• Tidak ada hasil yang ditemukan

SURGEON PROFESSIONAL LIABILITY INSURANCE : CASE STUDY ON PLASTIC SURGERY

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "SURGEON PROFESSIONAL LIABILITY INSURANCE : CASE STUDY ON PLASTIC SURGERY "

Copied!
8
0
0

Teks penuh

(1)

การประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

ศึกษาเฉพาะกรณีของศัลยแพทยเสริมความงาม

SURGEON PROFESSIONAL LIABILITY INSURANCE : CASE STUDY ON PLASTIC SURGERY

มชิมา ราชกิจ

นิติกร สํานักกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม E-mail: machimarac@moj.go.th

บทคัดยอ

การศึกษาเรื่อง “การประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามศึกษาเฉพาะกรณี

ของศัลยแพทยเสริมความงาม” โดยไดศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงามกับตางประเทศมีวัตถุประสงคในการศึกษาวิจัยถึงความสําคัญของปญหาอันเกี่ยวกับ การกระทําเวชปฏิบัติของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามแลวเกิดความผิดพลาดทําใหผูใชบริการ ไดรับความเสียหาย ซึ่งเปนสาเหตุใหผูใชบริการนําไปฟองเปนคดี เพื่อใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงามตองชดใชคาเสียหายเปนจํานวนมาก ซึ่งทําใหตกเปนภาระกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงามการศึกษาไดวิเคราะหถึงปญหาตาง ๆ และหามาตรการทางกฎหมายในการแกไขปญหาใหมี

ประสิทธิภาพเพียงพอกับสถานการณในปจจุบัน ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมมาใชเปนแนวทาง ในการแกไขปญหาในอนาคต

วิทยานิพนธฉบับนี้ ไดศึกษาวิจัยวิเคราะหจากประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยบรรพ 2 วาดวยละเมิด บรรพ 3 ลักษณะ 20 วาดวยการประกันภัย พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมผูประกอบโรคศิลปะ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ขอบังคับแพทยสภา วาดวยการรักษาจริยธรรมแหงวิชาชีพ พ.ศ. 2526 จากการศึกษาวิจัยพบวา

เนื่องจากในปจจุบันผูใชบริการเขาใจถึงสิทธิของตนเองมากขึ้น ดังนั้นเมื่อผูใชบริการไดรับความเสียหาย อันเกิดจากผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม โอกาสที่จะมีการฟองรองเรียกคาเสียหายจากผูประกอบ วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามยอมมีความเปนไปไดอยางมากและเมื่อผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงาม ไดทําการผาตัดศัลยกรรมเสริมความงามใหกับผูใชบริการแลวเกิดความผิดพลาดทําใหผูใชบริการไดรับ ความเสียหาย

ในตางประเทศพบวา บุคคลผูไดรับความเสียหายจากผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามมีการฟอง เรียกคาเสียหายจากผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามเปนจํานวนมาก ในปจจุบันและในอนาคตตอจาก

(2)

นี้ไป ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามในประเทศไทยเปนวิชาชีพหนึ่งที่มีโอกาสถูกฟองรองเรียก คาเสียหายเพิ่มจํานวนมากขึ้น

จากการศึกษาวิจัยทางนิติศาสตรพบวา ปจจุบันประเทศไทยยังไมมีการประกันภัยความรับผิดผูประกอบ วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามเมื่อเกิดปญหาผูใชบริการนําไปฟองรองในคดีละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพง และพาณิชยอันเนื่องมาจากความประมาทเลินเลอ หรือความผิดพลาดไมไดใชความระมัดระวังในการประกอบ วิชาชีพของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามโจทกผูไดรับความเสียหายยอมมีภาระ การพิสูจนในเหตุ

ดังกลาวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 84 ซึ่งเปนความยากลําบากในการพิสูจน ประกอบกับ ในปจจุบันยังมิไดมีบทบัญญัติของกฎหมายหรือมีขอบังคับใดที่เปนการกําหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงาม แมโจทกผูไดรับความเสียหายจะดําเนินการฟองเรียกคาเสียหายจากผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงามตามขั้นตอนความเสียหายแลวโจทกก็ยังมิไดรับคาเสียหายตามสมควร

ดังนั้น เพื่อชวยลดภาระความเสี่ยงจากการถูกฟองรองของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามและ เพื่อชวย ใหผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายไดรับการชดใชเยียวยาความเสียหายจากการทําละเมิดของ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม มาตรการหนึ่งซึ่งสามารถนํามาลดความเสี่ยงจากการถูกฟองรองของ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามและบรรเทาความเสียหายแกผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายคือ

การนําเอาระบบประกันภัยความรับผิดของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามมาเปนมาตรการ เพื่อใชกับ ผูประกอบวิชาศัลยแพทยเสริมความงามโดยใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามทําประกันภัย

โดยใหมีมาตรการทางกฎหมายบังคับใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามทําประกันภัย แตใหอยูในรูปแบบสมาคมเปนสวัสดิการโดยใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจายเบี้ยประกันใหแก

สมาคม สมาคมนําเบี้ยประกันที่ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามให ไปจัดตั้งเปนกองทุนชวยเหลือ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามการทําระบบนี้มีผลดีกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม โดยไมตองจายเบี้ยประกันแพงเทากับจายใหกับบริษัทประกันภัย โดยใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงามตองจายเบี้ยประกันเขากองทุน เพื่อนําเงินดังกลาวไปจายใหกับผูใชบริการที่ไดรับ ความเสียหายจาก การกระทําของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม เพื่อเปนการแบงเบาภาระใหกับผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงาม เพราะกองทุนดังกลาวจะอยูในรูปแบบสวัสดิการดังนั้นเบี้ยประกันภัยที่จายจะถูกจาย ใหกับบริษัทประกัน ซึ่งการประกันภัยในรูปแบบนี้จะมีความเหมาะสมมากกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงามในประเทศไทย

คําสําคัญ :

การประกันภัยความรับผิด วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม

ABSTRACT

This thesis has studied about “Plastic surgeons liability insurance” by comparing with the plastic surgeon insurance law of foreign country. The purpose of this thesis is to study the important problem relating to the plastic surgeon practices that make the patients injured. As a consequence, the injured patients bring a case to claim an amount of damages against the plastic surgeons which make a lot of burden to them. For this

(3)

reason, this thesis aims to analyze the problem so as to find the legal measure for solving it effectively in the present time and to take the appropriate legal measure to cope with the future problem.

This thesis examines from the civil code book 2 regarding torts, book 3 title 20 in respect of insurance, the civil procedure code, the criminal code, Act on Liability for Wrongful Act of Officials, B.E. 2539, Insurance Against Loss Act, B.E. 2535, Medical profession act B.E. 2525, Regulation of medical council concerning professional ethic B.E. 2526 and Act on controlling practitioner of the art of healing. From the studying, it is found as follows,

At the present, the patients realize about their right, so it is often possible to have litigation for claiming compensation when the patient got injured by the malpractice of the plastic surgeons.

In other countries, the patients who got damaged filed much more lawsuit to claim damages against the plastic surgeon. From now on, there is the probability that a number of the plastic surgeons are increasingly prosecuted to pay damages in Thailand.

As per research, it found that there is no liability insurance of plastic surgeon in Thailand. Thus, when the patients file a lawsuit on ground of tort with negligent or reckless of the plastic surgeon practices, the patients (the plaintiffs) have a burden of proof under the civil procedure code, section 84. That may be difficult in proving the plastic surgeon’s fault. Also, no act or regulation sets the standard of the plastic surgeon practice.

Whereupon, the plaintiffs filed a lawsuit to claim damages against the plastic surgeons under the legal process, still, they may not get fair compensation.

Therefore, to minimize the risk from being sued and help the injured patients get alleviated. One of the measures to mitigate the risk of the plastic surgeons is to use the liability insurance system.

To set the legal measure by mandating the plastic surgeons make insurance in form of the welfare association, the plastic surgeons are responsible for paying the premium to the association. After that, the association spends this premium establishing the fund for helping the plastic surgeons. This system has a benefit to the plastic surgeons because they do not have to pay the premium as much as they have to pay to the insurance company, due to the fact that this association is characterized in the welfare form. This association which received the premium by the plastic surgeons, have a duty to recover the damages to the patients who got injured instead of the plastic surgeons. This technique is to relieve of their obligation to compensate the injured patients.That is why; this kind of the insurance is suitable for the plastic surgeons in Thailand.

KEYWORDS:

Liability insurance, Plastic surgeons

1. ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

ในปจจุบันมนุษยใหความสําคัญกับเรื่องความสวยความงามกับรางกายของตนเองมากขึ้นกวาในอดีต ที่ผานมา ไมวาจะเปนผูชายหรือผูหญิง แตสวนใหญผูหญิงมักจะใหความสําคัญในเรื่องรูปรางหนาตาตนเอง

(4)

มากกวาผูชาย จึงทําใหผูหญิงสวนใหญหันไปพึ่งพาผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม เพื่อให

ทําศัลยกรรมเสริมความงามรูปราง หนาตา ของตนเองกันมากขึ้น จะเห็นไดจากในปจจุบันนี้ การทําศัลยกรรม เสริมความงามเปนธุรกิจที่ไดรับความนิยมอยางมาก ทั้งศิลปนดารา นักรอง และคนทั่วไป ตางกันไปพึ่งพา ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ไมวาจะเปนผาตัดเสริมหนาอก เสริมจมูก กรีดตา ทําคางเพื่อใหสวย สมใจขึ้น ซึ่งผล ที่ตามมาหลายครั้งไมเปนอยางที่คาดหวัง บางรายถึงขั้นฟองรองเปนคดีความกับผูประกอบ วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามที่ผาตัดทําศัลยกรรมเสริมความงาม เชน การที่ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงามดูดไขมันแลวผูใชบริการไดรับอันตรายถึงชีวิต การฉีดซิลิโคนบนใบหนาแลวเกิดการผิดรูปที่

ใบหนา การทําศัลยกรรมเสริมจมูก แลวเกิดขอผิดพลาดทําใหจมูกมีรอยบุมลักษณะคลายจมูกแหวง หรือดูด ไขมันแลวเสียชีวิต

จากตัวอยางหลายตัวอยางที่กลาวมาเปนผลเนื่องมาจากการที่ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ไดทําศัลยกรรมเสริมความงามแลวเกิดการผิดพลาดทําใหผูใชบริการไดรับความเสียหายทั้งทางรางกายและจิตใจ ผูใชบริการมีการฟองรองใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามรับผิดชอบและชดใชคาสินไหมทดแทน มากขึ้นเนื่องจากผูใชบริการเขาใจถึงสิทธิของตนเองจากการที่ไดรับความเสียหายที่เกิดจากการกระทําของ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามมากกวาที่ผานมา

เนื่องจากในปจจุบันประเทศไทยยังไมมีกฎหมายคุมครองความเสี่ยงของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงามในเรื่องภาระการชดใชคาสินไหมทดแทนใหแกผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายจากการกระทํา ของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามไวโดยเฉพาะ จะมีก็เพียงแตกฎหมายที่ใหความคุมครองเพียง อยางเดียว คือ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยละเมิดแตก็เปนการบัญญัติไวอยางกวางๆ ซึ่งในการพิสูจนความผิดในทางละเมิดนี้ ตามหลักกฎหมายแลวโจทกหรือผูเสียหายจะตองเปนผูพิสูจนในศาลให

เห็นวาผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจงใจหรือประมาทเลินเลออยางไร ยากตอการพิสูจน

ซึ่งนอกจากในเรื่องภาระการพิสูจนแลว ประเด็นในเรื่องของจํานวนเงินคาเสียหายหรือคาสินไหมทดแทนเพื่อ การชดใชเยียวยาบรรเทาผลรายจากปญหาการกระทําของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามก็เชนกัน เพราะผลเสียที่ไดรับนั้นเกิดขึ้นกับชีวิตและรางกาย ซึ่งยากที่จะตีราคาออกมาเปนตัวเงินได

ทั้งนี้ เนื่องจากการใหบริการดานศัลยกรรมเสริมความงามไดขยายตัวของระบบบริหารเชิงธุรกิจและ อิทธิพลในสวนของการประชาสัมพันธทําใหมีความนิยมในการทําศัลยกรรมเสริมความงามเพิ่มมากขึ้นอยาง รวดเร็ว ทําใหศัลยแพทยในสวนของทางภาครัฐมีไมเพียงพอและผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามนิยม จะหารายไดโดยการทํางานในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น หรือมีการเปดคลินิกเปนของตนเอง ฝายผูใชบริการเอง ก็คาดหวังไวสูง เมื่อผลที่เกิดขึ้นไมเปนตามที่คาดหวังของผูใชบริการ โอกาสที่จะถูกฟองใหตองรับผิดก็มีมาก ดวยเชนกัน ดังนั้น จึงสมควรที่จะศึกษาถึงการกําหนดใหมีกฎหมายประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงาม โดยวิเคราะหปญหาและกําหนดแนวทางหามาตรการใหมีประกันภัยความรับผิด ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ภายใตระบบกองทุนหรือมีมาตรการทางกฎหมายประกันภัย ความเสี่ยงของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ทั้งนี้ เพื่อใหธุรกิจบริการดานศัลยกรรมเสริม ความงามสามารถสรางความมั่นใจใหกับผูใชบริการที่มาพึ่งพาผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามเพื่อ ทําศัลยกรรมเสริมความงาม รูปรางหนาตาของตนเองและที่สําคัญเพื่อเปนการแบงเบาภาระในความเสี่ยงที่จะตอง

(5)

ชดใชคาเสียหายอันเกิดจากการกระทําโดยกําหนดใหมีการประกันภัยภายใตระบบกองทุนประกันภัย หรือเพื่อให

สอดคลองกับความตองการของสังคมและเปนธรรมใหความคุมครองตอผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงาม ตลอดจนผูใชบริการเพื่อกอใหเกิดประโยชนแกสังคมใหมากที่สุด

2. วัตถุประสงคของการวิจัย

1 เพื่อศึกษาประวัติความเปนมา แนวคิดของการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงาม

2 เพื่อศึกษาถึงความรับผิดตามกฎหมายของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามที่กระทําให

ผูใชบริการไดรับความเสียหายจากการทําศัลยกรรมเสริมความงาม

3 เพื่อศึกษาถึงการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามรวมถึงหลักกฎหมาย การประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามทั้งของไทยและตางประเทศ

4 เพื่อศึกษาปญหาและ อุปสรรคของการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงาม

5 เพื่อศึกษาแนวทางในการแกไขปญหาและขอเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายการประกันภัยความรับผิด ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม

3. ขอบเขตการวิจัย

วิทยานิพนธฉบับนี้มุงเนนศึกษาถึงการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม เนื่องจากการที่ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามทําการศัลยกรรมเสริมความงามใหกับผูใชบริการแลว เกิดความผิดพลาด ทําใหผูใชบริการไดรับความเสียหายแลวเกิดเปนคดีความ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงามตองชดใชคาเสียหายใหแกผูใชบริการเปนจํานวนมากทําใหตกเปนภาระของผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงามเปนอยางมาก โดยการศึกษาวิจัยนี้จะวิเคราะหจากประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย

บรรพ 2 วาดวยละเมิดและบรรพ 3 ลักษณะ 20 วาดวยประกันภัย พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจาหนาที่ พ.ศ. 2539 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติวิชาชีพ เวชกรรม พ.ศ. 2525 ขอบังคับแพทยสภาวาดวยการรักษาจริยธรรมแหงวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 โดยจะศึกษา เปรียบเทียบกับกฎหมายตางประเทศ

4. วิธีดําเนินการวิธีวิจัย

วิทยานิพนธฉบับนี้เปนการวิจัยเอกสาร(Documentary Research) ทั้งขอมูลภายในประเทศและขอมูลจาก ตางประเทศ รวบรวมคนควาจากตัวบทกฎหมายหนังสือ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ ขอมูลที่ไดจากเครือขาย อินเตอรเน็ตหรือเว็บไซต (website)ที่เกี่ยวของของไทยและตางประเทศ ตัวบทกฎหมายทั้งของไทยและ

ตางประเทศที่เกี่ยวของ

(6)

5. ผลการศึกษา

1. ปญหาเกี่ยวกับการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม

ปจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวของกับความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย เสริมความงามอยูหลายลักษณะ เชน ความรับผิดทางแพง ความรับผิดทางอาญา ความรับผิดทางวิชาชีพ ดังที่กลาวมาในบทตนๆ แลว แตกฎหมายดังกลาวก็ไมเปนประโยชนเพียงพอกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจากการถูกฟองรอง เรียกคาเสียหายและไมเพียงพอแกการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผูใชบริการ เนื่องจากไมไดรับการชดใช

คาเสียหายในระยะเวลาอันสมควร และไมเปนการลดภาระความเสี่ยงของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความ งามจากการถูกฟองรองเรียกคาเสียหาย

2. ปญหาเกี่ยวกับการใชกฎหมายละเมิด

ในการใชกฎหมายละเมิดมีประเด็นสําคัญของปญหาเรื่องภาระการพิสูจนในกรณีการกระทําผิดของ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม คือ บทบัญญัติในเรื่องละเมิดทั่วไปที่มีอยูในมาตรา 420 แหงประมวล กฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยความรับผิดของบุคคลในการกระทําของตนเองอยางกวางขวางครอบคลุม การกระทําผิดเปนการทั่วไป แตก็ไมอาจเยียวยาใหแกบุคคลที่ไดรับความเสียหายใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่

ตองการได เนื่องจากมีขอบขายที่กวาง จึงทําใหยากแกการนําสืบเพื่อพิสูจนถึงความรับผิดและการชดใช

คาเสียหายใหแกผูใชบริการอีกทั้งยังไมมีบทบัญญัติความรับผิดเด็ดขาด โจทกหรือผูเสียหายจึงมีหนาที่ที่ตองนํา สืบหรือภาระการพิสูจนที่จะตองนําสืบ เพื่อใหศาลเห็นหรือเชื่อวาจําเลยไดกระทําดวยความจงใจหรือประมาท เลินเลอ และโจทกไดรับความเสียหายจากการกระทําดังกลาว ทั้งนี้เปนไปตามหลักการพิสูจนทั่วไปตามมาตรา 84 แหงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงที่เรียกวา “ผูใดกลาวอาง ผูนั้นนําสืบ” (วิฑูรย อึ้งประพันธ : 61-67)

3. ปญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขในกรมธรรมประกันภัย

เนื่องจากประเทศไทยยังไมเคยมีการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม และบริษัทประกันภัยตาง ๆ ในประเทศไทยก็ยังไมเคยรับประกันภัยผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม แตอยางใด เงื่อนไขกรมธรรมประกันภัยวิชาชีพของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจึงไมเคยมี

การกําหนดไววาควรมีลักษณะอยางไร

4. ปญหาเกี่ยวกับการนําระบบประกันภัยความรับผิดมาใชผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม สําหรับในประเทศไทยไมมีบทบัญญัติกฎหมายวาดวยการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงามเปนการเฉพาะ

6. บทสรุป

ในปจจุบันมนุษยใหความสําคัญกับเรื่องความสวยความงามกับรางกายของตนเองมากขึ้นกวาในอดีต ที่ผานมา ไมวาจะเปนผูชายหรือผูหญิง แตสวนใหญผูหญิงมักจะใหความสําคัญในเรื่องของรูปรางหนาตาตนเอง มากกวาผูชาย จึงทําใหผูหญิงสวนใหญหันไปพึ่งพา ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม เพื่อให

ทําศัลยกรรมเสริมความงามรูปรางหนาตาของตนเองกันมากขึ้น จะเห็นไดจากในปจจุบันนี้ การทําศัลยกรรม

(7)

เสริมความงามถือเปนธุรกิจที่ไดรับความนิยมเปนอยางมาก ทั้งศิลปน ดารา นักรอง และคนทั่วไป ตางกันไป พึ่งพา ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ไมวาจะเปนผาตัดเสริมหนาอก เสริมจมูก กรีดตา ทําคาง ตัด กราม เพื่อใหตนเองสวยสมใจขึ้นผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจึงตองเปนผูที่มีความชํานาญเฉพาะ ดานศัลยกรรมเสริมความงามโดยเฉพาะ และเปนผูที่ตองใชความระมัดระวังในการประกอบวิชาชีพเปนอยางมาก เพราะการผาตัดศัลยกรรมเสริมความงามในแตละครั้งใหกับผูใชบริการเปนการกระทําตอรางกายมนุษย ซึ่งหากมี

การผิดพลาดเกิดขึ้นผลเสียที่ตามมาอยางมากมายจนในบางครั้งศัลยแพทยเสริมความงามไมสามารถชดใชคา สินไหมทดแทนใหกับผูใชบริการไดมากเทากับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผูใชบริการและหากเกิดความผิดพลาด ซึ่งทําใหเปนผลเสียแกผูใชบริการ ผูใชบริการก็ชอบที่จะฟองรองดําเนินคดีเพื่อเรียกคาเสียหายจากผูประกอบ วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ทําใหผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม ตองตกอยูในภาวะที่เสี่ยง ทุกครั้งที่ทําการผาตัดศัลยกรรมเสริมความงาม หรือในทางการแพทยเรียกวาการทําเวชปฏิบัติ ซึ่งการฟองรองให

ชดใชคาสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นนั้น เปนการดําเนินคดีในทางแพงในความผิดฐานละเมิด ซึ่งจะตองรับผิดชดใช

คาสินไหมทดแทน แตการฟองรองในทางแพงผูเสียหายเปนโจทกยอมมีภาระการพิสูจน หากพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงมาตรา 84 ซึ่งมีความยุงยากและเปนภาระของผูใชบริการที่จะตองนําสืบให

ศาลเห็นถึงความประมาทเลินเลอของศัลยแพทยเสริมความงามดังที่กลาวมาในบทขางตน

จากเหตุผลดังกลาว มาตรการที่จะนํามาใชกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม คือ การนํา ประกันภัยความรับผิดวิชาชีพโดยเฉพาะมาใชกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามในประเทศไทย เหมือนอยางในตางประเทศ ซึ่งจะทําใหทั้งสองฝายไมตองเสียเวลาและคาใชจายในการดําเนินคดีแตอยางใด และผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามก็มิตองรับภาระในการชดใชคาสินไหมทดแทน เพราะกองทุน ประกันจะเปนผูชดใชคาสินไหมทดแทนใหกับผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายจากการทําศัลยกรรมเสริม ความงามของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม อันก็จะกอใหเกิดประโยชนแกทุกฝายเปนอยางยิ่ง

7. ขอเสนอแนะ

1. ควรกําหนดใหมีการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม

หากมีการนําการประกันภัยความรับผิดวิชาชีพโดยเฉพาะมาใชกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม ความงามในประเทศไทยเหมือนอยางเชนในตางประเทศก็จะมิตองเสียเวลาและคาใชจายที่จะตองมาพิสูจน

และผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามก็มิตองมีภาระในการชดใชคาสินไหมทดแทนเพราะสมาคมหรือ กองทุนประกันภัย จะเปนผูชดใชคาสินไหมแทนใหกับผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายจากการทําศัลยกรรม เสริมความงามของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามซึ่งจะเปนประโยชนอยางยิ่ง

2. ควรกําหนดใหมีการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามแทนการใช

กฎหมายแพงและพาณิชยวาดวยลักษณะละเมิด

ในเรื่องภาระการพิสูจนของโจทกที่จะตองพิสูจนใหศาลเห็นวาจําเลยกระทําความผิดอะไรกับโจทกบาง นั้นจะเห็นไดวาทําใหเปนการเสียเวลาและเปนการยุงยากมากทําใหเปนภาระกับโจทกเปนอยางมากหากมีการนํา การประกันภัยความรับผิดวิชาชีพโดยเฉพาะมาใชกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามในประเทศ

อยางเชนในตางประเทศก็จะไมตองเสียเวลาและคาใชจายที่จะตองมาพิสูจน ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริม

(8)

ความงาม ก็ไมตองมีภาระในการชดใชคาสินไหมทดแทน เพราะสมาคมหรือกองทุนประกันจะเปนผูชดใช

คาเสียหายใหกับผูใชบริการที่ไดรับความเสียหายจากการทําศัลยกรรมเสริมความงามของผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงามซึ่งจะเปนประโยชนอยางยิ่ง

3. กําหนดเงื่อนไขในกรมธรรมประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามที่

เปนธรรม

เนื่องจากประเทศไทยยังไมเคยมีการประกันภัยความรับผิดผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม แตอยางใด เงื่อนไขกรมธรรมประกันภัยวิชาชีพของผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม จึงไมเคยมี

การกําหนดไววาควรมีลักษณะอยางไรหากนําเอาแบบอยางเงื่อนไขกรมธรรมของตางประเทศอยาง เชน ประเทศ สหรัฐอเมริกาในขอที่เหมาะสมกับประเทศไทยมาเปนแนวทางหรือหลักเกณฑในการชดใชคาเสียหายจากกองทุน ตาง ๆ เชน ประเทศอังกฤษ ฟนแลนดมาเปนแนวทาง เพื่อนํามาปรับใชกับการประกันภัยความรับผิดของ ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามไดก็จะเหมาะสมและเปนประโยชนอยางยิ่งสําหรับผูประกอบวิชาชีพ ศัลยแพทยเสริมความงาม โดยเฉพาะอยางยิ่งจะตองเปนเงื่อนไขที่เปนธรรม แกผูเอาประกันภัยหรือ

บุคคลภายนอกซึ่งไดรับความเสียหาย

4. ควรกําหนดการนําระบบประกันภัยความรับผิดมาใชกับผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงาม คนไทยไมนิยมที่จะทําประกันภัยเพราะเนื่องจากไมมั่นใจในบริษัทประกันภัยและเปนการเสียเงินโดยเปลา ประโยชนในการจายเบี้ยประกันหากไมมีเหตุใด ๆ เกิดขึ้น จึงเห็นควรนําระบบประกันภัยภาคบังคับ

(Compulsory Insurance) มาเปนแนวทางในการทําประกันภัยความรับผิดในวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามใน ประเทศไทยเพราะในตางประเทศบังคับใหแพทยทุกสาขาและผูประกอบวิชาชีพดานสุขภาพ ซึ่งรวมถึง ผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามทําประกันภัยอยางเชนในตางประเทศกําหนดใหโรงพยาบาลตองทํา ประกันใหแกแพทยทุกสาขา และกําหนดเงื่อนไขใหแพทยทุกสาขาซึ่งรวมถึงผูประกอบวิชาชีพศัลยแพทย

เสริมความงามแตใหอยูในรูปของระบบสมาคมมีกองทุนชวยเหลือแบบเปนสวัสดิการ เพราะจะทําใหผูประกอบ วิชาชีพศัลยแพทยเสริมความงามจายคาเบี้ยประกันนอยกวาการจายคาเบี้ยประกันใหกับบริษัทประกันภัย เหมือนอยางในตางประเทศมาใชบังคับ

รายการอางอิง

เดือนสาวใหญ-วัยสะออนเสริมสวนอิ๋มระวังอันตราย, 2550. [ออนไลน] เขาถึงเมื่อ 12 เมษายน 2550 จาก www.clinicrak.com/news_surgery01.html.

วิฑูรย อึ้งประพันธ. “ความประมาทเลินเลอในเวชปฏิบัติ.” วารสารรพีรําลึก. 1 : 61 – 67.

Referensi

Dokumen terkait

Factors Affecting The Development of Critical Thinking of Indonesian Learners of English Language.. Rohmani Nur Indah 1 ,

The hospital is one of the advanced level referral health service facilities. Aloei Saboe is one of the public hospitals owned by the Gorontalo City Government. Currently, RSUD