• Tidak ada hasil yang ditemukan

การถ่ายทอดท่ารําหน้าพาทย์ชั นสูง

57

นั น อาจจะมีการเปลียนแปลงหรือไม่เปลียนแปลงไปตามความเหมาะสมของปัจจัยแวดล้อม ซึง จารีตบางประการสอดคล้องกับปรัมปราประเพณีด้วย

กระบวนการรําหน้าพาทย์ชั นสูง พิธีไหว้ครูครอบโขนละคร การเรียนการสอนหรือ ต่อท่ารําหน้าพาทย์ชั นสูง การนํารําหน้าพาทย์ชั นสูงไปใช้ และการแสดงความเคารพเมือได้ยิน เสียงเพลงหน้าพาทย์ชั นสูง ผู้ทีเป็นนาฏศิลป์ทั งโดยอาชีพหรือสมัครเล่น จะปฏิบัติตนตาม ประเพณีทีเกียวข้องกับรําหน้าพาทย์ชั นสูงมาช้านาน เนืองจากเชือกันว่า การขาดการใส่ใจและ ละเลยทีจะปฏิบัติตามขนบและจารีต เป็นเรืองไม่สมควรเป็นอย่างยิง แม้ว่าจะไม่มีบทลงโทษใดๆ ทีตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็จะถือกันว่าเป็นเรืองทีก่อให้เกิดความอัปมงคลแก่ตัวเอง เป็น ความไม่ดีติดตัวได้ ดังนั นจารีตของการรําหน้าพาทย์ชั นสูงจึงมีความสําคัญทีต้องศึกษา ซึง จําแนกได้ดังนี

58

เมือปี พ.ศ. 2551 ผู้วิจัยได้เคยไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวเนปาล ณ เมืองกาฐมัณฑุ

เมืองปาทัน หรือลาลิตปูร์ บักตาปูร์ นากาโก๊ด โภคครา ลุมพินีและจิตตวัน พบว่าทุกหนแห่งจะมี

เทวรูปพระไภราพ โดยเฉพาะตรงประตูทางเข้าพระราชวัง วัดและบ้าน และมีการสัการะบูชาเริม ตั งแต่เช้ามืดจนถึงคําคืน เพราะเชือว่าโรคร้ายทั งหลายจะหายไปได้ บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ภยันอันตรายและอาถรรพณ์ร้ายทั งปวง ช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง ขจัด เสนียดและประทานพรให้ด้วย จึงเป็นเทพเจ้าทีเป็นทีนับถือและเกรงกลัวมาก พระไภราพใน เนปาลนั นมีรูปลักษณะน่ากลัวต่างๆ กันมีทั งทีเป็นหินและสําริด นอกจากเทวรูปเต็มองค์แล้ว ยังมี

ทีทําเฉพาะเศียรสําริดแลบลิ นแยกเขี ยว ตาถลนน่ากลัวอีกด้วย

ภาพที 3.1 “พระไภราวะ” “ไภรพ” หรือ “ไภราพ” ปางหนึงของพระศิวะ

ทีมา: ผู้วิจัย

ภาพที 3.2 ชาวเนปาลสักการะพระไภราพ”

ด้วยความศรัทธา ทีมา: ผู้วิจัย

59

พระไภราพมีความสัมพันธ์โดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะนอกจากจะเป็นปางหนึง ของพระศิวะหรือพระอิศวรผู้สร้างท่ารําให้แก่มนุษย์แล้ว ยังให้กําเนิดการฟ้อนรําแบบหนึงที

เรียกว่า “วิจิตรตาณฑวะ” ซึงเป็นท่ารําทีวิจิตรพิสดารท่าหนึงของกรณะ 108 ท่า พระไภราพนี เป็น ทีนับถือเคารพบูชาและเกรงกลัวยิงในหมู่นาฏศิลปินอินเดีย แถบลุ่มนํ าคงคา โอริสา มหานทีและ จันทรภาค โดยเฉพาะทีเมืองพาราณสี ชาวเมืองพาราณสีมีรูปเคารพทีภาษาพื นเมือง เรียกว่า “กาศีลิงคพิราปฺปา” มีลักษณะเป็นเสาหลักมียอดเป็นหัวยักษ์ผู้คนนิยมเซ่นสังเวยด้วยเนื อ ดิบและเหล้า เชือว่าเป็นตํารวจ แทนองค์พระอิศวรวิศวนารถผู้เป็นประธานในพาราณสี คอยฟาด ฟันผู้บังอาจกระทําความชัวในเมืองนั น คําว่า “พิราปฺปา” ในภาษาพื นเมืองพาราณสี น่าจะเป็น ทีมาของคํา “พิราพป่า” ในภาษาไทย (http://www.hindumeeting.com) และก็น่าทีจะเป็นไปได้

อีกเช่นกันว่า “พระไภราพ” อาจจะเป็นทีมาของคําว่า พระพิราพ อันเนืองด้วยการแผลงอักษรและ แผลงสระ เป็นเทพเจ้าทีมีบทบาทสําคัญทางจิตใจของศิลปินไทย จะเห็นได้จากการแสดงโขน ละครและมหรสพต่างๆ จะอัญเชิญศีรษะพระพิราพและพระภรตฤๅษี มาตั งเป็นประธานสําหรับ ศิลปินให้ได้เคารพสักการะตลอดการแสดงเสมอ

ประเด็นสําคัญก็คือ เมือพิจารณาวรรณกรรมเรืองรามเกียรติ จะพบว่าพิราพเป็น เพียงตัวละครตัวหนึงทีมีบทบาทน้อยมาก เริมจากพระอิศวรมีเทวราชบัญชาให้จุติมาเกิดเป็นอสูร ชือ “พิราพ” ครองแคว้นอัศกรรณ พิราพเป็นอสูรทีมีฤทธิ มาก เพราะได้กําลังจากพระเพลิงและ พระสมุทร มีสวนสําหรับเป็นทีพักผ่อนหย่อนใจและได้ปลูกต้นชมพู่พวาทองไว้ โดยมีบริวารคือ พวกรากษสทีเป็นยักษ์ดุร้ายคอยดูแลรักษา บรรดาสิงสาราสัตว์ทีพลัดหลงเข้ามาในบริเวณนั น ถือ เป็นกรรมสิทธิ ทีพิราพสามารถจับกินได้ ครั งหนึงพิราพได้ขึ นไปเทียวเล่นบนสวรรค์ ได้กําชับ บริวารให้ดูแลสวนไม่ให้ใครเข้ามาได้ เมือครบ 7 วันจะกลับมา ครั นพระราม พระลักษมณ์ และ นางสีดา หลงเข้ามาในสวนเห็นความร่มรืน จึงเข้าพักและเก็บผลไม้เสวย พวกรากษสได้เข้าไปขับ ไล่ แต่ถูกพระลักษมณ์ไล่ตีบาดเจ็บ ล้มตายลงจํานวนมาก ประจวบกับครบกําหนด 7 วันพอดี พิ

ราพกลับมาพบว่ามีผู้บุกรุกและบริวารตายจํานวนมาก จึงเกิดบันดาลโทสะ แต่ครั นเห็นนางสีดาก็

เกิดปฏิพัทเข้าชิงนางเพือเป็นของตน พระรามจึงแผลงศรทําลายความมืด เห็นพิราพอุ้มนางสีดา อยู่ก็เข้าไปแย่งนางกลับมาได้ แล้วแผลงศรพรหมาสตร์สังหารพิราพสิ นชีวิต

จะเห็นได้ว่าพิราพในรามเกียรติ เป็นยักษ์พาล ไม่น่าเลือมใสศรัทธาและไม่มี

บทบาทสําคัญในเชิงความศักดิ สิทธิ หรือให้คุณให้โทษต่อความเชือของนาฏยดุริยางคศิลปินแต่

ประการใด จึงเป็นไปได้หรือไม่ทีการตีความบทโขน บทละครของผู้ทีทําบทมีความเข้าใจแตกต่าง กันเช่นนั น ทําให้เกิดความสับสนในเรืองราวขององค์พระพิราพ โดยเฉพาะเรืองรําหน้าพาทย์องค์

60

พระพิราพทีใช้แสดงในเรือง ประเด็นทีน่าคิดต่อไปอีกก็คือ ถ้าหากพิราพในรามเกียรติ คือองค์

เดียวกันกับพระพิราพซึงเป็นปางหนึงของพระอิศวร พระรามจะฆ่าพระพิราพตายได้อย่างไร ใน เมือพระรามคือพระนารายณ์อวตารและพระพิราพคือพระอิศวรเทพเจ้าผู้ยิงใหญ่ทีสุดของชั นเทพ

จากการวิเคราะห์ของประเมษฐ์ บุณยะชัย(2540) ในเรืองเดียวกันนี ได้เสนอ ข้อคิดในเชิงบวกทีน่าสนใจยิง โดยเสนอให้เห็นว่าเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพนั นถือว่าเป็น เพลงอัญเชิญเทพเจ้า ทีไม่เกียวข้องกับตัวละครชือ พิราพ ในเรืองรามเกียรติ แต่เป็นการเชิญเทพ อสูร อันมีนามว่า พระพิราพ ซึงเชือว่า พระพิราพ เป็นปางดุร้ายของพระอิศวร แต่ด้วยความชาญ ฉลาดแห่งภูมิปัญญาของโบราณจารย์ ทางด้านนาฏดุริยางค์ทีได้ผนวกความเชือพระพิราพ ในรูป

“เทพเจ้า” และ “ตัวโขน” เข้าเป็นอันหนึงอันเดียวกัน โดยนําเพลงหน้าพาทย์เฉพาะองค์พระพิราพ ในฐานะเทพเจ้า ซึงไม่มีโอกาสนําไปใช้กับการแสดงอืนได้นั น มาบรรจุเข้าในการแสดงโขน ตอน พระรามเข้าสวนพิราพ ได้อย่างลงตัว

ผู้วิจัยได้พบข้อมูลเพิมอีกคือ เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ คือ เพลงรัวสามลา ขยาย หมายถึง เพลงทีขยายจากเพลงหน้าพาทย์รัวสามลาอีกต่อหนึง (สมาน น้อยนิตย์, สัมภาษณ์, 8 สิงหาคม 2553) ก่อนทีจะแสดงโขน ตอนพิราพ หรือ ตอนพระรามเข้าสวนพิราพนี ผู้

แสดงเป็นพิราพจะต้องออกมารําเบิกโรงด้วยการรําหน้าพาทย์องค์พระพิราพก่อน อุปกรณ์การ แสดงทีพิราพใช้คือ มือซ้ายกําก้านมะยม 1 กํา(มีใบติด) เพือปัดรังควาญและเสนียดจัญไร มือขวา ถือหอกยาว การรําเบิกโรงก็เพือเชิญองค์พระพิราพ ให้เข้ามาประทับในร่างของพิราพในเรือง ร่าง นั นก็จะกลายสภาพเป็นองค์พระพิราพ(ประพันธ์ สุคนธะชาติ, 2522: 30) จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า การรําหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นการรําบวงสรวงถวายองค์พระพิราพ เพือขอเดชาบารมีให้มา คุ้มครองรักษา พร้อมทั งประสิทธิพรชัยมงคลให้แก่บรรดาสานุศิษย์ทีดําเนินการแสดง ตลอดจน ผู้ชมก็อาจเป็นได้

ดังนั นรําหน้าพาทย์องค์พระพิราพทีปรากฏจึงเป็นรําหน้าพาทย์ทีใช้ใน 2 นัยคือ พระพิราพปางหนึงของพระอิศวร และพิราพตัวละครในเรืองรามเกียรติ ด้วยเหตุทีพระพิราพไม่ใช่

ยักษ์ธรรมดา แต่เป็นพระไภราพ ปางดุร้ายของพระอิศวร มหาเทพแห่งการทําลาย ความตายและ ชีวิต อีกทั งเป็นผู้ให้กําเนิดนาฏศิลป์ ดังนั นในการรําหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ผู้รําจึงไม่ใช่แสดง ตัวยักษ์ธรรมดาแต่รําเป็นมหาเทพ เช่นเดียวกับการเป็นศิวะนาฏราช เป็นทั งการสร้างสรรค์และ การทําลายอยู่ในตัว ทรงเหยียบอสูรไว้ด้วยพระบาทขวา หมายถึง การทําลายความชัว พระบาท ซ้ายยกขึ นในท่ารํางดงาม แสดงออกถึงการสร้างสรรค์ศิลปะ รัศมีรอบๆ กายเป็นวงเปลวเพลิง หมายถึง การหมุนเวียนของจักรวาล(พูลผล อรุณรักถาวรและคณะ, 2548: 3) ม.ร.ว.คึกฤทธิ

61

ปราโมช (2521: 7) ได้กล่าวว่า การร่ายรําของพระอิศวรเป็นการเคลือนไหวทั งจังหวะและลีลาของ ธรรมชาติทีทําให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีเรียกว่าเป็น COSMIC เมือใดทีพระอิศวรหยุดร่ายรํา เมือนั น โลกก็จะดับไปด้วย หากจะมองวิเคราะห์ถึงท่าร่ายรําทีสือสารถึงอํานาจและความขลังของพระ พิราพ พบว่า ลักษณะท่ารําของหน้าพาทย์องค์พระพิราพ มีรูปแบบใกล้เคียงกับท่ารําของพระ อิศวรในการแสดง กถกฬิของอินเดีย ตอนทีแปลงกายเป็นดาบสลงมาปราบฤๅษีทุศีล เพราะเป็น การร่ายรําทีเต็มไปด้วยพลังอํานาจ ทั งงดงามและดุดันเช่นเดียวกับการรําหน้าพาทย์องค์พระ พิราพของนาฏศิลป์ไทย (สุรพล วิรุฬห์รักษ์, สัมภาษณ์, อ้างถึงใน ประเมษฐ์ บุณยะชัย, 2540:

20)ด้วยบริบทของพระพิราพ ดังได้กล่าวมา รําหน้าพาทย์องค์พระพิราพจึงมีจารีตทีสําคัญดังนี

3.1.1 การเลือกผู้จะได้รับการถ่ายทอดท่ารํา การรําพระพิราพเต็มองค์

เกิดขึ นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยานัฎกานุรักษ์(ทองดี สุวรรณ ภารต) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารําและต่อท่ารําให้นายรงภักดี(เจียร จารุจรณ) เป็นคนแรก เมือวันที 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ต่อมานายรงภักดีได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที 9 ณ ศาลาผกาภิรมย์ เมือวันที 21 ตุลาคม พ.ศ. 2504 โปรดเกล้าฯ โดยให้บรรยายถึงพิธีการถ่ายทอด วิชาชั นสูงสุดนี

ภาพที 3.3 นายรงภักดี(เจียร จารุจรณ) รําหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ทีมา : http://th.wikipedia.org/wiki:RongPakdee-6DLC.jpg