• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจําแนกประเภทรําหน้าพาทย์

2.1 ความเป็นมาของ “หน้าพาทย์”

ดนตรีกับนาฏศิลป์ไทยเป็นส่วนหนึงของชีวิตคู่กับคนไทยมาแต่โบราณกาล แต่ยัง ไม่มีหลักฐานใดทีสามารถบ่งบอกได้ว่า เพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงทีเกิดขึ นเพือใช้บรรเลงโดยทัวไป อันเนืองมาจากความเกียวพันกับการดําเนินชีวิตของคนไทยในพิธีกรรมของราษฏร์และของหลวง ก่อน หรือว่าเกิดขึ นเพราะเพือใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนละครก่อนกัน จุดประสงค์ใดมา ก่อนหลัง หรือมาพร้อมๆ กันนั น ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้แน่ชัด และไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกถึง ระยะเวลาทีเพลงหน้าพาทย์เกิดขึ นครั งแรกและใครเป็นผู้ประพันธ์อีกด้วย เพลงหน้าพาทย์ไม่ใช่

เพลงประเภทบรรเลงเพือความบันเทิง เพราะเพลงแต่ละเพลงมีนัยในตัวเอง เกียวพันกับเรืองความ เชือในเทพเจ้าและการเคลือนไหวของเทพเจ้าในอาการต่างๆ รวมถึงการกระทําการของตัวละครผู้มี

ฤทธิ โดยใช้เพลงเป็นเครืองหมาย

มีประเด็นทีน่าสนใจอย่างยิง ในการทีจะวิเคราะห์ถึงทีมาของเพลงหน้าพาทย์โดย อาศัยปัจจัยทีเกียวข้องกับศิลปะการแสดง การแสดงของไทยทีเก่าแก่และทีเล่นเป็นเรืองราวซึงมี

30

หลักฐานปรากฏชัดเจน ได้แก่ หนังใหญ่ หุ่น โขนและละคร ซึงมีมาตั งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วนั น สังเกตได้ว่าขนบร่วมกันของการแสดงมหรสพเหล่านี ทีเด่นชัดก็คือ ก่อนการแสดงจะต้องมีการ บรรเลงเพลงโหมโรง ซึงเป็นเพลงหน้าพาทย์ และสามารถพิเคราะห์ได้อีกว่า ในบรรดาการแสดงที

เป็นเรืองราวเหล่านี “หนังใหญ่” เป็นมหรสพทีเก่าแก่ทีสุด เมือพิจารณาถึงลักษณะวิธีการแสดง หนังใหญ่ ก็จะพบอีกว่าหนังใหญ่มีลักษณะการแสดงทีจําเป็นต้องใช้ดนตรีสือความหมายประกอบ อากัปกิริยาของตัวละครมากทีสุด จึงสันนิษฐานได้ว่า เพลงหน้าพาทย์ น่าจะมีมาพร้อมกับการ แสดงหนังใหญ่เป็นอย่างน้อย เพราะการแสดงหนังใหญ่ ไม่มีการขับร้อง แต่จะมีการพากย์เป็นหลัก ซึงไม่ต้องมีดนตรีรับ-ส่งร้อง การพากย์สือสารเรืองราวทีแสดงให้ผู้ชมรู้ถึงเนื อเรืองและเหตุการณ์ใน เรืองนั น เมือพากย์จบแต่ละบทๆ จะต้องตามด้วยการบรรเลงเพลงประกอบอากัปกิริยาของตัว ละครตามเนือเรืองเสมอ (ในทีนี ตัวละครคือตัวหนัง) ซึงเพลงบรรเลงดังได้กล่าวมาก็คือเพลงทีเรียก กันว่า “เพลงหน้าพาทย์”

หนังใหญ่เป็นมหรสพโบราณทีมีพิธีกรรมหลายอย่างใกล้เคียงกับโขน หรืออาจเป็น ทีมาของโขนด้วย การเล่นหนังใหญ่ในงานสมโภชต่างๆ มีมาแล้วตั งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าในครั งนั นเล่นเรืองอะไร ในกฎมณเฑียรบาล ซึงตราขึ นในรัชกาลสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ กล่าวถึงมหรสพต่างๆ ในพระราชพิธีจองเปรียงว่า

“...ลูกขุนเฝ้าหน้าเรือเบญจา เรือตะเข้แนมทังสองข้าง ซ้ายดนตรี

ขวามโหรี ตั งเรือเอนเปนตั งแพนโคมทุกลํา ถ้าเสดจ์ลงเป่าแตรโห่ 3 ลา เล่นหนัง ระบํา เลี ยงลูกขุนแลฝ่ายใน ครั นเลี ยงแล้วตัดถมอแก้เอน โห่ 3 ลา เรือเอนตั ง แพนแห่ ตัดถมอลอยเรือพระธินังล่องลงไปส่งนํ า ครั นถึงพุทไทสววคจุดดอกไม้

เล่นหนัง” (กรมศิลปากร, 2552 : 11)

ผู้วิจัยได้เคยไปกรุงพนมเปญและเสียมราฐ 2 ครั งเมือปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549 ยังพบว่าทีเมืองเสียมเลียบนั นมีหมู่บ้านทําหนังใหญ่และยังมีการแสดงหนังใหญ่อยู่ ซึง ไม่แตกต่างจากหนังใหญ่ของไทยเราในปัจจุบัน จึงควรทีจะได้มีการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของ หนังใหญ่ของทั งสองประเทศในโอกาสต่อไป เพราะเมือครั งทีสมเด็จพระรามาธิบดีที 1 (พระเจ้าอู่

ทอง) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา และทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานีนั น ได้ทรงแผ่

31

ขยายพระราชอาณาเขต โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสและขุนหลวง พะงัว(พระเชษฐาของพระมเหสีของพระเจ้าอู่ทอง) ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ได้สําเร็จใน ปี พ.ศ.1895 ถึงกระนั นกัมพูชาก็มีท่าทีไม่เป็นไมตรีกับทางกรุงศรีอยุธยาอยู่เนืองๆ ครั นมาถึงสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที 2 (เจ้าสามพระยา) พระโอรสสมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนคร อินทร์)ซึงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ๑ (ขุนหลวงพะงัว)ก็ได้ทรงยกกองทัพ ไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) ของกัมพูชาอยู่ถึงเจ็ดเดือน จึงสามารถยึดได้อย่างเป็นรูปธรรม จนกระทังมาถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที 2 ได้

ปรากฏหลักฐานทางวรรณคดีทีสําคัญในรัชสมัยของพระองค์คือ การโปรดเกล้า ฯ ให้ประชุม นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคําหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรืองแรกของกรุงศรีอยุธยา และยังมีลิลิตพระลอ ซึงเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย อีกทั งมี

การกล่าวถึงหนังใหญ่ไว้ในพระราชพิธีจองเปรียงอีกด้วย

จากความปราชัยของนครธมราชธานีของขอม มาสู่หนังใหญ่ในพระราชพิธี

จองเปรียงซึงเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึงเป็นพระราชโอรสสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที 2 ผู้ยึดครองนครธมได้อย่างมันคง นํามาซึงข้อสันนิษฐานถึงทีมาของเพลง หน้าพาทย์ก็คือ โดยทัวไปแล้วประเทศทีชนะสงครามมักจะนําเอาทรัพย์ศฤงคาร ตลอดจน ศิลปวัฒนธรรมของผู้ปราชัยไปด้วยเสมอ ดังเช่น สงครามระหว่างกรีกโบราณและโรมัน หรือ ระหว่างพม่าและกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ชัยชนะของกรุงศรีอยุธยาครั งกระนั น จึงไม่เพียงแต่เป็นการ แผ่พระราชอาณาเขตเท่านั น แต่น่าจะได้ครอบครองศิลปกรรมของขอมอย่างบริบูรณ์ด้วยก็เป็นได้

ซึงผู้วิจัยจะนําไปแสดงทัศนะประกอบข้อมูลอืนๆ ในลําดับต่อไป

ต่อมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏหลักฐานการเล่นหนังในสมุทร โฆษคําฉันท์โดยพระราชปรารภของพระองค์ และมีการเล่นหนังอีกในคราวทีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้สมโภชพระพุทธบาท ดังปรากฏหลักฐานในบุณโณวาทคําฉันท์ ของพระ มหานาค วัดท่าทราย กล่าวถึงมหรสพในตอนกลางคืน ว่า

บัดหนังตั งโห่กําธร สองพระทรงศร ฉลักเฉลิมเจอมจอง

เทียนติดปลายศรศรสอง พากย์เพ้ยเสียงกลอง ก็ทุ่มตะโพนท้าทาย

สามตระอภิวันท์บรรยาย ชูเชิดพระนารายณ์

นรินทรเริมอนุวัน

32

บัดพาลาสองสองขยัน ปล่อยวานรพัน- ธนาก็เต้าเตียวจร

ถวายโคบุตลบมิให้มรณ์ ปละปล่อยวานร นิวาสสถานเทาคง

เริมเรืองไมยราพฤทธิรงค์ สะกดอุ้มองค์

นเรศดลบาดาล

(กรมศิลปากร, 2552: 13) และกล่าวถึงการแสดงโขน ว่า

บัดการมหรสพ พก็โห่ขึ นประนัง กลองโขนตะโพนดัง ก็ตั งตระดําเนินครู

ฤๅษีเสมอลา กรบิลพาลสองสูง

เสวตตรานิลาดู สัประยุทธพันธนา

ตระบัดก็เบิกไพ จิตรสูรอสูรา

ถวายดวงธิดาพะงา อมเรศเฉลิมงาน

(กรมศิลปากร, 2552: 21) จากหลักฐานในบุณโณวาทคําฉันท์ทีกล่าวถึงการเล่นหนังใหญ่เรืองรามเกียรติ

เช่นเดียวกับโขน มีการพากย์สามตระเบิกหน้าพระและปล่อยลิงหัวคํา แล้วจึงเริมเรืองรามเกียรติ

ตอนศึกไมยราพ และอีกตอนหนึงของบุณโณวาทคําฉันท์ เป็นหลักฐานการแสดงโขนซึงในสมัยกรุง ศรีอยุธยาจะแสดงตอนกลางวัน หลังจากปีพาทย์ทําเพลงตระเชิญครูแล้ว มีการปล่อยลิงหัวคํา ออกมาสู้กัน จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าโขนเล่นตามขนบหนังใหญ่ ซึงมีมาแล้วตั งแต่สมัยต้นกรุง ศรีอยุธยา

ประกอบกับการสันนิษฐานทีมาของคําว่า “เพลงหน้าพาทย์” ซึงอาจารย์มนตรี

ตราโมท ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ศัพท์สังคีต” ว่า

33

“การเรียกเพลงประเภทนี ว่าหน้าพาทย์น่าจะมาจากศิลปินฝ่ายโขนละคอน เป็นผู้เรียกก่อน เพราะการร่ายรําเข้ากับเพลงประเภทนี ผู้รําจะต้องยึดถือจังหวะ ทํานองเพลง หน้าทับ และไม้กลองของเพลงเป็นสิงสําคัญ ต้องรําให้มีทีท่าเข้ากัน สนิทกับทํานองและจังหวะ ต้องมีความสั นยาวพอดีกับเพลง ต้องถือว่าเพลงที

บรรเลงเป็นหลัก เป็นหัวหน้า เป็นสิงทีจะต้องรําตาม จึงเรียกเพลงประเภทนี ว่า หน้าพาทย์ และเรียกการรํานั นว่า “รําหน้าพาทย์” จริงอยู่ มีเพลงหน้าพาทย์บาง เพลงอาจกําหนดความสั นยาวไม่แน่นอน เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว และเชิด เป็นต้น แต่ถึงกระนั น เมือผู้รําต้องการจะหยุดหรือจะเปลียนเพลง ก็จะต้องให้พอเหมาะ กับประโยคหรือหน้าทับ หรือไม้กลองของเพลง จะรําป้องหน้าหรือเปลียนไปตาม ความพอใจหาได้ไม่” (มนตรี ตราโมท, 2507: 49-50)

ครั นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมือครังทีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตและทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรืองรามเกียรติ ขึ น เมือ พ.ศ. 2340 มีความยาวถึง 50,286 คํากลอนนั น (กรมศิลปากร, 2552: 105) ทําให้สามารถ พิจารณาถึงจารีตร่วมของหนังใหญ่กับโขนและละครได้ว่า ดนตรีทีใช้ประกอบการแสดงคือ วง ปีพาทย์ อย่างไม่มีข้อสงสัย เกียวโยงถึงเพลงหน้าพาทย์ทีใช้ประกอบอากัปกิริยาของตัวละครก็ต้อง เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึงสืบเนืองต่อมาตั งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอย่างน้อยรัชกาลสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ หรืออาจจะก่อนหน้านั นโดยรับมาจากขอมผู้ปราชัยในสงครามครั งกระนั นก็

เป็นได้ เมือเพลงหน้าพาทย์ได้ถูกนํามาใช้ในการแสดงละคร โดยเฉพาะตัวละครไม่ใช่ตัวหนังหรือ หุ่นเชิด แต่เป็นละครผู้หญิงซึงยึดขนบอย่างราชสํานัก จึงเกิดมีท่ารําเฉพาะขึ นสําหรับเพลงหน้า พาทย์ ซึงท่ารําดังกล่าวนี เป็นท่ารําทีมีระเบียบแบบแผนในการรํา เช่นเดียวกับการมีระเบียบแบบ แผนในการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ของดนตรี จึงเป็นทีมาของการรําทีเรียกว่า “รําหน้าพาทย์” เมือ พิจารณาถึงทีมาของคําว่า “หน้าพาทย์” ผู้วิจัยมีความเห็นว่าน่าจะเป็นคําทีเกิดขึ นจากการกําหนด เรียกเพลงประเภทนี โดยนาฏศิลปินโขนละคร เพลงหน้าพาทย์ต้องเกิดขึ นก่อน แล้วท่ารําเพลงหน้า พาทย์จึงเกิดขึ นตามมาได้ เหมือนเช่นข้อสันนิษฐานของ อาจารย์มนตรี ตราโมท ปรมาจารย์ดนตรี

ไทยท่านหนึงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์