• Tidak ada hasil yang ditemukan

ภาพแสดงโครงสร้างการพัฒนาศักยภาพและอัตลักษณ์นิสิต มศว

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคม เป็น 1 ใน 9 ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ภายใต้การบริหารงานของอธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ) ซึ่งยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคมนี้มีนัยะที่ส าคัญหลายประการ (วิรุณ ตั้งเจริญ, 2550)

SWU STUDENTS’ IDENTITY

VPPPM.

• VISION

• POLICY

• PLANNING

• PROCESS

• MEASUREMENT

• LEARNING PROCESS

• ACTIVITIES PROCESS

• STRUCTURE/SYSTEM/MECHANISM - HONOUR

- WORKING LOAD

- INCENTIVE

ประการแรก เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า มศว ให้ความส าคัญเรื่องของการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม ซึ่งขยายความต่อไปได้อีกว่า มหาวิทยาลัยจะเชื่อมโยงและไม่แยกตัวออกจาก สังคม นอกจากไม่แยกตัวออกจากสังคมแล้ว ยังสะท้อนเจตนารมณ์ของการต้องการมีส่วนร่วมใน การสร้างสังคมและสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยความรู้เป็นฐาน

ประการที่สอง ความเข้าใจในเรื่องของความรู้นั้น ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคม มีความเข้าใจต่อโลกของความรู้ว่า มีทั้งความรู้ที่เป็นสัจจะและมีทั้งความรู้ที่ถูกน าเอาไปประยุกต์

มีทั้งความรู้เพื่อสร้างฐานอ านาจทางการเมือง รักษาฐานอ านาจทางการเมือง และมีทั้งความรู้เพื่อ ชุมชนคนฐานราก มีทั้งความรู้เพื่อตอบสนองโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม โลกาภิวัตน์และมีทั้งความรู้ทางเลือกหรือความรู้ทวนกระแส ฯลฯ และด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งมหาวิทยาลัยทั้งหลาย มิอาจหลีกหลบชุดความรู้กระแสหลักที่ส่งผลต่อ การพัฒนาสังคมประเทศชาติทั้งองคาพยพได้ ความพยายามของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

เพื่อสังคม จึงจ าต้องแสวงหาความรู้ชุดใหม่ที่รู้เท่าทันทุกชุดความรู้ ที่สามารถสังเคราะห์ชุดความรู้

ชุดต่างๆเพื่อน าสิ่งที่เป็นคุณมาส่งเสริม สนับสนุนความรู้ชุดใหม่ เพื่อสังคมและชุมชนก้าวสู่ความ เข้มแข็งอย่างสอดคล้องและเป็นจริง

ประการที่สาม ความพยายามในการขับเคลื่อนดังกล่าว จึงก่อให้เกิดกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนในหลายรูปแบบวิธีการ ตั้งแต่การลงพื้นที่จริง การพบปะกับชุมชน ผู้น า ชุมชนและเครือข่าย การจัดเสวนา การร่วมคิดและท ากิจกรรมร่วมกัน การสัมมนาวิชาการ การ วางแผนเพื่อโครงการและการด าเนินการโครงการต่างๆ โดยชุมชนมีส่วนร่วม ฯลฯ

ประการที่สี่ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคม เห็นคุณค่าและความส าคัญของการ ขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ที่พยายามก้าวข้ามการอนุรักษ์ระบบราชการ หรือการเป็นองค์กรรองรับ การชี้น าจากภาคการเมืองแบบตัวแทนจนสูญเสียเสรีภาพทางวิชาการ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะให้คุณค่าต่อการขับเคลื่อนองค์กรภาคีเครือข่าย เห็นความส าคัญต่อการ สร้างพลังร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งบนฐานความคิดเช่นนี้ ได้ก่อให้เกิดโครงการของยุทธศาสตร์การ จัดการความรู้เพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรมหลายโครงการ

ประการสุดท้าย สิ่งส าคัญของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้เพื่อสังคมก็คือ การยอมรับ การมีอยู่ของทุนเดิมที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ครั้งยังเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง และพัฒนาไปสู่วิทยาลัยวิชาการศึกษา 8 วิทยาเขต ทุนเหล่านั้น แม้จะมิได้

เป็นทุนทางธุรกิจแต่เป็นทุนอันเกิดจากการผลิตบัณฑิตเพื่อไปสร้างเด็กและเยาวชน ไปสร้างคน และอยู่ในชุมชน ได้ส่งผลย้อนกลับมาสู่ปัจจุบันอย่างแยกไม่ออก อดีตกับปัจจุบันจึงเชื่อมโยงไปสู่

อนาคตอย่างมีความหมายยิ่งดังที่ องอาจ นัยพัฒน์และคณะ (2561, น. 1-5) ศึกษาเรื่อง การศึกษาเจตนารมณ์และความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเป็นมหาวิทยาลัยใน ก ากับของรัฐของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลการวิจัยที่ส าคัญพบว่า มี “ช่วงห่าง” อย่าง มากระหว่างผลการด าเนินงานที่คาดหวังและเป็นจริงในประเด็นตามมุมมองสมดุล (Balanced Scorecard-BSC) เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้

และเติบโต ด้านการเงิน และด้านลูกค้า/ผู้รับบริการ (ตามล าดับ) ผลการวิจัยดังกล่าวนี้บ่งชี้ให้

ผู้บริหารและคณะท างานจ าเป็นต้องปรับปรุงประเด็นการด าเนินงานของ มศว ที่เกี่ยวข้องกับ โครงสร้างและระบบการจัดการ บุคลากรหรือคณะท างาน การเงิน และงานวิชาการ (ตามล าดับ) ทั้งนี้เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยในก ากับของรัฐเป็นไปตามความคาดหวัง โดยใช้ข้อเสนอเชิงนโยบาย/

กลยุทธ์ และแนวทางด าเนินงานที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยระยะที่ 3 จ านวน 10 ประเด็น ได้แก่ 1) การปรับโครงสร้างและกระบวนการด าเนินงานหลักขององค์การ 2) การบริหารจัดการความขัดแย้ง และรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ 3) การบริหารจัดการการเงินที่มีประสิทธิผล 4) การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานและความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 5) การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการผลตอบแทนและผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล 6) การ พัฒนาระบบการบริหารจัดการคนเก่งครบวงจร 7) การยกระดับคุณภาพของกระบวนการผลิต บัณฑิตให้ได้มาตรฐานสากล 8) การบริหารจัดการเรียนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกและอิงประสบการณ์

การท างาน 9) การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยส าหรับการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต และ 10) การพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยเชิงรุกเพื่อสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม และความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะส าหรับผู้บริหารด้านการ พัฒนานิสิตโดยแนวทางด าเนินงานคือควร เร่งพัฒนาอัตลักษณ์ของบัณฑิต กล่าวคือ เร่งพัฒนา นิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์บ่งชี้คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นตามแบบฉบับของ มศว เสมือนมี “ดีเอ็นเอ (DNA) ฝังตรึง” แตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ซึ่งอัตลักษณ์ดังกล่าว นี้เป็นที่ต้องการจ าเป็นของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ชุมชน/สังคม และประเทศชาติ

รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และเร่งยกระดับคุณภาพของบัณฑิตไปสู่

มาตรฐานสากล

อาจสรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว)กับการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัย ก าหนดแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย รับใช้สังคม อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้ก าหนดดวงดาวของมหาวิทยาลัยไว้สามดวงคือ วิชาการ นิสิต และชุมชน โดยเน้นหลักการผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือ “Student Centered” และมหาวิทยาลัย

เชื่อมั่นว่า นิสิต คือดวงดาวของมหาวิทยาลัย การพัฒนามหาวิทยาลัยทุกด้าน เป้าหมาย ภารกิจ และพันธกิจทุกด้าน ต้องมุ่งไปสู่การพัฒนานิสิตและการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นประการ ส าคัญ จากการศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี เอกสารต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้แนวคิด ในการสร้างรูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมน ามาเพื่อ สร้าง รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีกระบ วนการในการสร้างรูป แบบ 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณ ะ การรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมุ่งพัฒนา รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งผู้วิจัยได้ก าหนด ออกแบบขั้นตอน วิธีการในการด าเนินการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคม ส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ระยะที่ 3 เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคม ส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ระยะที่ 1 การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

การศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยด าเนินการดังนี้

ขั้นตอนที่ 1.1 ศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

1. การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ (Key Informants)

กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณลักษณะ การรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส าหรับเกณฑ์

ในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ คือ ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

จากสังกัดส านักงานอธิการบดี(ส่วนกลาง) และระดับคณะวิชา จ านวน 7 คน โดยการสัมภาษณ์

เชิงลึก (In-Dept Interview) ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มผู้ที่ด ารงต าแหน่งบริหาร จ านวน 3 คน

2. กลุ่มคณาจารย์สายวิชาการ จ านวน 2 คน

3. กลุ่มนักวิชาการสายปฏิบัติการ จ านวน 2 คน โดยผู้ให้ข้อมูลมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) เป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญด้านการรับใช้สังคม และมีส่วนร่วมในการจัดด าเนินการงานกิจกรรมพัฒนานิสิตด้านการรับใช้สังคม จิตอาสา หรือ ค่ายสร้างแรงบันดาลใจรับใช้สังคม