• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทบาทในการแสดงชั้นเชิงของผู้บรรเลง

2. บทบาทและหน้าที่ของซออู้

2.3 บทบาทและหน้าที่ทั่วไปของซออู้

2.3.1 บทบาทในการแสดงชั้นเชิงของผู้บรรเลง

4.2.3.3 บทบาทการขยายพรมแดนของการแปรท านอง 4.2.3.4 บทบาทการสะท้อนมารยาทไทย

5. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เมื่อศึกษาตามขั้นตอนแล้ว ผู้วิจัยจะน าเสนอเป็น 5 บท ดังนี ้ บทที่ 1 บทน า

บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม บทที่ 3 วิธีการด าเนินการวิจัย บทที่ 4 ผลการศึกษา

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล

ปริญญานิพนธ์เรื่อง การศึกษาหลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสาย ปี่ชวา และวงปี่พาทย์ไม้นวมของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี ้

1. เพื่อศึกษาหลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวา และวงปี่พาทย์ไม้นวมของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี

2. เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของซออู้

จากการศึกษาเอกสาร ต าราวิชาการ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งข้อมูลจากการลง พื ้นที่ภาคสนามคือการสัมภาษณ์ การสังเกต และการต่อเพลง ผู้วิจัยได้น าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์

ตามหลักทฤษฎีและแนวคิดที่น าเสนอในการทบทวนวรรณกรรม โดยสามารถแบ่งผลการศึกษา ออกเป็น 2 ตอน ตามวัตถุประสงค์ ดังนี ้

1. หลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสาย วงเครื่องสายปี่ชวา และวงปี่พาทย์ไม้นวม ของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี

ผู้วิจัยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ออกเป็น 4 หลักการ คือ หลักการแปรท านองซออู้ที่มีผล มาจากประเภทวง หลักการแปรท านองซออู้ที่มีผลมาจากลักษณะเพลง หลักการแปรท านองซออู้ที่

มีผลมาจากกาลเทศะในการบรรเลง และหลักการเรื่องอารมณ์เพลง เพื่อให้เข้าใจหลักการแปร ท านองซออู้ของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ดังนี ้

1.1 หลักการแปรท านองซออู้ที่มีผลมาจากประเภทวง

1.1.1 หลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสายของครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี

วงเครื่องสายเป็นวงที่มีการน าเครื่องดนตรีที่เกิดเสียงด้วยสายมาบรรเลงเป็นหลัก นิยมบรรเลงเพื่ออวดฝีมือและขับกล่อม ท าให้วงดนตรีชนิดนี ้มีแนวทางการบรรเลง และกลอนเพลง ที่เป็นรูปแบบเฉพาะ โดยจากการศึกษาท านองซออู้ในวงเครื่องสายของครูเลอเกียรติ

มหาวินิจฉัยมนตรีท าให้ทราบแนวคิดในการแปรท านองซออู้ ดังนี ้

“...ในวงเครื่องสายซออู้จะได้เป็นตัวเองมากที่สุด ผมจะรู้สึกเป็นอิสระที่สุดเวลา บรรเลงในวงนี้ ส่วนใหญ่ถ้าสีซออู้เราจะเลือกกลอนเพลง หรือเทคนิคที่โลดโผนได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่

กับสถานการณ์กับท านองเพลงด้วยว่ามันเอื้อให้เราเล่นได้มากน้อยแค่ไหน...” (เลอเกียรติ

มหาวินิจฉัยมนตรี, การสื่อสารส่วนบุคคล, 29 กันยายน 2564)

การแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสาย ผู้บรรเลงสามารถเลือกใช้กลอนเพลง ที่มีความซับซ้อนมาก ร่วมกับกลวิธีการบรรเลง หรือลีลาท านองที่มีความซับซ้อนได้ เนื่องจาก เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประสมจ านวนไม่มาก ดังนั้นความเสี่ยงที่จะไม่เกิดความกลมกลืน อันเป็นผลจากการเลือกใช้กลอนเพลงที่มีความโลดโผนมากจึงเป็นไปได้ยากกว่าในวงดนตรี

ที่มีเครื่องดนตรีจ านวนมาก ทั้งนี ้ผู้บรรเลงจะต้องพิจารณาท านองหลักให้ถี่ถ้วนว่าช่วงใดที่

ผู้ประพันธ์เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์กลอนเพลงที่ซับซ้อนได้ รวมไปถึงกาลเทศะในการบรรเลงแต่ละ ครั้งด้วย ดังนี ้

ตัวอย่าง ท านองซออู้ในวงเครื่องสาย เพลงอกทะเล สามชั้น ท่อนที่ 1

ท านองหลัก - ด ร ม ร ซ ร ม ร ด ร ม ร ม ซ ล ซ ล ท ด ร ด ท ล ร ท ล ซ ท ล ซ ม

ท านองซออู้ ซ ด ร มˆ ร ซ ร มˆ ร ด ร มˆ ร ม ซ - ล - ท ร ร ม ซ ด ˆ ท ร ซ ด ท ล ซ ม

ท านองหลัก ร ด ล ซ ด ล ซ ม ล ซ ม ร ซ ม ร ด ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ม ด ร ม

ท านองซออู้ ด ด ม ซ ด ร ม ล ซ ด ม ซฺ ด มˆ ร ด ร ม ล ซ ม ซ ลˇ - ร ด ล ซ ด ม ล๎ ซ มˇ

ท านองหลัก - - ม ด ร ม ร ม - - ร ม ซ ล ซ ล - - ม ร ด ล ด ล - - ด ล ซ ม ซ ม

ท านองซออู้ - - ซ ด ร มˆ ร ม ซฺ มˆ ร ม ซ ลˇ - - ซ ทˆ ล ท ร ม ซ ด ท ร ซ ด ท ล ซ ด

ท านองหลัก - - ม ด ร ม ร ม - - ซ ม ร ด ร ด - - ซฺ ลฺ ทฺ ด ทฺ ด - - ทฺ ด ร ม ร ม

ท านองซออู้ ล ด ซ ล ม ซ ร ซ ม ร ด ร ซ มˆ ร ด ม - ซ - ด ด ม ซ ด ม ซ ด ม ซ ด -

ท านองช่วงล้อ-เหลื่อมในเพลงอกทะเล สามชั้น จากตัวอย่างข้างต้น เป็นท านอง ที่มีลักษณะการใช้เสียงแตกต่างกันมากมาบรรเลง การใช้กลอนฝากแบบฝากในวรรค และ ฝากข้ามประโยค ลีลาท านองล่วงหน้า และล้าหลัง กลวิธีการสะบัด การพรมปิด การพรมเปิด และ การพรมจาก แม้ว่าท านองหลักจะอยู่ในช่วงล้อ-เหลื่อมซึ่งโดยปกติจะไม่พบการแปรท านองให้โลด โผนเพื่อให้ท านองซออู้อยู่ในจังหวะโดยปกติ และช่วยให้เครื่องน ายังท าหน้าที่เหลื่อมจังหวะ ได้อย่างมั่นคง ซึ่งส าหรับท านองซออู้ในวงเครื่องสาย ครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรีเล็งเห็น ช่องทางที่ผู้ประพันธ์เปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงสามารถแสดงศักยภาพในการแปรท านองได้อย่างอิสระ จึงเกิดท านองซออู้ที่โลดโผนตามตัวอย่าง โดยใช้ท านองที่แตกต่างจากท านองหลัก รวมกับการใช้

ลีลาท านอง และกลวิธีการบรรเลงที่หลากหลาย

1.1.2 หลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาของครูเลอเกียรติ

มหาวินิจฉัยมนตรี

วงเครื่องสายปี่ชวามีปี่ชวาเป็นประธานของวง เครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมในวง จึงต้องปรับระดับเสียง และวิธีการบรรเลงให้สอดคล้องกับปี่ชวาเพื่อให้บรรเลงร่วมกัน ได้อย่างกลมกลืน ส าหรับหลักการแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาของครูเลอเกียรติ

มหาวินิจฉัยมนตรีมีรายละเอียดของหลักการดังนี ้

“... การแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวามีระบบการวางนิ้วที่แตกต่างจากวงอื่น เพราะมันมีการทรานส์โพส (Transpose) เสียงสูงขึ้นมาอีก 4 เสียง มันก็จะวางนิ้วต่างกับวงอื่น ๆ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับบันไดเสียงที่เจอในเพลงด้วย...” (เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, การสื่อสาร ส่วนบุคคล, 29 กันยายน 2564)

การบรรเลงซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวา มีวิธีการวางนิ ้วที่แตกต่างไปจากวงดนตรี

วงอื่น ๆ เนื่องจากในวงเครื่องสายปี่ชวามีการเปลี่ยนระดับเสียง (Transpose) ให้สูงขึ้นจากเดิม 4 เสียง จึงท าให้เสียงโดตรงกับเสียงลูกฆ้องลูกที่ 9 อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนระดับเสียงนี ้ผู้บรรเลง ยังต้องวางระยะห่างนิ ้วให้ใกล้เคียงกับการบรรเลงก่อนที่จะเปลี่ยนระดับเสียง เพื่อให้ส าเนียง ของเพลงนั้นยังคงอยู่เช่นเดิม ดังนี ้

ตาราง 1 เปรียบเทียบระบบการวางนิ ้วแบบเดิมและแบบใหม่

ล าดับ

การวางนิ้ว 1 2 3 5 6

แบบเดิม ซ ล๋ ท ร ม๋

ตาม

บันไดเสียง ด ร ม๋ ซ ล๋

เปลี่ยน

ระดับเสียง ด ร ม ซ ล๋

ที่มา : ธนกร นามวงษ์. (2565). ตารางเปรียบเทียบระบบการวางนิ ้วแบบเดิมและแบบใหม่.

จากตารางแสดงให้เห็นท านองเดิมซึ่งอยู่ในบันไดเสียงเสียงซอล หากต้องการบรรเลง ท านองดังกล่าวโดยการเปลี่ยนระดับเสียงขึ้นไป 4 เสียงท าให้ท านองดังกล่าวอยู่ใน บันไดเสียงโด ตามทฤษฎีวรยศเสียงล าดับที่ 3 ในบันไดเสียงโดจะห่างจากโน้ตล าดับที่ 2 อยู่ 2 เสี ้ยวเสียง แต่หากเทียบเคียงกับท านองเดิมซึ่งอยู่ในบันไดเสียงซอลจะพบว่าโน้ตในล าดับที่ 3

อยู่ห่างจากล าดับที่ 2 เพียง 1 เสี ้ยวเสียง ดังนั้นเพื่อให้สามารถบรรเลงในวงที่ต้องการเปลี่ยนระดับ เสียงและให้สอดคล้องกับส าเนียงดั้งเดิมของเพลงแล้ว ท านองในวรรคดังกล่าวจะต้องเปลี่ยน วิธีการวางนิ ้วให้สอดคล้องกับบันไดเสียงเดิม โดยจัดให้โน้ตในล าดับที่ 3 ห่างจากล าดับที่ 2 เพียง 1 เสี ้ยวเสียง เป็นเหตุให้เสียง ม ในวรรคดังกล่าวเป็นเสียง ม ไม่ใช่เสียง ม๋ ตามตัวอย่างดังนี ้ ตัวอย่าง ท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวา เพลงนกขมิ้น สามชั้น ท่อนที่ 1

ท านองหลัก - ม - ซ - ม - ร ร ร - ด ด ด - ล - ล - ซ ซ ซ - ล ล ล - ด ด ด - ร

ท านองซออู้ ด ล๎ ซ ม๋ˆ ร ม๋ ซฺ ร ม๋ ร ซ ฟ ม๋ ร ด - ลˇ - ด มˆ ร ม ซ ล ร ด ล ด ซ ล ด ร

จากท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาซึ่งมีการเปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้น 4 เสียง ท า ให้ซออู้ต้องเปลี่ยนวิธีการวางนิ ้วให้มีระยะห่างเท่ากับเสียงเดิม โดยท านองซออู้ในวรรคหลัง อยู่ในบันไดเสียงโด ซึ่งปกติโน้ตในล าดับที่ 3 จะต้องเป็นเสียง ม๋ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนระดับเสียง จึงท าให้เสียง ม๋ ต ่าลง 1 เสี ้ยวเสียงเป็นเสียง ม อย่างไรก็ตามหากสังเกตท านองซออู้ในวรรคหน้า จะยังคงปรากฏเสียง ม๋ อยู่ เนื่องจากท านองในวรรคหน้าเป็นท านองในบันไดเสียงโดแบบ 7 เสียง ซึ่งโดยปกติบันไดเสียงรูปแบบนี ้โน้ตล าดับที่ 3,4 และ 7,1 จะเป็นเสียงที่ชิดกัน จึงเป็นเหตุให้

เสียง ม ในวรรคหน้าเป็นเสียง ม๋ ตามรูปแบบบันไดเสียงแบบ 7 เสียง

นอกจากหลักการเรื่องการเปลี่ยนระดับเสียงการบรรเลงซึ่งส่งผลให้ซออู้มีวิธีการวาง นิ ้วที่แตกต่างไปจากวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ไม้นวมแล้ว ยังพบว่าครูเลอเกียรติ

มหาวินิจฉัยมนตรียังค านึงถึงความสอดคล้องของท านองซออู้กับเครื่องดนตรีอื่นในวงเครื่องสาย ปี่ชวาอีกด้วยด้วย

“...ในวงเครื่องสายปี่ชวาถ้าผมสีซออู้ ผมก็จะค านึงถึงท านองที่สอดคล้องกัน กับปี่ชวา บางทีกลอนเพลง หรือเทคนิคบางอย่างเราอาจจะเอาของปี่ชวามาเล่นด้วยก็ได้ แต่เราก็

ต้องรู้ทางปี่ชวาแล้วเล่นดักกัน ถ้าเรารู้แนวทางของปี่ชวาเราก็ท าทางหยอกกับปี่ชวาได้ บางทีผมรู้

แล้วว่าวรรคต่อไปครูปิ๊บ (ครูปิ๊บ คงลายทอง) จะต้องเป่าลูกนี้แน่นอนผมก็จะเอากลอนนั้นมาเล่น ก่อน พอพ้นวรรคนั้นเราก็มองหน้ากันแล้วก็ยิ้ม ผมว่านี้เป็นคนสุขที่เราได้จากการแปรทางนะ...”

(เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี, การสื่อสารส่วนบุคคล, 29 กันยายน 2564)

การแปรท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวา ครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรีจะ ค านึงถึงความสอดคล้องกับท านองปี่ชวาซึ่งเป็นประธานของวงเครื่องสายปี่ชวา โดยน ากลอนเพลง หรือท านองที่เกิดจากกลวิธีการบรรเลงเฉพาะของปี่ชวามาบรรเลงกับซออู้ คล้ายกับการหยอกล้อ กับปี่ชวา ซึ่งนอกจากจะท าให้เกิดสีสันในท านองแล้ว ยังก่อให้เกิดสุนทรียภาพระหว่างผู้บรรเลง ได้ดีอีกด้วย อย่างไรก็ตามท านองซออู้ในวงเครื่องสายปี่ชวาที่ได้น ามาศึกษาในครั้งนี ้ เป็นท านองที่

ครูเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรีได้เรียบเรียงไว้ก่อนล่วงหน้า จึงไม่ปรากฏท านองซออู้