• Tidak ada hasil yang ditemukan

7.1 ความหมายของความพึงพอใจ

สุรศักดิ์ วงศ์สุรศิลป์ (2542) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ดีที่เกิดจากการตอบสนองทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ จนทาให้เกิดความพึงพอใจ

ดำรงศักดิ์ ไชยแสน (2542) สรุปความหมายของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนที่มีต่องาน และปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ จน สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสามารถลดความเครียด ของผู้ปฏิบัติงานให้ต่ำลงได้

ไชยยัณห์ ชาญปรีชารัตน์ (2543) ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจ

หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่องานที่ปฏิบัติในทางบวกคือ รู้สึกชอบ รัก พอใจ หรือเจตคติที่ดี

ต่องาน ซึ่งเกิดจากการได้รับการตอบสนองความต้องการทั้งด้านวัตถุ และด้านจิตใจ เป็นความรู้สึกที่มี

ความสุขเมื่อได้รับความสำเร็จตามความต้องการหรือแรงจูงใจ

ณรัตน์ ลาภมูล (2546) กล่าวว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน หมายถึง ความรู้สึกที่

สามารถประเมินค่าได้ของบุคคลที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ทา ซึ่งครอบคลุมมิติของงาน

ณัฐชยา เอื้อมอุ่น (2544) กล่าวถึงความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกหรือทัศนคติของ บุคคลที่มีต่องานหรือกิจกรรม ซึ่งสามารถเป็นไปได้ทั้งทางบวกและทางลบ ถ้าเป็นไปในทางบวกก็จะ ทำให้เกิด ผลดีต่องาน และกิจกรรมที่ทำหรือเข้าร่วมแต่ถ้าเป็นไปในทางลบก็จะเกิดผลเสียต่องานหรือ กิจกรรมได้เช่นกัน

รักพงษ์ วงษ์ธานี (2544) กล่าวถึงความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติในทาง ที่ดีของบุคคล ซึ่งมักเกิดจากการได้รับการตอบสนองตามที่ตนเองต้องการก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีในสิ่ง นั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการที่ตนเองไม่ได้รับการตอบสนองความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น

ธนพร โมราบุตร (2547) กล่าวถึงความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ การแสดงความรู้สึก ความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแสดงพฤติกรรมออกมา 2 ลักษณะ คือ ทางบวก

88 ซึ่งแสดงในลักษณะความชอบ ความพึงพอใจ ความสนใจ เห็นด้วย ทาให้อยากทางานหรือปฏิบัติ

กิจกรรม อีกลักษณะหนึ่งคือทางลบ ซึ่งจะแสดงออกในลักษณะของความเกลียด ไม่พึงประสงค์ ไม่

พอใจ ไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย อาจทำให้บุคคลเกิดความเบื่อหน่ายหรือต้องการหนีห่างจากสิ่งนั้น นอกจากนี้ความพึงพอใจอาจจะแสดงออกในลักษณะความเป็นกลางก็ได้ เช่นรู้สึกเฉย ๆ ไม่รักไม่ชอบ ไม่น่าสนใจในสิ่งนั้น ๆ

แอปเปิลไวท์ (1965) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกส่วนบุคคลในการปฏิบัติงาน ซึ่ง มีความหมายกว้างรวมไปถึงความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยการมีความสุขที่ทำงาน ร่วมกับคนอื่นที่เข้ากันได้มีทัศนคติที่ดีต่องานด้วย

กู๊ด และมาร์เคล (1959) ให้ความหมายความพึงพอใจว่า หมายถึง สภาพหรือระดับความ พึงพอใจที่มีผลมาจากความสนใจ เจตคติของบุคคลที่มีต่องาน

กล่าวโดยสรุป ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ทางบวกหรือทางลบ ที่มีต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน บุคคล หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพรอบ ๆ ตัว ซึ่งการปฏิบัติหรือแสดงออกนั้น ก็จะมีทั้งทางบวก และทางลบ

7.2 การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

ขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามมีดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2546)

1. วิเคราะห์ลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ โดยวิเคราะห์จากจุดประสงค์ในการวิจัยกำหนด โครงสร้างเนื้อหาของแบบสอบถาม

2. กำหนดรูปแบบของคำถาม ทำการศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากตาราต่าง ๆ ศึกษา แบบสอบถามของคนอื่น ๆ ที่วิจัยในเรื่องคล้ายกัน แล้วกำหนดรูปแบบของแบบสอบถาม

3. เขียนแบบสอบถามฉบับร่าง ลงมือเขียนแบบสอบถามฉบับร่างตามโครงสร้างเนื้อหาของ แบบสอบถามในขั้นที่ 1 และตามหลักในการสร้างและรูปแบบที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 2

4. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านที่จะศึกษาและด้าน วัดผล พิจารณาความถูกต้อง ความเที่ยงตรงของข้อคาถามแต่ละข้อ นำเอาข้อวิจารณ์เหล่านั้นมา พิจารณาแก้ไขให้เหมาะสม

5. ทดลองใช้และปรับปรุง นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้ที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง ประมาณ 5-10 คน เพื่อพิจารณาความแจ่มชัดของข้อคำถามต่าง ๆ อาจพิจารณาเกี่ยวกับเวลาในการ ตอบด้วยหลังจากตอบเสร็จทาการสัมภาษณ์ผู้ตอบเกี่ยวกับความเข้าใจในข้อความต่าง ๆ ปัญหาที่พบ ในขณะตอบ รวมทั้งวิจารณ์แบบสอบถามนั้นด้วย แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาพิจารณาปรับปรุง แบบสอบถามนาไปทดลองกับกลุ่มที่คล้ายกลุ่มตัวอย่าง ประมาณ 50-100 คนกรณีที่เป็นมาตราส่วน ประมาณค่าจะต้องสร้างคำถามที่จะนาไปทดลองใช้ให้เกินจากที่ต้องการจริงประมาณ 25 %

89 6. พิมพ์แบบสอบถามฉบับจริง ทำการพิมพ์แบบสอบถามฉบับที่จะใช้จริงหลังจากปรับปรุง ในขั้นที่ 5 แล้ว ในการพิมพ์ฉบับจริงจะต้องคำนึงถึงความแจ่มชัดในการอธิบายจุดประสงค์และวิธีตอบ

และพิจารณาความถูกต้องในเนื้อหาสาระและการพิมพ์ จัดรูปแบบการพิมพ์ให้สวยงาม

7.3 โครงสร้างของแบบสอบถาม

แบบสอบถามประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2560)

1. ส่วนนำ เป็นส่วนของจุดมุ่งหมายนำที่ผู้วิจัยมีถึงผู้ตอบเพื่อเป็นการแนะนำตัวและทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัย แจ้งชื่อผู้วิจัยและสถาบัน แนะนำโครงการวิจัยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ หัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ชี้แจงให้เห็นความสำคัญของผู้ตอบที่มีต่อผลการวิจัยและนำ คำตอบไปใช้ประโยชน์

2. ส่วนคำชี้แจง ส่วนนี้จะชี้แจงวิธีการตอบแบบสอบถามโดยควรมีตัวอย่างคำถามและ ตัวอย่างการตอบแสดงให้เห็นชัดเจน

3. ส่วนของเนื้อหา ส่วนนี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา ส่วนเนื้อหานี้อาจมีหลายตนเรียงตามลำดับดังนี้

ตอนที่ 1 ถามข้อมูลพื้นฐานที่เป็นคุณลักษณะของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น เพื่อใช้ในการอธิบายลักษณะหรือสภาพของกลุ่มตัวอย่าง โดยต้องพิจารณา ถามเฉพาะคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการวิจัยเรื่องนั้น ไม่ควรใช้วิธีถามคุณลักษณะต่าง ๆ ไปก่อน แล้วค่อยมาคัดเลือกเฉพาะคุณลักษณะที่ต้องการในภายหลัง

ตอนที่ 2 เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความเกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา ตอนที่ 2 นี้

อาจมีหลายโซนย่อยขึ้นอยู่กับจำนวนตัวแปรที่ต้องการศึกษา

ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งส่วนของแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็น ส่วนนำ ส่วนที่ 2 เป็นส่วนคำชี้แจง และส่วนที่ 3 เป็นส่วนเนื้อหา โดยในส่วนของเนื้อหาจะแบ่งเนื้อหา เป็นด้านทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1.ด้านเนื้อหา 2.ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.ด้านสื่อการเรียนรู้

4.ด้านการวัดละประเมินผล โดยให้ผู้เรียนได้ตอบแบบสอบถามหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบ สร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ มีทั้งหมด 20 ข้อ โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

90