• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยมในการท างาน

4. ความคาดหวัง

Porter and Steers (1991,อ้างถึงใน ภรณี มหานนท์, 2529: 94) ได้เสนอปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจของพนักงานในองค์การว่ายังคงมีส่วนร่วมต่อไปในองค์การหรือจะออกจากองค์การมี

4 ประการ คือ

1. ปัจจัยด้านองค์การ เช่น อัตราจ้าง การปฏิบัติเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือน เลื่อนต าแหน่ง ขนาดขององค์การ

2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการท างาน เช่น รูปแบบของภาวะผู้น า รูปแบบของ ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน

3. ปัจจัยด้านเนื้อหาของงาน เช่น ความซ ้าซากจ าเจของงาน ความมีอิสระ ความชัดเจน ของบทบาท

4. ปัจจัยส่วนตัว เช่น อายุ อายุการท างาน บุคลิกภาพ ความสนใจในด้านวิชาชีพ

นอกจากนี้ Steers (1977: 122) ได้ศึกษาโมเดลปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ และ ผลลัพธ์ของความผูกพันต่อองค์การเป็น 3 ปัจจัย คือ

1. คุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Characteristics) หมายถึง ตัวแปรต่างๆ ที่ระบุ

คุณสมบัติของบุคคลนั้น ๆ เช่น อายุ การศึกษา อายุงาน ความต้องการความส าเร็จ ความชอบ ความ เป็นอิสระ

2. คุณลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Job Characteristics) หมายถึง ลักษณะสภาพของงานที่แต่ละ บุคคลรับผิดชอบปฏิบัติอยู่ว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ ความเป็นอิสระใน งาน (Autonomy) ความหลากหลายทักษะในงาน (Variety) ความเป็นเอกลักษณ์ของงาน (Job Identification) ผลสะท้อนกลับของงาน (Feedback) และโอกาสได้ปฏิสังขรณ์กับผู้อื่นในการท างาน นั้น (Opportunity for Optional Interaction)

3. ประสบการณ์ในการท างาน (Work Experiences) หมายถึง ความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน แต่ละคนว่ารับรู้การท างานในองค์การอย่างไร โดยก าหนดไว้ 4 ลักษณะ คือ ทัศนคติของกลุ่ม องค์การ

4. ประสบการณ์ในการท างาน เป็นประสบการณ์ที่บุคคลพบในระหว่างการท างาน เป็น ความผูกพันทางจิตวิทยากับองค์การ ได้แก่ ทัศนคติบุคคลที่มีต่อองค์การ ความพึ่งพาได้ของ ผู้บังคับบัญชา การปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา การรู้สึกว่าตนเป็นบุคคลส าคัญเป็นสิ่งที่มีอิทธิพล ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ

หลังจากนั้น Steer and Porter (1983 อ้างใน ลัดดา สัจพันโรจน์, 2545) ได้สรุปว่าสิ่งที่มี

อิทธิพลต่อต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

1. โครงสร้างขององค์การ (Structural Characteristic) จะต้องมีลักษณะเป็นระบบที่มีแบบ แผน มีหน้าที่ที่เด่นชัด มีการรวมอ านาจ การกระจายอ านาจ การให้ผู้ร่วมงานมีการตัดสินใจ การมี

ส่วนร่วมเป็นเจ้าของความเป็นทางการ

2. ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน (Personal Characteristic) เช่น เพศ อายุ ระดับ การศึกษา ระดับรายได้ สถานภาพสมรส ความต้องการประสบความส าเร็จ ระยะเวลาในการ ปฏิบัติงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นต้น

3. ลักษณะของบทบาท (Role – related Characteristic) หมายถึง ลักษณะงานที่

ผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบอยู่ เช่น งานที่มีความท้าทาย ความก้าวหน้าในการท างาน การป้อนข้อมูลกลับ การมีความพยายามของงานที่ท าเป็นงานที่มีคุณค่า มีบทบาทที่เด่นชัด ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

4. ประสบการณ์ในการท างาน (Work Experience) หมายถึง สิ่งที่บุคคลได้รับทราบและ เรียนรู้เมื่อเข้าไปท างานในองค์การ เช่น ทัศนคติของกลุ่มท างานที่มีผลต่อองค์การ ความน่าเชื่อถือ ขององค์การ การรู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลส าคัญ ความสามารถในการพึ่งพาได้และการปฏิบัติตัวของ ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

ภาพประกอบที่ 4 แบบจ าลองเบื้องต้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ ที่มา: Steers และ Porter (1983อ้างใน สุรัสวดี สุวรรณเวช, 2551: 23)

Baron (1986 อ้างใน กฤศวรรณ นวกุล, 2547: 22) พบว่า ความผูกพันต่อองค์การเป็น ทัศนคติที่มีต่อองค์การ ซึ่งแตกต่างจากความพึงพอใจในงาน กล่าวคือ ความพึงพอใจในงานสามารถ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามสภาพการท างาน แต่ความผูกพันต่อองค์การเป็นทัศนคติที่มีความ มั่นคงมากกว่า นั่นคือ เป็นทัศนคติที่อยู่ในช่วงเวลานาน แต่ความผูกพันของพนักงานเกิดจากปัจจัย ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกับความพึงพอใจในการท างานมี 4 ปัจจัย ดังนี้

1. เกิดจากลักษณะงาน เช่น การได้รับความรับผิดชอบอย่างมาก ความเป็นอิสระส่วนตัว อย่างมากในงานที่ได้รับความน่าสนใจและความหลากหลายในงาน สิ่งเหล่านี้จะท าให้เกิด ความรู้สึกผูกพันต่อองค์การในระดับสูง ส่วนความกดดันและความคลุมเครือในบทบาทที่เกี่ยวกับ งานของตนเอง จะท าให้รู้สึกผูกพันต่อองค์การในระดับต ่า

2. เกิดจากโอกาสในการหางานใหม่ การได้รับโอกาสอย่างมากในการหางานใหม่ และมี

ทางเลือก จะท าให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีความผูกพันต่อองค์การในระดับต ่า

3. เกิดจากลักษณะส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีอายุมาก ซึ่งมีระยะเวลาในการ ท างานนาน และมีต าแหน่งงานในระดับสูง ๆ และคนที่มีความพึงพอใจในผลการปฏิบัติงานของ ตนเอง มีแนวโน้มที่มีความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง

4. เกิดจากสภาพการท างาน บุคคลที่มีความพึงพอใจในผู้บังคับบัญชาของตนเองพึงพอใจ ในความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานและรู้สึกว่าองค์การเอาใจใส่สวัสดิการของ พนักงาน จะเป็นบุคคลที่มีความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง

ลักษณะของบุคคล

ลักษณะของการท างาน

ลักษณะบทบาท

ประสบการณ์การท างาน

ความผูกพัน

ผล

ความปรารถนาอยู่ในองค์การ ความตั้งใจอยู่ในองค์การ ความตั้งใจท างาน

ความคงรักษาพนักงานไว้ได้

การปฏิบัติงาน

ปรารถนาอยู่ในองค์การ

Mottaz (1987 อ้างใน อาจารี นาคศุภรังสี, 2540: 18) จากการศึกษาพบว่า รางวัลตอบแทน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก าหนดระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน โดยระดับความผูกพันต่อ องค์การของพนักงานขึ้นอยู่กับคุณค่าที่บุคคลให้กับงาน (Work Value) ว่า บุคคลให้ความส าคัญกับ รางวัลตอบแทนมากน้อยเพียงใด หากรับรู้ว่าคุณค่าของงานและผลตอบแทนมีความสอดคล้อง ยุติธรรม ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานจะมีมากขึ้น

Vanderberg and Scarpello (1990 อ้างใน อาจารี นาคศุภรังสี, 2540: 18) ได้ท าการศึกษา บุคลากรของบริษัทประกันภัย 9 แห่ง พบว่า การได้รับรางวัลและสิ่งตอบแทนตามระดับที่คาดหวังมี

ความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์การ

Eisenberger and others (1990 อ้างใน อาจารี นาคศุภรังสี, 2540: 18) ได้ท าการศึกษาและ พบว่า การที่พนักงานรู้สึกว่าระบบขององค์การสนับสนุนให้เขาก้าวหน้า จะท าให้เขาจงรักภักดีต่อ องค์การยิ่งขึ้น ท าให้เกิดความอุตสาหะในงานสร้างสรรค์เพื่อองค์การรู้สึกผูกพันต่อองค์การ

Dunham, Grube and Castaneda (1994 อ้างใน นงเยาว์ แก้วมรกต, 2542: 22) ได้สรุปปัจจัย ที่ส่งผลต่อองค์ประกอบความผูกพันต่อองค์การแต่ละด้าน ดังนี้

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันด้านจิตใจ ได้แก่ การรับรู้คุณลักษณะของงาน ในแง่ของ ความเป็นอิสระของงาน ความส าคัญของงาน เอกลักษณ์ของงาน ความหลากหลายของทักษะ และ การให้ผลย้อนกลับของหัวหน้า การพึ่งพาได้ขององค์การ การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการบริหาร ซึ่งเป็นความรู้สึกของพนักงานว่า พวกเขามีอิทธิพลในการดสินใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการท างาน และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับพวกเรา

2. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ประกอบด้วย ความผูกพันกับเพื่อน ร่วมงาน การพึ่งพาได้ขององค์การ การมีส่วนร่วมในการบริหาร

3. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ประกอบด้วย ความผูกพันกับเพื่อน ร่วมงาน การพึ่งพาได้ขององค์การ การมีส่วนร่วมในการบริหาร

Roy and Ghose ( 1997 อ้างใน นงเยาว์ แก้วมรกต, 2542: 22) ได้ศึกษาเรื่องการตระหนักถึง สภาพแวดล้อมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของกลุ่มแพทย์และพยาบาล โดยก าหนดปัจจัยที่มี

ผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ดังนี้

1. ปัจจัยการตระหนักถึงสภาพแวดล้อมภายในองค์การ (Awareness of Internal Environment) โดยแบ่งเป็นเป้าหมายองค์การ คุณภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงพยาบาล งานของ แต่ละหน่วยงานที่มีส่วนสนับสนุนเป้าหมายขององค์การ จุดแข็งด้านการเงินของโรงพยาบาล และ ข้อจ ากัดด้านการเงินของโรงพยาบาล

2. ปัจจัยการตระหนักถึงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (Awareness of External Environment) ซึ่งแบ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ ความต้องการต่างๆ ของคนไข้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล

Edward ( 1998: 188) ได้กล่าวถึง ปัจจัย 7 ประการ ที่สร้างให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ ได้แก่

1. แบ่งปันค่านิยม / เข้าถึงเป้าหมาย (Shared Values / Sense of Purpose) คือ การปรับ ค่านิยมของพนักงานให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตให้พนักงานได้

แสดงความสามารถในการท างานอย่างเต็มที่และตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

2. คุณภาพชีวิตในการท างาน (Quality of Work Life) คือ ความพึงพอใจใน สภาพแวดล้อมของที่ท างาน ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ เครื่องใช้ สิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ การมีส่วน ร่วมในงานและกิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทจัดให้

3. ลักษณะงาน (Job Tasks) คือ ขอบเขตงานที่มีความท้าทายและน่าสนใจ

4. ความสัมพันธ์ในงาน (Relationships) คือ ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ซึ่งได้แก่ หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และลูกค้า

5. ผลรวมค่าตอบแทน (Total Compensation) คือ ความพึงพอใจในค่าจ้าง สวัสดิการ และ ผลตอบแทนอื่นๆ

6. โอกาสก้าวหน้าในงาน (Opportunities for Growth) คือ โอกาสในการเรียนรู้

เจริญก้าวหน้าในหน้าที่และได้รับผลส าเร็จในงาน

7. ภาวะผู้น า (Leadership) คือ ความเชื่อมั่นและนับถือในผู้น าองค์การ

Watts ( 2003 อ้างใน สมชื่น นาคพลั้ง, 2547: 14) ความผูกพันต่อองค์การประกอบด้วย ปัจจัย 2 ประการที่เกี่ยวข้องกับงานและประสบการณ์ในการท างานโดยรวม คือ

1. ปัจจัยด้านวัตถุ (Rational Factors) โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างตัว บุคคลกับองค์การ เช่น ขอบเขตของงาน บทบาทหน้าที่ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์การ

2. ปัจจัยทางด้านอารมณ์ (Emotion Factors) จะเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจส่วนบุคคลและ ความรู้สึกของแรงบันดาลใจ พร้อมประกาศตัวเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ได้รับมอบหมายและของ องค์การ

Conway (2003 อ้างใน สมชื่น นาคพลั้ง, 2547: 9) กล่าวถึง ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความ ผูกพันต่อองค์กรในผลการวิจัยของบริษัท Tower Perriun ได้ก าหนดลักษณะสภาพแวดล้อมใน สถานที่ท างาน ซึ่งสนับสนุนต่อการสร้างความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่

1. ภาวะผู้น าที่เข้มแข็ง (Strong Leadership)