• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย

ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการสำรวจการใช้พื้นที่สาธารณะของผู้ใช้แรงงานในเมือง อุตสาหกรรม เขตเทศบาลนครอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

3.2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการสำรวจภาคสนาม

การสำรวจและเก็บข้อมูล คือ การสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อหารูปแบบการใช้พื้นที่

สาธารณะของผู้ใช้แรงงานในเมืองอุตสาหกรรมโดยจะทำการสำรวจพื้นที่ที่มีรูปแบบและลักษณะตาม ประเภทของพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ พื้นที่สาธารณะเพื่อการคมนาคม พื้นที่สาธารณะเพื่อนันทนาการ และพื้นที่สาธารณะเพื่อการพาณิชยกรรม โดยจะเลือกศึกษาพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากผู้ใช้ทาง สัญจรเป็นหลัก แล้วจะทำการจัดกลุ่มของพื้นที่ว่างนั้น ๆ พร้อมกับทำการเลือกกลุ่มพื้นที่ตัวอย่างเพื่อ นำไปสู่การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลในการกำหนดโปรแกรมการออกแบบ โดยวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงประจักษ์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้พื้นที่สาธารณะของผู้ใช้แรงงานในเมือง อุตสาหกรรมในขั้นต่อไป

3.2.2 การวิเคราะห์พื้นที่สาธารณะ

หลังจากทำการจัดประเภทของพื้นที่ว่างในหัวข้อข้างต้นแล้วจะได้รูปแบบหรือประเกท ของพื้นที่สาธารณะภายในพื้นที่ศึกษา แล้วนำพื้นที่ว่างดังกล่าวมาวิเคราะห์ตามลักษณะทางกายภาพ จะมีจุดประสงค์คือ ทำการพิจารณาและประมวลผลข้อมูลจากการสำรวจ แล้วทำการคัดเลือกกลุ่ม พื้นที่ที่มีลักษณะที่เป็นมาตรฐานของพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ มาจำแนกตามลักษณะของพื้นที่สาธารณะ ตามลักษณะทางกายภาพของพื้นที่มีเกณฑ์ในการวิเคราะห์ คือ ที่เว้นว่างที่เป็นสีเขียว และที่เว้นว่าง สำหรับการสัญจร

โดยนำแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัย คือ ลักษณะทางกายภาพและประเภทของพื้นที่

สาธารณะ มาสรุปขั้นตอนการวิเคราะห์และการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงานวิจัยในครั้งนี้เป็น แผนภาพได้ดังนี้

ภาพที่ 26 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัย

กรอบความคิดงานวิจัย

ออกแบบวิธีการสำรวจพื้นที่

ลงพื้นที่ศึกษา

ลงพื้นที่สังเกตพฤติกรรม การใช้งานพื้นที่

เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บข้อมูล

การนำเสนอแนวทางการออกแบบปรับปรุงแก่ผู้นำเมือง

วิเคราะห์ / สังเคราะห์

ข้อมูลถึงข้อดี ข้อเสีย โอกาสในการพัฒนาและ

ข้อจำกัดต่าง ๆ ระบุ

ประเด็นปัญหาเพื่อ นำเข้าสู่ขั้นตอนการแก้ไข

สรุปการใช้พื้นที่สาธารณะของผู้ใช้

แรงงานในเมืองอุตสาหกรรม

สรุปผลการศึกษาการใช้พื้นที่สาธารณะของ ผู้ใช้แรงงานในเมืองอุตสาหกรรม สำรวจนำร่องด้วยแผนที่สำรวจ

เก็บภาพข้อมูลปัจจุบัน วิเคราะห์พื้นที

ที่มีศักยภาพ

เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์

ด้วยการสัมภาษณ์