• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่

2.2.1 นิยามศัพท์ คำจำกัดความ ความหมาย เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ มีความหมาย ดังนี้

1) เมืองที่มีการสร้างสรรค์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพ และสังคมอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรของชุมชน โดยให้ประชาชนในเมืองอุตสาหกรรมได้มีส่วน ร่วม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินวิถีทางของชีวิตเพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพ ชีวิตที่ดีที่สุด (ไชยยันต์ กัมปนาทแสนยากร, 2538)

2) เมืองที่มีการสร้างสรรค์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพ และสังคมอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรของชุมชน โดยให้ประชาชนในเมืองอุตสาหกรรมนั้นมีส่วน ร่วม และช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินวิถีทางของชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพ ของชีวิตที่ดีที่สุด

3) เมืองที่มีพลเมืองที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เมืองที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เมืองที่มีการจราจรดี

เมืองที่มีมลภาวะน้อยที่สุด ซึ่งสภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพลเมืองใน เมืองอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงของชุมชนนั้น (สกุนตลา ปัญ จากุล, 2556)

จากความหมายดังที่ได้กล่าวมา ความเป็นเมืองน่าอยู่จึงแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นฐาน และความต้องการของคนในเมืองอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของประชาชน และ เจ้าหน้าที่ของเมืองทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงสุดของชุมชน

2.2.2 คุณลักษณะสำคัญของเมืองน่าอยู่

แนวทางการพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ และจำแนกคุณลักษณะของเมืองน่าอยู่ (ปรีดิ์ บุรณศิริ, 2555) ดังนี้

1) ด้านกายภาพเมือง

- เป็นเมืองที่มีระเบียบ มีการจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม - มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอต่อความต้องการ

- มีระบบขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย ไม่สิ้นเปลือง

- มีสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมนันทนาการที่เพียงพอ - มีระบบการจัดการของเสียที่เหมาะสม

- มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน ราคาไม่แพง 2) ด้านสิ่งแวดล้อม

- สามารถควบคุมมลพิษต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

3) ด้านสังคม

- ประชากรได้รับการศึกษา รู้เท่าทันข่าวสาร

- มีบริการด้านสุขภาพและบริการที่จำเป็นอย่างเพียงพอ และสะดวก - มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

- มีคดีอาชญากรรม ยาเสพติดจำนวนน้อย - ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง - สิทธิของประชาชนได้รับการคุ้มครอง 4) ด้านเศรษฐกิจ

- มีบรรยากาศที่ดีสำหรับการทำมาค้าขาย และการลงทุน - ค่าครองชีพไม่แพง ประชาชนมีงานทำ

5) ด้านการบริหารจัดการ

- มีความโปร่งใส และยุติธรรม

- มีประสิทธิภาพ และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก - ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุก ๆ ขั้นตอน

2.2.3 กลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่

กลยุทธ์การพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่ในอุดมคติ (สุวัฒนา ธาดานิติ, 2550) ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง ได้แก่ การพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพทั้งกายและใจ มีระเบียบวินัย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการร่วมพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างเครือข่ายชุมชนเข็มแข็ง

2) การพัฒนาเศรษฐกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพัฒนาทางสายกลาง มี

ความสมดุล มีระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรม ความรอบรู้ สติปัญญา และความรอบคอบ พร้อมรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคโลกาภิวัตน์

3) การพัฒนาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม เป็นการดำเนินการด้านผังเมืองอย่างมี

ประสิทธิภาพ การจัดบริการพื้นฐานได้พอเพียงกับความต้องการของชุมชน สอดคล้องกับการอนุรักษ์

และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน

4) ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการสนับสนุนเร่งรัดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ตลอดจน สนับสนุนให้ประชาคมท้องถิ่น มีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารซึ่งจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการพัฒนา

5) การติดตามประเมินผล โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาคมท้องถิ่น ได้จัดทำ ดัชนีชี้วัดความเป็นเมืองน่าอยู่ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับร่วมกัน และมีกระบวนการแปลงนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาสู่เมืองน่าอยู่

6) การจัดเตรียมความพร้อมของคนและชุมชน โดยการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ และแรงสนับสนุนจากชุมชน

7) สร้างเครือข่ายให้เกิดฉันทานุมัติในการพัฒนา โดยการสร้างแนวร่วมเพื่อผลักดัน กระบวนการพัฒนาแบบพหุภาคี สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนประชาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8) ทำแผนปฏิบัติการร่วม โดยสนับสนุนให้เมืองจัดทำแผนปฏิบัติการของตนเองส่วนกลาง ให้คำปรึกษา แนะนำ และจัดทำคู่มือการจัดทำแผน ให้การสนับสนุนงบประมาณกรณีท้องถิ่นขอความ ช่วยเหลือ และให้ท้องถิ่นกับหน่วยปฏิบัติปรับแผนให้สอดคล้องกับกับแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่

9) การตามแผนการดำเนินปฏิบัติการ โดยดำเนินโครงการแบบองค์รวมเร่งรัดติดตาม แผนงานพัฒนาภูมิภาคที่ภาครัฐได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และให้เงินอุดหนุนเป็นสิ่งจูงใจให้ท้องถิ่น ปฏิบัติตามแผนงานเมืองน่าอยู่

10) การติดตามและประเมินผล ชุมชนและประชาชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการ เร่งรัดติดตาม และประเมินผล โดยกำหนดดัชนีชี้วัดที่เหมาะสมตามคุณลักษณะของแต่ละเมือง และ ชุมชน

2.2.4 เกณฑ์มาตรฐานความน่าอยู่ของเมือง 1) เกณฑ์มาตรฐานประเภทการใช้ที่ดิน

1.1) การแบ่งประเภทของการใช้ที่ดินภายในเมือง

(1) พื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ เช่น บริเวณที่มีภูมิประเทศงดงาม และมีสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ

(2) พื้นที่ที่ใช้เป็นแหล่งผลิตต่าง ๆ เช่นบริเวณเกษตรกรรม ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้

(3) พื้นที่แหล่งอุตสาหกรรม และบริเวณดึงดูดที่ทำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองแร่ และโรงงาน เป็นต้น

(4) พื้นที่อยู่อาศัยและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันรวมทั้งบริเวณ ร้านค้า โรงเรียน สถาบัน และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

(5) พื้นที่เส้นทางคมนาคมและขนส่ง เช่น ถนน และทางเดินเท้า 1.2) การแบ่งที่ดินภายในเมือง มีดังนี้

(1) การใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นสูง (2) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นประเภทปานกลาง

(3) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นต่ำ (4) อุตสาหกรรม

(5) คลังสินค้า (6) สถาบันการศึกษา (7) สถาบันราชการ (8) สถาบันศาสนา

(9) สวนสาธารณะ และที่พักผ่อนหย่อนใจ (10) สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (11) ที่ว่าง

(12) ถนน

1.3) การใช้ที่ดินของเอกชนที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินของเมือง มีดังนี้

(1) ที่อยู่อาศัย

(2) พื้นที่บริการสาธารณะสำหรับชุมชน เช่น โรงเรียน โบสถ์ และโรงพยาบาล (3) ห้างสรรพสินค้า

(4) ย่านการค้าโดยทั่วไป (5) สถานบันเทิง

(6) โรงงานทั่วไป ที่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนน้อย

(7) อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งต้องการพื้นที่มาก และก่อให้เกิดเสียงดังรบกวนมาก 1.4) การใช้ที่ดินเพื่อสาธารณะประโยชน์

พื้นที่ที่จัดไว้สำหรับบริการชุมชน เช่น ถนน เส้นทางขนส่ง สาธารณูปโภค อาคาร สาธารณะ โรงเรียน สถานศึกษา สนามเด็กเล่น และสวนสาธารณะ เป็นต้น หน้าที่ของถนน มีดังนี้

(1) เป็นช่องทางที่ให้แสงสว่าง และอากาศแก่อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ (2) ใช้เป็นเส้นทางการคมนาคม และขนส่ง

(3) เป็นช่องทางที่ใช้ป้องกันไฟไหม้

(4) เป็นตัวกำหนดขนาด และรูปร่างของ Block (5) เป็นที่วิ่งเล่นของเด็กในบางโอกาส

(6) ผิวถนนใช้เป็นเส้นทางการจราจรของรถ และใช้เป็นทางเท้า (7) ริมถนนใช้ติดตั้งเสาระบบสื่อสาร และไฟฟ้า

(8) ใต้พื้นถนนใช้วางท่อระบายน้ำ ท่อประปา ท่อโทรศัพท์ ฯลฯ โดยปกติเมือง ๆ หนึ่งในอเมริกาใช้พื้นที่ถนนประมาณ 1 ใน 3 หรือ 4 ของพื้นที่เมือง

1.5) การใช้ที่ดินเพื่อการอื่น ๆ

(1) สุสาน หรือป่าช้า อยู่ประเภทของสถาบันศาสนาหรือสาธารณูปโภค (2) อนุสาวรีย์ อยู่ในประเภทของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(3) โรงพยาบาลสัตว์ อยู่ในประเภท การพาณิชย์

(สำนักผังเมือง, 2564, pp. 14-16)

2) เกณฑ์มาตรฐานความหนาแน่นของการใช้ที่ดิน

การใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวในเบื้องต้นนั้น ในการจัดแบ่งใช้การเปรียบเทียบ เป็นอัตราส่วนส่วนร้อยละของพื้นที่ เพื่อความสะดวกในการพิจารณามาตรฐานของการเคหะแห่งชาติ

ได้กำหนดอัตราส่วนของการใช้ที่ดินของโครงการเป็นอัตราส่วนร้อยละ เพื่อประโยชน์ในการถือปฏิบัติ

สำหรับการออกแบบชุมชน และสามารถปรับให้เข้ากับขนาดของที่ดินได้ทุกแปลง ตารางที่ 3 ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของการเคหะแห่งชาติ

ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยที่ดิน ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย และที่จอดรถ

ถนนและทางเดินเท้า สนามเด็กเล่น ที่โล่งสาธารณะ องค์ประกอบอื่น ๆ (บริเวณพาณิชยกรรม สวนสาธารณะ) สถานศึกษา สนามกีฬา ลานจอดรถ ศูนย์ประกอบอาชีพต่าง ๆ

60 - 70 17 - 21 8 - 18 (การเคหะแห่งชาติ, 2564)

สำนักผังเมืองกระทรวงมหาดไทยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ที่ดินของกรุงเทพฯ และเปรียบเทียบกับ 41 เมืองที่ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2522 โดยใช้

พื้นที่ของเทศบาลเมือง 41 แห่ง คือ เทศบาลเมือง กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา เชียงราย เชียงใหม่ ชุมแพ ตาก สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นครพนม น่าน พิษณุโลก มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ราชบุรี ร้อยเอ็ด เลย ลำปาง ลำพูน ศรีษะเกษ สกลนคร สมุทรสงคราม สระบุรี สตูล สุโขทัย อุดรธานี หนองคาย และเทศบาลเมืองพล