอกจะสามารถ ใชสงเครื่องกระสุนปนโดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแกสหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอยางใด ซึ่ง ตองอาศัยอํานาจของพลังงาน และสวนหนึ่งสวนใดของอาวุธ แลวยังตองมีองคประกอบสําคัญอีก อยางหนึ่งนั้นก็เครื่องกระสุนซึ่งใชกับตัวอาวุธปนนั้นตองเปนเครื่องกระสุนตามมาตรา 4 (2) คือตอง เปนเครื่องกระสุนที่เปน กระสุนโดดกระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอรปโด ทุนระเบิดและ จรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไมมีกรดแกส เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูก ระเบิด ตอรปโด ทุนระเบิดและจรวด แตกระสุนของปนอัดลมเบานั้นเปนกระสุนพลาสติกหรือ กระสุนผลิตภัณฑเซรามิคสังเคราะหที่ไมสามารถทําอันตรายแกรางกายมนุษยได ทําใหกระสุนของ ปนอัดลมเบานั้นไมจัดเปนเครื่องกระสุนตาม มาตรา 4 (2) พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุน ปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 เพราะฉะนั้นถึงแมวาปนอัดลมเบาจะ ใชกําลังดันของแกสหรืออัดลม ในการสงลูกกระสุนออกไปก็ไมถือวาปนอัดลมเปน “อาวุธปน”

ตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 เพราะลูกกระสุนของปนอัดลมเบาไมจัดอยูในลักษณะของเครื่องกระสุนตามมาตรา 4(2) พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.

2490 เนื่องจากลูกกระสุนของปนอัดลมเบาเปนกระสุนพลาสติกหรือกระสุนผลิตภัณฑเซรามิค สังเคราะหที่ไมสามารถทําอันตรายแกรางกายมนุษยอยางสาหัสได และหากพิจารณาในสวนของ กฎหมายอาญาวาปนอัดลมเบา จัดเปนอาวุธตามมาตรา 1 (5) หรือไม ในสวนของกฎหมายอาญา มาตรา 1(5) บัญญัติวา “อาวุธ” ไวคือสิ่งซึ่งไมเปนอาวุธโดยสภาพ แตซึ่งไดใชหรือเจตนาจะใช

ประทุษรายรางกายถึงอันตรายสาหัสอยางอาวุธ เมื่อผูศึกษาไดทําการศึกษาแลวปรากฏวาปนอัดลม เบาตามสภาพของลักษณะภายนอกที่มีสภาพไมตางจากอาวุธปน แตปนอัดลมไมสามารถทํา อันตรายสาหัสใหแกรางกายของมนุษยไดตามมาตรา 1(5) ประมวลกฎหมายอาญาไดเนื่องจาก ปน อัดลมเบาใชกระสุนของปนอัดลมเบานั้นเปนกระสุนพลาสติกหรือกระสุนผลิตภัณฑเซรามิค สังเคราะหซึ่งมีความเร็วตนและแรงปะทะที่ต่ํามากเพียง 280 ฟุตตอวินาที จึงไมสามารถทําใหเกิด อันตรายสาหัสแกรางกายมนุษยได แตหากนําปนอัดลมเบาไปใชในการกระทําความผิดตาม กฎหมาย จะถือวาปนอัดลมเบานั้นเปนอาวุธ เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 1(5) ประมวลกฎหมาย

(4)

อาญามีการกลาวถึงสิ่งที่ไมเปนอาวุธโดยสภาพแตไดใชหรือเจตนาจะใชประทุษรายรางกายถึง อันตรายสาหัสอยางอาวุธ ก็ถือวาเปนอาวุธตามมาตรานี้เชนกัน

เมื่อวิเคราะหตามสภาพแลวปนอัดลมเบาไมจัดวาเปน “อาวุธ” ตามประมวลกฎหมาย อาญาและ “อาวุธปน” ตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 แลวปนอัดลมจะจัดอยูในประเภทใด ในสวนนี้กฎหมายก็ไดมีการ กําหนดคําวา “สิ่งเทียมอาวุธปน” ไวคือ สิ่งซึ่งมีรูปและลักษณะอันนาจะทําใหหลงเชื่อวาเปนอาวุธ ปน ซึ่งตรงกับลักษณะของปนอัดลมเบา ในสวนนี้กฎหมายไมไดมองถึงองคประกอบภายในหรือ ผลที่เกิดจากการใชอาวุธปนแตเปนการมองในสวนของลักษณะภายนอก ลักษณะของสิ่งที่ทําให

ผูอื่นเขาใจวาเปนอาวุธปนเพียงแคเห็นภายนอก ปนอัดลมเบาซึ่งมีลักษณะภายนอกเหมือนอาวุธปน ทุกประการ จึงถือไดวาปนอัดลมเบาเปนสิ่งเทียมอาวุธปนตามมาตรา 4 (5) พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490

2. การสั่ง นําเขา หรือคาซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปน

“นําเขา” หมายความวา นําเขามาจากภายนอกราชอาณาจักรไมวาโดยวิธีใด ๆ (มาตรา 4 (8) แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490)

การสั่ง นําเขา หรือคาซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปนนั้น จะตองไดรับอนุญาตจากนายทะเบียน ทองที่ (มาตรา 52 แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่ง เทียมอาวุธปน พ.ศ.2490) ในการนี้ หากมิไดปฏิบัติตามคําสั่งของนายทะเบียนทองที่แลวบุคคล ดังกลาวมีความผิดตองระวางโทษจําคุกไมเกินหนึ่งเดือนหรือปรับไมเกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้ง ปรับ (มาตรา 77 แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่ง เทียมอาวุธปน พ.ศ.2490)

จากบทบัญญัติดังกลาวนั้น การที่จะสั่ง นําเขา หรือคาซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปนนั้น จําตอง ไดรับอนุญาตจากเจาพนักงานทองที่กอนจึงจะดําเนินการกระทําการดังกลาวได มิฉะนั้นจะเกิดโทษ ทางอาญาแกบุคคลผูฝาฝน

3. คุณสมบัติของผูขออนุญาตสั่ง นําเขา หรือคาสิ่งเทียมอาวุธปน

เกี่ยวกับคุณสมบัติของผูขออนุญาตสั่ง นําเขา หรือคาสิ่งเทียมอาวุธปนนั้น ไดมีหลักเกณฑ

เพื่อใหเจาหนาที่ผูเกี่ยวของพิจารณาไวโดยดําเนินการเชนเดียวกับการขออนุญาตสั่ง นําเขา หรือคา อาวุธปน เครื่องกระสุนปน ดังนี้

3.1 เปนบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ

(5)

3.2 ไมเปนบุคคลซึ่งไมสามารถใชอาวุธปนไดโดยกายพิการหรือทุพพลภาพ

3.3 ไมเปนบุคคลไรความสามารถหรือเสมือนไรความสามารถหรือจิตฟนเฟอนไมสม ประกอบ หรือวิกลจริต

3.4 ประกอบสัมมาอาชีพ มีถิ่นที่อยูประจําในทองที่ที่ขออนุญาต และมีชื่อในทะเบียน บานตามกฎหมายวาดวยทะเบียนราษฎรไมนอยกวา 6 เดือน

3.5 ไมเปนบุคคลที่มีความประพฤติชั่วอยางรายแรงอันอาจกระทบตอความสงบเรียบ รอยของประชาชน

3.6 ไมเคยตองโทษจําคุกในฐานความผิดที่กฎหมายกําหนด ดังตอไปนี้

3.6.1 ไมเปนบุคคลซึ่งตองโทษจําคุกสําหรับความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 97 มาตรา 111 มาตรา 120 มาตรา 177 มาตรา 183 มาตรา 249 มาตรา 250 มาตรา 293 ถึง มาตรา 303 มาตรา 245 ถึง 257 และพนโทษยังไมเกิน 5 ป นับแตวันพนโทษถึงวันยื่นคําขอใบอนุญาต เวนแต

ในกรณีความผิดที่กระทําโดยความจําเปนหรือเพื่อปองกันหรือโดยถูกยั่วยุโทสะ

3.6.2 ไมเปนบุคคลซึ่งตองโทษจําคุกสําหรับความผิดอันเปนการฝาฝนตอพระราช- บัญญัติอาวุธปนฯ พ.ศ.2477 มาตรา 11 มาตรา 22 มาตรา 29 ถึง มาตรา 33 หรือพระราชบัญญัติอาวุธ ปนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7 มาตรา 24 มาตรา 33 หรือมาตรา 38

3.6.3 ไมเปนบุคคลซึ่งตองโทษจําคุกตั้งแตสองครั้งขึ้นไป ในระหวางหาปนับยอน ขึ้นไปจากวันยื่นคําขอ สําหรับความผิดอยางอื่นนอกจากที่บัญญัติไวใน 6.1 และ 6.2 เวนแตความผิด ที่ไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

3.7 ไมเปนบุคคลที่ตองคําพิพากษาของศาลใหปรับตั้งแตสองครั้งขึ้นไป หรือจําคุกแม

แตครั้งเดียวฐานความผิดตอพระราชบัญญัติอาวุธปนฯ พ.ศ.2477 และพระราชบัญญัติอาวุธปนฯ พ.ศ.2490 และพนโทษครั้งสุดทายไมเกิน 10 ป นับแตวันยื่นคําขอใบอนุญาต

4. เอกสารหลักฐานประกอบคําขออนุญาต 4.1 บัตรประจําตัวประชาชนพรอมสําเนา 4.2 ทะเบียนบานพรอมสําเนา

4.3 สําเนาทะเบียนบานของสถานที่ตั้งรานคา

4.4 หนังสืออนุญาตใหใชสถานที่ตั้งทําการคาออกใหโดยเจาของกรรมสิทธิ์หรือผูมี

อํานาจ

4.5 ใบทะเบียนการคา ทะเบียนพาณิชย หรือหนังสือบริคณหสนธิ

(6)

4.6 บัญชีสําหรับลงรายการยอดอาวุธปนและเครื่องกระสุนปน (แบบ ป.8) ของรอบที่

ผานมา

5. ขั้นตอนการขออนุญาตสั่ง นําเขา หรือคาสิ่งเทียมอาวุธปน

ในการขออนุญาตการสั่งนําเขา หรือคาสิ่งเทียมอาวุธปนนั้น ผูขออนุญาตตองเปนผูมี

คุณสมบัติไมตองหามตามมาตรา 26 แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 มีความประพฤติเปนที่ไววางใจใหทําการคา จําหนาย ประกอบซอมแซมเปลี่ยนลักษณะสิ่งเทียมอาวุธปน ใหเจาพนักงานพิมพลายนิ้วมือตรวจสอบวาเคย มีประวัติอยางใดมากอนหรือไม ประกอบกับตองเปนผูมีหลักทรัพยเปนหลักฐานพอที่จะตั้งรานคา เพื่อทําการคาจําหนาย ประกอบ ซอมแซม เปลี่ยนลักษณะสิ่งเทียมอาวุธปน โดยใหสอบสวนใหแน

ชัดวาผูขออนุญาตมีทรัพยเทาใด หรือหลักทรัพยอยางใด ราคาเทาใด เปนกรรมสิทธิ์ของผูขอ อนุญาตแตผูเดียวหรือมีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่น

ทั้งนี้ นอกจากพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 จะไดกําหนดคุณสมบัติของผูที่ขออนุญาตการสั่งนําเขา หรือคาสิ่งเทียม อาวุธปนแลว พระราชบัญญัติดังกลาวยังไดกําหนดเงื่อนไขการตรวจสอบควบคุม โดยการวาง ระเบียบ การขอและการออกใบอนุญาต ตลอดจนการกําหนดอัตราคาธรรมเนียมไวดวย กลาว โดยเฉพาะคือ การที่บุคคลใดประสงคจะสั่ง นําเขา หรือคาซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปนจะตองยื่นคําขอ ใบอนุญาตตามแบบ ป.1 และ ป.2 สําหรับการจะนําเขา และใบ ป.3 สําหรับการจะคาตอนายทะเบียน ทองที่ ตามแบบที่กฎกระทรวง (พ.ศ.2490) ซึ่งไดออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 โดยอาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 6 แหงพระราชบัญญัติดังกลาว (กฎกระทรวง, วันที่ 19 กันยายน 2490)โดยในสวนของ สถานที่ทําการคานั้น เจาพนักงานทองที่ก็จะทําการสํารวจ สถานที่ทําการคาวาเปนที่มั่นคงแข็งแรง เหมาะสมและตั้งอยูในยานการคาสะดวกแกการควบคุมตรวจตราของนายทะเบียนทองที่และ เจาหนาที่ และในกรณีที่ผูขออนุญาตเปนบุคคลเดียวหรือบุคคลกับนิติบุคคลที่มีผูจัดการเปนบุคคล เดียวกัน หรือนิติบุคคลกับนิติบุคคลที่มีผูจัดการเปนบุคคลเดียวกัน ซึ่งเคยไดรับอนุญาตใหทําการคา จําหนายสิ่งเทียมอาวุธปนและเครื่องกระสุนปนอยูในสถานที่ทําการคาเดียวกัน จะไดรับใบอนุญาต ใหทําการคาและจําหนายสิ่งเทียมอาวุธปนในสถานที่ทําการคาเดียวกันไดรวมทั้งสิ้นไมเกินหา ใบอนุญาตเฉพาะสถานที่ทําการคาที่ตั้งอยูในเขตทองที่กรุงเทพมหานคร และไมเกินหนึ่งใบอนุญาต สําหรับในจังหวัดอื่น

(7)

โดยหลังจากที่เจาพนักงานทองที่สืบสวนสอบสวนผูขออนุญาตแลวจะสงสํานวนทั้งหมด พรอมดวยคําขอรับอนุญาตไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบการพิจารณาทุกคราวที่มีการขอ อนุญาต (คําสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 109/2535, ลว 10 กุมภาพันธ 2535)

โดยบุคคลใดประสงคจะสั่ง นําเขา หรือคาซึ่งสิ่งเทียมอาวุธปนใหยื่นคําขอรับใบอนุญาต ตามแบบ ป.1 ตอนายทะเบียนทองที โดยนายทะเบียนทองที่จะอนุญาตใหออกใบอนุญาตสั่ง นําเขา ตามแบบ ป.2 สวนการอนุญาตใหคาจะออกตามแบบ ป.5

6. การนําสิ่งเทียมอาวุธไปใชในทางมิชอบอาจเปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาใน ประเทศได

6.1 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียงโดยทั่วไป

ในกรณีที่ผูนําสิ่งเทียมอาวุธปนไปขมขูบุคคลอื่นใหกลัวหรือจํายอมกระทําการใดทั้งที่

ไมยอมหรือกระทําการนั้นกรณีเชนนี้ เปนความผิดในการขมขืนใจผูอื่นโดยทําใหกลัวตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 309 ซึ่งบัญญัติวา

ผูใดขมขืนใจผูอื่นใหกระทําการใด ไมกระทําการใดหรือจํายอมตอสิ่งใด โดยทําให

กลัววาจะเกิดอันตรายตอชีวิต รางกายเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพยสินของผูถูกขมขืนใจนั้นเองหรือ ของผูอื่นหรือโดยใชกําลังประทุษรายจนผูถูกขมขืนใจตองกระทําการนั้น ไมกระทําการนั้นหรือจํา ยอมตอสิ่งนั้น ตองระวางโทษจําคุกไมเกินสามป หรือปรับไมเกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ถาความผิดวรรคแรกไดกระทําโดยมีอาวุธปน หรือโดยรวมกระทําความผิดดวยกัน ตั้งแตหาคนขึ้นไป หรือไดกระทําเพื่อใหผูถูกขมขืนใจทํา ถอน ทําใหเสียหาย หรือทําลายเอกสาร สิทธิอยางใด ผูกระทําตองระวางโทษจําคุกไมเกินหาป หรือปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้ง ปรับ

ซึ่งเปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในหมวดของความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ และชื่อเสียง อันเปนความผิดตอเสรีภาพโดยทั่วไป กลาวคือ องคประกอบความผิดในสวนการ กระทําเริ่มตนที่การทําใหกลัววาจะเกิดอันตรายตอชีวิต รางกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพยสิน กฎหมายไมใชคําวา “ขูเข็ญวาจะทําอันตรายตอชีวิต ฯลฯ” ดังที่บัญญัติไวในมาตรา 337 จึงทําใหการ กระทําตางกันไปมาก การทําใหกลัววาจะเกิดอันตรายไมไดหมายความจํากัดแตเฉพาะวาผูกระทําจะ กออันตรายใหเกิดขึ้นโดยตนเอง อาจเปนอันตรายที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือผูอื่นกอใหเกิดขึ้น โดยผูกระทําไมมีสวนเกี่ยวของเลยก็ได ตางกับการ “ขูเข็ญวาจะทําอันตราย” ซึ่งหมายความวา ผูกระทําจะกอใหเกิดอันตรายขึ้นโดยตนเองหรือใหผูอื่นกระทําใหเกิดอันตรายนั้นขึ้น

(8)

อันตรายตอชีวิต คือ ตาย อันตรายตอรางกายคงจะหมายความถึงกายหรือจิตใจไดรับ ความเสียหาย จะถึงอันตรายแกกายหรือจิตใจตามมาตรา 295 แหงประมวลกฎหมายอาญา หรือไมก็

ได สวนอันตรายตอเสรีภาพ หมายความถึง การจําตองกระทําหรือไมกระทําการใด ๆ โดยไมสมัคร ใจ เชน ถูกกักขัง ถูกบังคับใหยายที่อยู ที่ทําการ บังคับใหไปหรือไมใหไปไหน ใหเคลื่อนไหวหรือ ไมใหเคลื่อนไหวรางกาย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เชน บังคับใหพูดใหเขียนหรือไมใหพูด ไมใหเขียน อันตรายตอชื่อเสียง เชน ถูกหมิ่นประมาท ถูกกระทําใหอับอายขายหนา ทําใหอนาจาร หรือเปดความลับ อันตรายตอทรัพยสิน เชนทําลายทรัพย เผาบาน รื้อหลังคา พังประตูหนาตาง ไมใหอยูในบาน รวมทั้งทรัพยสินไมมีรูปราง คือ สิทธิที่มีราคาและถือเอาได เชน สิทธิในหนี้ เปน ตนวาขูจะไลออกจากงาน อันตรายตอสิ่งเหลานี้จะเปนแกผูถูกขมขืนใจหรือผูอื่นก็ได ไมจําเปนที่

ผูอื่นนั้นจะตองมีสัมพันธอันใดกับผูถูกขมขืนใจ ขอสําคัญ คือ ผูกระทําคิดวาไดรับผลจากการทําให

ผูถูกขมขืนใจกลัวอันตรายที่จะเกิดแกผูอื่นจึงไดกระทําไป การทําใหกลัวตามมาตรานี้นั้น จะทําโดย วิธีใดก็ได อาจทําโดยหลอกไมคิดจะทําใหเกิดอันตรายจริงตามที่ขูก็ได (จิตติ ติงศภัทิย, 2545, หนา 284) เชน ใชปนไมมีลูก หรือปนของเลนหลอกวาจะทําราย เปนตน

ขมขืนใจผูอื่น คือ ทําใหผูอื่นนั้นจําตองทํา ไมกระทําหรือยอมใหกระทํา ขมขืนใจอัน เปนการกระทําอันเดียวกับการทําใหกลัวหรือใชกําลังประทุษรายนั้นเอง แตหมายความตามไปอีกวา ตองมีผลเกิดขึ้น คือ ความจํายอมตามที่ถูกขืนใจ การกระทําที่เปนการขมขืนจึงเปนการกระทําที่รวม การทําใหกลัวหรือใชกําลังประทุษรายกับผลที่จํายอมตามที่ถูกกระทําเขาดวยกัน ขมขืนใจผูอื่นเปน ขอความที่บัญญัติขึ้นเพื่อแสดงวาการทําใหกลัวหรือใชกําลังประทุษรายตองมีผลเกิดขึ้นเปนการขืน ใจผูถูกกระทําโดยมีสัมพันธระหวางการกระทํากับผลนั้น เปนการบังคับที่ผูถูกขมขืนใจมิไดมีใจ สมัคร กลาวคือ การทําใหผูอื่นกลัวจะเกิดอันตรายหรือจะใชกําลังประทุษรายนั้น เปนเหตุให

ผูถูกกระทํารูสึกวาจําตองอนุโลมตามคําบังคับ มิใชทําโดยสมัครใจดวยการวินิจฉัยตัดสินของ ตนเองโดยเสรี ความผิดฐานนี้เปนความผิดตอเสรีภาพในการตัดสินใจ (จิตติ ติงศภัทิย, 2545, หนา 287)

จํายอม คงไมหมายความเพียงผูถูกขมขืนใจแสดงกิริยาหรือวาจายอมเทานั้น แตตองมี

การยอมรับการกระทําหรือเหตุการณอยางหนึ่งอยางใดเกิดขึ้นแลวดวย เชนยอมใหผูกระทํายืมรถ ของผูถูกขมขืนใจขับขี่ไปชั่วคราว มิใชเพียงแตผูถูกขมขืนใจพูดวายอมเทานั้น หากตองมีการเอารถ ไปใชแลว แมแตเพียงขณะหนึ่ง ไมตองรอจนใหรถเสร็จตามตองการจนเลิกใช ตางกับการขมขืนใจ ตามมาตรา 337 ที่เพียงแตยอมจะใหก็จะเปนความผิด การกระทํา ไมกระทํา หรือจํายอมตอสิ่งใด ตามที่บัญญัติไวนี้ มีความหมายกวางขวางไมมีจํากัด เชนใชปนจี้บังคับใหคนขับรถใหนั่งเฉย ๆ เอา

(9)

มือวางไวที่พวงมาลัย เปนตน มาตรานี้จึงคลุมถึงความผิดฐานอื่น ๆ ไดอีกหลายฐาน เชน ถาบังคับ ใหกระทําความผิด ก็เปนการใชตามมาตรา 84 แหงประมวลกฎหมายอาญา ถาบังคับใหสงทรัพยก็

อาจเปนกรรโชกหรือชิงทรัพย ถาบังคับใหจํายอมตอการกระทําทางเพศก็เปนความผิดในฐานนั้น ๆ เหลานี้เปนตน จึงตองแลวแตการกระทําที่ถูกบังคับนั้นทําใหเปนความผิดฐานใดอีกหรือไม อาจเปน ความผิดหลายบทหรือหลายกระทงตามมาตรา 90 หรือ 91 แหงประมวลกฎหมายอาญา แลวแตกรณี

ดังนั้น ความผิดสําเร็จตามมาตรานี้ จะเปนความผิดไดก็ตอเมื่อผูถูกขมขืนใจไดกระทํา ไมกระทํา หรือจํายอมตอสิ่งที่ขมขืนใจ แมจะเพียงเล็กนอยบางสวนไมเต็มตามที่ถูกขมขืนใจก็ตาม ก็ยอมเปน ความผิดสําเร็จแลว

6.2 ความผิดฐานกรรโชกทรัพย

ในกรณีที่ผูนําสิ่งเทียมอาวุธปนไปขมขูผูอื่นโดยประสงคตอทรัพย ซึ่งบุคคลนั้นใชสิ่ง เทียมอาวุธปนดังกลาวเพื่อใหบุคคลอื่นหลงเชื่อวาเปนอาวุธปนจริง กรณีเชนนี้เปนความผิดกรรโชก ทรัพย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 ซึ่งบัญญัติวา

ผูใดขมขืนใจผูอื่นใหยอมใหหรือยอมจะใหตนหรือผูอื่นไดประโยชนในลักษณะที่

เปนทรัพยสิน โดยขูเข็ญวาจะทําอันตรายตอชีวิต รางกาย เสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพยสินของผูถูกขู

เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผูถูกขมขืนใจยอมเชนวานั้น ผูนั้นกระทําความผิดฐานกรรโชก ตอง ระวางโทษจําคุกไมเกิดหาป และปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรานี้มีขอความทํานองเดียวกันกับมาตรา 303 แหงกฎหมายลักษณะอาญาเดิม แต

เปลี่ยนวัตถุแหงการกระทําจากทรัพยมาเปนประโยชนในลักษณะที่เปนทรัพยสิน ทําใหมี

ความหมายกวางยิ่งขึ้นรวมตลอดถึงความผิดตอสิทธิที่มีคาเปนเงิน ไมเฉพาะแตการกระทําตอ ทรัพยสินโดยตรงเทานั้น (จิตติ ติงศภัทิย, 2545, หนา 712) การทําถอนหรือทําลายหนังสือสําคัญ ตามมาตรา 303 เดิม ก็คงเปนสิทธิซึ่งเปนประโยชนในลักษณะที่เปนทรัพยสินนั่นเอง

องคประกอบความผิดในสวนการกระทําเริ่มตนดวยการ “ใชกําลังประทุษราย” ซึ่ง มาตรา 1 (6) ใหบทนิยามวา หมายความวา ทําการประทุษรายแกกายหรือจิตใจของบุคคล ไมวาจะ ทําดวยใชแรงกายภาพหรือดวยวิธีอื่นใด และใหหมายความรวมถึงการกระทําใด ๆ ซึ่งเปนเหตุให

บุคคลใดอยูในภาวะที่ไมสามารถขัดขืนได ไมวาจะโดยใชยาทําใหมึนเมา สะกดจิต หรือใชวิธีอื่นใด อันคลายคลึงกัน “ประทุษราย” หรือทํารายมีความหมายอยางเดียวกัน คือ ทําใหเสียหาย เปนภัย ตาม ความหมายในมาตรา 290 แตมิไดมุงถึงผลที่เปนอันตรายแกกายหรือจิตใจตาม มาตรา 295 การ ประทุษรายตองกระทําแก “กายหรือจิตใจของบุคคล” มิใชทําแกทรัพยสิน ชื่อเสียง เสรีภาพ ซึ่งอยู

(10)

ในความหมายของการขูเข็ญ การจับ การขังเปนการกระทําตอเสรีภาพ โดยสภาพแมกระทําตอตัว คน ก็ไมเปนการกระทําที่เปนภัยแกกายหรือจิตใจในตัวเอง แตอาจมีการกระทําแกกายในการจับ หรือขัง เชน ใชกําลังจับมือ รัดคอ มัดมือไว เปนตน ซึ่งการกระทําในสวนนี้ ก็ตองถือวาเปนการ กระทําแกกายดวย ไมแตเพียงกระทําตอเสรีภาพเทานั้น การกระทําแกกายไดแกทําใหเจ็บปวยเปรอะ เปอน เปยก รอน เย็นกวาปกติจนถึงเปนภัยตอกาย เชน เทอุจจาระรด ถายปสสาวะรดตัวคน เปนตน การกระทําตอจิตใจ ไดแกทําใหตกใจ ทําใหหมดสติ ไมแตเพียงเกิดความรูสึกกลัว โกรธ หรือเสียใจ นอยใจ เจ็บใจ แคนใจ ซึ่งเปนแตเพียงอารมณ

ขูเข็ญวาจะทําอันตราย เปนการแสดงวาจะทําใหเกิดภัยแกผูหนึ่งผูใด ผูถูกขูเข็ญจะ กลัวหรือไมกลัวก็เปนการขูเข็ญอาจขูตรง ๆ หรือใชถอยคําหรือกิริยาใหเขาใจเชนนั้นโดยไมขูตรง ๆ ก็ได การขูวาจะทํารายอาจทําไดทั้งที่ผูขูไมตั้งใจจะทํารายจริง ถาทําโดยเจตนาใหผูถูกขูเขาใจวาจะ ถูกทํารายก็เปนการขู เชนใชปนไมมีกระสุนขูวาจะยิง ซึ่งผูถูกขูเขาใจวามีกระสุนก็เปนการขู ใชปน ไมมีกระสุนขูจริง ๆ แตผูถูกขูเขาใจวาขูเลน ๆ ก็สําเร็จเปนการขู ผูถูกขูไมกลัวก็สําเร็จเปนการขูแต

ไมสําเร็จเปนการกรรโชก เปนไดแคพยายามกรรโชกเชนเดียวกับขูจริงแตผูถูกขูไมกลัว

ขมขืนใจผูอื่นใหยอมใหหรือยอมจะให เปนการกระทําอันเปนลักษณะของการ ประทุษรายหรือขูเข็ญ เปนการกระทําถัดจากการประทุษรายหรือขูเข็ญ คือเรียกเอาประโยชนโดย การประทุษรายหรือขูเข็ญขมขืนใจ ถาผูกระทํารายไมไดขมขืนใจใหยอมใหหรือยอมจะให แต

ผูถูกกระทํารายกลัวและขอใหประโยชนเสียเอง แมผูกระทํารายหรือขูจะรับเอาก็เปนความคิดขึ้น ภายหลังการประทุษรายหรือขูเข็ญไมเปนกรรโชก การขมขืนใจนั้นเมื่อมีการประทุษรายหรือขูเข็ญ ขึ้นแลวก็มีความหมายแตเพียงวาเปนการบังคับเอาโดยผูถูกขูเข็ญมิไดสมัครใจการยอมใหหรือยอม จะใหโดยถูกบังคับเชนนั้นไมใชยินยอมโดยสมัครใจ ถาผูถูกประทุษรายหรือขูเข็ญไมกลัว แตยอม ใหโดยเหตุอยางอื่น เชน เพื่อจับกุมผูกระทําความผิด ก็ไมมีผลเปนการขมขืนใจ อาจเปนเพียงขั้น พยายามกรรโชก อยางไรก็ดี ถาผูถูกบังคับจําเปนตองยอมใหเพราะถูกทํารายหรือกลัวจะถูกทําราย ไมเปนการใหโดยสมัครใจ แมจะเตรียมหลักฐานไวเพื่อจับกุมหรือเอาทรัพยคืนภายหลัง เชนทํา เครื่องหมายไวที่ธนบัตร ก็ยังเปนความผิดสําเร็จ

ความผิดตามมาตรานี้ สําเร็จเมื่อผูถูกขมขืนใจยอมตามที่ถูกบังคับเชนวานั้น คือ ยอม ใหประโยชนในเวลาที่บังคับเอานั้น หรือยอมจะใหประโยชนในภายหนาก็เปนผลสําเร็จ ถายอมให

ประโยชนอยางอื่นแทนประโยชนที่เรียกเอา แตผูกระทําไมยอมรับ ไมถือเปนการยอมตามที่เรียกเอา แตถาผูขูเข็ญยอมจะรับเอาประโยชนอื่นแทนประโยชนที่เรียกเอา ก็ถือไดวาเปนประโยชนที่ไดมา โดยการขมขืนใจ เปนความผิดสําเร็จเชนเดียวกัน ดังนั้น การยอมใหหรือยอมจะใหตองเปนผลจาก

(11)

การขมขืนใจ คือยอมเพราะกลัวการทําราย เปนผลจากการประทุษรายหรือขูเข็ญวาจะทําอันตราย ดังกลาวมาแลว

5.3 ความผิดลหุโทษ

ในกรณีที่ผูนําสิ่งเทียมอาวุธปนไปขมขูผูอื่นเพื่อใหผูอื่นหวาดกลัวเปนความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 ซึ่งบัญญัติวา

ผูใดทําใหผูอื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขูเข็ญ ตองระวางโทษจําคุกไม

เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไมเกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

“ขูเข็ญ” คือ แสดงวาจะทําใหเกิดภัยแกเขา จะเปนภัยที่เกิดในทันทีหรือตอไปภายหนา ก็ได อาจทําโดยกิริยา วาจาโดยตรงหรือโดยใหเขาใจเชนนั้น ซึ่งตองทําใหผูถูกขูทราบถึงการขูวาจะ ทํารายนั้น ศาลเคยวินิจฉัยวาเงื้อขวานจะฟนและไลไปอีก 5-6 ศอก ไมเปนการขูตามมาตรานี้ แต

ตอมาจึงมีกรณีที่ศาลวินิจฉัยวา ศ. ถือมีดตรงเขามาจะแทง ม. ม. วาผมไมสูและวิ่งหนี แสดงวา ม.

กลัวภัยที่จะเกิดเปนความผิดตามมาตรานี้ แตรวมเปนสวนหนึ่งของการพยายยามทํารายรางกาย (คํา พิพากษาฎีกาที่ 40/2509) การกระทําตามมาตรานี้ ตองเกิดผล คือ กลัวหรือตกใจ แตไมตองเกิดผล ตอไปถึงยอมใหทําอะไรดังมาตรา 309 ถาขูแตไมกลัวไมตกใจ ก็ไมลงโทษฐานพยายาม เพราะ ยกเวนตามมาตรา 105 ผูเสียหายกลัวหรือไม ดูที่พฤติการณ แมจะบอกวาไมกลัว ตามพฤติการณที่

จําเลยกับพวกเขาไปในเคหสถานของผูเสียหายเวลาเที่ยงคืน ใชอาวุธขูผูเสียหายมิใหเกี่ยวของหาม ปรามการกระทําของจําเลยกับพวก โดยปกติยอมทําใหเกิดความกลัวหรือความตกใจ และผูเสียหาย ก็ไมกลาขัดขืนยอมปฏิบัติตามที่ขูเข็ญแสดงวา การขูนั้นทําใหผูเสียหายเกิดความกลัวแลว จึงเปน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แมการขูจะไมสามารถทํารายไดจริง ถาเกิดผล คือ ผูถูกขูกลัวก็เปนความผิด เชนใชปนไมมีกระสุนขูจะยิง แตผูถูกขูเชื่อวามีกระสุน

ดังจะเห็นไดจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษกรณีที่บุคคลนําเอาสิ่งเทียมอาวุธปน เชน ปนที่ใชเพื่อการกีฬา ปนที่เปนของเลน หรือปนที่เปนของรางวัลมีไวใชเพื่อเก็บสะสม ไปใชผิด วัตถุประสงคจะมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาไมวาจะเปนการกรรโชก หรือไมก็เปนความผิด ลหุโทษฐานทําใหบุคคลอื่นเกิดความกลัวหรือตกใจซึ่งมีโทษนอยมากเมื่อเทียบกับการนําอาวุธปน จริงไปใชในการกอเหตุทางอาญา

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยเคยมีหนังสือหารือ ถึงสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 846/2551)สรุปความวา นายณัฐพงษ กิ่งแกว ประธานชมรม BB Gun อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการปกครอง ขอหารือวา BB Gun เปนอาวุธปนตาม พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.

(12)

2490 หรือไม และประชาชนที่ครอบครอง BB Gun อยูขณะนี้มีความผิดตามพระราชบัญญัติดังกลาว หรือไม หากผิดกฎหมายตองปฏิบัติอยางไรใหถูกตอง

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) ไดพิจารณาขอหารือประกอบกับขอเท็จจริง ดังกลาวแลวมีความเห็นในแตละประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง ปญหาที่วา BB Gun เปนอาวุธปนตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่อง กระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ.2490 หรือไม นั้น เห็นวา มาตรา 4 (1) และ (2) [1] แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิงและสิ่งเทียม อาวุธปน พ.ศ.2490 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2501 ไดกําหนดบทนิยามคําวา อาวุธปนใหหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใชสง เครื่องกระสุนปน โดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแกสหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอยางใดซึ่งตอง อาศัยอํานาจของพลังงานและกําหนดนิยามคําวา “อาวุธปน” ใหหมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุก ชนิดซึ่งใชสงเครื่องกระสุนปนโดยวิธีระเบิดหรือกําลังดันของแกสหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอยาง ใด ซึ่งตองอาศัยอํานาจของพลังงานและกําหนดบทนิยามคําวา “เครื่องกระสุนปน” ใหหมายความ รวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก เมื่อปรากฏขอเท็จจริงวา วัตถุที่ BB Gun ใชสง ดวยกําลังดันของแกสหรืออัดลม คือ สิ่งที่ทํามาจากพลาสติกหรือเซรามิกสังเคราะหซึ่งมิใชเครื่อง กระสุนปน นอกจากนั้น ยังปรากฏขอเท็จจริงวา โดยสภาพโครงสรางของ BB Gun ที่ผลิตจาก พลาสติกและเหล็กธรรมดาบางสวนซึ่งไมมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะใช BB Gun เปน อาวุธสงเครื่องกระสุนปนได ดังนั้น BB Gun จึงไมเปนอาวุธปนตามบทนิยามคําวา “อาวุธปน” แหง พระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.

2490

ประเด็นที่สอง ปญหาที่วา หาก BB Gun เปนอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 ประชาชนที่ครอบครอง BB Gun อยูในขณะนี้โดย ไมไดรับอนุญาตจากนายทะเบียนทองที่ถือเปนผูฝาฝนตามมาตรา 7 แหงพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 หรือไม นั้น เห็นวา เมื่อ ไดใหความเห็นในประเด็นที่หนึ่งแลววา BB Gun ไมเปนอาวุธปนตามพระราชบัญญัติอาวุธปน เครื่องกระสุนปน วัตถุระเบิด ดอกไมเพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปน พ.ศ.2490 จึงไมจําเปนตอง พิจารณาในประเด็นนี้

กรมการปกครองมีหนังสือถึงผูบัญชาการตํารวจแหงชาติขอหารือวา ปนอัดลมเบา และเครื่องกระสุนปน (BB Gun) จะถือเปนอาวุธปนและเครื่องกระสุนปน หรือสิ่งเทียมอาวุธปน

Referensi

Dokumen terkait

ท ัศนคติและข ั้นตอนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเข้าร่วมโครงการร้านยาคุณภาพ ของเภส ัชกรเจ้าของธุรกิจร้านยา ในเขตอําเภอเมือง จ ังหว ัดเชียงใหม่ Attitudes and Stage of Change Towards