• Tidak ada hasil yang ditemukan

รูปแบบส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า

ที่มา : สิทธิ์ ธรสรณ์ (2551). หลักการตลาด. หน้า 42

Product Customer Solution

Price Customer Cost

Place Convenience

Promotion Communication

1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) กล่าวคือ การที่ลูกค้าเกิด ความต้องการที่จะซื ้อสินค้าและบริการอันมาจากแรงขับเคลื่อนภายในและได้มองและพิจารณาถึง ความสามารถในการซื ้อสินค้าหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาความต้องการของตนเอง โดยที่ธุรกิจ หรือองค์กรมีหน้าที่ในการผลิตสินค้าและบริการให้ตอบสนองความต้องการของผู้ซื ้อ

2. ด้านต้นทุน (Cost) กล่าวคือ เป็นการพิจารณาทางการลงทุนไปมีมากกว่าเรื่องของ ตัวเงิน ซึ่งธุรกิจจ าเป็นต้องพิจารณาถึงต้นทุนอื่นๆ ที่ต้องเสียไปในระหว่างที่มีการผลิตสินค้าและ บริการ ซึ่งธุรกิจเองนอกจากจะพิจารณาต้นทุนการผลิตของตนแต่ต้องพิจารณาถึงต้นทุนของ ผู้บริโภค ส าหรับการตั้งราคาของผู้ผลิตก็จ าเป็นต้องค านึงต้นทุนของผู้บริโภคเป็นหลัก

3 ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) กล่าวคือ การที่นักการตลาดจ าเป็นต้อง ตระหนักว่าลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชอบซื ้อสินค้าของตนอย่างไร เพื่อความสะดวกในการซื ้อ และ การเข้าถึงการบริการที่หลากหลายช่องทาง

4. ด้านการสื่อสารต่อผู้บริโภค (Communication) กล่าวคือ เป็นการสื่อสารในเชิงที่

สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยเน้นถึงความต้องการของผู้ซื ้อไปหลัก ประกอบกับสภาพแวดล้อม ในทางการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีการการรับรู้ระหว่างผู้ซื ้อและผู้ขายมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่ม รายได้และความภักดีของลูกค้าด้วย

ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ ศิริมงคล (2564) ได้กล่าวถึง ส่วนประสมทางการตลาดใน มุมมองลูกค้าไว้ทั้งสิ ้น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) กล่าวคือ เป็นการมอง ว่าการจ าหน่ายสินค้านี้แล้วผู้บริโภคจะซื ้อไปใช้หรือไม่ เนื่องจากผู้บริโภคมักจะเลือกสินค้าและ บริการได้ด้วยตนเอง ซึ่งธุรกิจย่อมจ าเป็นต้องศึกษาและท าความเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง เพื่อ รองรับความต้องการของผู้ซื ้อได้อย่างแท้จริง

2. ด้านต้นทุน (Cost) กล่าวคือ เป็นการก าหนดราคาของสินค้า ที่ต้องคานึงถึง ต้นทุนของผู้บริโภคมากกว่าต้นทุนทางการธุรกิจ ธุรกิจมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ต้นทุนของผู้ซื ้อว่า ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรมาก่อนหรือไม่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นย่อมรวมต้นทุนค่าเสียโอกาสไปด้วยดังนั้น ผู้บริโภคจะประเมินถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปคุ้มค่ากับสินค้าหรือบริการหรือไม่ซึ่งความรู้สึกคุ้มค่าของ ผู้บริโภคแต่ละคนล้วนแตกต่างกันออกไป

3 ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) กล่าวคือ การที่ธุรกิจนั้นค านึงถึง ความสะดวกสบายของผู้บริโภคเป็นส าคัญ ด้วยการเพิ่มช่องทางในการที่ผู้บริโภคสามารถค้นหา

สินค้าได้อย่างรวดเร็ว อ านวยความสะดวกในการให้ข้อมูลสินค้าที่เพียงพอกับความต้องการรวมไป ถึงช่องทางการช าระเงินและการบริการจัดส่งสินค้าด้วย

4. ด้านการสื่อสารต่อผู้บริโภค (Communication) กล่าวคือ เป็นการสื่อสารให้

เข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะการสื่อสารที่ดีจะสร้างความไว้วางใจและความเชื่อถือในสินค้า และบริการ ส่งผลให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการตาม รูปแบบวิถีชีวิตจะเป็นการเข้าถึงใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทาให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าได้รับ ความคุ้มค่ามากกว่าที่คาดหวังจนเกิดความพึงพอใจท าให้เกิดการซื ้อซ ้าได้

Hester (2019) ได้กล่าวถึง ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้าไว้ทั้งสิ ้น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) กล่าวคือ เป็นความ ต้องการของลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อเติมเต็มความต้องการของลูกค้า ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์ทาง การตลาดนี้มีความส าคัญส าหรับธุรกิจที่สนใจแสวงหาความเข้าใจลูกค้าของตน เมื่อเข้าใจลูกค้า แล้ว การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ลูกค้าเป็นผู้ตัดสินใจ ซื ้อ จึงเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในกลยุทธ์ทางการตลาด

2. ด้านต้นทุน (Cost) กล่าวคือ เป็นต้นทุนโดยรวมในการซื ้อผลิตภัณฑ์ให้กับ ลูกค้า สิ่งส าคัญคือต้องก าหนดต้นทุนโดยรวม ไม่ใช่ราคาของผลิตภัณฑ์ที่ธุรกิจให้แก่ลูกค้า ค่าใช้จ่ายไม่เพียงแต่รวมราคาของสินค้าเท่านั้น แต่ยังอาจรวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น เวลาที่ใช้ส าหรับ ลูกค้าเพื่อไปยังสินค้าและบริการของธุรกิจ หรือค่าน ้ามันที่ใช้ในการเดินทาง ต้นทุนยังรวมถึง ผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่ขาดไปให้กับลูกค้า

3 ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) กล่าวคือ รูปแบบการตอบสนอง ความต้องการของผู้ซื ้อที่หลากหลายช่องทาง เช่น การซื ้อของออนไลน์หรือในร้านค้า รวมถึงสิ่งที่

ลูกค้ายินดีจะท าเพื่อซื ้อสินค้าของธุรกิจ ต้นทุนโดยรวมของผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวก าหนดความ สะดวกให้กับกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายคือการท าให้ผลิตภัณฑ์คุ้มค่าและเพียงพอ ส าหรับลูกค้าที่จะได้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ

4. ด้านการสื่อสารต่อผู้บริโภค (Communication) กล่าวคือ เป็นการโน้มน้าวใจ ลูกค้าเพื่อให้ซื ้อสินค้า ซึ่งเป็นแนวทางที่มุ่งเน้นลูกค้าในงานขายผลิตภัณฑ์ การสื่อสารจ าเป็นต้องมี

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื ้อและผู้ขาย กลยุทธ์ทางการตลาดนี้สามารถน าไปใช้ได้ง่ายส าหรับการ สื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถโต้ตอบกับผู้ขายได้และในที่สุดจะน าไปสู่ความภักดี

ต่อตราสินค้ามากขึ้นในกลุ่มลูกค้าของธุรกิจ

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร (2562) ได้กล่าวถึง ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมอง ลูกค้าไว้ทั้งสิ ้น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) กล่าวคือ เป็นการให้

ความส าคัญที่ตัวลูกค้าว่าต้องการหรือก าลังมองหาสินค้าบริการใด ซึ่งธุรกิจก็ต้องพยายามก าหนด ลูกค้าให้ชัดเจนว่าเป็นใคร แล้วจึงสร้างแผนการตลาดเพื่อสนองความต้องการของลูกค้านั้น ทั้งนี้

การท าความเข้าใจลูกค้าเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ส าคัญต่อธุรกิจ การสร้างความเข้าใจลูกค้าจึงเป็น ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในการท าการตลาด หากคุณไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้าก็จะไม่

สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้

2. ด้านต้นทุน (Cost) กล่าวคือ เป็นการวัดหรือประเมินความรู้สึกของลูกค้าว่า คุ้มค่าหรือไม่ในการซื ้อสินค้าบริการ ส าหรับต้นทุนหรือมูลค่าของสินค้าบริการซึ่งนอกจากจะ ประกอบด้วยราคาแล้ว ยังรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมเช่น ค่าน ้ามัน และนามธรรม เช่น เวลา ด้วย โดยทั่วไปแล้ว ลูกค้าจะซื ้อสินค้าบริการก็ต่อเมื่อ คุณค่าของสินค้าบริการในมุมมองของ ลูกค้า หักด้วยค่าใช้จ่ายแล้ว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่าศูนย์

3 ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) กล่าวคือ เป็นความสะดวกในการ เข้าถึงเพื่อการซื ้อสินค้าบริการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกของลูกค้าในการได้รับสินค้าบริการ ดังนั้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า จะช่วยให้เข้าใจได้ว่าลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น นิยม ซื ้อของออนไลน์หรือชอบมาเลือกซื ้อด้วยตนเอง แม้ว่าการมาเลือกดูสินค้าจะท าให้ค่าใช้จ่ายของ ลูกค้าสูงขึ ้น แต่หากนั่นเป็นพฤติกรรมของลูกค้า ก็ถือว่าเป็นความสะดวกเช่นกัน

4. ด้านการสื่อสารต่อผู้บริโภค (Communication) กล่าวคือ เป็นช่องทางที่

สามารถส่งข้อมูลของสินค้าบริการได้ตรงกับการรับรู้ของลูกค้า ผ่านการประชาสัมพันธ์ทาง การตลาดโดยการเลือกสรรช่องทางในการส่งข้อมูลและเนื้อหาสาระของข้อมูลที่ลูกค้าจะน าไป จดจ า การท ากลยุทธ์การสื่อสารจึงจ าเป็นต้องทบทวนความต้องการของลูกค้าและสื่อสารออกไป ให้ชัดเจนให้มากที่สุดว่า ซึ่งมีจะผลให้เกิดความเข้าใจในตัวสินค้าและลริการและน ามาซึ่งการ ตัดสินใจซื ้อ

Lauterborn (1990) ได้กล่าวถึง ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้าไว้ทั้งสิ ้น 4 ด้าน ได้แก่

1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) กล่าวคือ เป็น การศึกษาความต้องการของผู้บริโภค สามารถขายได้เฉพาะสิ่งที่มีคนต้องการซื ้อโดยเฉพาะเท่านั้น ธุรกิจจึงจ าเป็นต้องศึกษาและเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคและผ่านการส ารวจและ

ข้อเสนอแนะของผู้บริโภคมาพัฒนาผลิตภัณฑ์มาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่าง ชัดเจน

2. ด้านต้นทุน (Cost) กล่าวคือ เป็นต้นทุนโดยรวมของผู้บริโภคเพื่อสนองความ ต้องการหรือความจ าเป็นนั้น ราคาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุน อย่างเช่น สิ่งที่ขายไปของสินค้า เช่น แฮมเบอร์เกอร์ 1 ชิ้น จะรวมค่าใช้จ่ายของเวลาที่จะขับรถไปซื ้อ ซึ่งมีความซับซ้อนและมีความ แตกต่างกันในการก าหนดต้นทุนแก่กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

3. ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) กล่าวคือ เป็นการมองหาวิธีการ เพื่อให้ลุกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่วางไว้ ซึ่งนักการตลาดต้องมีการวางแผนในการวาง ผลิตภัณฑ์ เช่น แคตตาล็อก บัตรเครดิต ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า อย่างไรก็ตามนักการตลาดก็

ต้องมีการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของตลาดเพื่อปรับกลยุทธ์และสรรหาช่องทาง การตลาดให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละยุคด้วย

4. ด้านการสื่อสารต่อผู้บริโภค (Communication) กล่าวคือ เป็นการสื่อสารถึง เนื้อหาที่น าเสนอ และการเลือกช่องทางการรับสารที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้

การสื่อสารที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค จึงกลายเป็นต้นทุนความพึงพอใจและการสื่อสาร โดยเฉพาะในปัจจุบันมีหลายรูปแบบที่ก าหนดการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ที่ตรงกับ ผู้บริโภคจึงมีความส าคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารทางการตลาด

จากแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้า กล่าวได้ว่า เป็นกลยุทธ์ที่

มุ่งเน้นตัวลูกค้าเป็นลัก ซึ่งในการวิจัยในครั้งนี้ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองลูกค้าจะยึด แนวคิดของ Lauterborn (1990) ได้มุ่งเน้นศึกษาด้านความต้องการของผู้บริโภค (Customer Solution) เป็นการศึกษาความต้องการของผู้บริโภค หาค้นหาความต้องการที่แท้จริง ด้านต้นทุน (Cost) เป็นต้นทุนทั้งหมดในการซื ้อผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้านความสะดวกสบาย (Convenience) วิธีการเพื่อให้ลุกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่วางไว้ และด้านการสื่อสาร ต่อผู้บริโภค (Communication) การสื่อสารของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าสามารถประเมินถึงสินค้าและ บริการที่ได้รับของผลิตภัณฑ์กราโนล่าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า

ความหมายเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าตราสินค้า

Balathandayutham and Sritharan (2020) กล่าวถึง การรับรู้คุณค่าตราสินค้าเป็น ความตระหนัก ความเชื่อมั่นของลูกค้าในตราสินค้าและความพึงพอใจที่มีต่อตราสินค้าที่เคยหรือ