• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดกระท าและการวิเคราะห์ข้อมูล

2. ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

5. การจัดกระท าและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. พื้นที่ศึกษา

1.1 ที่ตั้ง

อ่าวไทยเป็นน่านน ้าภายในของประเทศไทยที่อยู่ด้านในสุดของทะเลจีนใต้และตั้งอยู่

ทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่าง ละติจูด ที่ 6° ถึง 13.5° เหนือ ลองจิจูด ที่

99° ถึง 105° ตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 198,418 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นอ่าวกึ่ง ปิด ล้อมรอบด้วยชายฝั่งของคาบสมุทรมลายูทางตะวันตกและทิศเหนือ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย เป็นช่องเปิดระหว่างปลายแหลมญวน ประเทศเวียดนามและ เมืองโกตาบารูของประเทศมาเลเซีย และมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ (คณะอนุกรรมการ จัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, 2562)

1.2 ลักษณะทางกายภาพ

อ่าวไทย มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 44 เมตร ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่บริเวณกลางอ่าว มีความลึกประมาณ 86 เมตร ภาพประกอบ 10 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะเกิดจาก การสะสมตัวของตะกอนในแนวเหนือใต้ ท าให้เกิดแอ่งขนาดใหญ่ 2 แอ่ง คือ แอ่งด้านตะวันออก และแอ่งด้านตะวันตก เกิดจากสันเขาใต้น ้าเป็นตัวกั้น สันเขาใต้น ้าทางฝั่งตะวันออกเป็นแนวมา จากแหลมคาเมามีทิศทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร มีความลึกประมาณ 25 เมตร ส่วนสันเขาใต้น ้าฝั่งตะวันตก มีลักษณะการวางตัวตามแนวยาวจากโกตาบารูทางใต้ไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 160 กิโลเมตร มีความลึกประมาณ 50 เมตร ระหว่างสันเขา ทั้งสองแนวเป็นร่องน ้าลึก (sill depth) มีความลึก 67 เมตร สันเขาใต้น ้านี้เป็นตัวควบคุมการไหล ของน ้าระดับล่างในอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือจะตื้นและเรียบกว่าชายฝั่ง

ตะวันตกเฉียงใต้ และหินฐานที่รองรับแอ่งในอ่าวไทยเป็นหินที่เกิดก่อนสมัยอีโอซีน สันนิษฐานว่า ประกอบด้วยหินแปร หินอัคนี และหินตะกอน

ภาพประกอบ 10 ลักษณะทางกายภาพของอ่าวไทย ที่มา : Pramot Sojisuporn et al. (2010)

การแบ่งเขตอ่าวไทยในทางสมุทรศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. ตอนในหรืออ่าวไทยตอนบน (inner gulf หรือ upper gulf)

อ่าวไทยตอนใน (inner gulf of thailand) อยู่บริเวณทางทิศเหนือของอ่าว มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร ก ของพยัญชนะไทย มักถูกเรียกว่า อ่าวตัว ก มีอาณาเขตตั้งแต่ชายฝั่งของ ต าบลห้วยทรายเหนือ อ าเภอชะอ า ในจังหวัดเพชรบุรีที่ละติจูด 12° 35’ 45” พิลิปดาเหนือ ลองจิจูด 49° 47’ 30” ตะวันออก ขึ้นเหนือไปตามพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ไปทางตะวันออกซึ่ง เป็นพื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการและฉะเชิงเทราและลงไป ทางใต้ตามแนวชายฝั่งจังหวัดชลบุรี จนถึงแหลมช่องแสมสาร อ าเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่ละติจูด 12° 35’ 45” เหนือ ลองจิจูด 100° 27’ 30” ตะวันออก ตามพระราชบัญญัติก าหนดพื้นที่เขตจังหวัด ในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502

อ่าวไทยตอนในเป็นระบบนิเวศน์แบบเอสทูรี (estuary) ขนาดใหญ่ หมายถึง พื้นที่บริเวณปากแม่น ้าที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลม มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตลอดเวลา ซึ่งอ่าวไทยได้รับน ้าจืดจากแม่น ้า 4 สาย คือ แม่น ้าแม่กลอง แม่น ้าท่าจีน แม่น ้าเจ้าพระยา และ แม่น ้าบางปะกง ท าให้บริเวณชายฝั่งของอ่าวไทยตอนในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารและที่หลบ ภัยของสัตว์ทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจรวมถึงนกที่หากินตามชายฝั่งทั้งนกที่อยู่ประจ าถิ่นและนก อพยพ ในส่วนพื้นทะเลของอ่าวไทยตอนในประมาณร้อยละ 60 ประกอบด้วยตะกอนโคลนทะเลปน ด้วยเศษเปลือกหอย ดินตะกอนมีสีเทาอมเขียว เขียวเทา เทา ด า น ้าตาลและน ้าตาลเข้ม รองลงมา เป็นตะกอนโคลนปนทรายร้อยละ 20 สีเทาอมเขียว เขียวเทา ทรายที่เป็นองค์ประกอบเป็นทราย ละเอียด มีเศษเปลือกหอยปนร้อยละ 0 - 30 พื้นตะกอนที่เป็นทรายปนโคลนทะเลและตะกอนทราย พบสะสมจากชายฝั่งและบริเวณรอบเกาะต่าง ๆ

2. อ่าวไทยตอนนอกหรืออ่าวไทยตอนล่าง (outer gulf)

อาณาเขตของอ่าวไทยตอนนอกหรืออ่าวไทยตอนล่าง เป็นส่วนที่ต่อจากอ่าว ไทยตอนในลงไปทางใต้ จนถึงแนวเส้นต่อเชื่อมระหว่างแหลมคาเมา ของประเทศเวียดนาม ที่ละติจูด 8° 36' เหนือ กับส่วนเหนือของฝั่งตะวันออกของปากแม่น ้าตรังกานู เมืองโกตาบารู ใน ประเทศมาเลเซีย ที่ละติจูด 6° 14’ เหนือ ลองจิจูด 102°15’ ตะวันออก มีลักษณะคล้ายรูปกระทะคือ บริเวณที่มีความลึกที่สุดอยู่กลางอ่าวเป็นร่องลึก (depression) ซึ่งมีความลึกไม่เกิน 85 เมตร แล้ว ค่อย ๆ ตื้นขึ้นตามแนวลาดชันของขอบฝั่งทะเล ตะกอนที่พื้นท้องทะเลกลางอ่าวไทยเป็นโคลนปน ทรายหรือโคลน แต่พื้นทะเลของอ่าวไทยฝั่งตะวันตกจะไม่เป็นเนื้อเดียวกันโดยพบตะกอนพื้นทะเลที่

เป็นโคลน โคลนปนทราย โคลนปนทรายขี้เป็ด ทรายปนโคลน และทราย กระจายเป็นแห่ง ๆ (คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, 2562)

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

อ่าวไทย มีลักษณะภูมิอากาศ 2 แบบ เกิดจากลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มประมาณ เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรอินเดียเกิดจากความกดอากาศต ่า ท าให้

อ่าวไทยฝั่งตะวันออกมีฝนตกในพื้นที่ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มประมาณเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคม พัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือเกิดความกดอากาศสูง ท าให้

บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตกตั้งแต่ชายฝั่งจังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดนราธิวาสมีฝนตกในพื้นที่

1.4 ลักษณะทางอุทกวิทยา

แหล่งน ้าที่ส าคัญที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ได้แก่ แม่น ้าเจ้าพระยา แม่น ้าแม่กลอง แม่น ้าท่า จีน แม่น ้าบางปะกง และแม่น ้าสายอื่น ๆ ดังนั้นอ่าวไทยเป็นพื้นที่ที่ได้รับน ้าจืดจากน ้าท่า (river runoff) หรือน ้าที่มาจากแม่น ้าซึ่งเป็นมวลน ้าที่มารวมกันจากฝนที่ตกลงมาในล าน ้า น ้าผิวดิน น ้าใต้

ผิวดินและน ้าใต้ดิน น ้าท่ารวมทั้งฝนที่ตกในทะเลและการระเหยที่ผิวหน้าน ้าทะเลท าให้ความเค็ม ของน ้าทะเลเจือจางลงและมีผลให้ความหนาแน่นของน ้าเปลี่ยนแปลงไป

1.5 กระแสน ้าและการไหลเวียนของน ้า

กระแสน ้าในอ่าวไทยทั้งอ่าวได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ในช่วงลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ กระแสน ้าที่ผิวในอ่าวไทยเคลื่อนที่เป็นวงแบบตามเข็มนาฬิกา ส่วนในช่วงลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กระแสน ้าในอ่าวเคลื่อนเป็นวงแบบทวนเข็มนาฬิกา อิทธิพลของลมมรสุม ท าให้มวลน ้าทะเลในอ่าวไทยตอนในไหลเวียนอยู่เฉพาะในอ่าวตอนในไม่มีการถ่ายเทออกสู่ทะเล อ่าวไทยตอนล่าง ยกเว้นการแลกเปลี่ยนของมวลน ้าระดับลึกที่บริเวณปากอ่าวตอนในที่ติดต่อกับ อ่าวไทยตอนล่าง

กระแสน ้าบริเวณอ่าวไทยตอนใน มีกระแสน ้าที่ไม่แรงและไม่สม ่าเสมอได้รับอิทธิพล จากกระแสน ้าขึ้นน ้าลง ในระหว่างช่วงน ้าขึ้น กระแสน ้าไหลขึ้นไปทางทิศเหนือและกลับทิศกันใน ขณะที่น ้าลง ก าลังแรงของกระแสน ้าผันแปรตามคาบเวลาน ้าขึ้น - น ้าลง ส่วนกระแสน ้าบริเวณอ่าว ไทยตอนล่างมีทิศทางเช่นเดียวกับอ่าวไทยตอนใน แต่กระแสน ้าที่ระดับความลึก 10 - 40 เมตร จะไหลในทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสน ้าที่ผิว และกระแสน ้าในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างได้รับ อิทธิพลของน ้าจากทะเลจีนใต้มากกว่าบริเวณอ่าวไทย (คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อ ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, 2562)

1.6 มาตรการด้านการประมงในพื้นที่ศึกษา

อ่าวไทยมีมาตรการทางกฎหมายควบคุมการท าประมงในฤดูของสัตว์น ้ามีไข่ วางไข่

เลี้ยงตัวอ่อน ทั้งหมด 4 ช่วงเวลา เพื่อเป็นการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทาง ธรรมชาติและรักษาทรัพยากรสัตว์น ้าและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน อ านาจตามพระราชก าหนด การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ตามภาพประกอบ 11 มีรายละเอียดดังนี้

1. ก าหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น ้ามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น ้า บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร (ปิดอ่าวตัว ก ฝั่งตะวันตก) ระยะเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน - 15 สิงหาคม ของทุกปี ครอบคลุมพื้นที่

ประมาณ 2,350 ตารางกิโลเมตร

2. ก าหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น ้ามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น ้า บางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี (ปิดอ่าวตัว ก ฝั่งตะวันออก) ระยะเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 30 กันยายน ของทุกปี ครอบคลุมพื้นที่

ประมาณ 1,940 ตารางกิโลเมตร

3. ก าหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น ้ามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น ้า บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน ของทุกปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตร

4. ก าหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น ้ามีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น ้า บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 16 พฤษภาคม ของทุกปี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,900 ตารางกิโลเมตร

ภาพประกอบ 11 พื้นที่ก าหนดมาตรการด้านประมง

2. ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย

ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้สามารถจ าแนกได้ตารางที่ 4 ดังนี้

ตาราง 4 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย

ข้อมูล หน่วย ความ

ละเอียด เชิงพื้นที่

ความ ละเอียด เชิงเวลา

รูปแบบ ไฟล์

ช่วงเวลา แหล่งที่มา

1. ข้อมูล ต าแหน่งจับ ปลา

- - รายวัน Excel 2562 - 2563 กรมประมง

2. ข้อมูล คลอโรฟิลล์ เอ

mg/m3 300 m 27 วัน NetCDF 2562 - 2563 ดาวเทียม

Sentinel 3

https://eoportal.

eumetsat.int/

3. ข้อมูล อุณหภูมิผิวน ้า ทะเล

°C 1,000 m 27 วัน NetCDF 2562 - 2563 ดาวเทียม

Sentinel 3 https://eoportal.

eumetsat.int/

4. ข้อมูล ความสูง ระดับน ้าทะเล

m ~ 8,000 m (0.083° x 0.083°)

รายวัน NetCDF 2562 - 2563 http://marine.

copernicus.eu/

5. ขอบเขต เศรษฐกิจ จ าเพาะ ประเทศไทย

- - - Shapefile - การก าหนดเขต

เศรษฐกิจ จ าเพาะตาม อนุสัญญา สหประชาชาติว่า ด้วยกฎหมาย ทะเล ค.ศ. 1982