• Tidak ada hasil yang ditemukan

ทฤษฎีของแคลคูลัสที่ลำดับเป็นเศษส่วน (Fractional Calculus Theory)

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "ทฤษฎีของแคลคูลัสที่ลำดับเป็นเศษส่วน (Fractional Calculus Theory)"

Copied!
5
0
0

Teks penuh

(1)

ทฤษฎีของแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวน (Fractional Calculus Theory)

สิปาง ดิเรกคุณากร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทนํา

แคลคูลัสแบบเศษสวนเปนวิธีการคํานวณอนุพันธและอินทิกรัลที่ลําดับสามารถเปนเลขเศษสวนหรือเลขเชิงซอน คณิตศาสตร

แขนงนี้มีมานานกวา 300 ปแลว แตคณิตศาสตรแขนงนี้เพิ่งจะเริ่มมีบทบาทในทางวิทยาศาสตรและวิศวกรรม เมื่อไมนานมานี้ โดยไดมี

การนําไปการประยุกตใชงานในหลาย ๆ ดาน เชน คุณสมบัติของของที่มีความหนืด และคลื่นสนามไฟฟา เศรษฐศาสตรเชิงปริมาณ และ ระบบพลวัตรที่ไมเปนเชิงเสนเพราะการคํานวณโดยทฤษฎีนี้สามารถอธิบายระบบไดละเอียดมากกวาการคํานวณที่ลําดับเปนแบบเลข จํานวนเต็ม นิยามที่เกี่ยวของของแคลคูลัสแบบนี้มีหลายนิยามดวยกัน เชน นิยามของ รีมาน รีอูลวิลี่ (Riemann-Louville) นิยามของกุลวาด เล็ทนิคอฟ (Grunwald-Letnikov) นิยามของคาปูโต (Caputo) เปนตน คณิตศาสตรของแคลคูลัสจะแบงออกเปนสองสวน คือ สวนของ อนุพันธ (Differential) และสวนของอินทิกรัล (Integral)โดยที่สวนของอนุพันธจะเปนการอธิบายอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟงกชั่นเมื่อ ลิมิตของคาตัวแปรมีคาเขาใกลศูนย สวนอินทิกรัลจะเปนบทกลับของการหาอนุพันธโดยเปนการหาคาฟงกชั่นหลักจากคาอนุพันธซึ่ง สามารถพิจารณาไดในรูปของพื้นที่ใตกราฟในการหาอนุพันธโดยทั่วไปลําดับจะเปนเลขจํานวนเต็ม เชน การหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของ ระยะทางตอเวลาจะเปนความเร็ว ซึ่งจะเปนอนุพันธลําดับที่หนึ่งของฟงกชั่นระยะทาง และการหาอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วตอเวลา จะเปนความเรงซึ่งจะเปนอนุพันธลําดับที่สองของฟงกชั่นระยะทางตอเวลาและเปนอนุพันธลําดับที่หนึ่งของความเร็วตอเวลา

การประยุกตใชงาน

แคลคูลัสเปนวิธีการคํานวณอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟงกชั่นที่แบงออกไดเปนสองแบบคือการหาอนุพันธและการอินทิเกรท การหาอนุพันธเปนการพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงที่พิจารณาจากสวนเล็ก ๆ สวนการอินทิเกรทรวมสวนเล็ก ๆ เขาไวซึ่งเปนสวนกลับ ของการหาอนุพันธ แคลคูลัสมีบทบาทอยางมากในการคํานวณทางวิทยาศาสตรและวิศวกรรม โดยทั่วไปในการคํานวณที่ใชแคลคูลัสจะ ใชลําดับของอนุพันธที่มีคาเปนเลขจํานวนเต็ม เชน อัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทางตอเวลาจะเปนความเร็วและเปนอนุพันธลําดับที่

หนึ่งของระยะทางเทียบกับเวลา และอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วตอเวลาก็จะเปนความเรงและเปนอนุพันธลําดับที่หนึ่งของความเร็ว เทียบกับเวลา และเปนอนุพันธลําดับที่สองของระยะทางเทียบกับเวลาดวยเชนกัน ในทางทฤษฎีแลวการคํานวณสามารถพิจารณาไดที่

ลําดับของอนุพันธมีคาเปนเลขเศษสวนหรือเปนจํานวนจิตนภาพ แนวคิดนี้มีมานานแลวตั้งแตเริ่มมีการพัฒนาคณิตศาสตรของแคลคูลัส แตไมไดมีการนํามาใชกันแพรหลาย วิธีการคํานวณแคลคูลัสโดยพิจารณาลําดับเปนเศษสวนนั้นเพิ่งจะเริ่มมีการสนใจนํามาใชเมื่อไมนาน มานี้ สําหรับการนํามาประยุกตใชในการคํานวณเพราะการคํานวณนั้นสามารถใหรายละเอียดไดมากกวาการคํานวณโดยอาศัยวิธีหาคา กลาง (Interpolation) หรือวิธีการประมาณคาแนวโนม (Extrapolation) หรือการประมาณคา (approximation) หลักการทางคณิตศาสตรหรือ แคลคูลัสของลําดับที่เปนเศษสวนไมใชเรื่องใหม แตการประยุกตใชงานกับทฤษฎีหรือทางฟสิกสและวิศวกรรมเริ่มมีการนํามาใชเมื่อไม

นานมานี้ เชน การประมวลผลสัญญาณ (Digital Signal Processing) หรือ ทรรศนศาสตรของแสง (Optics) ทฤษฎีระบบควบคุม (Control Theory) การประมวลสัญญาณ (Signal Processing) การอธิบายการแพรโดยการซึมผาน (Diffusion) และคุณสมบัติความยืดหยุนและความ หนืดของสาร (Viscoelastic) รวมทั้งการประยุกตใชงานในอีกหลายสาขา แคลคูลัสแบบเศษสวนสามารถนํามาใชอธิบายระบบที่ไมเปนเชิง เสน (nonlinear system) เชน การแกวงของวงจรไฟฟา (oscillation) ไดละเอียดที่ลําดับของอนุพันธมีคาเปนเศษสวน การประยุกตใช

แคลคูลัสแบบเศษสวนในการอธิบายระบบที่เปนพลวัตร (dynamical system) จะสามารถอธิบายคาตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับระบบได เชน เสถียรภาพ (stability) การลูเขาหรือลูออกจากจุดที่คงที่ (convergence of fixed point) เสนทางเดินหรือวงโคจรของระบบ (trajectory) ได

ละเอียดมากขึ้น พัฒนาการของคอมพิวเตอรทําใหสามารถประยุกตวิธีการคํานวณทฤษฎีของแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนไดโดยอาศัยการ คํานวณเชิงตัวเลข (Numerical method) การคํานวณโดยอาศัยคอมพิวเตอรสําหรับทฤษฎีแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนนั้นผลลัพธหรือ คําตอบที่ไดจากการคํานวณนั้นสามารถใหขอสรุปใหม ๆ สําหรับการนําไปประยุกตใชงาน

(2)

ที่มาของทฤษฎี

ทฤษฎีแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนนั้นเริ่มขึ้นมาในสมัยเดียวกันกับแคลคูลัสแบบดั้งเดิมที่ลําดับเปนจํานวนเต็ม โดยเริ่มมาจาก คําถามของนักคณิตศาสตรชาวฝรั่งเศส โฮสปตอล (L’Hospital) ถามถึงไลซนิซ (Leibniz) นักคณิตศาสตรชาวเยอรมันวาถาอนุพันธมีลําดับ เปนเศษสวน เชน 1/2 จะมีความหมายอยางไร? ไลซนิซ ตอบวา"ในการคํานวณจะเกิดขอขัดแยงซึ่งวันหนึ่งจะมีประโยชน" นิยามที่

เกี่ยวของกับคณิตศาสตรของแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนนั้นมีหลายแบบและมีการพัฒนาเรื่อยมาตลอดระยะเวลากวาสามรอยป

ในป 1819 นักคณิตศาสตรชาวฝรั่งเศส ลาครองก (S.F. Lacroix)ไดเริ่มจากนิยามของอนุพันธ สําหรับเลขจํานวนเต็มและสามารถเขียนให

อยูในรูปทั่วไปไดในเทอมของแฟคทอเรี่ยล (factorial) และฟงกชั่นแกมมา (Gamma function)ในป 1823 อาเบล (Niels Henrik Abel)ได

ประยุกตใชแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนกับการหาคําตอบของปญหาการหารูปแบบของการเคลื่อนที่ของลูกปดลงมาตามลวดที่ขึงใน แนวตั้งโดยไมมีความเสียดทานโดยปญหาจะเกี่ยวของกับระยะเวลาสั้นที่สุดในการลื่นลงมาตามลวดซึ่งเปนปญหาในวิชาแคลคูลัสของการ เปลี่ยนแปลง (Variation Calculus) นิยามแรกของ ลีอูวิลลี่ (Liouville)ไดเริ่มจากผลลัพธของอนุพันธที่เขียนใหอยูในเทอมทั่วไปสําหรับ ลําดับใด ๆ โดยฟงกชั่นที่พิจารณานั้นเขียนไดในเทอมของผลรวมของอนุกรมซึ่งมีขอจํากัดที่ลําดับของอนุพันธจะจํากัดอยูเฉพาะกับ อนุกรมที่มีการลูเขา ตอมา อีริค รัซเวล เลอฟ (Eric Russel Love) ไดนิยามอินทิกรัลในรูปของลําดับที่เปนจิตนภาพ และสามารถเขียนให

อยูในรูปของการหาอนุพันธและอินทริกรัลของลําดับใด ๆ เมื่อสวนที่เปนจํานวนจริงมีคามากกวาศูนย ในกรณีที่สวนที่เปนจํานวนจริงมีคา เปนศูนย ฟรานซิส เฮช นอทโอเวอร (Francis H. Northover) ไดอธิบายวาจากนิยามของไลมาน ลีอูลวิลลี่ (Riemann-Liouville definition) สามารถเขียนไดในเทอมของการแปลงฟูเรียร (Fourier transform) จากลําดับที่เปนจิตภาพ

การคํานวณที่เกี่ยวของ

เมื่อไมนานมานี้ไดมีการนําทฤษฎีนี้ไปประยุกตใชกับงานวิจัยทางวิทยาศาสตรและวิศวกรรมและมีการจัดประชุมวิชาการรวมทั้ง การเสนอบทความทางวิชาการที่เกี่ยวของกับวิธีการคํานวณโดยอาศัยแคลคูลัสแบบเศษสวนเพิ่มขึ้น โดยใชประยุกตในการอธิบายหรือ สรางแบบจําลองของระบบที่ไมเปนเชิงเสนซึ่งสามารถอธิบายไดในรูปของสมการเชิงอนุพันธ (Differential Equation) สําหรับสมการเชิง อนุพันธที่อธิบายระบบที่ไมเปนเชิงเสนนั้น ถาสมการไมสามารถหาผลเฉลยโดยวิธีการวิเคราะหได เชน การอินทิเกรทเพื่อหาผลลัพธ

โดยตรงก็สามารถหาผลเฉลยไดจากการคํานวณเชิงตัวเลข (Numerical method) ในการคํานวณโดยวิธีการเชิงตัวเลขสําหรับสมการเชิง อนุพันธที่ลําดับเปนเศษสวนสามารถทําไดหลายวิธี โดยวิธีการคํานวณเชิงตัวเลขที่นิยมใชสําหรับการคํานวณที่ลําดับเปนเศษสวนนั้น นอกจากวิธีการคํานวณโดยอาศัยวิธีการวิเคราะหและวิธีการเชิงตัวเลขแลว ก็สามารถอาศัยการแปลงลาปลาส (Laplace transform) ให

สมการที่อยูในโดเมนของเวลา มาอยูในรูปของโดเมนความถี่ ผลเฉลยของสมการอนุพันธที่ลําดับเปนเศษสวนนั้นจะสามารถเขียนไดใน เทอมของฟงกชั่นทางคณิตศาสตร อยางเชน ฟงกชั่นแกมมา (Gamma function) หรือฟงกชั่นมิทแทก เลฟเฟลอร (Mittag-Leffler function) ไดหรือไฮเปอรจีโอเมตริกฟงกชั่น (Hypergeometric function) นอกจากนี้ก็ยังสามารถหาผลเฉลยหรือคําตอบของสมการไดจากวิธีการ แยกออกเปนสวนยอย ๆ อยางเชน วิธีอโดเมี่ยนดีคอมโพซิชั่น (Adomian Decomposition method) และวิธีการประมาณคาโดยวิธีกาเลอร

กิน (Garlerkin approximation)

ตัวอยางวิธีการคํานวณ

กอนที่จะอธิบายตัวอยางการคํานวณแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวน นั้นมาพิจารณาฟงกชั่นหนึ่งซึ่งมีเกี่ยวของอยางมากในนิยาม ของแคลคูลัสแบบเศษสวน แกมมาฟงกชั่น (Gamma function) เปนฟงกชั่นที่ขยายนิยามมาจากคาแฟคทอเรียล (factorial) ซึ่งเปนคาที่พบ มากในเรื่องวิธีการนับและการเรียงสับเปลี่ยน เชน จํานวนวิธีการเรียงสลับสิ่งของที่แตกตางกัน 5 ชิ้นจะเทากับ 5!=120 วิธี คาแฟคทอเรียล จะมีการกําหนดขึ้นใชอยูเฉพาะคาที่เปนบวก แตฟงกชั่นแกมมาจะเปนสวนขยายของคาแฟคทอเรียล ฟงกชั่นนี้จะมีคาอยูในชวงที่เปนบวก และลบและมีคาเปนอนันตที่จุด -2 และ -1 ดังแสดงในรูปที่ 1

(3)

นิยามของแกมมาฟงกชั่น สามารถเขียนไดในเทอมของอินทิกรัล ไดดังนี้

1 0

( )z e t dtt z

Γ =

(1)

จากอินทิกรัลนี้จะไดวา n!= Γ +(n 1) ซึ่งสามารถนําไปใชหาเทอมทั่วไปของสัมประสิทธิ์ของการกระจายแบบทวินาม (Binomial coefficient) ไดดังนี้

! ( 1)

!( )! ( 1) ( 1)

n n n

m m n m m n m

⎛ ⎞= = Γ +

⎜ ⎟ − Γ + Γ − +

⎝ ⎠ (2) ถาจําไดถึงการกระจายเทอม (x y+ )nคาสัมประสิทธนี้เปนคาคงที่หนาตัวแปรของการกระจายแบบทวินาม กราฟของฟงกชั่น แกมมาแสดงในรูปจะเห็นวามีคาอยูทั้งในชวงที่เปนบวกและชวงที่เปนลบ คุณสมบัติของฟงกชั่นแกมมาที่นาสนใจคือถาอินทิเกรททีละ สวนสมการที่ (1) ตามนิยาม จะไดวาΓ + = Γ(x 1) x x( )ซึ่งจะไดผลลัพธเปนนิยามคาแฟคทอเรียลดังนี้

(2) 1 (1) 1 1!

(3) 2 (2) 2 1 2!

(4) 3 (3) 3 2! 3!

...

(n 1) n ( )n n n( 1)! n! Γ = ⋅Γ = =

Γ = ⋅Γ = ⋅ = Γ = ⋅Γ = ⋅ =

Γ + = ⋅Γ = ⋅ − = จากกราฟจะเห็นวา 1

( )2 π

Γ = และΓ − = ∞( 2)

-3 -2 -1 1 2 3

-10 -5 5 10

รูปที่ 1 แสดงฟงกชั่นแกมมา (Gamma function)

สําหรับสัญลักษณของอนุพันธที่แสดงลําดับเปนจํานวนเต็มที่ใชในการคํานวณในปจจุบันนั้นกําหนดขึ้นโดยไลซนิซ สําหรับ อนุพันธอันดับที่ 1 จะเขียนไดดังนี้ df x( )

dx อนุพันธอันดับที่ 2 จะเขียนไดดังนี้ d f x2 ( )2

dx และสําหรับอนุพันธลําดับที่ nจะเขียน ไดดังนี้ n ( )

n

d f x

dx ซึ่งความหมายทางกายภาพของอนุพันธนั้นหมายถึงคาความชันของกราฟและอัตราการเปลี่ยนแปลง

ในการคํานวณอนุพันธแบบเศษสวนของฟงกชั่น f x( )สามารถเขียนแทนไดดวยสัญลักษณดังนี้ D f xxα ( ) เมื่อ α แทน เลขที่เปนเศษสวนหรือเลขเชิงซอน ซึ่งจะสอดคลองกับสัญลักษณที่กําหนดโดยไลซนิซ n ( )

n

d f x

dx เมื่อ nแทนดวย α

(4)

สําหรับนิยามสําหรับแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวน และเหมาะกับการคํานวณทางตัวเลข (Numerical method) คือนิยามอนุพันธ

ของกุลวาด เล็ทนิคอฟ (Grunwald-Letnikov) โดยนิยามพิจารณาไดจากอนุพันธลําดับที่ 1 ของฟงกชั่น y= f t( ) ดังนี้

0

( ) ( )

( ) lim

h

df f t f t h

f t dt h

− −

′ = = (3) โดยอาศัยนิยามนี้ จะไดอนุพันธสําหรับลําดับที่ 2 ของฟงกชั่นเปน

2

2 0

( ) ( )

( ) lim

h

d f f t f t h

f t dt h

′ − ′ −

′′ = = (4)

0

1 ( ) ( ) ( ) ( 2 )

limh

f t f t h f t h f t h

h h h

− − − − −

⎧ ⎫

= ⎨ − ⎬

⎩ ⎭ (5)

0

1 ( ) 2 ( ) ( 2 )

limh

f t f t h f t h

h h

− − + −

⎧ ⎫

= ⎨ ⎬

⎩ ⎭ (6) สําหรับอนุพันธลําดับที่ nของฟงกชั่นจะมีคาเปน

( )

0 0

( ) lim 1 ( 1) ( )

n n

n r

n h n r

d f n

f t f t rh

dt h = r

= = − ⎛ ⎞⎜ ⎟ −

⎝ ⎠ (7) เมื่อ

(

!

)

( 1)( 2)...( 1)

! ! !

n n n n n n r

r r n r r

⎛ ⎞= = − − − +

⎜ ⎟ −

⎝ ⎠

สําหรับα ≤n เราจะได ( ) ( ) lim0 ( ) ( )

h

f t f t d f dt

α α α

= = α (8)

0

( ) lim ( 1) ( ),

n r

a x h

r

D f x h f x rh nh x a

r

α α α

→∞ =

= − ⎛ ⎞⎜ ⎟ − = −

⎝ ⎠ (9) เมื่อ h เปนชวงเล็ก ๆ ที่มีคาเขาใกลคาอนันต (Infinity) และ αเปนลําดับที่เปนไดทั้งจํานวนเต็มและเศษสวน

เริ่มจากฟงกชั่น f x( )=xnเมื่อ n เปนเลขจํานวนเต็มบวก เราจะไดวาสําหรับอนุพันธลําดับที่mโดยอุปนัยคณิตศาสตรเรา สามารถเขียนไดเปน

!

( )!

m

n m m

d f n

dx n m x

=

− เมื่อn m≥ (10) ซึ่งสามารถเขียนในเทอมของแกมมาฟงกชั่นไดดังนี้

( 1)

( 1)

n

n n

d x x

dx n

μ μ μ

μ Γ +

=Γ − + (11) เมื่อ Γ(.)เปนฟงกชั่นแกมมาที่ใชอธิบายเทอมแฟคทอเรียลในกรณีที่เปนเลขที่ไมเปนจํานวนเต็มเมื่อn!= Γ +(n 1)

(5)

ตัวอยางที่ 1 การหาอนุพันธแบบเศษสวนของฟงกชั่น f x( )=eaxโดยใชนิยามอนุพันธเศษสวนกุลวาด-เล็ทนิคอฟ ในการคํานวณ

( ( ) )

0 0

0 0

0

lim ( 1)

lim ( 1) ( )

lim ( 1)

ax n a x n h

h n

ax n ah n

h n

ax ah

h ax

D e h e

n

e h e

n

e h e

a e

α α α α

α α α

α α

α

α α

+ −

=

=

= − ⎛ ⎞⎜ ⎟

⎝ ⎠

= − ⎛ ⎞⎜ ⎟

⎝ ⎠

= −

=

ตัวอยางที่ 2 การหาอนุพันธแบบเศษสวนของฟงกชั่น f x( )=xaโดยใชนิยามอนุพันธเศษสวนกุลวาด-เล็ทนิคอฟ ในการคํานวณ

1 a a1

D x =ax ซึ่งจะพบวาสอดคลองทฤษฎีบทของแคลคูลัสที่ลําดับเปนจํานวนเต็ม

1

0

( ) !

( )!

n a a nn a n

m

D x x a m a x

a n

=

= − =

เมื่อ Πแทนผลคูณ

( 1)

( 1)

a a a

D x x

a

α α

α Γ +

=Γ − + สําหรับ αใด ๆ ที่ไมเปนจํานวนเต็มและ 0< <α 1 ตัวอยางที่ 3 อนุพันธแบบเศษสวนของฟงกชั่น f x( ) 1= เมื่อα =1/ 2

1/2 0

(1) 1 Dx

πx

= จากคุณสมบัติของ 1

( )2 π Γ =

ตัวอยางที่ 4 อนุพันธแบบเศษสวนของฟงกชั่น f x( )=xเมื่อ α =1/ 2

1/2 1/2

2

d y x

dx = π (14) ในทฤษฎีแคลคูลัสแบบดั้งเดิมนั้นจะเห็นวาคาอนุพันธของคาคงที่จะเปนศูนยแตในแคลคูลัสที่ลําดับเปนเศษสวนนั้นผลลัพธดัง ในตัวอยางที่ 3 คาอนุพันธของ 1 ที่ลําดับ 1/2 จะมีคาเปน 1

πx

สรุป

แคลคูลัสแบบเศษสวนเปนวิธีการคํานวณอนุพันธและอินทิกรัลที่ลําดับสามารถเปนเลขเศษสวนหรือเลขเชิงซอน คณิตศาสตร

วิชานี้เริ่มขึ้นมาในสมัยเดียวกันกับแคลคูลัสแบบที่ลําดับเปนจํานวนเต็ม แตคณิตศาสตรแขนงนี้เพิ่งจะเริ่มมีบทบาทในทางวิทยาศาสตร

และวิศวกรรมเมื่อไมนานมานี้จากการนําไปการประยุกตใชงานในหลายสาขา นอกจากนิยามที่ยกมาแสดงในตัวอยางขางตนก็ยังมีนิยาม ของนักคณิตศาสตรอื่น ๆ อีกไดแกนิยามแบบของรีมานต (Riemann) และนิยามของคาปูโต (Caputo) ที่ผูสนใจสามารถหารายละเอียด เพิ่มเติมไดจากบรรณานุกรม การศึกษาวิธีการคํานวณโดยวิธีนี้สามารถนํามาประยุกตใชงานไดในอีกหลายสาขาและสามารถประยุกตใช

งานไดอีกหลายเรื่องในหลายสาขา บรรณานุกรม

[1] Podlubny I. Fractional Differential equations, San Diego (CA): Academic Press; 1999 [2] Oldham K, Spainer J. Fractional calculus. New York: Academic press; 1974

[3] Bertram Ross, Bertram Ross, A Brief History and Exposition of the Fundamental Theory of Fractional

Calculus, Fractional Calculus and Its Applications Proceeding of the International Conference Held at the

University of New Haven, June 1974, Springer-Verlag, 1975

Referensi

Dokumen terkait

Masyarakat ekonomi syariah Indonesia era 80-an dan sebelumnya bisa dikategorikan sebagai masyarakat yang bertipikal primary rules of obligation, yakni masyarakat