• Tidak ada hasil yang ditemukan

เหตุผล

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "เหตุผล"

Copied!
1
0
0

Teks penuh

(1)

เหตุผลไม่ร ับร ัฐธรรมนูญ

ผศ.ชมพู โกติรัมย์

ขณะนี้สังคมไทยได ้มีความขัดแย ้งทางความคิดอย่างรุนแรง เป็นความ ขัดแย ้งบนความเห็นต่างในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่ม แต่ที่สำาคัญก็คือ ประเด็นที่มาของรัฐธรรมนูญ และตามด ้วยพ..บ ว่าด ้วยการออกเสียง

ประชามติเพื่อเป็นการปรามกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อควำ่ารัฐธรรมนูญ ซึ่งถึงว่าเป็น ความขัดแย ้งทางสังคมในระดับมหภาค เพราะรัฐธรรมนูญเป็นแม่ทบในอันที่จะ มากำาหนดก ้าวย่างของประเทศทั้งในบริบทเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่สิ่ง ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้นั้นมักไม่ได ้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงมากนักนั่น ก็คือ รัฐธรรมนูญมักจะถูกเชื่อมโยงกับประเด็นการเมืองและ เศรษฐกิจ เป็น ด ้านหลัก ทั้งนี้ด ้วยเห็นว่า เมื่อมีการเลือกตั้งได ้รัฐบาลมาจากระบอบ ประชาธิปไตยแล ้วจะทำาให ้เกิดความเชื่อมั่นจากธุรกิจภาคเอกชนจากในและ ต่างประเทศ รัฐธรรมนูญจึงเป็นดังตัวประกัน ถ ้าไม่ผ่านการลงมติก็จะไม่มีการ เลือกตั้ง แท ้ที่จริงการเลือกตั้งยิ่งต ้องมีเพื่อคืนอำานาจให ้กับประชาชน เพราะตามปรัชญาการเมืองเสรีประชาธิปไตยที่เริมต ้นจากการการที่ประชาชน เรียกร ้องสิทธิของตนเอง แล ้วแสวงหาจุดยืนร่วมกันเป็นความลงตัวระหว่าง สิทธิปัจเจกชน และชุมชน หากแต่ว่าเราไม่ได ้เริ่มต ้นจากจุดนี้แต่ว่าถ่ายโอน ระบอบการปกครอบแบบประชาธิปไตยจากบนสู่ล่าง เป็นความไม่ลงตัว

ระหว่างสิทธิอำานาจของปัจเจกชน ที่มักมาเหนือสิทธิอำานาจชุมชน (ส่วนรวม)

หลักการก็คือประชาชนมีอำานาจอธิปไตยตามธรรมชาติของตนเอง แล ้วจึงมอบ อำานาจอธิปไตยของตนเองที่มีนั้นไปให ้ผู้แทนโดยตรง หรือโดยอ ้อม แล ้วผู้

แทนจึงไปกำาหนดอำานาจทั้งสาม คืออำานาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการขึ้น มาบริหารปกครองบ ้านเมือง ที่มาของรัฐธรรมนูญจะมาจากส่วนล่างสู่บน คือ ประชาชนมีส่วนร่วมเพราะในความเป็นจริงแล ้วรัฐธรรมนูญคือจิตวิญญาณของ สังคมอันเป็นวัฒนธรรมทางนามธรรมในรูปของคติความเชื่อ ค่านิยม

กฎหมาย โดยที่สิ่งเหล่านี้มีรากเหง ้าจากพุทธศาสนาเป็นหน่อใหญ่ผสมผสาน ด ้วยหน่อย่อย แล ้วแตกเรียวกิ่งเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตในองคาพยพของความ เป็นไทย ถ ้ารัฐธรรมนูญเดินตามกรอบหลักการนี้ประชาธิปไตยจึงจะ

สมบูรณ์มิใช่ประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญเท่านันถึงแม ้จะองมีรัฐธรรมนูญก็มิได ้ หมายว่าจะเป็นประชาธิปไตย

ก่อนอื่นควรศึกษาหลักการทำาประชามติก่อนแล ้วนำาไปสู่เหตุผลทำาไมไม่

รับรัฐธรรมนูญ เมื่อนำาการทำาประชามติมาใช ้กับรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่

ควรทำาในรูปแบบนี้ เพียงแค่คิดก็ผิดฝาผิดตัว หรือพูดให ้ชัดคือการทำา ประชามติเป็นสิ่งที่ดีตามหลักประชาธิปไตยโดยตรงโดยไม่ผ่านผู ้ทำาหน ้าที่

แทน แต่ไม่ถูกที่ไม่ถูกเวลา โดยเริ่มจากที่มาของรัฐธรรมนูญไม่ถูกตามหลัก สากล เพราะไม่ได ้มาจากตัวแทนประชาชนอย่างแท ้จริงเมื่อที่มาไม่ชอบธรรม จึงหาทางสร ้างความชอบธรรม โดยให ้ประชาชนลงมติว่ารับหรือไม่รับ เพื่อ แสดงให ้เห็นว่าประชาชนได ้มีส่วนร่วม เมื่อติดที่ประเด็นรับหรือไม่รับ ทางคมช.และรัฐบาลจึงทุ่มทุนประชาสัมสัมพันธ์หลากหลายวิธีเพื่อผลักดันให ้ รับ ประเด็นไม่ได ้อยู่ที่รับหรือไม่รับเพราะตัวเนื้อหา แต่ประเด็นที่ประชาชน

(2)

ติดใจคือ ผู ้ยกร่างเป็นคนของใครคนเหล่านั้นมาจากไหน ประเด็นนี้จะนำา มาเชื่อมกับการลงมติของประชาชนเพื่อสร ้างความชอบธรรม ดูแล ้วเป็นความ ชอบธรรมสำาหรับใครเพราะกติกานี้ใครเป็นผู ้กำาหนด ตรงนี้เพียงแค่คิดก็ผิด แล ้ว ประเด็นไม่ได ้อยู่ที่รับหรือไม่รับถัดมาคือ ความเป็นจริงมีอยู่ว่าเมื่อเรา ยอมรับในตัวแทนของเราเพราะผ่านการเลือกสรรแล ้วรัฐธรรมนูญที่ยกร่างย่อม เป็นความชอบธรรม เพราะยอมรับในผลผลิตที่มีแต่ต ้นจึงไม่ติดใจในบันปลาย ตรงนี้คือเหตุที่ว่าผิดฝาผิดตัวเหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะนิยามการทำาประชามติ

หมายถึงการที่รัฐคืนอำานาจตัดสินใจให ้กับประชาชนเพื่อออกเสียงลงมติทาง ตรง ซี่งเป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให ้ประชาชนเจ ้าของอำานาจอธิปไตยที่แท ้จริง เป็นผู ้ใช ้อำานาจนี้ด ้วยตนเองแทนระบบตัวแทนประเด็นก็คือ การคืนอำานาจ ตัดสินใจให ้กับประชาชน ความหมายว่าคืนหมายถึงสังคมในขณะนั้นจะต ้องมี

บรรยากาศการแสดงความคิดเห็น สามารถกระทำากิจกรรมทางการเมืองได ้ อย่างเสรี ตัวอย่างเช่นการทำาประชามติภายหลังการให ้สัตยาบันสนธิสัญญาก่อ ตั้งรัฐธรรมนูญยุโรปของประเทศฝรั่งเศล ถ ้าหากประชาชนมีมติไม่เห็นด ้วยต่อ ร่างรัฐธรรมนูญรัฐก็มิอาจบังคับใช ้ได ้ เนื่องด ้วยยตะหนักถึงความสำาคัญของผล ที่จะเกิดต่อประเทศและประชาชน การทำาประชามติของฝรังเศลในครั้งนั้นเมื่อ เปรียบเทียบจำานวนนักการเมืองที่เห็นด ้วยกับไม่เห็นด ้วยแล ้ว เห็นได ้อย่าง ชัดเจนว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด ้วยคือกลุ่มเล็กๆที่ไม่ได ้รับโอกาสทัดเทียมจากสื่อ และสังคมในการเสนอความคิดเห็นของตน นี่คือต ้นแบบการลงมติที่ทำา เฉพาะเรื่องที่ง่ายต่อการตัดสินใจ แต่ในส่วนของประเทศไทยการลงมติเพียง ว่ารับ หรือไม่รับ ดูเหมือนมัดมือชกเป็นเพียงการลงความเห็นที่ไม่ได ้ใช ้ความ คิดสนับสนุนเพราะหากเห็นว่าส่วนที่ดีมีอยู่บ ้างแต่มาติดขัดส่วนที่ไม่ดีก็จำาตัดใจ เลือกไม่รับก็เป็นได ้ และเป็นการลงมติท่ามกลางความไม่รู ้ไม่เข ้าใจของ ประชาชน การลงมติรับรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ของโลก เมื่อการลงมติเป็นวิถีทางประชาธิปไตยโดยตรง จะต ้องตั้งอยู่บนพื้น ฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท ้จริง ความแท ้จริงนั้นน่าจะหมายถึง ตัวแทนอย่างแท ้จริงแล ้วนำาไปสู่ขั้นตอนการยกร่าง มิใช่แค่ร่วมฟังแล ้วเสนอ กระทู ้ถามที่ไม่อิสระพอเพราะมีธงประเด็นคำาถามนำาร่องนำาเสนอแก่ผู ้ร่วม ประชุมอยู่ก่อนแล ้ว และที่สำาคัญบรรยากาศการทำาประชามต ิจะต ้องมี

บรรยากาศที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน โดยที่นักการเมืองในฐานะผู ้ใช ้รัฐธรรมนูญ โดยตรงมีส่วนร่วม และรัฐจะต ้องให ้เงินสนับบนุนพิเศษแก่พรรคการเมืองเพื่อ ใช ้ในการรณรงค์การแสดงประชามติด ้วย นี่คือการทำาประชามติตามหลักสากล

การมีส่วนร่วมนำาไปสู่การสนับสนุนและรับผิดชอบ” หากการลงมติไม่ได ้ เป็นไปตามลักษณะนี้คงเป็นเพียงอภิชนามติ

หากย ้อนมาดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แพงที่สุดในโลกเพราะมีต ้นทุนการลง มต ิสูง แต่ม ีต ้นทุนทางสังคมตำ่าเพราะ อยู่ในบรรยากาศขาดความเป็น ประชาธิปไตยเนื่องจากนักการเมือง ในฐานะตัวแทนของประชาชนไม่ได ้ทำา กิจกรรมทางการเมืองในระดับต่างๆในลักษณะร่วมคิดร่วมทำา “ รัฐธรรมนูญผู ้ ร่างไม่ได ้ใช ้ ผู ้ใช ้ไม่ได ้ร่าง”(บรรหาร ศิลปอาชา) ได ้สะท ้อนถึงความรู ้สึกของ นักการเมืองต่อการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือทางอ ้อม ในฐานะผู ้ทำากิจกรรม

(3)

ทางการเมือง เพราะกระบวนการจัดทำารัฐธรรมนูญควรรับฟังทุกฝ่าย ตาม หลักประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมของประชาชนมิอาจปฎิเสธได ้ ในขณะ เดียวกันในห ้วงเวลาแห่งการยกร่างรัฐธรรมนูญสังคมไทยยังอยู่ในกฎเหล็กคือ คำาสั่ง คปค.ฉบับที่ 15 และ 27 คำาสั่งฉบับดังกล่าวเป็นอุปสรรคสำาคัญต่อ การพัฒนาประชาธ ิปไตย เราควรยอมรับความจร ิงว่า ความเข ้าใจใน รัฐธรรมนูญของปรชาชนมีต่างกัน ประเด็นที่สำาคัญอันดับแรกคือทำาอย่างไร ให ้ประชาชนได ้รู ้ระดับเข ้าใจในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญสามารถทำาประชามติ

แบบหวังผลได ้ เพราะหากการมุ่งทำาประชามติในบรรยากาศที่ประชาชนไม่ได ้ มีส่วนร่วมตั้งแต่ต ้น ไม่มีบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตยแล ้ว หากการ ทำาประชามติในบรรยากาศเช่นนี้คงเป็นเพียงสัญลักษณ์ประชาธิปไตยที่แต ้มทา ด ้วยอามาตยาธิปไตยเท่านั้น โดยขาดเนื้อแท ้ของกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีจิต วิญญาณแห่งการดิ้นรน ต่อสู ้เพื่อความหวังที่ดีกว่าภายใต ้การปกครองระบอบนี้

ทำาอย่างไรประชาชนจะได ้รับข ้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็นต่างๆอย่างครบถ ้วน เพื่อใช ้ประกอบการตัดสินของตนในฐานะเป็นเจ ้าของอำานาจอธิปไตย จาก กรณีการทำาประชามติรัฐธรรมนูญของไทยที่จักมีขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคมนี้

ที่สำาคัญพึงยอมรับความเห็นต่าง หรืออย่ามองกลุ่มที่มีความเห็นต่างเป็นศัตรู

ทางการเมือง หรือคนทำาลายชาติหรือหนักไปกว่านั้นมองว่าเป็นพวกอำานาจเก่า การมองเช่นนี้เท่าผลักดันความคิดเห็นของประชาชนให ้เป็นคนละฝ่าย ผู ้ที่

เกี่ยวข ้องกับการทำาประชามติต ้องยอมรับความเป็นจริงที่มีความเห็นต่างอย่า มองด ้านเดียวว่าต ้องผ่าน เพราะหากมองเช่นนี้เท่ากับเผด็จการทางความคิด ควรมีความคิดที่เป็นกลางๆ อาจผ่านการยอมรับจากประชาชนก็ได ้หากมี

เงื่อนไขที่สมเหตุสมผลเหมาะสมกับเวลา มีค่าในตัว ในทางกลับกันอาจไม่

ผ่านก็ได ้ทั้งนี้เพราะทุกอย่างมันมีเหตุปัจจัยอยู่เช่นเดียวกัน เพราะหากตั้งธง ล่วงหน ้าว่าจะต ้องผ่านเป็นท่าทีที่ตึงขึงขังอยู่ในตัวสะท ้อนถึงพฤติกรรมที่พร ้อม ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือแม ้แต่การบริการขนคนไปลงมติตามที่

เป็นข่าวล ้วนแล ้วแต่เป็นพฤติกรรมที่นัยว่าต ้องผ่าน

ในทัศนะส่วนที่ไม่รับรัฐธรรมเพราะมีเหตุผลจากกรอบความคิดบางประการดังนี้

1. .เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยรวมไม่เอื้ออำานวยต่อการปฏิรูป สังคมและการเมืองอย่างแท ้จริง และละเลยอำานาจทางการเมืองที่ชอบธรรม ของประชาชนในหลายด ้าน แต่กลับให ้อำานาจดังกล่าวแก่กลุ่มข ้าราชการและ โดยเฉพาะข ้าราชการตุลาการ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำาลังดำาเนิน การ เพื่อสืบทอดอำานาจต่อไปโดยการพยายามผลักดันออกกฎหมายการรักษา ความมั่นคงในราชอาณาจักร ย่อมเป็นการยกเลิกเพิกถอนสิทธิของประชาชนตาม รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไปโดยทันที และนอกจากนั้นเห็นว่ากฎหมายการทำา ประชามติไม่มีความเป็นประชาธิปไตยยังลิดรอนสิทธิของประชาชน ในการลง ประชามติ ควรเปิดโอกาสให ้ประชาชนมีสิทธิ์ทำาเครื่องหมายในช่อง “ไม่แสดง ความคิดเห็น” หรือ “ไม่ออกเสียงลงประชามติ” ผู ้เขียนเชื่อและมั่นใจใน วิจารณญาณของประชาชน ปัญหาอยู่ที่การให ้ข ้อมูลในระดับไหนเป็นการชี้นำา

(4)

หรือไม่ชี้นำา รัฐบาลควรวางตัวเป็นกลางในฐานะผู ้ดำาเนินการทำาประชามติและ มีผลได ้เสียโดยตรง เพราะความเป็นจริงประชาชนมีความรู ้เรื่อง และสนใจต่อ รัฐธรรมนูญน ้อยมาก และในความเป็นจริงชีวิตประจำาของชาวบ ้านส่วนมากของ ประเทศแทบไม่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ การลงประชามติครั้งนี้คงหนีไป พ ้นมีการเกณฑ์คนไปลงมติ หรือชี้นำาเพื่อหวังผลคือผ่าน แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายเกี่ยวกับการลงประชามติทบทวนดูลิดรอนสิทธิของประชาชนตั้งแต่ต ้น แล ้วจะให ้ความเป็นประชาธิปไตยได ้อย่างไร

2.มองจากความคิดเกี่ยวก ับส ังคมที่แยกออกจากร ัฐ ซึ่งเป็นความ คิดก่อตัวขึ้นหลังจากการปฎิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปเป็นกระบวนการทำาลาย ระบบสังคมดั้งเดิม โดยชนชั้นนายทุน(กุมฎุมพี) ที่มีกำาลัง (ทางการเงิน)ก ้าวสู่

อำานาจแทน เมื่อมีการแยกออกจากกันระหว่างรัฐ กับสังคม จึงเกิดปัญหา การเชื่อมระหว่างรัฐกับสังคมแยกได ้ 3 ทัศนะกล่าวคือ

1.สังคม คือสิ่งที่ถูกปกครอง

2.การเมือง คือผลผลิตของสังคม

3.สังคม และการปกครองเป็นอิสระซึ่งกันและกันในบางส่วนและพึ่งพา อาศัยกันในบางส่วน

จากแนวคิดที่ 1 ส ังคมคือสิ่งที่ถูกปกครอง ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิด คนในสังคมมีความสนใจทางการเมืองน ้อย มวลชนถูกกีดกันออกจากการมี

ส่วนร่วมทางการเมือง และจะได ้รับความสนใจจากรัฐเพียงในฐานะผู ้เสียภาษี

เกณฑ์ทหาร แนวคิดนี้เริ่มสลายตัวลงเมื่อการมีสวนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันหากการมีส่วนร่วมทางการเมืองน ้อย สังคม คือสิ่งที่ถูกปกครองประชาชนยังเป็นฝ่ายถูกกระทำา หรือจับวางตามหมากที่

กำาหนดไว ้แม ้แต่การแสดงความคิดเห็น (ลงมติ) ก็หมากตัวหนึ่งของเกม อำานาจที่ยังไม่อิสระจากการชี้นำา

แนวคิดที่ 2 การเมืองคือผลผลิตทางส ังคม แนวคิดนี้ Montesquieu

เสนอว่า ความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีอย่างเท่าเทียมกันคือการที่ไม่ถูก ครอบงำาโดยอภิชน การเมืองควรตอบสนองและแสวงหาวิธีการอย่างมี

เหตุผลเพื่อนำาทางสามัญชนสู่ผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติ แนวคิดนี้

สะท ้อนถึงการรับฟังความคิดเห็นอันสะท ้อนจากสังคมว่า สังคมได ้ร่วมกัน เพาะเมล็ดพันธุ์รัฐธรรมนูญอย่างไร รัฐธรรมนูญคือผลผลิตของสังคมเป็น ผลผลิตที่ประชาชนต ้องการกินอะไรแล ้วบ่มเพาะให ้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้า อาการนี่คือรัฐธรรมที่มาจากล่าสู่บนตามหลักสากลที่นำาเสนอไปแล ้ว

แนวคิดที่ 3 ส ังคมและการปกครอง อิสระในบางส่วนและพึ่งพาก ัน ในบางส่วน สะท ้อนถึงความแตกต่างระหว่างศีลธรรม (ศาสนา) เป็นสิ่งมีอยู่คู่

กับสังคม ตามลัทธิเสรีนิยมรัฐเกิดจากการเข ้าร่วมกันของกลุ่มต่างๆ แล ้วก ลุ่มต่างๆเหล่านั้นต่างยอมรับในอำานาจอันชอบธรรมเดียวกัน โดยไม่อยู่ภาย ใต ้อำานาจอื่น การยอมรับในอำานาจนั้นทำาให ้รัฐมีอำานาจ การรวมกลุ่มเป็น เสรีภาพส่วนบุคคล รัฐจะเข ้ามาข ้องเกี่ยวด ้วยเพียงเพื่อปกป้องรักษา เสรีภาพส่วนบุคคลไว ้ โดยที่กลุ่มต่างๆในสังคม เป็นตัวกำาหนดการปกครอง เพื่อมาจำากัดขอบเขตความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น และรัฐเองจะต ้อง ได ้รับการยอมรับจากกลุ่มต่างๆในสังคม เรื่องที่ต ้องทบทวนว่า อะไรหรือ

(5)

ส่วนไหนต้องพึงพาและส่วนไหนต้องอิสระระหว่างประชาชนก ับการ ปกครอง เพราะหากแยกศูนย์รวมทางการเมืองมาอยู่ที่อำานาจ แทนที่จะ เป็นรัฐ เมื่อเป็นเช่นนี้เท่ากับตอกยำ้ากระบวนการทางการเมืองก็คือการต่อสู ้ ระหว่างกลุ่มทางการเมือง เพื่อเพิ่มพูนอำานาจของกลุ่มตนเพื่อเชื่อมสะพาน ไปยังกลุ่มผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง ในส่วนของรัฐภายใต ้กรอบความคิด ศูนย์รวมทางการเมืองในลักษณะนี้ การแจกจ่ายผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับว่า ใครมีอำานาจเหนือกว่า การศึกษาแนวนี้ ใช ้แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ และ การช่วงชิงผลประโยชน์ ภายใต้กรอบประชาชนและการปกครอง จะพบ ว่าไม่สามารถหลุดจากปมความขัดแย ้งได ้ตราบเท่าที่การพึ่งพาประชาชนยัง เป็นเพียงวาทะ ทำาเพื่อประชาชน แต่ประชาชนมิอาจพึ่งพิงได ้ ยิ่งกว่านั้น ความไม่อิสระในการแสดงสิทธิ์และเสียงของประชาชน จากกรอบคิดนี้

สะท ้อนให ้เห็น การปฎิวัติที่ผ่านมาแล ้วประมงลผลมาสู่การลงประชามติแท ้ที่

จริงก็คือการช่วงชิงอำานาจเพื่อเชื่อมผลประโยชน์จากกลุ่มหนึ่งไปอีกกลุ่ม หนึ่ง โดยใช ้กติกาใหม่เพื่อเปิดทางการแข่งขันอย่างเสรีเพื่ออธิปไตยเป็น ปลายทาง แล ้วกลุ่มไหนเป็นฝ่ายเขียนกติกา ตามกรอบแนวคิดนี้ในส่วนของ การเขียนกติกาบ ้านเมืองยิ่งต ้องพึ่งพาประชาชนจากทุกภาคส่วนด ้วยความ บริสุทธิ์ใจอย่างแท ้จริง ส่วนขั้นตอนการลงประชามติควรเป็นขั้นตอนที่อิสระ อย่างเต็มที่ แต่ที่กำาลังเป็นอยู่ในขณะนี้ได ้กลับตาลปัตร ขั้นตอนเขียน กติกากลับไม่พึ่งพาในความหมายการมีส่วนร่วมย่างแท ้จริงปราศจากทำาเพียง เป็นสัญลักษณ์ ท ้ายที่สุดก็ผลักเสียงประชาชนออก กรณีองค์กรชาวพุทธที่มี

เครือข่ายทั่วประเทศและมีการเคลื่อนไหวเรียกร ้องประเด็น พุทธศาสนาเป็น ศาสนาประจำาชาติ ตรงนี้เป็นประเด็นที่ต ้องทบทวน ร่วมคิด รวมสร้าง ร่วมร่างร ัฐธรรมนูญ แท ้ที่จริงเป็นเพียงความจริงแท ้หรือความจริงเทียม

3.มองจากวิถีทางอันเป็นกรอบที่เป็นสากลนั่นคือการเมืองในประเทศ นั้นๆ อยู่ในระบอบไหนและระบอบนั้นมีความเป็นสากลแค่ไหน หากมีความ ขัดแย ้งระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์โดยกลุ่มต่างๆภายใต ้กฎ กติกา หรือระบบใด ระบบหนึ่ง ก็ควรหาทางคลี่คลายในตัวของมันเอง และการแสวงหาผลลัพท์ที่ต่อรองกันได ้(Negotaible ends) ต ้องแยกให ้ออก ระหว่างคนกับตัวระบบ ตัวระบบควรมีความศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกฝ่ายให ้ความเคารพ หากต ้องแก ้ไขก็เป็นไปตามมติมหาชน คนต่างหากต ้องปรับตัวเข ้าหาระบบ มิใช่ปรับระบบเข ้าหาคนหากเป็นเช่นนี้ปฎิบัติ 19 กันยายน 2549 คงมิใช่ครั้ง สุดท ้ายของประเทศไทยเรา จากกรอบความคิดนี้ผู ้เขียนเห็นว่าไม่ควรรับ เพราะต ้องการให ้ระบบเรียนเรียนรู ้การหาข ้อยุติด ้วยระบบเอง

4.มองการเมืองในลักษณะพยายามเปลี่ยนแปลงระบบสังคมทั้งหมด หรือ

การใฝ่หาผลลัพท์ที่ต่อรองกันไม่ได ้ (Non- tiable ends) เป็นการไม่เคารพ สิทธิของประชาชน แท ้ที่จริงการต่อรองโดยเฉพาะการต่อรองทางการ เมืองที่มีมิติทางผลประโยชน์ มิติอำานาจ เข ้าทับซ ้อนอยู่นั้น สิ่งที่จำาเป็นมาก ที่สุดคือต ้องเคารพในกติกา และเรียนรู ้ที่จะมีความอดทนหากขาดเสียซึ่งสิ่ง นี้ไม่สามารถตกลงกันได ้จึงหันไปจัดการที่ระบบเพื่อใช ้ระบบมาจัดการที่

คน(สังคม) การใช ้ระบบมาจัดการคนหรือเปลี่ยนกติกานี้ ต ้องใช ้กำาลัง อำานาจเป็นวิธีการที่ไม่เป็นสากล ส่วนการใช ้ระบบที่มีอยู่(ประชาธิปไตย)มา

(6)

แก ้ไขที่ตัวระบบโดยใช ้อำานาจประชาชน และเชื่อว่าประเทศไทยมีบทเรียน แสนเจ็บปวดที่ประชาธิปไตยได ้มาด ้วยเลือดและเนื้อ ประชาชนยังสามารถ จัดการความขัดแย ้งด ้วยระบบประชาธิปไตยได ้โดยไม่ต ้องอาศัยกำาลังอำานาจ

5.เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามตินี้ มีจุดมุ่งหมายให ้รัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคไม่มีเสถียรภาพ ทางการเมือง เมื่อเป็นเช่นนี้นโยบายของพรรคของพรรคการเมืองเป็นเพียง นโยบายขายฝันที่ไม่สามารถผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลได ้ เนื่องจาก การผสมผสานหลายพรรค และต ้องอยู่ภายใต ้การควบคุมดูแลของอภิชนและ ขุนนางข ้าราชการผู ้ใหญ่ทั้งหลายผ่านทางวุฒิสภาและตุลาการทั้งหลาย

6.เห็นว่ารัฐธรรมนูญย่อมไม่สมบูรณ์เต็มร ้อย แต่พลังของประชาชนย่อม มีเต็มร ้อยการใดๆ ที่เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนย่อมชอบธรรมจากที่มา และมีความเป็นร ้อย ฉะนั้นเห็นควรเรียกร ้องให ้จัดการเลือกตั้งภายใต ้ รัฐธรรมนูญ2540ไหนๆ ฝ่ายรัฐบาลก็ประกาศวันเลือกตั้งไว ้ก่อนแล ้ว หรือ พยายามผลักดันให ้รัฐธรรมนูญผ่านเพื่อเลือกตั้งภายใต ้กรอบกต ิกานี้

7. เห็นว่าระบอบ อำามาตยาธิปไตย มาไกลแล ้วหยั่งรากลึกพอแล ้วจาก

2475 เรามักถูกแทรกแซงมาตลอดในนามวงจรอุบาทว์ทางการเมือง เมื่อเลือก ตั้งแล ้ว มีการจัดตั้งรัฐบาล แล ้วไปสู่ความขัดแย ้งทางผลประโยชน์หรือความ ไม่ลงตัวเพราะเป็นรัฐบาลที่ผสมหลายพรรค เราเดินมาได ้แค่นี้เองแล ้วเราจะ ก ้าวข ้ามตรงนี้ได ้อย่างไรคือไม่เลือกที่จะปฎิวัติแล ้วผ่าทางตันด ้วยสติปัญญา และพลังประชาชนในระบอบประชาธิปไตยเอง ตรงนี้มองจากทฤษฎีปฎิสัมพันธ์

ทางสังคม (social action) กล่าวคือเมื่อรูปแบบพฤติกรรมหนึ่งซึ่งอาจจะดีหรือไม่

ดีก็ตามได ้รับการปฎิสัมพันธ์ เชิงบวก(ยอมรับ) บุคคลก็จะเลือกแสดงพฤติกรรม นั้นๆซำ้า ฉะนั้นในกรณีลงประชามติในครั้งนี้ผู ้เขียนเห็นว่าควรแสดงพฤติกรรม เชิงลบ เพราะต ้องการพัฒนาการทางการเมืองไทยมีความเข ้มแข็งเรียนรู ้ที่จะ ปรับตัวและเอาตัวรอดจากทางตันนั้น

Referensi

Dokumen terkait

And from interviews with directly involved persons (Purposive Sampling), 2 staff members of the Islamic Committee of Narathiwat Province, the researchers

การทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้ศึกษาการลดของเสียและการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต โดยมีรายละเอียดดังนี้ พิพัฒพงศ์ ศรีชนะ และพรประเสริฐ ขวาลาธาร 2555