• Tidak ada hasil yang ditemukan

การอภิปรายผล

จากการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบโทษ ทางปกครองและโทษอาญาตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 แล้วพบว่า 1. แม้โทษทางปกครองและโทษทาง อาญาเป็นมาตรการที่มีการลงโทษเช่นเดียวกัน แต่มีแนวคิดและเนื้อหาแตกต่างกัน กล่าวคือ การลงโทษปรับทางปกครองตามกฎหมายนี้ไม่

เป็นมาตรการที่จำากัดเสรีภาพของบุคคล แต่มุ่ง เน้นให้มีการดำาเนินการตามกฎ หรือคำาสั่งทาง ปกครองเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบรรลุ

เป้าหมาย

2. การลงโทษปรับทางปกครองตาม กฎหมายนี้มีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชน ปฏิบัติตามเจตนาของฝ่ายปกครองในอันที่จะ ดำาเนินการจัดทำาบริการสาธารณะ หรือดำาเนิน การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ในกรณีนี้คือ การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลของประชาชน แต่การ ลงโทษทางอาญาซึ่งมีโทษจำาคุกและปรับมีความ มุ่งหมายเพื่อควบคุมพฤติกรรมและคุ้มครองบุคคล ในสังคมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ในกรณีนี้

คือเป็นการกำาหนดไม่ให้ผู้ใดล่วงละเมิดข้อมูล ส่วนบุคคลอื่นในลักษณะเพื่อแสวงหาประโยชน์

ที่มิควรได้

3. แม้จุดมุ่งหมายในการลงโทษทาง ปกครองและทางอาญาเพื่อป้องกันและควบคุม พฤติกรรมของผู้กระทำาผิด แต่การลงโทษทาง ปกครองมิได้มีขึ้นเพื่อการแก้แค้นทดแทนเหมือน

กับการลงโทษทางอาญา เพราะกฎหมายปกครอง มีภารกิจเพื่อบังคับให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ รัฐในอันที่จะขับเคลื่อนกลไกหรือมาตรการในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

4. การลงโทษทางปกครองเป็นกรณีที่

องค์กรฝ่ายปกครองใช้อำานาจลงโทษผู้กระทำาผิด ด้วยการออกคำาสั่งทางปกครอง ในขณะที่การ ลงโทษทางอาญาเป็นกรณีที่องค์กรตุลาการใช้

อำานาจลงโทษด้วยการมีคำาพิพากษาลงโทษ ผู้กระทำาผิด แต่ความรับผิดของผู้ล่วงละเมิดข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทางปกครองหรือทางอาญาก็ตาม จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการกระทำาความผิดหรือ ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว

5. แม้วิธีการลงโทษทางปกครองแตก ต่างจากการวิธีการลงโทษทางอาญา ซึ่งกระบวน วิธีพิจารณาโทษทางปกครองอยู่ภายใต้บังคับ หลักกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาทางปกครอง ซึ่งต้องอาศัยหลักการฟังความทุกฝ่ายและการ ให้เหตุผลประกอบคำาสั่งลงโทษ แต่ตามพระราช บัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 อาศัย หลักกฎหมายอาญามาปรับใช้กับการลงโทษทาง ปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล กล่าวคือ การลงโทษปรับทางปกครองต้องมี

กฎหมายกำาหนดความผิดและโทษไว้ จึงมีการนำา หลักกฎหมายอาญามาใช้บังคับประกอบกับหลัก ความได้สัดส่วนระหว่างการกระทำาผิดและโทษ ทำาให้การลงโทษทางปกครองตามกฎหมายนี้

ใกล้เคียงกับกฎหมายอาญา

ข้อเสนอแนะ

1. ควรกำาหนดมาตรการในการลงโทษ ตามการจำาแนกประเภทของข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ให้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพิเศษเฉพาะ เพื่อมุ่งเน้นมาตรการด้านการรักษาความมั่นคง

ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งความ ระมัดระวังในการประมวลผล การเก็บ รวบรวม เปิดเผย ใช้ ลบ หรือ ทำาลาย ซึ่งเป็นข้อมูลส่วน บุคคลที่สามารถบ่งชื่ออัตลักษณ์เฉพาะของบุคคล ได้นั้น ซึ่งมีความแตกต่างจากข้อมูลทั่วไป เพื่อให้

มีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจหรือวิธีปฏิบัติตาม กรอบมาตรฐานของสากลยอมรับเท่าที่จะเป็นไป ได้ โดยหากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมควรเป็นโทษเด็ดขาด กล่าวคือ นำาโทษทางอาญามาปรับใช้โดยให้มี

บทลงโทษจำาคุกและควรบังคับใช้คู่กับมาตรการ ทางแพ่ง เช่นการกำาหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ ที่สูงพอให้ผู้กระทำาผิดเข็ดหลาบ

2. แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีโทษปรับ ทางปกครองสูงถึง 5 ล้านบาทและบทลงโทษ ทางอาญา จำาคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับ รวมถึง ยังมีมาตรการทางแพ่งอันเป็นค่าเสียหายเชิง ลงโทษสูงถึงสองเท่าของความเสียหายที่เกิด ขึ้นจริง แต่อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังไม่มีการ กำาหนดฐานความผิดในกรณีที่มีการล่วงละเมิด ข้อมูลส่วนบุคคลอันมีพฤติการณ์ประกอบการก ระทำาในลักษณะการขัดขวางการลงทุนหรือการ พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อให้การลงโทษ มีประสิทธิภาพ

3. แม้มีบทลงโทษในการละเมิดต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นบทลงโทษทางแพ่ง แต่ไม่สอดคล้องกับ หลัก GDPR ตาม Article 83 ของ Regulation (EU) 2018/1725 ซึ่งควรมีบทลงโทษที่หนัก สำาหรับผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วน บุคคลให้สูงกว่าความรับผิดของบุคคลธรรมดา โดยนำาโทษปรับทางปกครองมาใช้ มิใช่เพียง เฉพาะในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเท่านั้น แต่จำานวนความรับผิดตามโทษปรับควรมีจำานวน ที่เพิ่มขึ้นตามการกระทำานั้นว่าเป็นการกระทำา ในระดับโทษรุนแรง หรือระดับโทษรุนแรงมาก

การศึกษาเปรียบเทียบโทษทางอาญากับโทษทางปกครองตาม

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ. 2562 140 อมรรัตน์ อริยะชัยประดิษฐ์ นิ่มหนู

โดยพิจารณาถึงความจงใจหรือประมาทสำาหรับ ผู้ควบคุมและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

4. เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมาย GDPR พบว่า มาตรการลงโทษทางอาญาตามพระราช บัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดย เฉพาะโทษจำาคุกอาจจะเป็นการผลักให้ผู้ประกอบ การธุรกิจต้องตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่จะรับโทษ อาญาซึ่งไม่สอดคล้องกับยุคดิจิทัลที่ผู้ประกอบ การธุรกิจมีอยู่ทั่วโลก จึงควรเน้นให้มีการกำาหนด บทลงโทษทางปกครองแก่การกระทำาความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้เพิ่มขึ้นแทนโทษทางอาญา 5. การเก็บ การใช้หรือการเปิดเผยลับ หรือทำาลายข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับความ ยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน โดยมี

การแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บ ใช้ เปิดเผยอย่าง

ชัดเจน และต้องทำาเท่าที่จำาเป็นที่ให้ความยินยอม ไว้ โดยมีการกำาหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมและ ประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลในการจัดมาตรการ รักษาความปลอดภัยและบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล โดยการกำาหนดมาตรฐานในการโอนย้ายข้อมูล ไปต่างประเทศ รวมถึงการเพิ่มสิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลในการโต้แย้งระงับการใช้ข้อมูล หากฝ่าฝืนจะต้องมีโทษทางปกครองและ/หรือโทษ ทางอาญา ประกอบกัน

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอพระขอบคุณคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ให้การสนับสนุน การวิจัยในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ (2551). กฎหมายอาญาภาค (พิมพค์ร้ังที่10). พลสยามพริ้นติ้ง.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2562). ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง.

วิญญูชน.

นคร เสรีรักษ์ และคณะ. (2563). GDPR ฉบับภาษาไทย. พีเพรส.

นพดล นิ่มหนู. (2562). มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2562). หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. วิญญูชน.

อภิวัฒน์ สุดสาว. (2561). การกำาหนดโทษอาญาตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย. วารสารจุลนิติ, 15(2), 116-117

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2561). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำานักพิมพ์วิญญูชน.

Value Added Banana Fiber and Creating Product Management Strategy of