• Tidak ada hasil yang ditemukan

เทศบาลนครอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มีพื้นที่รวม ประมาณ 30.40 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 14,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.48 ของพื้นที่จังหวัด สมุทรสาครลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน เป็นพื้นที่ที่มีคลองจำนวน 13 คลอง มีสภาพชลประทานที่ค่อนข้างดี โดยมีแม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหสัก เทศบาลนครอ้อมน้อย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด สมุทรสาคร เป็นระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง ประมาณ 21 กิโลเมตร เทศบาลนครอ้อมน้อยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลไร่ชิงและตำบลกระทุ่มล้ม จังหวัดสมุทรสาคร ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ้อมใหญ่ จังหวัดสมุทรสาคร ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสวนหลวงและตำบลท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร

ภาพที่ 36 ขอบเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย (เทศบาลนครอ้อมน้อย, 2564) 4.2.2 ด้านคมนาคม

การคมนาคมและขนส่งของเทศบาล สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างสะดวกมี

ถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอและพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครและ จังหวัดสมุทรสาคร

- ทางหลวงแผ่นตินหมายเลข 3093 (ถนนเศรษฐกิจ 1) เริ่มต้นจากแยกถนนเพชรเกษม บริเวณกิโลเมตรที่ 25 ผ่านพื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย มุ่งสู่ที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน ตลาดมหาชัย

- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3330 (ถนนพุทธมณฑลสาย 4) - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3434 (ถนนพุทธมณฑลสาย 5)

พื้นที่เทศบาลนครอ้อมน้อย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และบางส่วนเป็นพื้นที่

เกษตรกรรมมีการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคสาธารณูปการเกิดขึ้นมากมาย จึงทำให้ปริมาณยวดยานขนส่งสินค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นจำนวนมากที่วิ่งผ่าน มีปริมาณ รถยนต์ในแต่ละวันค่อนข้างมาก ปริมาณรถยนต์หนาแน่นในช่วงเช้าและเย็น จุดที่มีการจราจร

หนาแน่นช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วน และช่วงเทศกาลสำคัญหรือที่มีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน ได้แก่ แยกสาครเกษม และแยกอ้อมน้อย จุดที่เกิดเหตุบ่อย ได้แก่ แยกอ้อมน้อย แยกเพชรเกษม 87 และแยกพงษ์ศิริชัย 1 (สถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบน, 2564)

4.2.3 ด้านแรงงาน

เทศบาลนครอ้อมน้อยเป็นเขตอุตสาหกรรมทางการผลิต การพาณิชยกรรมและการขนส่ง สินค้าทำให้มีจำนวนประชากรขาวต่างด้าวที่เข้ามาเป็นแรงงานจำนวนมาก

ตารางที่ 21 แสดงจำนวนบุคคลต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประวัติและออกเอกสารรับรองบุคคล ณ สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครอ้อมน้อย

สัญชาติ ชาย หญิง รวม

ลาว 154 163 317

กัมพูชา 321 278 599

พม่า 3,914 3,183 7,079 รวมทั้งสิ้น 2,525 2,063 4,588 (เทศบาลนครอ้อมน้อย, 2564)

4.2.4 ด้านการใช้ประโยชน์อาคาร

ผู้วิจัยทำการสำรวจพื้นที่ศึกษาจริง คือ บริเวณรอบสถานประกอบการโรงงานบริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของพื้นที่เขตเทศบาลนครอ้อมน้อย บนถนน

สุขาภิบาล 2 ซึ่งเป็นถนนที่สามารถเชื่อมต่อไปยังถนนพุทธมณฑลสายสี่และพุทธมณฑลสายห้าได้ ใน รัศมี 1 กิโลเมตร โดยเลือกสำรวจประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามประเด็นคำถามหลักในการทำ วิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทพาณิชยกรรมและตลาด 2) ประเภทโรงงาน

3) ประเภทที่อยู่อาศัย

4) ประเภทพื้นที่ว่าง พื้นที่นันทนาการ

ภาพที่ 37 สภาพการพักอาศัยของแรงงาน ภาพที่ 38 ร้านค้าบริเวณพื้นที่ศึกษา

ภาพที่ 39 ตลาดนัดถนนสุขาภิบาล 2 ภาพที่ 40 ย่านพาณิชยกรรมซอยเพชรเกษม 124

ภาพที่ 41 การใช้ประโยชน์อาคาร บริเวณเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ภาพที่ 42 การใช้ประโยชน์อาคาร ประเภทพาณิชยกรรมและตลาด

ภาพที่ 43 การใช้ประโยชน์อาคาร ประเภทโรงงาน

ภาพที่ 44 การใช้ประโยชน์อาคาร ประเภทที่อยู่อาศัย

ภาพที่ 45 การใช้ประโยชน์อาคาร ประเภทพื้นที่ว่างและพื้นที่นันทนาการ