• Tidak ada hasil yang ditemukan

View of รูปแบบการเขียนบทความ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "View of รูปแบบการเขียนบทความ"

Copied!
5
0
0

Teks penuh

(1)

รูปแบบการเขียนบทความในวารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว

วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว จัดทําโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วารสารฯ รับบทความจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ บทความที่เสนอมาเพื่อตีพิมพ์อาจเขียนเป็นภาษาไทยหรือ ภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อต้องมีทั้ง 2 ภาษา จัดพิมพ์ปีการศึกษาละ 2 ฉบับ มกราคม – มิถุนายน, กรกฎาคม – ธันวาคม ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับได้โดยตรงที่บรรณาธิการวารสารวิจัยทางการศึกษา ตามที่อยู่ในฉบับ

นโยบายการจัดพิมพ์

นโยบายและวัตถุประสงค์การจัดพิมพ์วารสารวิจัยทางการศึกษา เพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความ วิชาการ พัฒนาทางสหสาขาวิชา เช่น ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เป็นการบูรณาการนโยบายทางการ ศึกษา การเรียนการสอนและบริการวิชาการแก่ชุมชน เป็นต้น วารสารฯ รับตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยที่

บทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเสนอ หรือกําลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน ผลงานที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์

ในวารสารอาจถูกดัดแปลงแก้ไขรูปแบบและสํานวนตามที่เห็นสมควร ผู้ประสงค์จะนําข้อความใด ๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไป ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์

การพิจารณาต้นฉบับ

บทความที่ตีพิมพ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน/บทความ กรณีที่ต้องปรับปรุงแก้ไข จะส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อดําเนินการต่อไป

การเตรียมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์

ผลงานวิจัยที่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วยกระดาษขาวขนาด เอ4 หน้าเดียว พิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 14 pt. ความยาวของต้นฉบับรวมทั้งตาราง แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิงใช้

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ไม่เกิน 15 หน้า พร้อมไฟล์ต้นฉบับ นามสกุล .pdf และ .doc พร้อมแบบฟอร์มสมัครขอส่งบทความตีพิมพ์ ส่งทาง E-mail : somwan237@gmail.com หรือส่ง เอกสารบทความ และบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD จัดส่งทางไปรษณีย์ ทั้งนี ้หากผู้เขียนบทความเป็นนิสิต นักศึกษาในระดับ บัณฑิตศึกษา ต้องแนบแบบฟอร์มการตรวจสอบ และรับรองการเผยแพร่บทความจากอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์หลัก ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ได้ที่ http://edu.swu.ac.th/research.asp#top4

บทความที่ส่งตีพิมพ์ควรมีรายละเอียดดังนี้

1. ชื่อเรื่อง : กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื ้อหาสําคัญ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)

2. ชื่อผู้เขียน : ระบุชื่อ นามสกุล วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตําแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) และหน่วยงานที่สังกัดของ ผู้เขียนครบทุกคน สถานที่ทํางาน หรือที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)

3. ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือกําลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน

(2)

4. ผู้เขียนบทความจะต้องดําเนินการปรับแก้ไขบทความตามผลการประเมินของกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ

ของวารสาร อย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการในการตีพิมพ์

5. กองบรรณาธิการขอใช้สิทธิในการนําบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยทางการศึกษาเผยแพร่ลงเว็บไซต์

วารสารวิจัยทางการศึกษาออนไลน์

6. กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินในกรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะเป็น ค่าตอบแทนการพิจารณาบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ

7. เมื่อผู้เขียนบทความได้ดําเนินการตามระเบียบเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะออกใบตอบรับการ ตีพิมพ์และ ใบสําคัญรับเงินให้กับผู้เขียนบทความ และดําเนินการตามกระบวนการตีพิมพ์ต่อไป

8. ถ้าผู้เขียนบทความไม่ปฏิบัติตามระเบียบการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งยกเลิกการตีพิมพ์บทความ และจะ ไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมคืน

9. ผู้เขียนบทความจะได้รับวารสารวิชาการ จํานวน 2 เล่ม

รูปแบบการเขียนบทความในวารสารวิจัยทางการศึกษา

รูปแบบการเขียนบทความในวารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว ประยุกต์มาจากรูปแบบการเขียน บทความงานวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ของสํานักงานคระกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) โดยมี

องค์ประกอบของบทความงานวิจัย ดังนี ้

ส่วนนํา

1. ชื่อเรื่อง : กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื ้อหาสําคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2. ชื่อผู้ทําวิจัย : ระบุชื่อ นามสกุล (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

3. ชื่อที่ปรึกษา : ระบุชื่อ นามสกุล (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด ตําแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) หน่วยงานที่สังกัด และที่อยู่ ของผู้เขียนครบทุกคน (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

4. บทคัดย่อ : (ภาษาไทย) บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เนื ้อหาในบทคัดย่อควรระบุ

วัตถุประสงค์โดยย่อ ผลการวิจัยและบทสรุปโดยย่อ (ไม่เกิน 250 คํา) 5. คําสําคัญ : (ภาษาไทย)

6. บทคัดย่อ : (ภาษาอังกฤษ) (ไม่เกิน 250 คํา) 7. คําสําคัญ : (ภาษาอังกฤษ)

เนื้อหาของบทความวิจัย

8. บทนํา : กล่าวถึงเฉพาะภูมิหลังของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์การวิจัย 9. กรอบแนวคิดในการวิจัย

10. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 11. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) 12. วิธีดําเนินการวิจัย

(3)

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย/กรณีศึกษา (ระบุรายละเอียดของการได้มาและการสุ่ม กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย/กรณีศึกษา)

2) ตัวแปรที่ศึกษา

3) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ระบุคุณภาพของข้อมูล) 5) การวิเคราะห์ข้อมูล

6) ผลการวิจัย (ถ้ามี)

13. สรุปผลการวิจัย : เขียนบรรยาย หรือสรุปเป็นข้อๆ โดยย่อ ถึงผลงานที่สําคัญ และต้องการเน้น 14. อภิปรายผล

15. ข้อเสนอแนะ 1) ข้อเสนอแนะทั่วไป

2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 16. บรรณานุกรม

การอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานให้

จัดเรียงตามลําดับอักษรชื่อผู้แต่ง โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) กรณีเป็นเอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและวงเล็บ (In Thai) กํากับไว้ตอนท้าย โดยใช้รูปแบบบรรณานุกรม ของ APA ดังตัวอย่างโดยมีรูปแบบการอ้างอิง ดังนี ้

รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (In- text citation)

ในการอ้างอิงข้อความที่นํามาจากผลงานของผู้อื่น โดยใช้รูปแบบนาม – ปี ของ APA ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยให้

แปลเป็นภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, เลขหน้าหรือย่อหน้าที่อ้างอิง) …และแหล่งสารสนเทศที่เป็นคู่แข่งขัน อื่น ๆ (Pimrumpai Premsmit, 1993, น. 10) เซอร์คิน (Sirkin, 1991, p. 1) ได้กล่าวไว้ว่า การตลาด คือ การทําความชัดเจน เกี่ยวกับผู้ใช้…ปราณี ว่องวิทวัส (Pranee Wongvittawat, 1989, p. 4-5; 1993, p.18) อธิบายว่า…

หนังสือทั่วไป

ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง /ครั้งที่พิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป). /สถานที่พิมพ์:/

////////สํานักพิมพ์.

ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์. (2548). ใต้ทะเลมีความรัก ภาคสาม: หลังคลื่นอันดามัน.

กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.

นิพนธ์ วิสารทานนท์ และ จักรพงษ์เจิมศิริ. (2541). โรคผลไม้. กรุงเทพฯ: สํานักวิจัย และพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6

(4)

ผู้แต่งเป็นสถาบัน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2552). บทคัดย่อชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง.

นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

หนังสือแปล

สตีเวนสัน, วิลเลี่ยม. (2536). นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ. แปลจาก A Man Called Intrepid.

ทรงแปลโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ผู้รวบรวมหรือบรรณาธิการ

พิทยา ว่องกุล. (บรรณาธิการ). (2541). ไทยยุควัฒนธรรมทาส. กรุงเทพฯ:

โครงการวิถีทรรศน์.

ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544. (2542). กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.

ไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์/สํานักพิมพ์ หรือไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

ให้ใส่ [ม.ป.ท.] สําหรับเอกสารภาษาไทย และ [n.p.] สําหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ให้ใส่ [ม.ป.ป.]. สําหรับเอกสารภาษาไทย และ [n.d.]. สําหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ บทความในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ ////////(ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความจากหน้าใดถึงหน้าใด)./สถานที่พิมพ์:/

////////สํานักพิมพ์.

เสาวนีย์ จําเดิมเผด็จศึก. (2534). การรักษาภาวะจับหืดเฉียบพลันในเด็ก. ใน สมศักดิ์ โล่เลขา, ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒชัย และ มนตรี ตู้จินดา (บรรณาธิการ), อิมมูโนวิทยาทางคลินิกและโรคภูมิแพ้. (น. 99-103). กรุงเทพฯ:

วิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

วารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่ (ฉบับที่),/เลขหน้าที่ปรากฏ.

กุลธิดา ท้วมสุข. (2538). แหล่งสารนิเทศบนอินเทอร์เน็ต. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 1-13.

นิตยสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปี, เดือนที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อนิตยสาร,/ปีที่ (ฉบับที่),/

////////เลขหน้าที่ปรากฏ.

ส้มโอมือ. (มีนาคม 2545). อาหารบํารุงสมอง. Update, 20(210), 37-40.

หนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปี, เดือนที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/ปีที่ (ฉบับที่),/

////////เลขหน้าที่ปรากฏ.

ไตรรัตน์ สุนทรประภัสสร. (2540, 8 พฤศจิกายน). อนาคตจีน-อเมริกา. เดลินิวส์, น. 6.

(5)

วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต //////// หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา).

ช่อเพ็ญ นวลขาว. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศกับแบบแผนการผลิตและวัฒนธรรมการบริโภค อาหาร ศึกษากรณีชุมชนขนาบนาก จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

บทความที่สืบค้นได้จากวารสารอิเล็กทรอนิกส์

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้า-เลขหน้า./URL /////////ของวารสาร

Cadigan, J., Schmitt, P., Shupp, R., & Swope, K. (2011, January). The hold out problem and urban sprawl:

Experimental evidence. Journal of Urban Economics. 69(1), 72. Retrieved from http://journals.elsevier.com/00941190/journal-of-urban-economics/

สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น ๆ สารสนเทศประเภทสารานุกรม พจนานุกรม หนังสือคู่มือ

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ จากหน้าใดถึงหน้าใด)./สถานที่พิมพ์:/ สํานักพิมพ์.

Hanegraaff, W. (2005). New Age movement. In L. Jones (Ed.), Encyclopedia of religion. Retrieved from http://find.galegroup.com/gvrl/

วิกิ(WIKI)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2553, จากวิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

จํานวน 3,000 บาท/ บทความ

การติดต่อสอบถาม

กองบรรณาธิการวารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

114 ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0 2649 5000 ต่อ 15509

โทรสาร 0 2260 0124 E-mail: somwan237@gmail.com

Referensi

Dokumen terkait

วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2562 กระบวนการพิจารณาบทความ บทความ ได้รับบทความ เสนอบรรณาธิการพิจารณา

ซ วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2562 แนะนําหนังสือ ชื่อหนังสือ Ethics and Education Research