• Tidak ada hasil yang ditemukan

การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

6. การสรุป อภิปรายผลและน าเสนองานวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ที่ก าลังศึกษาอยู่ใน โรงเรียนอนุบาลด่านมะขามเตี้ย อ าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ที่ก าลังศึกษาอยู่ใน โรงเรียนอนุบาลด่านมะขามเตี้ย อ าเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี มีพัฒนาการด้าน กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่ตรงตามวัย โดยคัดกรองจาก แบบประเมินเพื่อช่วยเหลือ เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention:

TEDAI) ที่พัฒนาขึ้นโดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยที่มี

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่ตรงตามวัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้อง ไม่มีโรค ประจ าตัว เช่นโรคหอบ โรคหัวใจ มีความสนใจในการท ากิจกรรมอย่างน้อย 10 นาที และ ผู้ปกครองยินยอมให้เด็กเข้าร่วมท ากิจกรรม ได้กลุ่มตัวอย่างจ านวน 20 คน มีค่าเฉลี่ยด้านอายุ

น ้าหนัก ส่วนสูง มีลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายโดย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง (experimental) และกลุ่มควบคุม (control group) จ านวนกลุ่มละ 10 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลอง

2.1 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข

2. แบบสังเกตพฤติกรรม

2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

1. ชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก และกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส าหรับเด็กปฐมวัย

3. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

3.1 การเลือกแบบประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention : TEDA4I) ที่พัฒ นาขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข ดังกล่าวมาใช้เนื่องจากคู่มือการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มี

ปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) ค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยรวมของคู่มือ เท่ากับ 0.84 ซึ่งมี

ระดับค่าความเที่ยงตรงอยู่ในระดับสูงมาก และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.97 ซึ่งมี

ระดับค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูงมาก คู่มือนี้จัดท าขึ้นครบตามขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยี

เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติสามารถประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการได้

อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2558)

3.2 ชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส าหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยน าลักษณะท่าร าเซิ้งกระติบ ที่ใช้มือและขาในการ แสดงเซิ้งของภาคอีสานเป็นเนื้อหาหลักโดยบูรณาการกับหลักกิจกรรมบ าบัด เพื่อออกแบบชุด กิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ส าหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาโดย

3.2.1 ศึกษาข้อมูล เอกสาร สัมภาษณ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่าร า เซิ้งกระติบ ของภาคอีสานที่เป็นลักษณะเฉพาะในการเคลื่อนไหวทั้งมือ และขา

3.2.2. สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ไทย ด้านเวชศาสตร์

ฟื้นฟู และด้านการศึกษาปฐมวัย เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการ บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส าหรับเด็กปฐมวัย

3.2.3 น าชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อ มัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส าหรับเด็กปฐมวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และผู้ทรงคุณวุฒิด้าน การศึกษาปฐมวัย เพื่อพิจารณาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมกับวัตถุประสงค์

การวิจัย (IOC) ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านให้คะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้

ให้คะแนน +1 หมายถึง แน่ใจว่ากิจกรรมนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่ากิจกรรมนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ให้คะแนน -1 หมายถึง แน่ใจว่ากิจกรรมนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ผู้วิจัยน าคะแนนที่ได้จากการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิมาหาค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป จ านวน 8 กิจกรรม โดยมีค่า IOC อยู่ที่ระดับ 1.00 และ ตรวจสอบความเหมาะสมของชุดกิจกรรมแล้วน าไปทดลองใช้ ซึ่งผู้คุณวุฒิแต่ละท่านให้คะแนน ตามเกณฑ์ดังนี้

เกณฑ์คะแนน

1. มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50-1.00 มีค่าความเที่ยงตรง ใช้ได้

2. มีค่า IOC ต ่ากว่า 0.50 ต้องปรับปรุง ยังใช้ไม่ได้

3.3 น าชุดกิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ส าหรับเด็กปฐมวัย ที่ปรับปรุงแก้ไข ไปทดลองใช้ (Try Out) กับผู้เรียนที่มี

คุณสมบัติเดียวกับกลุ่มตัวอย่าง

3.4 สรุปผลที่ได้จากการทดลองใช้เครื่องมือ น าผลมาวิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไขชุด กิจกรรมการประยุกต์ใช้ท่าร าเซิ้งกระติบ เพื่อการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ส าหรับเด็กปฐมวัย อีกครั้งให้สมบูรณ์