• Tidak ada hasil yang ditemukan

สัญญะแห่งสถานที่ กรณีศึกษา : ชุมชนชาวจีนย่านตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "สัญญะแห่งสถานที่ กรณีศึกษา : ชุมชนชาวจีนย่านตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร"

Copied!
5
0
0

Teks penuh

(1)

สัญญะแหงสถานที่ กรณีศึกษา : ชุมชนชาวจีนยานตลาดนอย กรุงเทพมหานคร SEMIOTICS OF PLACE CASE STUDY: TALAD-NOI; THE LIVING

CHINESE PLACE IN BANGKOK

ฐิติวัฒน นงนุช

1

1คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม e-mail : thitiwat.no@spu.ac.th

บทคัดยอ: งานวิจัยเรื่องสัญญะแหงสถานที่เปนการศึกษาภายใตกรอบความคิดในการวิจัยจากแนวทางการศึกษา ปรากฏการณศาสตรและสัญศาสตร เพื่อการขยายขอบเขตความเขาใจทางปรากฏการณที่เกี่ยวของกับเมือง ที่วางและ สถาปตยกรรม โดยมุงเนนการตอบคําถามที่วาสัมผัสการรับรูสถานที่เกิดขึ้นไดอยางไรเปนสาระสําคัญของงานวิจัยชิ้นนี้

จากการศึกษาพบวาสัมผัสการรับรูสถานที่เกิดจากองคประกอบทางกายภาพที่สําคัญหาประการ ไดแก หนึ่งรองรอยทาง ประวัติศาสตรที่ยังคงอยู สองวิถีชีวิตในแบบพุทธของชาวจีน สามการซอนทับของกิจกรรมในสถานที่เดียวกันอยางแยกไม

ออก สี่ผูคนเชื้อสายจีน หาสัญลักษณทางพิธีกรรมความเชื่อ อาคารและสถาปตยกรรม ตลอดจนภาษาที่ใชในการสื่อสาร ระหวางกัน นอกจากนั้นผลของการวิเคราะหเพื่อจัดกลุมขององคประกอบทางกายภาพในฐานะที่เปนระบบสัญลักษณนั้น นําไปสูความเชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรมของชาวจีน ไดแก กลุมของสัญลักษณทางดานฮวงจุยมีรากฐานมาจาก วัฒนธรรมทางดานการตั้งถิ่นฐานในแบบชาวจีน กลุมของสัญลักษณทางดานการเคารพบูชามีรากฐานมาจากวัฒนธรรม การเคารพบูชาบรรพบุรุษและเทพเจาของชาวจีน กลุมของสัญลักษณดานการประกอบพิธีกรรมมีรากฐานมาจากลัทธิเตา และวัฒนธรรมดานการบริโภค กลุมของระบบสัญลักษณทางดานปรัชญาในการดํารงชีวิตมีความเกี่ยวเนื่องกับทัศนะ ทางดานจริยธรรมของชาวจีน ซึ่งเกิดจากการผสมผสานทางความเชื่อในแบบพุทธมหายาน แนวคิดของขงจื้อและเลาจื้อ รวมทั้งแนวคิดในการปฏิบัติของลัทธิเตา จากการวิเคราะหกรณีศึกษายานชุมชน ผังอาคารและที่วางในยานตลาดนอย พบวาสัมผัสการรับรูสถานที่นั้นเกิดจากสัญญะที่สําคัญสี่ประการ กลาวคือ ผูคนที่อยูอาศัย ระบบที่วางที่มีความหมายทาง ระบบสัญลักษณ พิธีกรรมที่มีการสืบทอดมาจากความเชื่อดั้งเดิม และรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม สัญญะทั้งสี่

ประการนี้นําไปสูการตีความและสรางความหมายใหเกิดขึ้นในผังชุมชน ที่โลงวาง อาคารและสถาปตยกรรมซึ่งมี

ความสัมพันธแนบแนนกับผูอยูอาศัยในยานตลาดนอยมาอยางตอเนื่องและยาวนาน

ABSTRACT: Semiotics of place under research framework has set by the corresponding of Phenomenology and Semiology. This research’s main idea is to extend the understanding area about city, space and architecture by the finding “How sense of place occurred?” From the study, it was found “sense of place” has emerged from five physical elements: the living history, the pervasiveness of merit life, the complexity of space and activities, the Chinese people, the Chinese traditional ceremony including with architecture and Chinese language. Additional, the classification of all symbolic elements has linked to the Chinese cultural root. This research has also found the based culture of the china’s

(2)

place formed the Chinese sense of place in Talad-Noi district ; originated from these cultural roots; Feng-Sui culture - ancestor worship - the China’s social network culture - consumption culture and Chinese ethics culture. From the community district, building block and space in Talad-Noi district ; sense of place has been significant by four signifiers : living resident, symbolic space, traditional rite and socio-economics activities. The four signifiers have lead to the interpretation and meaning creation through of community plan, open space, building and architecture. These related to the local people in Talad-Noi for continuing from the past.

1. บทนํา

สัญญะแหงสถานที่เปนการขยายมิติความเขาใจใน เรื่องปรากฏการณศาสตร โดยอาศัยแนวความคิด ทางดานสัญศาสตรเปนแนวทางในการวิเคราะหอาคาร สถาปตยกรรม สถานที่ ยานและชุมชน เพื่อนําไปสูการ อธิบายปรากฏการณที่เกิดขึ้นทั้งในแงรูปธรรมที่ปรากฏ และความหมายเชิงนามธรรมที่ซอนอยู หรืออาจกลาว ไดวาการอธิบายรูปและนาม ตามแนวคิดทาง ปรากฏการณศาสตร รวมกับการอธิบายสัญญะและ ความหมายของสัญญะ ตามแนวคิดทางสัญศาสตร

นั่นเอง

2. วัตถุประสงคในการวิจัย

2.1 เพื่อศึกษาเรื่องของเมืองจากปรากฏการณเมือง ที่เกิดขึ้น ในแงของความเปนมา ประวัติศาสตรและ วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ประเพณี ความเชื่อ และสัญลักษณทางวัฒนธรรมของชุมชน รวมทั้ง รูปแบบการใชสอยอาคาร สถานที่ พื้นที่วางและ กิจกรรมตางๆที่เกิดขึ้น

2.2 เพื่อสรางแนวทางในการวิเคราะห

ปรากฏการณเมืองที่เกิดขึ้น เพื่อระบุถึงองคประกอบ ทางกายภาพที่สําคัญ ซึ่งสงผลใหเกิดความหมายของ สัมผัสการรับรูสถานที่ (sense of place) โดยอาศัย ศาสตรการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม (สัญศาสตร : Semiotics) ซึ่งพิจารณาจากระบบการใหคุณคาของ สภาพแวดลอมทางดานกายภาพที่สงผลกับการรับรู

การตีความ และการใหคุณคาของคนในสังคม หรือ ชุมชน รวมทั้งองคประกอบตางๆ ที่ทําใหเกิดบรรยากาศ เมืองที่มีคุณคาทางดานวัฒนธรรม

3. เนื้อหา วิธีการและขอบเขตในการวิจัย

3.1 เนื้อหาของการวิจัยเปนการศึกษาปรากฎการณ

เมืองที่เกิดขึ้น เปนเรื่องของการรับรูความรูสึก การรับรู

และสรางความหมายของสภาพแวดลอมทางกายภาพที่

มีตอผูคน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับการสื่อความหมาย ทางวัฒนธรรมตามหลักของสัญศาสตร เพื่อกําหนด ความหมายทางสัญญลักษณทางวัฒนธรรมของพื้นที่

โดยอาศัยสัมผัสทั้งหาของมนุษยในการรับรูถึงการดํารง อยูของชีวิตและจิตวิญญาณของสถานที่ (Spirit of Place) ดังนั้นการวิเคราะหพื้นที่จึงมุงเนนไปที่ประเด็น ของการกําหนดองคประกอบตางๆ ที่ทําใหเกิดสัมผัส การรับรูสถานที่ (sense of place) และผลของการ วิเคราะหไดถูกนําไปใชในการกําหนดแนวทางในการ พิจารณาคุณคาทางนามธรรม และทิศทางการพัฒนา อยางเปนรูปธรรม

3.2 กลุมเปาหมาย หรือประชากรในการสํารวจ ไดแก ผูที่พักอาศัยในยานตลาดนอย เจาของอาคารและ สถานที่สําคัญตางๆ ในพื้นที่ เชน โบสถคริสต ศาลเจา โบราณสถาน เปนตน รวมทั้งกลุมนักทองเที่ยวชาวไทย และชาวตางประเทศ ที่ไดมีประสบการณในการเดิน เยี่ยมชมพื้นที่

3.3 วิธีการในการสํารวจกลุมเปาหมายกระทําโดย การสัมภาษณตรง (Direct Interview) การสํารวจ โดยใช

แบบสอบถาม (Questionnaire) การสังเกตการณในพื้นที่

(Field Observation) การสํารวจพื้นที่ (Site Survey) และ การสังเกตการณแบบมีสวนรวม (Participated Observation)

(3)

4. การวิเคราะหระบบสัญลักษณและรากเหงาทาง วัฒนธรรม (Symbolic System and Cultural Root)

จากแนวคิดของความหมายของสัมผัสการรับรู

สถานที่ ซึ่งเกิดจากสัมผัสทั้งหาประการนั้นเมื่อนําไป วิเคราะหในพื้นที่ชุมชนชาวจีนยานตลาดนอย พบวา สัมผัสการรับรูสถานที่เกิดจากองคประกอบทางกายภาพ ที่สําคัญหาประการ ไดแก หนึ่งรองรอยทาง ประวัติศาสตรที่ยังคงอยู สองวิถีชีวิตในแบบพุทธของ ชาวจีน สามการซอนทับของกิจกรรมในสถานที่

เดียวกันอยางแยกไมออก สี่ผูคนเชื้อสายจีน หา สัญญลักษณทางพิธีกรรมความเชื่อ อาคารและ สถาปตยกรรม ตลอดจนภาษาที่ใชในการสื่อสาร ระหวางกัน ทั้งนี้หากพิจารณาระบบสัญลักษณที่ปรากฎ (Symbolic Environment) เพื่อตีความถึงการสื่อสารทาง วัฒนธรรมที่ซอนอยูภายใตระบบสัญลักษณดังกลาว (สัญศาสตร :Semiotics) รวมทั้งระบบสัญลักษณทาง กิจกรรมที่ปรากฎในชีวิตประจําวัน พบวาระบบ สัญลักษณของชาวจีนสามารถแบงออกไดเปน 5 กลุม ไดแก

กลุมที่ 1) กลุมของสัญลักษณทางดานฮวงจุย ประกอบไปดวย สัญลักษณแหงการสรางพลังที่เปน มงคล เชน สัญลักษณหยินหยาง ปายตัวอักษรเปนยันต

สรางพลัง เปนตน และสัญลักษณแหงการทําลายพลังที่

ไมเปนมงคล เชน สัญลักษณสิงโตคาบดาบ กระจกแปด เหลี่ยม เปนตน สัญลักษณตางๆ เหลานี้เปนเครื่องมือที่

แสดงถึงความพยายามที่จะผสมผสานพลังของ ธรรมชาติที่ตั้งและบริบทแวดลอม เพื่อกอใหเกิดพลังที่

ดีแกผูอยูอาศัย ทั้งนี้ยังตองมีความสัมพันธกับพลัง เฉพาะของแตละบุคคลอีกดวย (ชาวจีนเรียกวา “ธาตุ”

โดยแบงเปน 5 ธาตุ ไดแก ธาตุดิน ธาตุน้ํา ธาตุลม ธาตุ

ไฟและธาตุทองตามลักขณาของแตละบุคคล)

กลุมที่ 2) กลุมของสัญลักษณทางดานการบูชาเทพ เจาและบรรพบุรุษ พบวาสัญลักษณเหลานี้มักปรากฏ บริเวณเหนือประตูทางเขาหลักของบานในลักษณะของ ศาลเจาขนาดเล็กติดเหนือวงกบประตูดานบนพรอม กระถางขนาดเล็ก นอกจากนั้นยังมีการตั้งศาลเจาบนพื้น ในตําแหนงที่ตรงกับประตูทางเขาหลัก ที่เรียกวา “ตี่จู

เอี๊ยะ” ซึ่งเปนที่ประดิษฐานองคเทพตี่จูซึ่งเปนเทพที่ชาว จีนใหการเคารพบูชาที่สําคัญอีกองคหนึ่งและจําเปนที่

ทุกบานจะตองมีการตั้งศาลตี่จูเอี๊ยะไวเสมอ สัญลักษณ

ของการเคารพบูชาเทพเจาในระดับครอบครัวนี้เปน เสมือนสะพานที่เชื่อมโยงไปกับศาลเจาขนาดใหญใน ระดับชุมชน

กลุมที่ 3) กลุมของสัญลักษณทางการสรางศาลเจา เพื่อประกอบพิธีกรรม และการกอตั้งสมาคมการกุศล ตางๆ โดยเกิดจากการรวมกลุมของชาวชุมชนที่มีความ เชื่อและจุดมุงหมายในการดําเนินชีวิตเดียวกัน ซึ่งสังเกต ไดวาศาลเจาของชาวจีนแตละแหงนั้น นอกจากเปนที่

เคารพบูชาเทวดาฟาดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายแลว นั้น ยังเปนสัญลักษณของการรวมกลุมทางวัฒนธรรม ของคนที่มีเชื้อสายเดียวกัน เพื่อใหสามารถดํารงอยูได

ตอไปในอนาคต ศาลเจาไมเพียงแตเปนสถานที่เพื่อการ ประกอบพิธีกรรมเทานั้น แตยังเปนเสมือนตราประทับ ของชาวจีนแตละคนที่นําไปสูการชวยเหลือพึ่งพากันใน ลักษณะของความเปนครอบครัวขนาดใหญ

กลุมที่ 4) กลุมของสัญลักษณทางดานการประกอบ พิธีกรรม สังเกตไดวาพิธีกรรมตางๆของชาวจีนนั้นเปน พิธีกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานที่มีอยูในธรรมชาติ (ชาวจีน เรียกวา “ชี่”) พลังงานเหลานี้เปนพลังที่มีทั้งพลังงานที่ดี

และพลังงานที่ไมดี การประกอบพิธีกรรมตางๆจึงชวย สรางใหเกิดความสมดุลยของพลังงานทั้งหลาย ทั้งยัง เปนการขจัดปดเปาวิญญาณรายและเสริมสรางบุญบารมี

อีกดวย ซึ่งเปนรากฐานที่มีมาจากอดีตที่ลัทธิเตามี

อิทธิพลทางดานความเชื่อ

กลุมที่ 5) กลุมของสัญลักษณที่แสดงถึงปรัชญาใน การดํารงชีวิต โดยชาวจีนสวนใหญยังเชื่อถือใน หลักการของพุทธศาสนาแบบนิกายมหายาน จึงแสดง ใหเห็นถึงการเชื่อถือในการสะสมบุญบารมีจากการทํา ทานเพื่อเปนรากฐานแหงการหลุดพนหรือนิพพาน ประกอบกับความเชื่อในเรื่องวิญญาณหลังความตายจึง ทําใหเกิดการทําทานทั้งแกคนมีชีวิต ในรูปแบบของการ กุศลตางๆ เชน พิธีการเทกระจาด เปนพิธีการแจก สิ่งของเครื่องใชใหแกผูยากไร รวมทั้งการทําทานแก

คนที่ตายไปแลว เชน พิธีการทํากงเต็ก เปนการทําบุญ

(4)

อุทิศสวนกุศลและเผาสิ่งของเครื่องใชที่ทํามาจาก กระดาษ เพื่อใหคนตายไดใชในโลกหลังความตาย พิธี

ทําทานแกวิญญาณเรรอนที่อยูตามทองถนนและที่

สาธารณะตางๆ ในลักษณะของการทําบุญอุทิศสวนกุศล ใหแกวิญญาณเรรอน ซึ่งชาวจีนมักเชื่อวาเปนวิญญาณ รายที่สรางความไมสงบสุขแกผูอยูอาศัย

5. ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย

ความสัมพันธของระบบสัญลักษณที่ปรากฎขึ้นมา นั้น สงผลใหสามารถวิเคราะหเพื่อหาประเด็นความ เชื่อมโยงกับตนกําเหนิดหรือรากเหงาทางวัฒนธรรม ของชุมชนชาวจีนในยานตลาดนอยไดอยางชัดเจน ทั้งนี้

เนื่องมาจากความชัดเจนของระบบสัญลักษณที่ปรากฎ ขึ้นมานั่นเอง ซึ่งสามารถสรุปไดวาระบบสัญลักษณทั้ง กลุมมีความเกี่ยวเนื่องไปถึงวัฒนธรรมหลักหาประการ ดังนี้คือ

ประการที่ 1) ระบบสัญลักษณทางดานฮวงจุยมี

รากฐานเชื่อมโยงมาจากวัฒนธรรมดานความเชื่อเรื่อง พลังที่เกี่ยวของกับการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในสมัย โบราณ และเปนศาสตรที่ยังไดรับความเชื่อถือจากชาว จีนเปนจํานวนมากในปจจุบัน

ประการที่ 2) ระบบสัญลักษณทางดานการบูชา เทพเจาและบรรพบุรุษมีความเชื่อมโยงมาจาก วัฒนธรรมการเคารพบูชาเทวดาฟาดิน และชีวิตหลัง ความตาย จากลัทธิเตาในอดีต

ประการที่ 3) ระบบสัญลักษณของศาลเจาเพื่อ ประกอบพิธีกรรมทางดานความเชื่อซึ่งเปนผลมาจาก วัฒนธรรมการสรางระบบเครือขายทางสังคมของคนจีน (Chinese Social Network)

ประการที่ 4) ระบบสัญลักษณทางดานการ ประกอบพิธีกรรมพบวามีความเชื่อมโยงกับหลักการ เปนหนึ่งเดียวกับธรรมชาติตามแนวคิดที่สําคัญของ”

เลาจื้อ” (ปราชญที่สําคัญตอรากฐานทางความคิดของ ชาวจีนมาตั้งแตสมัยโบราณ) และมีความเกี่ยวเนื่องไป ยังวัฒนธรรมดานการบริโภคอีกดวย

ประการที่ 5) ระบบสัญลักษณทางดานปรัชญาใน การดํารงชีวิตมีความเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเรื่องความ

ดีงามและสุนทรียภาพในทัศนะของชาวจีน รวมทั้ง แนวคิดทางลัทธิความเชื่อและศาสนาไดแก แนวคิดของ ขงจื้อและเลาจื้อ แนวคิดทางศาสนาพุทธนิกายมหายาน และแนวคิดตามลัทธิเตา

6. บทสรุปและขอเสนอแนะ

แนวทางการศึกษาถึงสัญญะและความหมาย ของสัญญะในอาคารและสถานที่นั้นชวยใหเกิดความ เขาใจถึงประโยชนใชสอยที่แทจริงและความหมายใน เชิงจิตวิทยาที่เกิดขึ้นแกมนุษยไดเปนอยางดี ซึ่งจะทําให

งานออกแบบสถาปตยกรรมเต็มไปดวยความหมายที่

เปนที่เขาใจและยอมรับในวงกวาง สงผลใหการ ออกแบบสถาปตยกรรมไมเกิดความสูญเปลาจนหาคา ไมไดในภายหลัง สถาปนิกสวนมากมักออกแบบจาก ความตองการเบื้องตนของลูกคา รวมกับจินตนาการของ ตนเองอยางเปนตัวของตัวเอง จนลืมนึกถึงความหมายที่

แทจริงที่มักหลบซอนตัวอยูภายใตจิตสํานึก และเฝารอ เวลาแหงการปรากฎตัวภายหลังที่การกอสรางแลวเสร็จ ซึ่งนั่นเปนบทพิสูจนวางานออกแบบชิ้นนั้นมีคุณคาทาง จิตใจมากนอยเพียงใด หรือเปนเพียงวัตถุที่มีคาเทานั้น และไมเพียงแตอาคารและสถาปตยกรรมเทานั้นที่ควร สรางใหเกิดความหมายแกผูใชสอย หากยังครอบคลุม ไปถึงความหมายในการออกแบบสถานที่ ยาน ชุมชน และเมืองในที่สุดอีกดวย

7. เอกสารอางอิง

[1] Daniel Chandler, 2002. Semiotics: The Basics.

London : Routledge.

[2] Youxuan Wang, 2001. Buddism & Deconstruction : Toward a comparative semiotics. Hongkong : Richmon & Surrey.

[3] Thomas A. Sebeok, 2000. The Form of Meaning : Modeling system theory & Semiotics analysis.

Burlin : Curson.

[4] Robert Cooper and Nonthapa Cooper, 1982.

Culture Shock Thailand. Singapore: Marshall Cavendish Editions.

(5)

[5] Susan Horner and John Swarbrooke, 2004.

International Cases in Tourism Management. UK.

: Elsevier Butterworth-Heinemann.

[6] Xinzhong Yao. Routledgecurzon Encyclopedia of Confucianism O-Z. London : Routledge Curzon, 2003.

[7] Xinzhong Yao, 2000. HOIAN : Ancient Town of Hoi An Thrives Today. Japan : Showa Woman’s University Institute of International Culture . [8] ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร, 2545. สัญวิทยา,

โครงสรางนิยม, หลังโครงสรางนิยมกับการศึกษา รัฐศาสตร. กรุงเทพฯ : วิภาษา.

[9] สุกัญญา สมไพบูลย, 2543. สัญนิยมในการสื่อสาร การแสดง “ลิเก” ในยุคโลกาภิวัฒน. กรุงเทพฯ:

วิทยานิพนธ นม., จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

[10] พงศกฤษฎิ์ พละเลิศ, 2543. การสื่อความหมาย เชิงสัญญะในสินคาทองเที่ยวชาวเขา. เชียงใหม:

วิทยานิพนธ นม., มหาวิทยาลัยแมโจ.

[11] วิทิต วัณนาวิบูล, 2548. ประวัติการแพทยจีน.

กรุงเทพฯ: หมอชาวบาน.

[12] ศักดิ์ บวร, 2547. ไอนสไตนกับพุทธะ. กรุงเทพฯ:

สมิต.

พิมพประไพ พิศาลบุตร, 2544. สําเภาสยาม ตํานานเจ็ก บางกอก. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส.

[13] ตวน ลี เซิง, 2538. พลิกตนตระกูลไทย. กรุงเทพฯ : พิราบ.

[14] เอเดรียน สนอดกราส, 2541. สัญญลักษณแหงพระ สถูป. กรุงเทพฯ: อัมรินทรวิชาการ.

[15] ทิพยสุดา ปทุมานนท, 2536. ปรากฎการณศาสตร

ในสถาปตยกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย.

[16] ทวีป วรดิลก, 2544. ประวัติศาสตรจีน. กรุงเทพฯ:

หนาตางสูโลกกวาง.

[17] มัลลิกา พงศปริตร, 2546. เอเชียบูรพา จีน ไตหวัน เกาหลี ญี่ปุน. กรุงเทพฯ: หนาตางสูโลกกวาง.

[18] ปยะพร กัญชนะ, 2537. ตลาดน้ํา: ยานชุมชนริมน้ํา ในสังคมเมืองสยาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

Referensi

Dokumen terkait

Iwan Saskiawan, Lembaga Ilmu Pengetahuan Indonesia LIPI, Indonesia MANAGING EDITOR 1.. Naswandi Nur, Universitas Muhammadiyah Jakarta, Indonesia

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์โซ่อุปทานทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ: กรณีศึกษา อ าเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ AN APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM FOR ANALYSIS