• Tidak ada hasil yang ditemukan

Comparative Study of Low and High Deformation Speed on Stress Softening and Loss Energy of Filled Natural Rubber Vulcanizates

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "Comparative Study of Low and High Deformation Speed on Stress Softening and Loss Energy of Filled Natural Rubber Vulcanizates "

Copied!
9
0
0

Teks penuh

(1)

การศึกษาเปรียบเทียบความเร็วในการผิดรูปต่ําและสูงตอการออนตัวของความเคนและ พลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซผสมสารตัวเติม

สุพัตรา ตูดํา ฟาตีฮะห แดวอสนุง และ วัชรินทร สายน้ําใส

*

สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

*

ผูรับผิดชอบบทความ E-mail: watcharin.sa@skru.ac.th

บทคัดยอ

งานวิจัยนี้ไดศึกษาเปรียบเทียบความเร็วในการผิดรูปเทากับ 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที ตอสมบัติดานการออน ตัวของความเคนและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซที่ผสมเขมาดําเกรด N550 และซิลิกาในปริมาณ 40 phr ดวย เครื่อง universal testing machine ผลการวิจัยพบวายางธรรมชาติวัลคาไนซผสมสารตัวเติม เมื่อไดรับแรงกระทําแบบพลวัต ดวยความเร็วในการผิดรูปต่ํามีการออนตัวของความเคน และพลังงานสูญหายสูงกวาการกระทําดวยความเร็วในการผิดรูปสูง เมื่อจํานวนรอบของการถูกกระทําอยางตอเนื่องเพิ่มขึ้น การออนตัวของความเคน และพลังงานสูญหายรวมมีคาสูงขึ้นตามไป ดวย ยางธรรมชาติผสมเขมาดํามีคาความเคนสูงสุด และพลังงานสูญหายสูงกวายางธรรมชาติผสมซิลิกา ผลการวิจัยที่ได

สามารถนําไปประยุกตใชในการออกแบบผลิตภัณฑยางทางวิศวกรรมตางๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑยางที่ไดรับแรงแบบพลวัต คําสําคัญ: ความเร็วในการผิดรูป การออนตัวของความเคน พลังงานสูญหาย ยางธรรมชาติ สารตัวเติม

Comparative Study of Low and High Deformation Speed on Stress Softening and Loss Energy of Filled Natural Rubber Vulcanizates

Supattra Tudam, Fatihah Daeworsanung, and Watcharin Sainumsai

*

Program in Rubber and Polymer Technology, Faculty of Science and Technology, SKRU

*

Corresponding Author; E-mail: watcharin.sa@skru.ac.th

Abstract

This work comparative studies the effect of deformation speed (10 and 500 mm/min) on stress softening and loss energy of carbon black (N550 grade) and silica-filled natural rubber (NR) vulcanizates by using universal testing machine. The carbon black and silica contents were 40 phr (parts (by weight) per hundred parts of rubber). It was found that filled-NR vulcanizates applied with lower deformation speed dynamic force, higher the stress softening and loss energy. Stress softening and total loss energy increased with increasing cycle numbers. Carbon black N550-filled NR exhibited higher maximum stress and loss energy than silica-filled one. The result of this research can be applied to the rubber engineering design, especially for the rubber products which applied dynamic force rubbers.

Keywords: deformation speed, stress softening, loss energy, natural rubber, filler

(2)

1. บทนํา

ยางธรรมชาติเปนสารพอลิเมอร ที่มีน้ําหนักโมเลกุลสูงมาก การจัดเรียงตัวของโครงสรางทางเคมีเปนแบบ cis-1,4- polyisoprene กอนการใชงานจึงจําเปนตองบดใหนิ่ม (masticate) เพื่อใหการบดผสมยางและสารเคมีทําไดงายขึ้น (พรพรรณ, 2540) ยางธรรมชาติที่ยังไมผานกระบวนการวัลคาไนซ (vulcanization) จัดเปนวัสดุประเภทหยุนหนืด (viscoelastic material) มีสมบัติเปนทั้งพลาสติกและอิลาสติก (Ngai, et al., 2014; Ward & Hadley, 1993; Boonstra, 1982) นั่นคือ ยางสามารถยืดและไหลไดเมื่อไดรับแรงกด ซึ่งเปนสมบัติของพลาสติก เมื่อเอาแรงออกยางสามารถกลับคืนสูรูปเดิมได ซึ่งเปน สมบัติของอิลาสติก ดังนั้น เมื่อยางมีสมบัติทั้งพลาสติกและอิลาสติก ทําใหยางยุบตัวหรือยืดเมื่อไดรับแรงกดหรือแรงดึง แตเมื่อ คลายแรงกระทําออก ยางจะคืนรูปกลับแตไมเทาเดิม สวนยางธรรมชาติที่ผานการวัลคาไนซแลวสามารถยืดไดถึงประมาณ 1000% หรือมากกวานั้น (Gent, 1992; Gent & Mars, 2014; Roberts, 1988) สมบัติในการยืดไดสูงนี้ ทําใหยางธรรมชาตินี้

สามารถทําผลิตภัณฑที่ตองการยืดไดสูง เนื่องจากยางธรรมชาติมีโครงสรางโมเลกุลที่สม่ําเสมอ ทําใหสามารถตกผลึกไดเมื่อดึง (Tosaka, et al., 2004; Toki, et al., 2005; Sainumsai, et al., 2017) ทําใหยางธรรมชาติมีความตานทานตอแรงดึงและ ความตานทานตอการฉีกขาดสูง

การนํายางธรรมชาติมาผลิตเปนผลิตภัณฑตาง ๆ จะมีการเติมสารตัวเติมชนิดเสริมแรงบางชนิด เชน เขมาดํา (carbon black) หรือ ซิลิกา (silica) (Donnet & Custodero 2014; Laube, et al., 2001; Waddell & Evans, 2001) เพื่อ เพิ่มความแข็งแรง และความทนทานใหกับยางธรรมชาติ โดยสารตัวเติมเหลานี้จะยึดติดกับโมเลกุลยางดวยอันตรกิริยาทาง กายภาพและทางเคมี สารตัวเติมอื่น ๆ นอกเหนือจากเขมาดํา และ ซิลิกา ไดแก ดินขาวหรือเคลย (clay) แคลเซียมคารบอเนต (calcium carbonate) ทัลคัม (talc) ซึ่งสารเหลานี้ไมเสริมแรงจนถึงเสริมแรงไดปานกลางขึ้นกับขนาดของอนุภาค (Brydson, 1988) แตจะชวยลดตนทุนในการผลิต และชวยใหกระบวนการผลิตเปนไปไดโดยงาย

ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมที่วัลคาไนซแลวเมื่อถูกกระทําอยางตอเนื่องจะมีการออนตัวของความเคน (stress softening) หรือเกิดการแตกหักเสียหายได (Boonstra, 1982; Donnet & Custodero, 2014) ปรากฏการณการออนตัวของ ความเคนนี้รูจักกันทั่วไปในชื่อผลของมูลลินส (Mullins effect) นอกจากนี้ยางซึ่งเปนวัสดุประเภทหยุนหนืดจะเกิดการสูญหาย พลังงานจากแรงกระทําอยางตอเนื่อง กลาวคือแรงที่ใชในการผิดรูปจะมากกวาแรงที่ใชในการคืนตัวกลับ โดยพลังงานที่สูญ หายไปนี้จะอยูในรูปของพลังงานความรอนสะสม (heat build-up) โดยที่สมบัติทางดานการเปลี่ยนแปลงรูปรางดังกลาวนี้

ขึ้นอยูกับเวลา อุณหภูมิ ความเคน (stress) และอัตราความเครียด (strain rate) (Brown, 2006)

2. วัตถุประสงคการวิจัย

เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของความเร็วในการผิดรูปต่ําเทากับ 10 มิลลิเมตรตอนาที และอัตราในการผิดรูปสูงเทากับ 500 มิลลิเมตรตอนาทีตอการออนตัวความเคน และพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมเขมาดําเกรด N550 และซิลิกาเปน สารตัวเติมในปริมาณ 40 phr (parts (by weight) per hundred parts of rubber) โดยใชทดสอบดวยเครื่อง universal testing machine

3. วิธีดําเนินการวิจัย

ยางธรรมชาติที่ใชในงานวิจัยนี้เปนยางแทงมาตรฐานเกรด 5 แอล (STR 5L) ผลิตโดยบริษัทหวาไถรับเบอร จํากัด จังหวัดสงขลา กรดสเตียริค ซิงคออกไซด กํามะถัน สารตัวเรง และน้ํามันอะโรมาติก เปนเกรดที่ใชในอุตสาหกรรมยาง โดยสาร ตัวเรงที่ใชคือ ซีบีเอส (N-cyclohexyl-2-benzothiazole sulphenamide, CBS) สารตัวเติมในงานวิจัยนี้คือ เขมาดําเกรด N550 และซิลิกา เปนเกรดทั่วไปที่ใชในอุตสาหกรรมยาง

(3)

ผสมยางคอมพาวดตามสูตรการทดลองในตารางที่ 1 โดยนํายางแทงมาตรฐานเกรด 5 แอล มาบดผสมยางกับ สารเคมีตามวิธีมาตรฐาน ASTM D 3182-94 ดวยเครื่องบดผสมยางแบบสองลูกกลิ้งขนาด 10x20 นิ้ว ซึ่งมี friction ratio เทากับ 1:1.2 ผลิตโดยบริษัทชัยเจริญเอ็นจิเนียริ่ง หลังจากนั้นนํายางคอมพาวดมาทดสอบหาเวลาอัดเบาดวยเครื่อง moving die rheometer (MDR) ตามวิธีมาตรฐาน ASTM D 2084-95 ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ทดสอบ 5 ชิ้นทดสอบ รายงาน ผลดวยคาเฉลี่ย แลวนํายางคอมพาวดมาอัดเบาเปนแผนทดสอบตามวิธีมาตรฐาน ASTM D 3182-94

ตารางที่ 1 ปริมาณยางและสารเคมีที่ใชของยางคอมพาวด

สวนประกอบ ปริมาณ (phr)

ยางธรรมชาติ 100 100

กรดสเตียริค 1.5 1.5

ซิงคออกไซด 5 5

ซีบีเอส 1.5 1.5

เขมาดําเกรด N550 40 -

ซิลิกา - 40

น้ํามันอะโรมาติก 2 2

กํามะถัน 2 2

นําแผนทดสอบมาตัดเปนชิ้นทดสอบรูปดัมบเบล (dumb-bell) แลวนําไปทดสอบดวยเครื่อง universal testing machine ดวยความเร็วในการดึง 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที โดยดึงยางใหยืดออก 300 เปอรเซ็นตแลวใหหดตัวกลับ ใน โหมด cycle จํานวน 7 รอบ บันทึกคาความเคนสูงสุด (maximum stress) ของแตละรอบ จากนั้นคํานวณการออนตัวของ ความเคน (stress softening) ดังสมการที่ (1) ทดสอบ 5 ชิ้นทดสอบ รายงานผลดวยคาเฉลี่ย

Stress softening (%) =

T

1

T

i

x 100 (1)

โดยที่ T1 หมายถึง คาความเคนสูงสุดของการดึงยางใหยืดออก-หดตัวกลับ ในรอบแรก Ti หมายถึง คาความเคนสูงสุดของการดึงยางใหยืดออก-หดตัวกลับ ในรอบที่ 1-7

รูปที่ 1 คาความเคนสูงสุดและพลังงานสูญหายจากการการยืด-หดยางในแตละรอบ

(4)

จากความสัมพันธระหวางความเคนกับระยะยืด ดังแสดงในรูปที่ 1 คํานวณพลังงานสูญหายไปในเนื้อยาง (hysteresis loss energy) ดังสมการที่ (2) ทดสอบ 5 ชิ้นทดสอบ รายงานผลดวยคาเฉลี่ย

Hysteresis loss energy (kJ/m2) = AEAR (2) โดยที่ AE หมายถึง พื้นที่ใตกราฟระหวางความเคน (N/mm2) กับระยะยืด (มิลลิเมตร) ขณะยืดออก (extension)

AR หมายถึง พื้นที่ใตกราฟระหวางความเคน (N/mm2) กับระยะยืด (มิลลิเมตร) ขณะหดกลับ (retraction)

4. ผลการวิจัยและการอภิปรายผล

การดึงยางใหยืดออก 300 เปอรเซ็นตแลวปลอยใหยางหดตัวกลับ ดวยความเร็วในการผิดรูปเปน 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที โดยดึงใหยางตัวอยางยืด-หดจํานวน 7 รอบ ของยางธรรมชาติที่ผสมเขมาดําเกรด N550 และซิลิกาเปนสาร ตัวเติม ไดความสัมพันธระหวางความเคนกับระยะยืด แสดงดังรูปที่ 2(ก) - 2(ง) พบวายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทั้ง 2 ชนิด ที่ความเร็วในการผิดรูปเปน 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาทีมีพฤติกรรมที่เหมือนกัน ซึ่งคาความเคนของการดึงใหยางยืดออก ในรอบแรกมีคาสูงกวาความเคนของการหดกลับของยาง โดยในการหดตัวกลับของยางนั้น ยางจะไมกลับสูตําแหนงไดอยาง สมบูรณ กลาวคือคาความเคนจะเปนศูนยที่ความเครียดคาหนึ่ง ซึ่งถือเปนการคงรูปอยางถาวร นอกจากนี้คาความเคนในการ ยืดยางดังกลาวยังมีคาสูงกวาความเคนในการยืดยางรอบตอ ๆ มา ซึ่งจะไดพิจารณาการออนตัวความเคนตามสมการที่ (1) ตอไป สวนความแตกตางระหวางความเคนของการดึงใหยางยืดออกกับความเคนของการหดกลับของยางในแตละรอบของการ ผิดรูป สามารถคํานวณหาพลังงานสูญหายหรือพลังงานที่สะสมในเนื้อยางตามสมการที่ (2) ดังกลาวแลวขางตน

0 50 100 150 200

0 1 2 3 4 5 6

Stress (N/mm2 )

Stroke (mm)

# 1 # 2 # 3 # 4 # 5 # 6 # 7 Cycle no.

0 50 100 150 200

0 1 2 3 4 5 6

Stress (N/mm2 )

Stroke (mm)

# 1 # 2 # 3 # 4 # 5 # 6 # 7 Cycle no.

(ก) เขมาดํา / 10 มิลลิเมตรตอนาที (ข) ซิลิกา / 10 มิลลิเมตรตอนาที

0 50 100 150 200

0 1 2 3 4 5 6

Stress (N/mm2 )

Stroke (mm)

# 1 # 2 # 3 # 4 # 5 # 6 # 7 Cycle no.

0 50 100 150 200

0 1 2 3 4 5 6

Stress (N/mm2 )

Stroke (mm)

# 1 # 2 # 3 # 4 # 5 # 6 # 7 Cycle no.

(ค) เขมาดํา / 500 มิลลิเมตรตอนาที (ง) ซิลิกา / 500 มิลลิเมตรตอนาที

รูปที่ 2 ความเคนกับระยะยืดจากการยืด-หดอยางตอเนื่องจํานวน 7 รอบของยางธรรมชาติผสมเขมาดําเกรด N550 และซิลิกา ดวยความเร็วในการผิดรูปเปน 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที

(5)

ยางธรรมชาติผสมเขมาดําเกรด N550 เมื่อถูกดึงใหยืดออกและปลอยใหหดตัวกลับดวยความเร็วในการผิดรูป 10 มิลลิเมตรตอนาที ซึ่งเปนความเร็วในการผิดรูปต่ําที่ใชในงานวิจัยนี้ มีคาความเคนในการดึงรอบแรกสูงที่สุด ดังแสดงในรูปที่ 3 ทั้งนี้อาจเปนเพราะเขมาดําซึ่งเปนสารตัวเติมชนิดเสริมแรง (Boonstra, 1982; Donnet & Custodero, 2014) เมื่อผสมเขา ไปในยางธรรมชาติสามารถเกิดอันตรกิริยาระหวางโมเลกุลยางกับเขมาดําทั้งทางกายภาพและทางเคมี ทําใหสามารถสงผาน แรงกระทําจากภายนอกไปสะสมในอนุภาคของเขมาดําได สงผลใหตองใชแรงดึงมากขึ้นเพื่อใหยางผิดรูปหรือยืดออกในระยะ ยืดที่เทากัน สวนยางธรรมชาติผสมซิลิกาที่ความเร็วในการผิดรูปเดียวกันจะมีคาต่ํา ซึ่งซิลิกาจัดเปนสารตัวเติมชนิดเสริมแรง เชนกัน แตเนื่องจากบนพื้นผิวของซิลิกามีหมูไฮดรอกซิล หรือหมูไซลานอลอยูในปริมาณมาก (Donnet & Custodero, 2014;

Waddell & Evans, 2001) ทําใหมีความเปนขั้วสูง ซิลิกาจึงแตกตัวและผสมเขากับยางธรรมชาติซึ่งไมมีขั้วไดยาก ยาง ธรรมชาติผสมซิลิกาจึงมีคาความเคนในการดึงรอบแรกต่ํากวายางธรรมชาติที่ผสมเขมาดําเกรด N550

0 50 100 150 200 250

0 1 2 3 4 5 6

Silica-high Silica-low N550-high N550-low

Stress (N/mm2 )

Stroke (mm)

รูปที่ 3 ความเคนกับระยะยืดจากการยืด-หด รอบแรกของยางธรรมชาติผสมเขมาดําเกรด N550 และซิลิกา ดวยความเร็วใน การผิดรูปเปน 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที

เมื่อเปรียบเทียบยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมชนิดเดียวกันที่ความเร็วในการผิดรูปต่ําและสูง คือ 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที ตามลําดับ พบวายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทั้ง 2 ชนิดที่ความเร็วในการผิดรูปต่ํามีคาความเคนในการดึง รอบแรกสูงกวา ทั้งนี้อาจเปนเพราะการผิดรูปของยางดวยความเร็วในการผิดรูปที่ต่ํามากนั้น ปลายโมเลกุลยางอิสระ (free chain end) (Treloar, 2005) หรือสวนของโมเลกุลยางระหวางจุดเชื่อมโยงที่เกี่ยวพันกัน (entanglement) (Gent & Mars, 2014) สามารถคลายตัว หรือการเลื่อนไถล (molecules slipping) ของโมเลกุลยาง (Hanson, et al., 2005; Houwink, 1956) หรือเคลื่อนไหวอยางอิสระได ทําใหตองใชแรงกระทําสูงในการดึงใหยางยืดออก สวนแรงกระทําในขณะหดตัวกลับมีคา ต่ํากวาแรงที่ใชในการยืดออกอยางมาก เนื่องจากการคลายตัว หรือการเลื่อนไถลของโมเลกุลดังกลาวจะไมคืนกลับสภาพเดิม จะเห็นไดอยางชัดเจนวามีพื้นที่ระหวางการยืดออกและการหดกลับสูงมาก ดังแสดงในรูปที่ 3 ซึ่งจะไดพิจารณาปริมาณ พลังงานสูญหายนี้ในภายหลังตอไป เมื่อความเร็วในการผิดรูปสูง (500 มิลลิเมตรตอนาที) อาจจะเร็วเกินไปที่โมเลกุลยางจะ เกิดการคลายตัว หรือการเลื่อนไถลของโมเลกุลยาง ทําใหความเคนต่ํากวาที่ความเร็วในการผิดรูป 10 มิลลิเมตรตอนาที แต

ยังคงปรากฏพื้นที่ระหวางการยืดออกและการหดกลับ ทั้งนี้อาจเปนผลมาจากการแตกหักของโครงสรางสารตัวเติม หรือการ แตกหักของพันธะระหวางโมเลกุลยางกับอนุภาคสารตัวเติม (Kraus, et al., 1966; Mullins, 1950)

รูปที่ 4 (ก) แสดงความเคนสูงสุดของยางธรรมชาติผสมเขมาดําและซิลิกาที่ถูกดึงใหยางยืดออก 300 เปอรเซ็นตใน แตละรอบอยางตอเนื่องจํานวน 7 รอบ ดวยความเร็วในการผิดรูป 10 และ 500 มิลลิเมตรตอนาที พบวาเมื่อจํานวนรอบที่ดึง

(6)

ใหยางยืด-หดเพิ่มขึ้น ความเคนของยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทั้ง 2 ชนิดที่ทุกความเร็วในการผิดรูปมีคาลดลงตามจํานวน รอบที่เพิ่มขึ้น โดยในรอบที่สองคาความเคนจะลดลงหลังจากการดึงใหยางยืดออก 300 เปอรเซ็นตในรอบแรกคอนขางมาก หลังจากนั้นในรอบตอ ๆ มา คาความเคนลดลงอีกเล็กนอย โดยยางธรรมชาติผสมเขมาดําที่ดึงใหยางยืด-หดดวยความเร็วใน การผิดรูป 10 มิลลิเมตรตอนาที มีคาความเคนสูงสุด การออนตัวหรือลดลงของความเคนนี้ อาจเปนผลมาจากการดึงยางใหยืด ออกในรอบแรก ทําใหเกิดการแตกหักของโซโมเลกุลยาง (bond rupture) หรือพันธะระหวางโมเลกุลที่ออนแอ (Blanchard

& Parkinson, 1952; Bueche, 1960; Diani, et al., 2006) การคลายการเกี่ยวพัน (disentanglement) ของโซโมเลกุล (Hanson, et al., 2005) หรือการจัดเรียงตัว (orientation) ของโซโมเลกุลยาว (Qi & Boyce, 2005) การดึงใหยางยืดออกใน รอบตอ ๆ มา จึงใชแรงดึงนอยลงหรือมีคาความเคนลดลง อยางไรก็ตามยางธรรมชาติผสมเขมาดําและซิลิกามีการลดลงของ ความเคนที่แตกตางกัน อาจเปนผลเนื่องมาจากการดึงใหยางตัวอยางยืดออก ทําใหสารตัวเติมแตละชนิดที่เติมลงไปมีการ แตกหักของโครงสรางสารตัวเติม หรือการแตกหักของพันธะระหวางโมเลกุลยางกับอนุภาคสารตัวเติม (Kraus, et al., 1966;

Mullins, 1950) หรือการเลื่อนไถล (molecules slipping) ของโมเลกุลยางกับอนุภาคของสารตัวเติม (Hanson, et al., 2005; Houwink, 1956) ที่แตกตางกัน สงผลใหคาความเคนลดต่ําลงตางกัน ดังนั้นการดึงใหยางยืดออกในรอบตอ ๆ มา จึงใช

แรงดึงนอยลงหรือมีคาความเคนลดลงนั่นเอง

1 2 3 4 5 6 7

0 1 2 3 4 5 6

N550-low speed Silica-low speed N550-high speed Silica-high speed

Maximum stress (N/mm2 )

Cycle no.

1 2 3 4 5 6 7

0 20 40 60 80 100

N550-low speed Silica-low speed N550-high speed Silica-high speed

Stress softening (%)

Cycle no.

รูปที่ 4 (ก) ความเคนสูงสุด และ (ข) การออนตัวของความเคนจากการยืด-หดอยางตอเนื่องจํานวน 7 รอบของยางธรรมชาติที่

ผสมสารตัวเติมในปริมาณ 40 phr

เมื่อคํานวณการออนตัวของความเคนตามสมการที่ (1) แสดงดังรูปที่ 4(ข) พบวายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทั้ง 2 ชนิดที่ยืด-หด ดวยความเร็วในการผิดรูปต่ํา (10 มิลลิเมตรตอนาที) มีการออนตัวของความเคนมากกวายางที่ยืด-หด ดวย ความเร็วในการผิดรูปสูง ยางธรรมชาติผสมเขมาดํามีการออนตัวหรือการลดลงของคาความเคนมากกวายางธรรมชาติที่ผสม ซิลิกา นั้นแสดงวาการดึงใหยางยืดออก 300 เปอรเซ็นตอาจทําใหเกิดการแตกหักของโครงสรางเขมาดําหรือการแตกหักของ พันธะระหวางโมเลกุลยางกับอนุภาคเขมาดําหรือการเลื่อนไถลของโมเลกุลยางกับอนุภาคของเขมาดําดังกลาวแลวขางตน ซึ่ง โดยทั่วไปโครงสรางเขมาดําจะอยูในลักษณะของแอกโกลเมอเรต (agglomerate) ซึ่งประกอบดวยแอกกรีเกต (aggregate) ของเขมาดําที่ยึดกันอยูอยางหลวม ๆ สามารถแตกและถูกทําลายไดงายจากการยืดออกของยาง (Leblanc, 2002; Chandra et al., 2017) ในทํานองเดียวกัน ซิลิกาซึ่งปกติจะมีโครงสรางเปนกลุมกอน (clusters) ที่ยึดติดกันอยูดวยพันธะไฮโดรเจน ก็

สามารถแตกและถูกทําลายไดเชนกัน แตเกิดขึ้นไดยากกวาการแตกแอกโกลเมอเรตของเขมาดํา นอกจากนี้อนุภาคซิลิกาไมมี

อันตรกิริยากับโมเลกุลยางที่จะทําใหเกิดการแตกหักของพันธะระหวางโมเลกุลยางกับอนุภาคของซิลิกาหรือการเลื่อนไถลของ โมเลกุลยางกับอนุภาคของซิลิกา จึงทําใหการลดลงของความเคนที่นอยกวายางที่ผสมเขมาดํา

คํานวณพื้นที่ใตกราฟความสัมพันธระหวางความเคนกับระยะยืดของการดึงใหยางยืดออก (ขาขึ้น) และพื้นที่ใตกราฟ ของการหดตัวกลับ (ขาลง) แลวนํามาคํานวณพลังงานสูญหายตามสมการที่ (2) ไดผลแสดงดังรูปที่ 5(ก) ซึ่งจะเห็นไดอยาง ชัดเจนวาการยืด-หดยางธรรมชาติผสมเขมาดําดวยความเร็วในการผิดรูป 10 มิลลิเมตรตอนาทีมีพลังงานสูญหายสูงมาก ดัง

(ก) (ข)

(7)

อธิบายแลวขางตน นั่นคือที่ความเร็วในการผิดรูปนี้อาจทําใหโมเลกุลยางเกิดการคลายการเกี่ยวพัน หรือการเลื่อนไถลของ โมเลกุลยางมากกวาความเร็วในการผิดรูปสูง 500 มิลลิเมตรตอนาที การคลายการเกี่ยวพัน หรือการเลื่อนไถลของโมเลกุลยาง เปนพฤติกรรมที่ไมสามารถยอนกลับได (Treloar, 2005; Hofmann, 1989) สงผลใหมีพลังงานสูญหายสูงที่สุด ซึ่งพลังงาน เหลานี้ถูกใชไปในการแตกหักของโครงสรางสารตัวเติมหรือการแตกหักของพันธะระหวางโมเลกุลยางกับอนุภาคสารตัวเติม หรือการเลื่อนไถลของโมเลกุลยางกับอนุภาคของสารตัวเติมดังกลาวแลวขางตน ดังจะเห็นไดอยางชัดเจนจากพลังงานสูญหาย รวมในการยืด-หดจํานวน 7 รอบ ดังแสดงในรูปที่ 5(ข) การยืด-หดยางดวยความเร็วในการผิดรูป 10 มิลลิเมตรตอนาทีมี

พลังงานสูญหายสูงที่สุด

1 2 3 4 5 6 7

0 50 100 150 200 250 300

N550-low speed Silica-low speed N550-high speed Silica-high speed

Hysteresis loss energy (kJ/m2 )

Cycle no.

N550 Silica

0 200 400 600

Total loss energy (kJ/m2 )

Filler type

Low speed High speed

(ก) พลังงานสูญหายจากการยืด-หด แตละรอบ (ข) พลังงานสูญหายรวมจากการยืด-หด 7 รอบ รูปที่ 5 (ก) พลังงานสูญหายจากการยืด-หด แตละรอบ และ (ข) พลังงานสูญหายรวมจากการยืด-หด 7 รอบของยางธรรมชาติ

ที่ผสมสารตัวเติมในปริมาณ 40 phr

ในงานวิจัยนี้เปนการศึกษาเบื้องตนเกี่ยวกับผลของความเร็วในการผิดรูปตอการออนตัวความเคน และพลังงานสูญ หาย โดยทดสอบการออนตัวความเคน และพลังงานสูญหายดวยเครื่อง universal testing machine ซึ่งสามารถปรับ ความเร็วในการผิดรูปในโหมด cycle ไดสูงสุดเพียง 500 มิลลิเมตรตอนาที ซึ่งการใชงานของผลิตภัณฑยางบางชนิดมีความเร็ว ในการผิดรูปที่สูงกกวานี้ งานวิจัยที่จะศึกษาตอไป ผูวิจัยจะไดศึกษาความเร็วในการผิดรูปที่สูงขึ้นดวยเครื่องทดสอบอื่น ๆ เชน เครื่อง dynamic mechanical analyzer (DMA) เปนตน รวมทั้งศึกษาในยางธรรมชาติที่ผสมเขมาดําเกรดอื่น ๆ และสารตัว เติมชนิดอื่นๆ และปริมาณของสารตัวเติมดวย ซึ่งจะทําใหไดองคความรูที่นําไปประยุกตใชในการพัฒนา และปรับปรุงสูตรยาง ใหเหมาะสมกับการใชงานยางธรรมชาติทางวิศวกรรมที่รับแรงกระทําแบบพลวัตไดดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเปนประโยชนในการ ประยุกตใชในอุตสาหกรรมยางตอไป

5. สรุปผลการวิจัย

ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมเมื่อไดรับแรงกระทําแบบพลวัตดวยความเร็วในการผิดรูปต่ํา มีการออนตัวของความ เคน และพลังงานสูญหายสูงกวาการกระทําดวยความเร็วในการผิดรูปสูง โดยเมื่อจํานวนรอบของการถูกกระทําอยางตอเนื่อง เพิ่มขึ้น การออนตัวของความเคน และพลังงานสูญหายรวมมีคาสูงขึ้นตามไปดวย ยางธรรมชาติผสมเขมาดํามีคาความเคน สูงสุด และพลังงานสูญหายสูงกวายางธรรมชาติผสมซิลิกา ผลการวิจัยที่ไดเกี่ยวกับสมบัติดานการออนตัวของความเคน และ พลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมนี้ สามารถนําไปประยุกตใชในการออกแบบผลิตภัณฑยางทางวิศวกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑยางที่ไดรับแรงกระทําอยางตอเนื่อง หรือผลิตภัณฑที่ตองรับแรงกระทําซ้ํา ๆ ในขณะใชงาน เชน ยางลอ รถ ยางรองคอสะพาน ยางรองแทนเครื่อง และยางรองอาคาร ซึ่งอาจตองทําการวิจัยตอไปในกรณีของยางธรรมชาติผสม เขมาดําเกรดตาง ๆ สารตัวเติมชนิดอื่น และผลของปริมาณสารตัวเติม

(8)

6. กิตติกรรมประกาศ

ผูวิจัยขอขอบคุณหลักสูตรเทคโนโลยียางและพอลิเมอร คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลาที่อนุเคราะหวัสดุและสารเคมี รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องทดสอบ และขอบคุณคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาที่สนับสนุนงบประมาณในการนําเสนอผลงานวิจัย

7. เอกสารอางอิง

พรพรรณ นิธิอุทัย. (2540). ยาง: เทคนิคการออกสูตร. ปตตานี: ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร คณะวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.

Blanchard, A. F., & Parkinson, D. (1952). Breakage of carbon-rubber networks by applied stress. Industrial

& engineering chemistry, 44(4), 799-812.

Boonstra, B. B. (1982). Reinforcement by fillers. In Blow, C. M., & Hepburn, C. (eds.), Rubber technology and manufacture. (269-308) 2nd ed. Norwich, Norfolk, UK: Butterworth Scientific.

Brown, R. (2006). Physical testing of rubber. 4th ed. Boston: Springer.

Brydson, J. A. (1988). Rubbery materials and their compounds. Essex: Elsevier Science Publishers Ltd.

Bueche, F. (1960). Molecular basis for the Mullins effect. Journal of applied polymer science, 4(10), 107- 114.

Chandra, C. S. J., Bipinbal, P. K., & Sunil, K. N. (2017). Viscoelastic behaviour of silica filled natural rubber composites-Correlation of shear with elongational testing. Polymer testing, 60, 187-197.

Diani, J., Brieu, M., & Vacherand, J. M. (2006). A damage directional constitutive model for Mullins effect with permanent set and induced anisotropy. European journal of mechanics, 25(3), 483-496.

Donnet, J. B., & Custodero, E. (2014). Reinforcement of elastomers by particulate fillers. In Mark, J. E., Erman, B., & Roland, C. M. (eds.), The science and technology of rubber. (383-416) 4th ed. MA, USA: Elsevier Inc.

Gent, A., N. (1992). Engineering with rubber. Oxford: Oxford University Press.

Gent, A. N., & Mars, W. V. (2014). Strength of elastomers. In Mark, J. E., Erman, B., & Roland, C. M. (eds.), The science and technology of rubber (473-516). 4th ed. MA: Elsevier Inc.

Hanson, D. E., Hawley, M., Houlton, R., Chitanvis, K., Rae. P., & Orler, E. B. (2005). Stress softening experiments in silica-filled polydimethylsiloxane provide Insight into a mechanism for the Mullins effect. Polymer, 46(24), 10989-10995.

Hofmann, W. (1994). Rubber technology handbook. Ohio: Hanser Publishers.

Houwink, R. (1956). Slipping of molecules during the deformation of reinforced rubber. Rubber chemistry and technology, 29(3), 888-893.

Kraus, G., Childers, C. W. & Rollmann, K. W. (1966). Stress softening in carbon black reinforced vulcanizates.

strain rate and temperature effects. Journal of applied polymer science, 10(2), 229-244.

Laube, S., Monthey, S., & Wang, M. J. (2001). Compounding with carbon black and oil. In Dick, J. S. (ed.), Rubber technology: Compounding and testing for performance. (295-324). Cincinnati, Ohio, USA: Hanser Gardner Publications, Inc.

(9)

Leblanc, J. L. (2002). Rubber-filler interactions and rheological properties in filled compounds. Progress in polymer science, 27, 627-687.

Mullins, L. (1950). The thixotropic behavior of carbon black in rubber. The journal of physical chemistry A, 54(2), 239-251.

Ngai, K. L., Capaccioli, S., & Plazek, D. J. (2014). The viscoelastic behavior of rubber and dynamics of blends. In Mark, J. E., Erman, B., & Roland, C. M. (eds.), The science and technology of rubber (193-284). 4th ed. MA: Elsevier Inc.

Qi, H. J., & Boyce, M. C. (2005). Stress-strain behavior of thermoplastic polyurethane. Mechanics of materials, 37(8), 817-839.

Roberts, A. D. (1988). Natural rubber science and technology. Oxford: Oxford University Press.

Sainumsai, W., Toki, S., Amnuaypornsri, S., Nimpaiboon, A., Sakdapapanich, J., Rong, L., Hsiao, B. S., &

Suchiva., K. (2017). Dependence on the onset of strain-induced crystallization of natural rubber and its synthetic analogue on crosslink and entanglement by using synchrotron X-ray. Rubber chemistry and technology, 90(4), 728-742.

Toki, S., Sics, I., Hsiao, B. S., Murakami, S., Tosaka, M., Poompradub, S., Kohjiya S., & Ikeda, Y. (2005).

Probing the nature of strain-Induced crystallization in polyisoprene rubber by combined thermomechanical and In situ X-ray diffraction techniques. Macromolecules, 38(16), 7064-7073.

Tosaka, M., Murakami, S., Poompradub, S., Kohjiya, S., Ikeda, S., Toki, Y., Sics, I., & Hsiao, B. S. (2004).

Orientation and crystallization of natural rubber network as revealed by WAXD using synchrotron radiation. Macromolecules, 37(9), 3299-3309.

Treloar, L. R. G. (2005). The physics of rubber elasticity. 3rd ed. Oxford: Oxford University Press.

Waddell, W. H., & Evans, L. R. (2001). Precipitated silica and non-black fillers. In Dick, J. S. (ed.), Rubber technology: Compounding and testing for performance. (325-343). Cincinnati, Ohio, USA:

Hanser Gardner Publications, Inc.

Ward, I. M., & Hadley, D. W. (1993). An introduction to the mechanical properties of solid polymers.

West Essex: John Wiley & Sons Ltd.

Referensi

Dokumen terkait

6.1 เอกสาร ทย1 และ ทย2 ทย3 หรือ ทย4 ทั้งด ้านหน ้า และหลัง 6.2 เอกสาร cGMP ที่ยังไม่หมดอายุ ณ วันที่เสนอยาเข ้า ทั้ง ของผู ้ผลิตและผู ้แทนจำาหน่าย กรณียานำาเข ้าจากต่างประเทศต ้องมี