• Tidak ada hasil yang ditemukan

ฐานความคิดสร้างสรรค์กับการปฏิรูปวัฒนธรรม ในโลกใหม่

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ฐานความคิดสร้างสรรค์กับการปฏิรูปวัฒนธรรม ในโลกใหม่"

Copied!
14
0
0

Teks penuh

(1)

ฐานความคิดสร้างสรรค์ก ับการปฏิรูป ว ัฒนธรรม ในโลกใหม่

(The Creative Thinking and Cultural Reform in The Modern World)

**

ผศ.ดร.ณกมล ปุญช เขตต์ทิกุล

มหาวิทยาลัย ศรีปทุม

บทคัดย่อ

วัฒนธรรม เป็นรากเง่าที่บ่งบอกถึงความเป็นมาและเป็นไปของ ความเจริญและความเป็นมนุษย์ นับได ้ว่าวัฒนธรรมเป็นมรดกและหลัก ฐานชิ้นสำาคัญ ที่จะเล่าถึงเรื่องราวของความเป็นมาแต่ละยุคสมัย รวม ไปถ ึงพัฒนาการของมนุษย์ในด ้านเทคโนโลยี ศ ิลปะว ิทยาการ ปรัชญา ความเชื่อ ทัศนคติและค่านิยมในสังคม นอกจากนี้แล ้ว วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งสะท ้อนให ้เห็นถึงความคิดสร ้างสรรค์ของมนุษย์ใน รูปของการคิดค ้นนวัตถกรรมและวิธีการที่ใหม่ๆ ที่ดีขึ้นๆ ในการทำาสิ่ง ต่างๆ โดยเฉพาะสังคมไทยที่มีลักษณะของการทับซ ้อนของความเจ ริญหลายๆ ยุค ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เทคโนโลยี

สารสนเทศ ซึ่งล ้วนต ้องอาศัยความคิดเชิงสร ้างสรรค์เป็นอย่างมาก เพราะความคิดสร ้างสรรค์มีผลต่อทิศทางและวิธีการในการปฏิรูป วัฒนธรรมในโลกใหม่ที่มีความรุนแรงและรวดเร็วทั้งในด ้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑. บทนำา

* **

ปรับปรุงและขยายความจากบทความ เรื่อง “การพัฒนาความคิด สร ้างสรรค์” ตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกในวโรกาส วันรำาลึก ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู ้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยศรีปทุม วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ หน ้า ๔๑-๔๔.

(2)

มนุษย์ประกอบด ้วยร่างกายและจิตใจหรือสสารและอสสาร เป็น อสสารในระนาบเดียวกันกับความหมายของจิตซ ึ่งทำาหน ้าที่เกี่ยวกับ การคิดซึ่งเป็นส่วนที่ละเอียดในระนาบที่รู ้เห็นได ้ยาก ลึกซึ้งอย่าง ยิ่ง(๑)ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ผู ้มีปัญญาจึงควรควบคุมความคิดไว ้ให ้ดี

เพราะความคิดที่ควบคุมได ้แล ้วจะสามารถนำามาซึ่งความสุข แม ้ว่า โดยทั่วไปจะเป็นที่ทราบกันว่าความคิดคนเรามักดิ้นรน กลับกลอก ป้องกันยาก แต่คนที่มีปัญญาก็สามารถฝึกความคิดให ้ดีได ้เช่นเดียว กับที่ช่างศรดัดลูกศรให ้ตรงได ้ ฉะนั้น

๒. ความหมายของความคิด และความคิดสร้างสรรค์

หากจะนับย ้อนกลับไปในอดีตเมื่อหลายพันปีเท่าที่ผ่านมา จะ เห็นได ้ว่าเราถูกสอนให ้คิดโดยนักปรัชญาที่อยู่ในระนาบแห่ง “กุรู” อัน เป็นฐานะแห่งปราชญ์ของปวงปราชญ์ทางความคิดชาวกรีกอย่างน ้อย ก็ราวสามคนด ้วยกันคือโสเครตีส เพลโตและอริสโตเติล ซ ึ่งรูปแบบ ของการคิดในฉบับของตะวันตกมีลักษณะพื้นฐานอยู่ด ้วยกันหลักๆ เท่าที่ประมวลได ้ก็ประมาณสามข ้อด ้วยกัน กล่าวคือ ๑.การซักถามใน ทุกเรื่อง การมุ่งมั่นกับการถกเถียงที่จะเอาชนะกัน ๒. การวิพากษ์

วิจารณ์คนอื่นในทางลบ อาทิเช่น ในเวลาประชุม ใครเสนออะไรมาก็

จะมีการระดมความคิด คอยดูว่าใครพูดอะไรผิด พูดตรงๆ ก็คือคอย จับผิดกันนั่นเอง ๓ มีการตั้งสมมติฐานเพื่อหาคำาถามในประเด็นต่างๆ ที่ต ้องการจะรู ้ ซึ่งดูเหมือนจะมีความหมายต่างจากความมีสติปัญญา ของตะวันออก ซ ึ่งให ้นำ้าหนักความคิดทั้งสติปัญญาภายนอกและ ภายใน

อันที่จริงโดยพื้นฐานของความคิดที่ดีแล ้ว ต ้องมีความเกี่ยวข ้อง ไปในเรื่องของการหาข ้อมูลที่เกี่ยวข ้องให ้มากที่สุดเท่าที่จะทำาได ้ การ รู ้จักแยกข ้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นและการรู ้ว่าอะไรเป็นอคติ

โดยแยกออกเป็นสติปัญญาด ้านต่างๆ กล่าวคือด ้านภาษา การเขียน สายตา จิตวิญญาณ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู ้อื่น ซึ่งมาจากความคิดใน ทางลึกกับตัวเอง และความคิดที่แสดงออกภายนอกที่สำาคัญๆ กล่าว คือการเคลื่อนไหวทางร่างกาย หรือการแปรเปลี่ยนปฏิบัติการเป็นรูป ลักษณ์ต่างๆ ได ้(turn function into form) ดังนั้น เป็นความ จำาเป็นอย่างมาก หากเราต ้องการปฏิรูปวัฒนธรรมทางความคิด เราจะ ต ้องสร ้างวัฒนธรรมทางความคิดที่สำาคัญของเราขึ้นมาคือ อย่าคิด เข ้าข ้างตัว อย่าคิดเอาประโยชน์เข ้าตัว ต ้องคิดชอบ ดำาริชอบ อย่าง

(๑) ในพระบาลีระบุสภาวะของจิตไว ้ดังนี้ “…..ผนฺทนำ จปลำ จิตฺตำ ทุนฺริวารณำ ปณีตำ

…” และ “มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโน เสฏฺฐา มโน มยา มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นำ ทุกฺขมนุเวติ จกฺกำว วหโต ปทำ…”

(3)

ที่ในหลักคำาสอนทางพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ ้าทรงสั่งสอน ไว ้

ความค ิดคืออะไร? จิต หรือ ความค ิด ก็คือ การที่คนๆ หน ึ่ง พยายามใช้พล ังทางสมองของตนในการนำาเอาข ้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มาจ ัดวางอย่างเหมาะสมเพื่อ ให้ได้มาซึ่งผลล ัพธ์ที่ดีที่สุด(๒) ความคิดเป็นเรื่องที่สำาคัญ ดังนั้น จงทำาจิตใจให ้สงบและเยือกเย็น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ดีร ้ายอย่างไรเกิด ขึ้นจะต ้องเป็นคนเข ้มแข็ง อดทน มองโลกในแง่ดี มีความปรารถนาอัน รุนแรงในการสร ้างชีวิตและพร ้อมที่จะต่อสู ้กับอุปสรรค จะต ้องเป็นผู ้ที่

มีความร่าเริงอยู่ตลอดเวลา ต ้องมีใจเป็นมนุษยธรรม มีความเชื่อมั่นใน ตัวเองอย่างแรงกล ้า การปลุกจิตใจให ้มีความเข ้มแข็งอยู่เสมอ ความ พากเพียรและมีปณิธานอันแน่นอน(๓) สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของ ความคิดทั้งส ิ้น ซ ึ่งปัจจุบันมีความพยายามที่จะอธิบายระบบของ ความคิดในหลายรูปกล่าวคือ

ประการที่ ๑ การคิดเชิงวิพากย์(Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล ้อย ตามข ้อเสนออย่างง่ายๆ แต่ตั้งคำาถามท ้าทายหรือโต ้แย ้งสมมติฐาน และข ้อสมมติที่อยู่เบื้องหลังและพยายามเปิดแนวทางความคิดออก นอกลู่ทางต่างๆ ที่แตกต่างจากข ้อเสนอนั้น เพื่อให ้สามารถได ้คำาตอบ ที่สมเหตุสมผล มากกว่าข ้อเสนอเดิม

ประการที่ ๒ การคิดเช ิงว ิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำาแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของส ิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์

ประกอบเหล่านั้น เพื่อค ้นหาสาเหตุที่แท ้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น

ป ร ะ ก า ร ท ี่ ๓ ก า ร ค ิด เ ช ิง ส ัง เ ค ร า ะ ห ์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มา ผสมผสานเข ้าด ้วยกัน เพื่อให ้ได ้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต ้องการ

ป ร ะ ก า ร ท ี่ ๔ ก า ร ค ิด เ ช ิง เ ป ร ีย บ เ ท ีย บ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่าง ระหว่างส ิ่งนั้น กับส ิ่งอื่นๆ เพื่อให ้เก ิดความเข ้าใจ

(๒) ดูคำาอธ ิบายเพ ิ่มใน ศ.ดร.เกรียงศักด ิ์ เจร ิญวงศ ์ศักด ิ์. การค ิดเช ิง สร้างสรรค์(พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพมหานคร : บริษัทซัคเซส มีเดีย จำากัด. ๒๕๔๕.

หน ้า ๓-๘.

(๓) วิเทศกรณีย์,(นามแฝง). ศ ิลปะแห่งการใช้สมาธิเพื่อการสร้างสรรค ์.

(พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์ผ่านฟ้าพิทยา. ๒๕๑๐ หน ้า ๙๕.

(4)

สามารถอธิบายเรื่องนั้นได ้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การ แก ้ปัญหา หรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ประการที่ ๕ การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข ้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับ เรื่องหนึ่งเรื่องใดได ้อย่างไม่ขัดแย ้ง แล ้วนำามาสร ้างเป็นความคิดรวบ ยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น(๔)

ประการที่ ๖ การคิดเช ิงสร ้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่

มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค ้นหาคำาตอบที่ดีที่สุด ให ้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ประการที่ ๗ การคิดเช ิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการนำาเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช ้ประโยชน์

ในบริบทใหม่ ได ้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว ้ ประการท ี่ ๘ การค ิดเช ิงกลยุทธ ์ (Strategic Thinking) หมายถ ึง ความสามารถในการกำาหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต ้ เงื่อนไขข ้อจำากัดต่างๆ ที่เกี่ยวข ้อง เข ้าหาแกนหลักได ้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให ้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ประการที่ ๙ การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเช ื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข ้อง เข ้าหาแกนหลักได ้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือ ให ้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ประการที่ ๑๐ การค ิดเช ิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์ส ิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม(๕)

(๔) อาจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อธิบายว่า ความคิดนี้เป็นการคิดที่พยายาม คิดใหม่ๆ ซึ่งต ้องขึ้นอยู่กับการมีข ้อมูลที่แน่นอน ต ้องวาดภาพเก่งในสมอง ต ้องรู ้จัก ท ้าทาย ไม่กลัวผิดและลงมือทำาทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่มีทิศทาง ไม่ต ้องคิดว่าจะไปทาง ไหน เน ้นกระบวนการแล ้วค่อยหาทิศทางภายหลัง ดูใน ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช.

พลิกความค ิดเป็นปัญญา. กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์ผู ้จัดการ. ๒๕๔๒ หน ้า ๓๕๗.

(๕) ค ว า ม ค ิดล ัก ษ ณ ะ น ี้ ปัจ จ ุบ ัน ไ ด ้ม ีก า ร นำา เ ส น อ อ ย ู่ม า ก ใ น ง า น ข อ ง ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ภายใต ้กรอบแนวคิด

ของสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ตีพิมพ์และจัดจำาหน่ายโดยสำานักพิมพ์ซัคเซ สมีเดีย หนังสือที่สำาคัญๆ อาทิเช่น ลายแทงนักคิด, ผู ้ชนะ ๑๐ คิด….

(๖) อาจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช.อธิบายว่า “..อะไรที่มันเก่าเราไม่เรียกว่า สร ้างสรรค์ คิดสร ้างสรรค์คือทำาอย่างไรถึงจะเกิดส ิ่งนั้นขึ้นมาให ้เป็นสิ่งมีค่าบางอย่าง พิเศษ หายาก..” ดูใน ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. เรื่อง “Creative Thinking and Mind

(5)

ความคิดสร้างสรรค์(Critical thinking) คืออะไร? ในที่

นี้ขอให ้ความหมายว่า ความคิดสร ้างสรรค์คือการค ้นพบวิธีการที่ใหม่

และดีขึ้นในการทำาสิ่งต่างๆ(๖) เป็นสิ่งตอบแทนความสำาเร็จทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่บ ้าน ที่ทำางานหรือชุมชน ซึ่งขึ้นอยู่กับการหาวิธีการที่จะ ทำาส ิ่งต่างๆให ้ดีข ึ้น แต่ในความหมายเด ิมแล ้ว คำาว่า Critical thinking มาจากคำากรีกว่า kritikos ซึ่งแปลว่าเข ้าไปตัดสินเขา ไป จับผิดเขา นั่นหมายความว่าเราต ้องเข ้าไป criticize เขา อันนี้เป็นวิธี

การคิดแบบตะวันตก ซึ่งในแง่ของรากศัพท์แล ้วก็ไม่ค่อยจะตรงกับ ความหมายที่ชาวตะวันออกเรานำามาใช ้ในปัจจุบันนัก

การที่คนเราจะมีความค ิดสร ้างสรรค์ ได ้นั้น เราจำาเป็นต ้อง ทำาการพัฒนาศักยภาพในการทำางานและการพัฒนาของสมองเราก่อน โดยสมองเรามีด ้วยกัน ๒ ซีก(๗) คือสมองซีกซ ้าย ทำาหน ้าที่ในส่วน ของการตัดสินใจ การใช ้เหตุผล และสมองซีกขวา ทำาหน ้าที่ในส่วน ของการสร ้างสรรค์ แม ้สมองจะทำางานต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล ้ว สมองทั้งสองซีก จะทำางานเชื่อมโยงไปพร ้อมกัน ในแทบทุกกิจกรรม ทางการคิด โดยการคิดสลับกันไปมา อาทิเช่น การอ่านหนังสือ เราจะพบว่าสมองซีกซ ้ายจะทำาความเข ้าใจ โครงสร ้างประโยค และ ไวยากรณ์ ในขณะที่สมองซ ีกขวาก็จะทำาความเข ้าใจ เก ี่ยวกับ ท่วงทำานองของการดำาเนินเรื่อง อารมณ์ที่ผูกไว ้ในงานเขียนนั้นๆ

และนี่ก็เป็นเหตุผลสำาคัญที่จะอธิบายว่า เพราะเหตุใดเราจึง จำาเป็นต ้องพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร ้อมๆ กัน ไม่สามารถพัฒนา แยกออกไปเป็นแต่ละด ้านได ้

Mapping”. ใน พลิกความคิดเป็นปัญญา, หน ้า ๓๕๔-๓๖๓. มีลักษณะความคิดนี้อยู่

มาก ใน ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร,(ผู ้แปล). “วิธีการคิดและฝันอย่างสร ้างสรรค์” จาก

The Magic of Thinking Bic ค ิดใหญ ่ ไม ่ค ิดเล็ก . เข ียนโดย David J. Schwartz.

กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำากัด (มหาชน). ๒๕๔๕. และงานที่ทำาการ ศ ึกษาด ้านพฤต ิกรรมนุษย ์อ ีกเล ่ม ของ James, V.Mc Connell. Understanding Human Behavior. New York : Holt, Rinchart and Winston. 1974.

(๗) ผ ศ.ด ร.ณ ก ม ล ช า ว ป ล า ย น า. ป ร ัช ญ า แ ล ะ ท ัก ษ ะ ก า ร ค ิด. กรุงเทพมหานคร : ห ้างหุ ้นส่วนจำากัด วี. จี. พริ้นติ้ง.๒๕๔๕ หน ้า ๑๕. และโปรดดูเพิ่ม ใน คณาจารย์กลุ่มราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การค ิดและการต ัดส ินใจ.

กรุงเทพมหานคร : บริษัทคอมฟอร์ม จำากัด. ๒๕๔๒.

(๘) ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทรวณิช. พลิกความคิดเป็นปัญญา, หน ้า ๓๕๖-๓๕๗.

(

(

(6)

ข ้อนี้สอดคล ้องกับผลการค ้นพบของเจ ้าของรางวัลโนเบลทาง ด ้านดูก ้านสมองคือ Roger Sperry เป็นบุคคลแรกที่บอกถึงสมอง ซีกซ ้ายและขวา เขาสรุปว่าสมองที่ดีต ้องทำางานทั่วสมอง ไม่ใช่เพราะ ซีกใดซีกหนึ่ง(๘) Roger Sperry อธิบายว่าการทำางานของสมองซีก ซ ้ายจะเป็นเรื่องของภาษา เด็กที่พูดได ้ช ้าแสดงว่ามีปัญหาด ้านซีก ซ ้าย สมองซีกซ ้ายก่อให ้เกิดตรรกะ(logic)ความมีเหตุผล การเรียง ลำาดับ

(sequence) การวิเคราะห์(analysis) คือการทำาบัญชีรายชื่อ(list) ส่วนสมองด ้านขวาทำางานในการให ้จังหวะ(rhythm) การรู ้ถึงเทศะ รู ้ พ ื้น ท ี่(spatial awareness) ก า ร ม อ ง เ ห็น โ ด ย ร ว ม ไ ด ้(whole picture) จินตนาการ(imagination) การฝันทั้งๆ ที่ยังตื่นอยู่(day dreaming) สี(Colour) มิติ(dimension)

ดังนั้น เราต ้องทำาความเข ้าใจการทำางานของสมองว่ามีส่วนที่

เป็นสัญชาติญาณ และส่วนที่ช่วยให ้เราคิด สมองของคนเราเป็น เหมือนเครื่องจักรที่คิดแบบเปล่งรัศมีออกได ้ สมองคิดได ้กว ้างเพราะ ส ม อ ง ท ำา ห น ้า ท ี่ร ับ (receiving)เ ก ็บ ง ำา จ ำา ไ ว ้(holding)ค ว บ ค ุม (ontrolling) ท ำา ใ ห ้เ ก ิด ผ ล อ อ ก มา(outputting) และวิเคราะห์(analyzing) และเนื่องจากการรับรู ้ ของมนุษย์เรามีลักษณะกระจายออก ด ้วยเหตุนี้สมรรถนะของความคิด สร ้างสรรค์จะเกิดขึ้นเพราะว่าระบบสมองเป็นระบบจัดการกับตัวเองได ้ อย่างธรรมชาติ ถ ้าอยู่เฉยๆ ไม่รู ้จักคิดไม่ได ้ จะต ้องมีการท ้าทายต ้อง คิดตอลดเวลา

เหตุผลสำาคัญก็คือ สมองของมนุษย์มีความสามารถที่จะจัดการ ร ะ บ บ ต ัว เ อ ง(Self Organizing System) เ ป็ น ร ะ บ บ เ ห ม ือ น นิเวศวิทยา เหมือนธรรมชาติ กล่าวคือเมื่อฝนตกลงมา ต ้นไม ้รับนำ้า ต ้นไม ้มีปฏิกริยากับดินและพืชอย่างไรเราเรียกว่าจัดการตัวเองได ้ ไม่

ต ้องมีใครมาจัดให ้ มีนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเรื่องสมองกันมาก อย่าง เช่น Borno, Eward. De (๙) ซึ่งเป็นผู ้สอนวิธีคิด เป็นคนสำาคัญมาก และอีก คนหนึ่งคือTony Buzan มีหนังสือและเทปซึ่งทาง B.B.C. ทำาขึ้นมา จำาหน่ายไปทั่วโลก ท่านเหล่านี้ได ้เน ้นให ้เราได ้ทราบว่าถ ้าเรารู ้ว่า

(

(๙) ผู ้สนใจอ่านแนวคิดและกระบวนการฝึกทักษะความคิดของ Borno, Eward. De.

ในงานสำาคัญๆ ของเขา อาทิเช่น เรื่อง Lateral Thinking : A Textbook of Creativity. London, Penguin books, 1990. และงานเขียนเกี่ยวกับศิลปะของการคิดสร ้าสรรค์ที่น่าสนใจอีกเล่ม เป็นงานเขียนของ Olson, R.W. เรื่อง The Art of Creative Thinking : A Prectical Guide. N.Y : Harper& Row. 1978.

(7)

สมองทำางานอย่างไร เราก็จะมีความสามารถที่จะฝึกได ้ ไม่ใช่ว่าทุกคน เกิดมาโดยมีพรสวรรค์ ความคิดฝึกฝนกันได ้

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได ้ว่า ความรู ้กับความคิดไม่เหมือนกัน กล่าวคือคนที่มีความรู ้มาก แต่คิดไม่เป็นก็ได ้ ความหมายก็คือว่าคนที่

เก่งมาก รู ้มาก อาจเป็นคนคิดไม่เป็น ซึ่งตรงกับข ้ามกับบางคนที่เรียน ไม่เก่ง แต่คิดเก่งมาก ถ ้าเราคิดดูในชีวิตของคนเราให ้ดีแล ้ว เราจะพบ ว่าคนคิดเก่ง ดีกว่าเรียนเก่ง เพราะเรียนเก่งเป็นการแข่งขันกับคนอื่น แต่คิดเก่งเป็นการแข่งขันกับตัวเอง และการแข่งกับตัวเองคือการ ท ้าทาย อธิบายอย่างง่ายก็คือการคิดไม่เหมือนคนอื่น ทำาให ้คนที่ไม่

คิด คิดไม่ทัน ไม่ทันคิด ลืมคิด คิดไม่เป็น เป็นความคิดโดยนัยแห่ง

“การเปลี่ยนผู ้อื่นเป็นผู ้ตาม… และมีเพียงผู ้ตามเท่านั้นที่จะเห็นหลัง ผู ้นำา” สิ่งเหล่านี้ล ้วนแล ้วแต่เกิดได ้ด ้วยพลังอำานาจแห่งความคิดที่

เรียกว่าการคิดสร ้างสรรค์นั่นเอง***

๓. ล ักษณะและปัจจ ัยที่ทำาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ลักษณะของความคิดสร ้างสรรค์ ๓ ส่วนที่สำาคัญคือ ๑.การเป็น ส ิ่งใหม่(new, original)กล่าวคือต ้องเป็นการค ิดที่แหวกวงล ้อม ความคิดที่มีอยู่เดิม ที่ไม่เคยมีใครคิดได ้มาก่อน ไม่ได ้ลอกเลียนแบบ ใคร แม ้กระทั่งความคิดเดิมของตนเอง ๒.ต ้องเป็นความคิดที่สามารถ ใช ้การได ้(workable)ซ ึ่งก็ค ือต ้องเป็นความค ิดท ี่เก ิดจากการ สร ้างสรรค์ที่ลึกซึ้งและสูงเกินกว่าการใช ้เพียงจินตนาการที่เพ ้อฝัน นั่น หมายความว่าต ้องสามารถนำามาพัฒนาให ้เป็นจริง ใช ้ประโยชน์ได ้ อย่างเหมาะสม และสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ ของการคิดได ้ เป็นอย่างดี ๓.ต ้องมีความเหมาะสม(Suitable) หมายความว่าต ้อง เป็นความคิดที่สะท ้อนความมีเหตุมีผล ที่เหมาะสม และมีคุณค่า ภาย ใต ้มาตรฐานที่ยอมรับได ้โดยทั่วไป และการที่เราจะพัฒนาค ิด สร ้างสรรค์ได ้หรือไม่อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำาคัญๆ กล่าวคือ

๑.ท ัศนคติและบุคลิกภาพเชิงสร้างสรรค์และการมีความ สามารถทางสติปัญญา จากการศึกษาความคิดของนักคิดสร ้างสรรค์

ที่ประสบความสำาเร็จ จะพบว่าท่านเหล่านั้นล ้วนมีทัศนคต ิและ บุคลิกลักษณะเชิงสร ้างสรรค์หลายอย่าง อาทิเช่น การเป็นคนที่เปิด กว ้างต่อการรับประสบการณ์ใหม่ๆ ด ้วยท่าทีที่ยินดี จะเรียนรู ้เสมอ มี

อิสระในการคิดพินิจ และตัดสินใจ กล ้าเผชิญความเสี่ยง มีความเชื่อ

*** มีงานเขียนที่เกี่ยวกับความคิดสร ้างสรรค์และการต่อสู ้ชีวิตอยู่มาก โปรดอ่าน เพิ่มใน ศศิกรฉันท์เศรษฐ์.(บรรณาธิการ)

สู้แล้วรวย. เล่ม ๑ – ๒. กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์กันตนาพับลิชชิ่ง. ๒๕๔๕.

(8)

มั่น และเป็นตัวของตัวเอง มีทัศนคติเช ิงบวก ต่อสถานการณ์ทุกรูป แบบ ไม่ว่าจะดีหรือร ้าย มีแรงจูงใจอันสูงส่ง ที่จะประสบความสำาเร็จ เป็นคนที่ยินดีทำางานหนัก มีความสนใจต่อส ิ่งที่มีความสลับซับซ ้อน อดทนต่อปัญหาที่ยังมองไม่เห็นทางออก หรือคำาตอบ บากบั่น อุตสาหะ เรียนรู ้จากความล ้มเหลว ให ้เป็นบทเรียนของช ีวิต และ สามารถรับมือกับสถานการณ์ได ้เป็นอย่างดี มีความสุขุม และมีจิตใจ มั่นคง

ความคิดสร ้างสรรค์ จัดว่าเป็นทักษะระดับสูงของความสามารถ ทางสติปัญญาซึ่งได ้แก่ การมีความสามารถในการกำาหนดขอบเขต ของปัญหา ผู ้มีความคิดสร ้างสรรค์จะไม่มองปัญหาที่เห็นอยู่ตรงหน ้า ด ้วยสายตาธรรมดาหรือด ้วยความคิดที่ไม่สู ้ แต่มองด ้วยมุมมองแบบ ใหม่เพื่อทำาให ้เห็นทางแก ้ปัญหาใหม่ๆ ที่เหมาะสมกว่า(๑๐) โดยเริ่มต ้น ด ้วยการให ้นิยามหรือกำาหนดขอบเขตของปัญหาที่ต ้องการแก ้ไขได ้ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงตั้งเป้าหมายเพื่อหาทางแก ้ปัญหานั้นใน แนวทางที่สร ้างสรรค์กว่าเดิม ความสามารถในการใช ้จินตนาการใน การพิจารณาปัญหาเพื่อนำาไปสู่ความคิดสร ้างสรรค์ การวาดภาพจาก จินตนาการช่วยทำาให ้การแก ้ปัญหาอย่างสร ้างสรรค์ เกิดได ้ง่ายขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได ้ชัดอย่างเช่น กรณีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein) สามารถพัฒนาทฤษฎีสัมพันธภาพได ้จากการวาดภาพว่า ตนเองกำาลังท่องเที่ยวไปบนลำาแสงที่ยาวไกลลำาแสงหนึ่ง

(๑๐) ความคิดสร ้างสรรค์เป็นการมองในมุมมองใหม่ที่ไม่ใครเคยมองมาก่อน บาง ครั้งการคนที่มีความคิดสร ้างสรรค์หรือชอบคิดอะไรที่มันแปลกๆ ออกไปจากความเดิมๆ หรือที่ปัจจุบันมักพูดว่าคิดนอกกรอบ ก็นำามาซ ึ่งคำาตำาหนิติเตียนได ้เช่นกัน ความหนัก แน่นจึงเป็นความจำาเป็นที่ต ้องมีเช่นกัน ดัง เซอร์ วอลเตอร์ ราเล่ (Sir Walter Raleigh) นัก คิดชาวอังกฤษ กล่าวว่า “สุนัขย่อมจะเห่าแต่คนที่มันไม่รู ้จัก” ความหมายก็คือ สำาหรับ สุนัขแล ้วหากมันรู ้จักใครแล ้วมันก็จะไม่เห่า และก็เป็นความจริง ใครที่รู ้จัก ราเล่ ต ้อง ชอบคนๆ นี้ เพราะทุกคน ที่ได ้ติดต่อกับเขาอย่างใกล ้ชิด เห็นนิสัยใจคออันแท ้จริงของ เขา ย่อมจะรับว่าเขาเป็นคนดีอย่างแท ้ หรือสำานวนไทยรู ้กันในสำานวนที่ว่า “รู ้หน ้าไม่รู ้ ใจ” ต ้องคบกันนานๆ จึงรู ้ธาตุแท ้ของลักษณะนิสัยกัน.

(9)

ตลอดจนการม ีความสามารถในการค ัดเล ือกอย ่างม ี ยุทธศาสตร ์ ในระนาบของความสามารถในการคิดแก ้ปัญหาด ้วย ตนเอง ความสามารถในการมุ่งสู่ทางการแก ้ปัญหาที่มีศักยภาพ ความ สามารถในการตัดทางเลือกที่ไม่เกี่ยวข ้องออก ความสามารถในการรู ้ ว่าเวลาใดจะต ้องใช ้การคิดแบบใดจึงจะเหมาะสม และช่วยให ้ประสบ ความสำาเร็จได ้ ตลอดจนการมีความสามารถในการประเมินอย่างมี

ประสิทธิภาพ การที่เราจะได ้ความคิดสร ้างสรรค์ที่ดีที่สุดนั้น เราควร จะมีความสามารถในการแยกแยะความคิดที่ดีและเหมาะสมท่ามกลาง แนวความคิดที่เป็นไปได ้มากมาย โดยคัดเลือกเฉพาะความคิดที่มี

ความสอดคล ้องกัน มารวมกันเพื่อสร ้างเป็นความคิดใหม่ขึ้น และนำา ความคิดใหม่ที่ได ้นั้นมาพิจารณาประเมินคุณค่า ความสามารถในการ ประเม ินส่งผลให ้เก ิดความก ้าวหน ้าในการแก ้ปัญหา เป็นส ิ่งที่

สอดคล ้องกับการที่จะได ้คำาตอบที่มีคุณภาพสูง ใหม่ ดี และเหมาะสม กว่า

๒. การมีความรู ้และมีรูปแบบในการคิด มีวารสารเล่มหนึ่งชื่อ Jurnal of Creative Behavior

ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ เป็นการตีพิมพ์รายงานผลจากการวิจัย ทางการศ ึกษาของ Rosenman, M.F. ซ ึ่งมีข ้อสรุปว่าความรู ้ที่

สะสมมาเป็นระยะเวลานานมีความสำาคัญต่อการทำาให ้เกิดความคิด สร ้างสรรค์ พูดอย่างง่ายก็คือคนที่มีความรู ้มักจะคิดสร ้างสรรค์ได ้ดีกว่า คนที่ไม่มีความรู ้ เพราะทำาให ้เข ้าใจธรรมชาติของปัญหาได ้กว ้างและ ลึกซึ้งกว่าคนที่ขาดฐานข ้อมูล ความรู ้ช่วยทำาให ้เราสามารถคิดงานที่

มีคุณภาพ เพราะมีรากฐานของความรู ้เกี่ยวกับเรื่องนั้นรองรับและช่วย กระตุ ้นให ้มีการคิดต่อยอดความรู ้ต่อไป อันเกิดจากการได ้รับความรู ้ เพิ่มเติม เพื่อนำาความรู ้ที่ได ้รับหรือมีอยู่มาคิดต่อเป็นจุดกำาเนิดของ ความคิดอื่นๆ ได ้

และในทางตรงกันข ้าม ความรู ้ก็อาจเป็นตัวขัดขวางความคิด สร ้างสรรค์ได ้ด ้วย หากยึดต ิดในความรู ้ที่มีอยู่มากเก ินไปจนเป็น อุปสรรคทำาให ้ขาดความยืดหยุ่นในการคิดออกนอกกรอบหรือคิดจาก มุมมองใหม่ๆ ที่กว ้างขวางขึ้น หรือที่คนไทยมีสำานวนว่า “ความรู ้เป็น เหมือนดาบสองคม” ซึ่งความจริงก็คือการมีความรู ้นั้นสามารถส่งผลก ระทบต่อความคิดสร ้างสรรค์ได ้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ หากนำาไปใช ้ ในฝ่ายดีก็ก่อประโยชน์ได ้มาก หากใช ้ไปในทางไม่ดีกล่าวคือนำาไป เพื่อก่อทุกข์แก่ตัวเอง เบียดเบียนหรือทำาลายบิดา มารดา หรือสกุล วงศ์ เช่นนี้ก็แย่ แต่น่าจะสะท ้อนให ้เห็นในทางตรงกันข ้าม กล่าวคือ เป็นความรู ้ที่น่าจะจัดวางอยู่ในระนาบของประโยชน์ที่จะตกอยู่แก่ส่วน

(10)

รวม เป็นส่วนรวมที่อยู่ในท่วงทำานองของผู ้ยิ่งใหญ่นั้นจะต ้องทิ้งอะไร ไว ้ภายหลังที่ตัวตายไปแล ้ว หรือพ ้นจากตำาแหน่งหน ้าที่ต่างหาก(๑๑).

อย่างไรก็ตาม รูปแบบการคิดของแต่ละคนมีผลต่อการรับรู ้และ บุคลิกภาพคนๆ นั้นด ้วย(๑๒) รูปแบบการคิดจะช่วยให ้เกิดการประยุกต์

ความสามารถทางสติปัญญาและความรู ้ของคนๆหนึ่ง ในการแก ้ปัญหา คนสองคนอาจจะมีระดับสติปัญญาเท่าเทียมกัน ต่างกันตรงรูปแบบ การคิด และเท่าที่ผ่านมาเรามักจะพบงานวิจัยหลายชิ้นที่อธิบายได ้ว่า รูปแบบการคิดของคนบางคน ช่วยส่งเสริมให ้เกิดความคิดสร ้างสรรค์

ในขณะที่รูปแบบการคิดของบางคน ขัดขวางการคิดสร ้างสรรค์

ตัวอย่างเช่น ความสมดุลในการคิด แบบมองมุมกว ้าง กับการคิดแบบ มองมุมแคบ การคิดในมุมแคบ เป็นการคิดแบบลงในรายละเอียดของ ปัญหา ส่วนการคิดในมุมกว ้าง เป็นการคิดแบบมองกว ้าง ในระดับ ทั่วไปของปัญหา ซึ่งการแก ้ไขปัญหาอย่างสร ้างสรรค์ มักจะต ้องมอง ในภาพกว ้างก่อนหรือคิดในมุมกว ้างก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณาลง ในรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให ้ได ้ความคิดสร ้างสรรค์ที่สมบูรณ์ที่สุด

(๑๑) พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. กุศโลบาย สร้างความยิ่งใหญ่ ๑ . (พิมพ์ครั้ง พิเศษ) กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์คู่แข่ง. ๒๕๓๕ หน ้า ๙.

(๑ ๒) ม ีว ิธ ีกา ร พัฒ น า บ ุค ล ิก ภ า พ ท า ง ส ม อ ง แ ล ะ ท ฤ ษ ฎ ีท า ง บ ุค ล ิก ภ า พ (Theories of Personality) ที่มีความสำาคัญต่อการความคิดหลายทฤษฎีด ้วยกัน อาทิเช่น ทฤษฎีของ ดร.จุง ทฤษฎีโรซานอฟฟ์ ทฤษฎีแสปรงเกอร์ ทฤษฎีออฟโต แรงค์. โปรดดูเพิ่มใน รองศาสตราจารย์สถิต วงศ์สวรรค์. การพ ัฒนาบุคลิกภาพ.

กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา. ๒๕๔๐ หน ้า ๕๑ และ หน ้า ๑๙๕ .

(11)

๓. การมีแรงจูงใจและส ิ่งแวดล ้อมที่ดี แรงจูงใจเป็นส่วน สำาค ัญที่กระตุ้นให้คนต้องการค ิดสร ้างสรรค ์ ซึ่งมีทั้งแรงจูงใจ ภายใน และแรงกระตุ ้นจากภายนอก แรงจูงใจกระตุ ้นจากภายใน ที่มี

ประโยชน์ต่อความคิดสร ้างสรรค์ ตัวอย่างที่เห็นได ้ชัดเช่น ความ ต ้องการประสบความสำาเร็จ ความต ้องการส ิ่งใหม่ๆ การตอบสนอง ความอยากรู ้อยากเห็น(๑๓) เหล่านี้ล ้วนเป็นสิ่งที่คนที่มีแรงกระตุ ้นจาก ภายใน มักจะบอกว่า เขาทำางานนี้ เพราะรู ้ส ึกสนุกหรือไม่ก็ค ้นพบว่า มันเป็นอะไรที่น่าสนใจและจะพึงพอใจ เมื่องานที่ทำานั้นประสบความ สำาเร็จ ส่วนแรงกระตุ ้นจากภายนอก จะมีลักษณะตรงกันข ้าม คือการ ที่สิ่งแวดล ้อมภายนอก เป็นผู ้ยื่นเสนอรางวัล ตัวอย่างเช่น การได ้รับ เงินเดือนสูงๆ ความก ้าวหน ้าในการทำางาน การได ้รับการยกย่องจาก หัวหน ้างาน การมีชื่อเสียง การได ้รับรางวัล

ผลงานวิจัยหลายๆ ชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจทางจิตวิทยา มี

ข ้อสรุปส่วนใหญ่ที่ชี้ให ้เห็นว่าคนที่ถูกกระตุ ้นด ้วยรางวัลนั้นจะมีความ คิดสร ้างสรรค์ตำ่ากว่าคนที่มีแรงกระตุ ้นจากความต ้องการที่อยู่ภายใน

แต่อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกที่มีความ สมดุลกันจะมีส่วนอย่างมากที่จะช่วยให ้การทำางานด ้านความคิด สร ้างสรรค์ มีสัมฤทธิผลได ้มากยิ่งขึ้น

สำาหร ับสภาพแวดล้อมน ั้นก็เป็นอีกปัจจ ัยหนึ่ง ที่จะทำาให้เรา จะสามารถค ิดสร ้างสรรค ์ได ้มากข ึ้น เพราะคนที่มีลักษณะการ สร ้างสรรค์ มักเป็นผู ้ที่ได ้รับการกระตุ ้น และได ้รับการส่งเสริมสนับสนุน โดยการสร ้างบรรยากาศที่ไม่มีการสร ้างกรอบมาตรฐานมาบีบรัด ตัวอย่างง่ายๆ เช่น การมีสภาพแวดล ้อมทางสังคมที่ส่งเสริมสิทธิ

เสรีภาพ ในการแสดงออกของประชาชน สังคมที่ส่งเสริมความหลาก หลายทางวัฒนธรรม สังคมที่มีแบบอย่างคนที่มีความคิดสร ้างสรรค์

สังคมที่ให ้รางวัลและสนับสนุนคนที่คิดแตกต่าง สังคมที่ส่งเสริมการ แข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรี ลักษณะสภาพแวดล ้อมเช่นว่ามานี้ย่อม ส่งเสริมให ้คนในสังคมนั้น มีความคิดสร ้างสรรค์ได ้ไม่ยาก

(๑๓) อ่านรายละเอียดเพิ่มใน นิภา นิธยานน. “ การปรับตัวและบุคลิกภาพ” ใน จิตวิทยาเพื่อการศึกษาและชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สารศึกษาการพิมพ์. ๒๕๒๐.

หน ้า ๗๕. และดูเพิ่มใน ฉันทนิช อัศวนนท์. “การตรวจสภาพความคิด (Mind Health Study)” ใน การพ ัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์ศูนย์

ส่งเสริมวิชาการ. ๒๕๔๔ หน ้า ๘๑.

(12)

แล ้วเราจะสามารถสร ้างน ิส ัยในการลงม ือปฏ ิบ ัต ิอย่าง สร้างสรรค ์ เพื่อการปฏิรูปว ัฒนธรรมใน โลกใหม่ได้อย่างไร? มีข ้อเสนออย่างง่ายหลายตัวอย่างให ้ลองปฏิบัติดู อาทิเช่น(๑๔) การ เริ่มจากการเป็นคน ๑.กระตือรือร ้น เป็นคนทำางาน พูดง่ายๆ คือชอบ เป็นนักทำา ๒.อย่ารอจนกระทั่งเงื่อนไขต่างๆสมบูรณ์แบบ มันไม่มีวัน เกิดขึ้นหัดลองเผชิญหน ้ากับความยุ่งยากและอุปสรรคในอนาคตและ แก ้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น ๓.จำาไว ้ว่า ลำาพังความคิดเพียงอย่างเดียวไม่

ทำาให ้เกิดความสำาเร็จ แต่ความคิดจะมีค่าก็ต่อเมื่อได ้รับการปฏิบัติ

๔.ใช ้การลงมือปฏิบัติเพื่อช่วยขจัดความกลัวและสร ้างความมั่นใจ ลองทำาในสิ่งที่คุณกลัวแล ้วความกลัวจะหายไป ๕.ติดเครื่องความคิด ของคุณด ้วยมือ อย่ารอให ้จิตใจผลักดันคุณให ้ทำา แต่ลงมือทำาไปก่อน แล ้วคุณจะผลักดันจิตใจให ้คิด ๖.คิดในเกณฑ์ของคำาว่า “เดี๋ยวนี้” คำา ว่า พรุ่งนี้..อาทิตย์หน ้า..วันหลัง..หรือคำาอื่นๆที่คล ้ายกันนั้นซึ่งมักเป็น คำาที่มีความหมายใกล ้เคียงกับคำาว่าความล ้มเหลว จงเป็นคนประเภท

“ฉันจะเริ่มเดี๋ยวนี้” ๗.นั่งลง..และทำางาน อย่าเสียเวลา ๘.เป็นผู ้ริเริ่ม เป็นนักรณรงค์ เป็นอาสาสมัคร แสดงให ้เห็นว่าคุณมีความสามารถและ มีความทะเยอทะยานที่จะทำา

ไม่ว่าจะอย่างไรและกรณีใดๆ ก็ตาม จงอย่าเป็นคนที่เอาตัวเอง หนีไปเสียจากความคิดสร ้างสรรค์ พยายามหลีกเลี่ยงสภาพแวดล ้อมที่

จะทำาลายการหล่อหลอมพัฒนาการทางความคิดสร ้างสรรค์ของเราให ้ หยุดชะงักลง ตัวอย่างที่เห็นได ้ชัดๆ ก็เช่น การมีสังคมที่ยึดมั่นการ ดำาเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีสังคม มีลักษณะเผด็จการ ทำาให ้คนในสังคมไม่กล ้าคิดนอกกรอบ สังคมที่ไม่เห็นคุณค่าความคิด สร ้างสรรค์ ไม่ยอมรับความคิดที่คนๆ หนึ่งได ้สร ้างสรรค์ขึ้นและสังคม ที่ไม่มีการสอนทักษะการคิดสร ้างสรรค์ ตัวอย่างเช่นการเรียนการสอน ที่เน ้นการท่องจำาซึ่งสถาบันทางการศึกษาหลายๆ แห่ง ที่ผ่านมา พยายามจัดกัน ซึ่งยังไม่ค่อยมีบรรยากาศที่จะส่งเสริมให ้ผู ้เรียนได ้คิด อย่างอิสระ จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำาให ้ผู ้เรียนเติบโตขึ้นอย่างขาด ทักษะในการคิดสร ้างสรรค์

ฐานความคิดสร้างสรรค์ปฏิรูปว ัฒนธรรมในโลกใหม่อย่างไร?

(๑๔) มีงานที่เกี่ยวกับความคิดสร ้างสรรค์ที่พูดถึงบุคลิกส่วนตัวหลายเล่ม อาทิ

เช ่น งานของ ผศ.รว ิวงศ ์ ศร ีทองร ุ่ง. การพ ัฒนาบุคล ิกภาพเพ ื่อการ ประชาส ัมพ ันธ์. กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์บางขุนนนท์การพิมพ์.๒๕๔๓ หน ้า ๖ ๓ แ ล ะ ง า น ข อ ง ร ศ.ล ้ว น – ร ศ.อ ัง ค ณ า ส า ย ย ศ. ก า ร ว ัด ด ้า น จ ิต พ ิส ัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. ๒๕๔๓ หน ้า ๑๔๑ และ หน ้า ๒๙๐.

(13)

วัฒนธรรม เป็นรากฐานของความเป็นชาติและเอกราชของแต่ละ ชนชาติ วัฒนธรรมมีความสำาคัญต่อชุมชนในฐานะเป็นกระบวนการ ขัดเกลาทางสังคม(๑๕)นั่นหมายความว่า วัฒนธรรมมีความแตกต่างกัน ทั้งในด ้านที่เป็นวัตถุและทั้งที่เป็นนามธรรม แสดงว่าวัฒนธรรมถือเป็น ตัวสร ้างสรรค์ความเจริญงอกงามของมนุษยชาติเป็นสิ่งที่แสดงให ้เห็น ถึงอารยธรรมของมนุษย์ด ้วย(๑๖) ในขณะที่กระแสของวัฒนธรรมในโลก ใหม่มีลักษณะเด่นอยู่ที่การเน ้นถึงอุดมการณ์ที่เป็นกรอบความคิด สำาคัญของสองค่าย กล่าวคือวัฒนธรรมประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์

แต่ในศตวรรษที่ ๒๑ โลกเต็มไปด ้วยสังคมที่เสรี เพราะโลกเป็น เหมือนเครือข่าย ดังนั้น ทักษะการค ิดและวัฒนธรรมที่เก ี่ยวกับ อุดมการณ์ทางความคิดจึงเป็นปัจจัยสำาคัญที่จะมีผลต่อคุณภาพของ คนในแต่ละสังคมไปโดยปริยายด ้วย

ในกระแสของโลกในยุคโลกานุวัตน์ จึงมีลักษณะเฉพาะที่

สำาคัญคือเป็นโลกของสังคมที่รู ้กับไม่รู ้หรือรู ้น ้อย สังคมที่คิดเก่งและ คิดชอบ และเป็นผู ้นำาทางความคิดหรือไม่เท่านั้น นั่นคือการต ้อง ยอมรับว่าโลกเรากำาลังก ้าวไปสู่ความเป็นโลกของวัฒนธรรมนานาชาติ

อันเป็นวัฒนธรรมนานาชาติที่มีพื้นฐานมาจากการบงการและครอบงำา โดยพลังของทุนนิยม(๑๗)ที่มีลักษณะของการเน ้นบริโภคนิยมมากกว่า จะเน ้นความสำาคัญของคุณธรรมและคุณค่าสากลที่เน ้นที่รากฐานของ ความคิด ความเชื่อ อุปนิสัย และวิถีชีวิตที่ประกอบด ้วยธรรม

การกลับมาพ ิจารณาถ ึงการสร ้างสรรค ์วัฒนธรรม ให ้เป็น เอกลักษณ์ที่สำาคัญของชาติจึงเป็นเรื่องจำาเป็นเพราะว่าวัฒนธรรมถือ เป็นจุดแข็งของประเทศ หมายความว่า หากจะพิจารณาจากการจัด อันดับต่างๆ ด ้านวัฒนธรรม ประเทศไทยเราได ้คะแนนสูงสุดในเรื่อง อ ัธ ย า ศ ัย ข อ ง ค น ใ น ป ร ะ เ ท ศ อ า ห า ร เ ท ศ ก า ล แ ล ะ ส ถ า น ท ี่

ประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานที่สำาคัญทางวัฒนธรรม(๑๘)การ

(๑๕) ณรงค์ เส็งประชา. มนุษย์ก ับส ังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียน สโตร์. ๒๕๓๘ หน ้า ๔๔-๔๕.

(๑๖) ณกมล ชาวปลายนา.พื้นฐานอารยธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

เอส.พี.พริ้นติ้ง จำากัด. ๒๕๓๙ หน ้า ๒๕-๒๖.

(๑๗) อ่านรายละเอียดเพิ่มใน ชัยวัฒน์ ถิรพันธ์. ความสำาค ัญทางเศรษฐกิจ ของศ ิลปะและว ัฒนธรรม(แปลและเร ียบเรียงจากรายงานของ Ms.Marlies Hummel) สถาบันนโยบายการศึกษา. ๒๕๓๕.

(๑๘) ศ.น.พ.วิจารณ์ พานิช. บทนำาในวัฒนธรรมคือทุนของชัยอนันต์ สมุทวณิช.

ว ัฒนธรรมคือทุน. กรุงเทพมหานคร: สำานักพิมพ์ พี.เพรส. จำากัด. ๒๕๔๐ หน ้า ฉ-ช.

(

Referensi