• Tidak ada hasil yang ditemukan

รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิต

จากภาพประกอบ5 รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคม ส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หากพิจารณาในด้านความผูกพัน ของนิสิตที่ปรากฏในรูปภาพที่10 วงกลมตรงกลาง กล่าวคือเมื่อพิจารณาในรายละเอียดย่อยของ ข้อพิจารณาคือระดับของความผูกพันของนิสิตที่เกิดจากพัฒนาการตามช่วงวัยและชั้นปีที่นิสิต ศึกษาอยู่อันเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคม(E)ผ่านการหล่อหลอม

หรือปลูกฝังจากสามวงกลมหลักคือ ด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม และการท างานร่วมกับอาจารย์

เพื่อให้ได้ผลผลิต(O)คือคุณลักษณะการรับใช้สังคม ภาพแสดงรายละเอียดของความผูกพันของ นิสิตภาพขยายจากวงกลมตรงกลาง ดังแสดงล าดับขั้นในภาพประกอบ 6

ภาพประกอบ 6 องค์ประกอบที่ 3 ความผูกพันของนิสิต (Student Engagement)

ระยะที่ 3 ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนานิสิต เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญ ญาตรีมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัยได้ด าเนินการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนา นิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประเมินโดยประชาคมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจากสามกลุ่มคือ กลุ่มผู้ที่ด ารงต าแหน่งบริหาร กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย และกลุ่มนิสิตระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการ พัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒรายองค์ประกอบและโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับสูง กว่าเกณฑ์ 3.51 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผลการวิจัย

รูปแบบการพัฒนานิสิตเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการรับใช้สังคมส าหรับนิสิตระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้วิจัยสามารถน ามาอภิปรายผล ดังนี้

1.ระยะที่ 1 การศึกษาคุณ ลักษณ ะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญ ญ าตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จากการสังเคราะห์ การศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยและสัมภาษณ์

ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินท รวิโรฒ พบว่า คุณ ลักษณ ะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญ ญ าตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มี 6 คุณลักษณะ คือ 1) การน าตนเอง 2) การประพฤติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม3) มีความเป็นพลเมือง4) มีการช่วยเหลือคนอื่น 5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม 6) มี

จิตอาสาและส านึกสาธารณะ ผลการศึกษาคุณลักษณะการรับใช้สังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่าคุณลักษณะการรับใช้สังคมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก หากเปรียบเทียบช่วงค่าคะแนนเฉลี่ยในระดับมาก คือ อันดับ 1 ด้านการประพฤติตนอย่างมี

คุณธรรมจริยธรรม อันดับ 2 ด้านมีการช่วยเหลือคนอื่น อันดับ 3 ด้านมีความเป็นพลเมือง อันดับ 4 ด้านมีจิตอาสาและส านึกสาธารณะ อันดับ 5 ด้านการน าตนเอง และอันดับ 6 ด้านการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมสังคม ผู้วิจัยขอน าเสนอการอภิปราย ดังนี้

1) คุณลักษณะการน าตนเอง พบว่านิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนิสิตมีความมุ่งมั่นและตั้งใจใน การปฏิบัติตนตามหน้าที่ด้วยความพากเพียรเพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหวังของตนเกิดจากแรง ขับออกมาจากภายในตน(Inside out) เน้นการพัฒนาภายในตัวบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงให้

ตระหนักถึงคุณค่าภายในตนเองและคงอัตลักษณ์ของตนไว้ได้ ตระหนักรู้และชื่นชมความสามารถ ของตนเอง ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความมุ่งมั่นสร้างแรงบันดาลใจในตนเอง ดังที่ สุนทรา โตบัว (2546)อธิบายว่า การน าตนเองเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการที่ผู้เรียน มีความคิด ริเริ่มที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่

สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ได้แก่เป็นผู้ริเริ่มการเรียนด้วยตนเอง มีความ รับผิดชอบและต้องการเรียนในสิ่งที่ตนเห็นแล้วว่ามีประโยชน์ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มมนุษยนิยมที่เน้นเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์โดยเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติเป็นคนดี มีเสรีภาพ มีความเป็นปัจเจกชนและมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้

อย่างไม่มีขีดจ ากัด สอดคล้องกับรุ่งอรุณ ไสยโสภณ (2549)และวิทยากร เชียงกูล (2549) อธิบาย

ว่า การน าตนเองเป็นคุณลักษณะที่ส าคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาตลอดชีวิตจึง จ าเป็นอย่างยิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้สามารถด ารงชีวิตในสังคมที่ก าลัง เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข เป็นทั้งคนเก่งและคนดีพร้อมทั้งมีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ได้ตลอดชีวิตเนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีลักษณะ คิดเป็น ท าเป็น และแก้ปัญหาเป็น สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้ที่มีคุณภาพต้องมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับพสชนัน นิรมิตไชยนนท์ (2551) อ้างอิงมาจากโนลส์

(knowles (1975), pp.14-17) ลักษณะการน าตนเองไม่ได้มีอยู่ในตัวผู้เรียนทุกคน โดยเฉพาะใน สังคมไทยที่ระบบการถ่ายทอดทางสังคมเอื้อให้คนไทยคุ้นเคยกับการพึ่งพาผู้อื่น การถูกบอกให้ท า และให้เชื่อฟังครูอาจารย์ อย่างไรก็ตามทักษะการเรียนรู้ด้วยการน าตนเองนั้นเป็นสิ่งที่สามารถ พัฒนาได้ตามกระบวนการทางจิตวิทยาของมนุษย์เมื่อเติบโตขึ้นจะพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็น อิสระมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถด าเนินชีวิตได้ด้วยตนเองและชี้น าตนเองได้ การ เรียนรู้ด้วยการน าตนเองจะเข้มข้นขึ้นเมื่ออยู่ในวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการเรียนรู้ด้วยการน าตนเองเป็น วิธีการเรียนการสอนหลักที่ส าคัญในระดับอุดมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องแม้ว่าผู้เรียน จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตามซึ่งเป็นการเอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด

2) การประพฤติตนอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม พบว่านิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ นิสิตมีการประพฤติปฏิบัติหรือ การกระท าของบุคคลที่ถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่น รวมถึงความรู้สึกนึกคิด รู้ผิดชอบชั่วดีของบุคคล อันเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งและควบคุมความประพฤติ

ของบุคคลที่แสดงออกทั้งกาย วาจา และใจเพื่อสนองในสิ่งที่ปรารถนา เช่น ความพยายามและ ความอดทน ความซื่อสัตย์ไม่โกง ความมีวินัย การมีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงามมีความ รับผิดชอบต่อวิชาชีพ ต่อสังคม ยึดมั่นในระบบคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด มี

จิตจริยธรรม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้

ของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552)ระดับปริญญาตรีด้านคุณธรรมจริยธรรมนั้น ผู้ส าเร็จการศึกษาจะต้องมีพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริตเสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าใจผู้อื่น และเข้าใจโลก เป็นต้น สอดคล้องกับแนวคิด ในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของวิจิตร กุลวณิชย์ (ม.ป.ป.)ที่กล่าวไว้ว่า คุณธรรมจริยธรรมที่ควร ปลูกฝังแก่นักศึกษา คือความกตัญญู และสอดคล้องกับงานวิจัยของนฤมล โอสถานุเคราะห์

(2549)ที่ว่า คุณธรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความ รับผิดชอบ ความมุ่งมั่น อดทน พากเพียร ความมีสติ รอบคอบ ความมีศรัทธาและความจริงใจ การ มีทักษะชีวิต ความเสียสละ การมีจิตของความเป็นผู้ให้ การมีจิตประชาธิปไตยและจิตสาธารณะ รู้

รักสามัคคี การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ความเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจโลก และการใช้ปรัชญาแบบ พอเพียง ส่วน นงลักษณ์ วิรัชชัยและคณะ (2551)ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการส ารวจและสังเคราะห์ตัว บ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม พบว่า ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมประกอบด้วย 3 ชุด 14 ตัวบ่งชี้ ชุดแรก คือ ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ประกอบด้วย ความเป็นอิสระ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ความมี

วินัย และความอดทน ชุดที่สองคือ ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมประโยชน์ปัจจุบัน ประกอบด้วย ฉันทะ ความขยันหมั่นเพียร ความประหยัด ความซื่อสัตย์ สุจริต และความมีสติสัมปชัญญะ และ ชุดที่สาม คือ ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมประโยชน์เบื้องหน้า ประกอบด้วย ความรับผิดชอบ ความ ยุติธรรม ความสามัคคี ความเป็นกัลยาณมิตรและความกตัญญูกตเวที นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ งานวิจัยของ สายฤดี วรกิจโภคาทรและคณะ (2552)ได้ศึกษาคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยผลการวิจัย พบว่า คุณธรรมจริยธรรมที่ควรเร่งปลูกฝังให้กับ ประชาชนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน 10 ประการ ได้แก่ 1) ความมีวินัย 2) ความอด กลั้น3) ความขยัน 4) ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง 5) ความรับผิดชอบ 6) ความมีสติ 7) ความพอเพียง 8) ความเมตตากรุณาเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่ 9) ความกตัญญู กตเวที และ10) ความเสียสละ สอดคล้องกับ งานวิจัยของนฤมล โอสถานุเคราะห์ (2549) ที่ว่าควรก าหนดการพัฒนานักศึกษาแบบองค์รวมและ ควรให้ความส าคัญต่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตและอาจารย์อย่างจริงจัง โดยจัดให้เป็นระเบียบ วาระส าคัญของทางมหาวิทยาลัย ส่วนพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี(ว. วชิรเมธี) (ม.ป.ป.) และ อภิญญา มานะโรจน์ (2539)มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า วิธีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่เยาวชนนั้น ครูผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา ให้รางวัลและชมเชย นักศึกษาที่ท าความดี ส่วนงานวิจัยของสุวิมล ว่องวาณิชและนงลักษณ์ วิรัชชัย (2543) พบว่า กระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม คือ กระบวนการพัฒนาจากบุคคลรอบข้าง โดยพ่อแม่มี

ส่วนส าคัญในการปลูกฝังคุณธรรมมากกว่ากลุ่มครูและครูจะมีส่วนส าคัญมากกว่ากลุ่มเพื่อน ตามล าดับ แต่งานวิจัยของ ฐาปนีย์ พสิษฐ์เนาวกุล และพรสวรรค์ สุวัณณศรีย์ (2551)พบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของ มหาวิทยาลัย

3) มีความเป็นพลเมือง พบว่านิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมี

คุณลักษณะอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนิสิตตระหนักรู้ในสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ การยก