• Tidak ada hasil yang ditemukan

ผลการทดลองใช้และปรับปรุงระบบการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกส าหรับนักเรียนที่มี

ผู้วิจัยขอน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ระยะ ตามล าดับ ดังนี้

1.ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความคาดหวังด้านการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวก ส าหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

2. ผลการสร้างระบบการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกส าหรับนักเรียนที่มีปัญหาทาง พฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

3. ผลการทดลองใช้และปรับปรุงระบบการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกส าหรับ นักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความคาดหวังด้านการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวก ส าหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

สภาพปัญหา และความคาดหวังด้านการสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกส าหรับนักเรียนที่มี

ปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม ผู้วิจัยขอเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทาง พฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาความคาดหวังการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ในโรงเรียนเรียนร่วม

ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา ทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

1) ขาดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม พบว่า โรงเรียนด าเนินการจัดการศึกษา การช่วยเหลือและการจัดการพฤติกรรมนักเรียนที่มีปัญหา ทางพฤติกรรม โดยใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นระบบที่กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มาใช้ในโรงเรียนเพื่อด าเนินงานในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้ด าเนินการคัดกรอง นักเรียนโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมThe Strengths and difficulties Questionnaire : (SDQ) แบบคัดกรองนักเรียนที่มีความบกพร้องทางพฤติกรรมและอารมณ้ของส านักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนร้วมได้ด าเนินงานโดยใช้การบริหาร จัดการเรียนร้วมตามโครงสร้าง SEAT ในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษรวมถึง นักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ด าเนินการคัดกรองโดยใช้ ด าเนินการคัดกรองโดยครูที่

รับผิดชอบการศึกษาพิเศษในโรงเรียน ดังค ากล่าวของผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

้เชี่ยวชาญคนที่ 1 “...โรงเรียนได้มีนโยบายจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษทุกผู

ประเภท เป็นโรงเรียนแกนน าจัดการเรียนร่วม ท าตามโครงสร้างSEAT มีส่งครูเข้าอบรมและ มอบหมายให้ครู....ซึ่งเป็นครูภาษาไทยรับผิดชอบดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งทางผู้บริหารสนับสนุนทุกด้าน ทั้งการคัดกรอง ส่งไปพบแพทย์ และจัดห้องเรียนส าหรับสอนเสริม ส าหรับเด็กที่มีปัญหาทาง พฤติกรรมในโรงเรียนก็จะด าเนินการแนวทางเดียวกันกับเด็กพิเศษประเภทอื่นๆ”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 “...โรงเรียนได้ใช้แบบคัดกรองของสพฐ. และทางส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษาขอข้อมูลประเมิน SDQ ของนักเรียนในโรงเรียน และหากเด็กคนไหนที่มีปัญหา มากๆ เช่น สมาธิสั้น เรียนไม่ได้ เกเร ลุกออกจากที่ เรียนไม่รู้เรื่องฯลฯ ก็จะเรียกผู้ปกครองมา หาทางวิธีการช่วยเหลือร่วมกัน ส่วนใหญ่ก็จะแนะน าให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์เพิ่ม”

2) บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการพฤติกรรมส าหรับนักเรียนที่มี

ปัญหาพฤติกรรม ส่งผลให้ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ไม่สามารถจัดการพฤติกรรมของ นักเรียนได้ ท าให้นักเรียนขาดโอกาสได้ฝึกพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่เหมาะสมกับสถานที่

สถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเป็นประจ าและสม ่าเสมอ และส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่

พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 “...ประการแรก ครูผู้สอนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะปฏิบัติในการจัดการพฤติกรรมหรือการปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษ ....”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 “...ขาดวิธีการปรับพฤติกรรม เมื่อครูเจอปัญหา พฤติกรรมของเด็กก็จะใช้วิธีเดิมๆ การเตือน การดุ เพราะวิธีเหล่านี้หยุดพฤติกรรมเด็กได้ทันที แต่

เด็กก็ยังมีพฤติกรรมนั้นอีก”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 “...เวลาที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณครูก็จะเตือน อบรม เรียกมาคุย และรายงานให้ผู้ปกครองรับฟัง ส่วนเทคนิควิธีการเฉพาะยังไม่

มี...”

3) ขาดการส่งต่อและความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ โรงเรียนได้มีระบบการส่งต่อ นักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านปัญหาทางพฤติกรรมไปยังโรงพยาบาลประจ าอ าเภอและประจ าจังหวัด พบว่า การด าเนินงานร่วมกับโรงเรียน ทางโรงพยาบาลจะมีการรายงานผลการวินิจฉัยและการให้

ค าแนะน าไปยังผู้ปกครองและครู มีการติดตามผลเป็นระยะ นอกจากนี้มีการจัดอบรมการให้

ความรู้และวิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรม

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 “...ทางโรงเรียนจะส่งต่อให้หมอที่โรงพยาบาลตรวจ วินิจฉัย โดยทางครูที่รับผิดชอบการศึกษาพิเศษจะเป็นคนที่พาเด็กไปตรวจ”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 “...จะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจ าอ าเภอ จะมี

คิวนัดกับทางโรงพยาบาล”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ “...ทางโรงพยาบาลประจ าจังหวัดจะเป็นศูนย์ใหญ่ แต่

ทั้งนี้เด็กจะเข้ามาในลู่ของโรงพยาบาลประจ าอ าเภอก่อน หากโรงพยาบาลประจ าอ าเภอไม่มี

จิตแพทย์เด็ก ก็จะท าเรื่องส่งมารับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาล ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลประจ า จังหวัดเมื่อได้รับเคส หลังจากวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ทางโรงพยาบาลจะมีการให้ค าแนะน าถึงการ ช่วยเหลือ กระตุ้นพัฒนาการ การดูแลปรับพฤติกรรมไปยังผู้ปกครองและครู และในส่วนของ โรงพยาบาลจะมีการจัดอบรมให้ความรู้และวิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทาง พฤติกรรม”

ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาความคาดหวังของผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่มี

ต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม

1. โรงเรียนอยากให้มีแนวทางการช่วยเหลือด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีปัญหา ทางพฤติกรรมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มีขั้นตอนที่ครูในโรงเรียนสามารถน ามาใช้ในการวางแผนและ จัดการพฤติกรรมได้อย่างสะดวก ดังค ากล่าวของครูดังนี้

ผู้เชี่ยวชาญคนที่1“...ถ้ามีแนวทางการช่วยเหลือ การปรับพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ที่ชัดเจน มีขั้นตอน วิธีการต่างๆ เทคนิคต่างๆที่เข้าใจง่าย ครูน่าจะท าตามได้...”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่2“...อยากให้มีระบบขั้นตอนที่ชัดเจนเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัด กรอง การให้ความรู้เรื่องการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม แบบการประเมินพฤติกรรม และ แนวทางการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่3“...อยากให้มีระบบขั้นตอนที่ชัดเจนเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัด กรองการให้ความรู้เรื่องการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม แบบการประเมินพฤติกรรม และ แนวทางการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน

2. ครูผู้สอนอยากให้มีให้มีเทคนิควิธีการปรับพฤติกรรม วิธีการคัดกรอง วิธีการ ช่วยเหลือนักเรียนที่เหมาะสม เมื่อพบนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น นักเรียนลุกออก จากที่ นักเรียนพูดค าไม่สุภาพ ควรมีวิธีการจัดการพฤติกรรมอย่างไรและวิธีการสร้างเสริม พฤติกรรมส าหรับเด็กพิเศษอย่างถูกต้องตามหลักการ ดังค ากล่าว

ผู้เชี่ยวชาญคนที่1“...อยากให้มีวิธีการปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษในห้องเรียน...”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่2“...ส าหรับเด็กพิเศษที่มีปัญหาพฤติกรรมแล้วเรียนใน

ห้องเรียนรวม เขาจะเป็นคนที่ชอบก่อกวนห้องเรียน คุณครูอยากให้มีวิธีการปรับ พฤติกรรมกับเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่3“...เคยไปอบรมวิธีการปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษ พอจะทราบ เทคนิคต่างๆมาบ้าง น ามาใช้ในห้องเรียน ปรับเข้ากับวิธีการสอนของเรา เด็กก็ดีขึ้น เช่น การเสริมแรง การให้รางวัล การตั้งเงื่อนไข หากมีวิธีการใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆที่เฉพาะเจาะจง กับพฤติกรรมเด็กก็จะท าให้ช่วยเด็กได้ง่ายขึ้น”

3. ผู้บริหารและครูผู้สอนอยากให้มีกระบวนการท างานร่วมกันกับผู้ปกครอง และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับพฤติกรรมเด็กพิเศษ เพื่อร่วมกันช่วยกันหาทางแก้ปัญหาพฤติกรรมของ นักเรียน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่1“...อยากให้มีการร่วมด้วยช่วยกันกับผู้ปกครองในการแก้ไข ปัญหาของบุตรหลาน...”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2“...บางปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนมีความรุนแรง เช่น ตี

เพื่อน หรือพฤติกรรมรุนแรง ทางครูอยากจะส่งไปปรึกษาหมอ แต่กระบวนการจะต้องท าเรื่องขอ คัดกรอง ซึ่งใช้เวลานาน ท าให้ปัญหาพฤติกรรมที่รุนแรงถูกแก้ไขช้า ”

4. สถานศึกษาอยากให้มีกระบวนการจัดการพฤติกรรมที่เป็นขั้นเป็นตอนของการ ท างาน มีการเตรียมเอกสาร แบบประเมินต่างๆที่พร้อมใช้ มีการวัดและประเมินผลที่สามารถ น ามาใช้ในการประเมินพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1“...หากเป็นไปได้อยากให้มีชุดคู่มือที่มีเอกสารต่างๆ แนะน า ครูในการประเมินพฤติกรรมเด็ก มีแนวทางการจัดกิจกรรมและการวัดผล ประเมินผลว่านักเรียนมี

พัฒนาการที่ดีขึ้นไหม ...”

ผู้เชี่ยวชาญคนที่2“...อยากให้มีแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนเป็นขั้นตอน 1 ควรท าอะไร 2 เมื่อพบเด็กแล้วควรท าอย่างไรต่อไป ถ้าเด็กมีพฤติกรรมนี้ควรช่วยเหลืออย่างไร หากมีขั้นตอนแบบนี้ได้จะท าให้ครูท างานง่ายขึ้น ”

ผู้วิจัยน าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัญหา และความคาดหวังด้านการสนับสนุน พฤติกรรมเชิงบวกส าหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนเรียนร่วม โดยศึกษาผ่านการ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) มาเป็นแนวทางก าหนดร่างระบบสนับสนุนพฤติกรรมเชิง บวกในระยะที่ 2