• Tidak ada hasil yang ditemukan

ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะการรับใช้สังคม ส าหรับนิสิตระดับ

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3 องค์ประกอบ จากทฤษฎีการมีส่วนร่วมของนิสิต (Astin, 1984)

1. ด้านวิชาการ 2. ด้านกิจกรรม

3. การท างานร่วมกับอาจารย์

การประเมินรูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะการรับใช้สังคม ส าหรับนิสิตระดับ

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1. ความเหมาะสม และ 2. ความเป็นไปได้

แนวคิดการพัฒนานิสิตนักศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Approach) ตามยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต

นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของส านักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา

1. ภาวะผู้น าของสถาบัน (Institutional Leadership) 2. วัฒนธรรมของสถาบัน (Institutional Culture) 3. การเรียนรู้ของนิสิต (Student Learning) 4. ความผูกพันของนิสิต (Student Engagement) แนวคิดการพัฒนานิสิตในระดับอุดมศึกษา (Seven Vectors of Development) (Chickering & Reisser, 1993) 1. การพัฒนาความสามารถด้านสติปัญญา ร่างกาย และ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น

2. การจัดการด้านอารมณ์

3. ความเป็นตัวของตัวเองและการยอมรับการอาศัยพึ่งพิงซึ่ง กันและกัน

4. การพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างมีวุฒิภาวะ 5. การสร้างเอกลักษณ์แห่งตน

6. การพัฒนาเป้าหมาย 7. การพัฒนาความมีคุณธรรม

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ

-การพัฒนารูปแบบเชิงข้อความของคีฟส์ (Keeves. 1988) -แนวคิดของบุญชม ศรีสะอาด (2545)

ทฤษฎีตัวป้อน สภาพแวดล้อม ผลลัพธ์ (I-E-O Model) (Astin, 1993)

I (Input) = คุณลักษณะของนิสิตเมื่อเริ่มเข้าเรียน

E (Environment) = สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการพัฒนา นิสิต

และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับคุณลักษณะการรับใช้สังคม - สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณลักษณะการรับใช้สังคม - ศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมกับนิสิตระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แนวคิดการประเมินรูปแบบของโอเวน (Owen. 1993)

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยได้จัดล าดับสาระในการน าเสนอ ดังนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของนิสิต 2. คุณลักษณะการรับใช้สังคม

3. แนวคิดเกี่ยวกับการรับใช้สังคมของสถาบันอุดมศึกษา 4. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนานิสิตในสถาบันอุดมศึกษา 5. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ

6. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับการรับใช้สังคม แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของนิสิต

การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาที่ต่อเนื่องกับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและการเป็นสมาชิกที่ดีและเป็นผู้น าของสังคม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองเพื่อการด ารงชีวิตได้อย่างเป็นสุข แต่ในเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศไทยจะเร่งขยายโอกาสในการศึกษาระดับอุดมศึกษาแต่ก็ยังประสบปัญหาการขาด แคลนบัณฑิตบางสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และแพทยศาสตร์ เป็นต้น รวมทั้งผู้ส าเร็จ การศึกษายังขาดทักษะในการประกอบอาชีพ และขาดคุณธรรมจริยธรรม จนไม่สามารถด ารงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม การสร้างและผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะการรับใช้สังคมจึงมี

บทบาทส าคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน

ความหมายของคุณลักษณะ

ค าว่า “คุณลักษณะ” นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายแยกตามค า ที่มา สมาสกันไว้ว่า ค าว่า “คุณ” หมายถึง ความที่มีอยู่ประจ าในสิ่งนั้น หรือความเกื้อกูล ส่วน

“ลักษณ์” หรือ “ลักษณะ” หมายถึง สภาพหรือเครื่องแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งต่างกับอีกสิ่งหนึ่ง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2544) ดังที่สุวิมล ว่องวานิช และ คณะ (2549, น. 11) กล่าวว่า คุณลักษณะ (Character) หมายถึงสภาพหรือสิ่งมีอยู่ประจ าในบุคคลที่แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง บุคคล ส่วนค าว่า คุณลักษณ์หรือคุณลักษณะที่ดี (Good Character) จึงหมายถึง สภาพหรือสิ่งที่มี

ประจ าในเด็กและเยาวชนไทยซึ่งแสดงถึงความแตกต่างของความเหมาะสมดีงาม

ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2553, น. 389-390) ให้ความหมาย คุณลักษณะ (Trait) คือแบบอย่าง พฤติกรรมหรือด้านอื่นของบุคลิกภาพที่ค่อนข้างสม ่าเสมอและคงทนของบุคคล แบบอย่าง

พฤติกรรมนี้จะปรากฏให้เห็นได้ในสถานการณ์ต่างๆและอาจน ามาใช้เป็นเครื่องบอกความแตกต่าง บุคลิกภาพหนึ่งจากบุคลิกภาพอื่น เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต สอดคล้องกับ พรชัย ภาพันธ์ (2546, มกราคม, น. 21) ที่ได้ให้ความหมาย คุณลักษณะ ว่าหมายถึง สิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความดีหรือลักษณะ ประจ าตัวของแต่ละบุคคล กล่าวคือเป็นพฤติกรรม ลักษณะ ท่าที อุปนิสัย คุณสมบัติ

ความสามารถ ความรู้ทักษะ และเจตคติ

นอกจากนี้ ส าลี รักสุทธี (2545, น. 22) ได้ให้ความหมายของ คุณลักษณะ ว่าหมายถึง คุณลักษณะพฤติกรรมที่สถานศึกษาแต่ละแห่งอยากให้มี อยากให้เกิด อยากให้เป็น ซึ่งเป็น เป้าหมายที่สถานศึกษาต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

ส่วน เว็บสเตอร์ (Webster’s, 1993, p. 65) ได้ให้ความหมายคุณลักษณะว่า หมายถึง 1. ลักษณะของนิสัยคุณสมบัติ หรือ ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล

2. ลักษณะในส่วนรูปร่าง รูปแบบ หรือปัจจัย ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นของแต่ละ บุคคลซึ่งใช้ในการแบ่งแยก ซึ่งลักษณะเฉพาะของสิ่งของ หรือบุคคลที่สังเกตได้อย่างชัดเจน

อาจสรุปได้ว่า คุณลักษณะ หมายถึง สภาพหรือสิ่งที่มีอยู่ประจ าในตัวบุคคลที่แสดงหรือ กระท าให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นพฤติกรรม ลักษณะท่าที อุปนิสัย คุณสมบัติ

ความสามารถ ความรู้ทักษะ และเจตคติ เป็นพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นถึงความดีหรือลักษณะ ประจ าตัวที่ดีเด่นของบุคคลว่า “บุคคลต้องมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง” และเป็นพฤติกรรมที่เป็น เป้าหมายของการพัฒนาบุคคลจากองค์กรหรือสถาบันการศึกษาพึงปรารถนาอยากให้มีอยากให้

เกิดและอยากให้เป็นไปตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ที่สถาบันก าหนดไว้

ความส าคัญของคุณลักษณะนิสิต

ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ระบุความส าคัญของคุณลักษณะนิสิตไว้ว่า ความส าคัญในการพัฒนานิสิตของประเทศให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องตามความ ต้องการของสังคมในศตวรรษที่ 21 และสามารถด าเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี

ความสุข นั้น ซึ่งตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ได้ก าหนด เป้าหมายของกรอบ คือ “การยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาไทย เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร ที่มี

คุณภาพสู่ตลาดแรงงานและพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรม เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่น ไทย...” (ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554, น. 1) ดังที่ มธุรส สว่างบ ารุง (2542, น.

169) กล่าวว่านิสิตนักศึกษานับว่าอยู่ในช่วงเวลาที่มีความส าคัญ เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยรุ่นมี

พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์ (2562) กล่าวว่า ในปัจจุบันความรู้และเทคโนโลยี

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเข้มงวดด้านมาตรฐานวิชาชีพมากขึ้น มีการแข่งขันกันมากขึ้น และการท างานมีลักษณะที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้น การก าหนดคุณลักษณะบัณฑิตจึงมี

ประโยชน์อย่างน้อย 3 ประการ คือ

1. หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน ชุมชน สังคม ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

ได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะได้บัณฑิตที่คุณสมบัติตรงกับความต้องการมากขึ้น

2. เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการใช้คุณลักษณะบัณฑิตเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงหลักสูตร วางแผนการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และบริหารจัดการทรัพยากร ต่างๆได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

3. เป็นประโยชน์ต่อตัวบัณฑิตที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพราะจะท าให้มีโอกาสในการ ถูกคัดเลือกเข้าท างานมากขึ้น และมีโอกาสในการก้าวหน้าในการท างานมากขึ้น

สุธรรม์ จันทร์หอม (2530) ได้ท าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์

ส าหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ให้ความส าคัญต่อบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์ของ นักศึกษาสูงสุด 5 ข้อแรก ได้แก่ ความรู้รอบ ฉลาด ไหวพริบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมและคุณธรรม มีระเบียบวินัย ลักษณะนี้ค่อนข้างจริงจังและเหมาะสมแก่การท างานให้

ส าเร็จลุล่วงได้ดี เมื่อใช้เครื่องมือนี้ประเมิน ได้คุณลักษณะเด่นของนักศึกษา 5 ข้อคือ มีมนุษย สัมพันธ์ดี รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเมตตาและเห็นใจผู้อื่น รักดี มุ่งดี และใฝ่ดี มีความเอื้อเฟ้อ เผื่อแผ่ ทั้ง 5 ลักษณะนี้ ค่อนข้างนิ่มนวล อ่อนน้อม มุ่งมนุษยสัมพันธ์มากกว่าผลสัมฤทธิ์ของการ งาน นอกจากนี้ เพียงกานต์ เครือทอง (2544) ศึกษาเรื่อง คุณลักษณะนิสิต ระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า คุณลักษณะที่ส าคัญของนิสิตระดับปริญญาตรี ได้แก่ ไม่ชอบท าอะไร ที่ซ ้าแบบเดิม แต่ชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ต้องการสอบให้ได้คะแนนสูง ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสังคมสงเคราะห์ การรณรงค์ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมหรือเข้ารับ การฝึกอบรมที่ท าให้เกิดความช านาญและช่วยงานอาชีพในอนาคต ชอบเข้าร่วมการแสดงดนตรี

และการแสดงต่างๆ เห็นว่าการดื่มเหล้าหรือการสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่เคยพลาดโอกาส ที่เข้าชมการแข่งขันกีฬาที่ชอบ คิดว่าเพื่อนคือสิ่งที่ส าคัญในชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัย การเข้า ร่วมเป็นสมาชิกของชมรมที่สนใจ ในปัจจุบันยังไม่ตัดสินใจว่าหลังจากที่จบการศึกษาแล้วจะศึกษา ต่อหรือไม่

อาจสรุปได้ว่า ความส าคัญของคุณลักษณะนิสิตเป็นการแสดงถึงศักยภาพที่สร้างจุดเด่น ของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่ผ่านการบ่มเพาะของมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพ