• Tidak ada hasil yang ditemukan

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 4.2

ชั้น ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ม. 2 1. ใช้ภาษาต่างประเทศในการ สืบค้น/ค้นคว้า รวบรวมและสรุป ความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษา ต่อและประกอบอาชีพ

การใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/การค้นคว้า ความรู้/ข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

2. เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร ของโรงเรียนเป็น ภาษาต่างประเทศ

การใช้ภาษาต่างประเทศในการเผยแพร่/

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน เช่น การ ท าหนังสือเล่มเล็กแนะน าโรงเรียน การท าแผ่นปลิว ป้ายค าขวัญ ค าเชิญชวนแนะน าโรงเรียน การ

น าเสนอข้อมูลข่าวสารในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 11. ค าอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ปฏิบัติตามและใช้ค าขอร้อง ค าแนะน า ค าชี้แจง และค าอธิบายต่างๆ ตาม

สถานการณ์ อ่านออกเสียง เลือกหัวข้อ สรุปใจความส าคัญและรายละเอียดสนับสนุน พร้อมทั้งแสดง ความคิดเห็น ใช้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบจากการอ่านข้อความ เรื่องราว ข่าว เหตุการณ์

ประกาศ กิจกรรมบทร้อยกรองสั้นๆ เรื่องใกล้ตัวและเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม ระบุ เขียน เปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียง ประโยคชนิดต่างๆ และ การล าดับค าตามโครงสร้างของประโยค ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย ขอและให้ข้อมูลแสดง ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง กิจวัตรประจ าวัน ประสบการณ์

สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจ าวัน เช่น ในห้องเรียน ในชีวิตประจ าวัน เช่น ในห้องเรียน ในสถานศึกษา และชุมชน โดยใช้ภาษาน้ าเสียง กริยาท่าทางได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ อธิบาย เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างความเป็นมาและความส าคัญของเทศกาล วันส าคัญ ชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมประเพณีของเจ้าของภาษา พร้อมทั้งเข้าร่วมหรือจัด กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสตามมารยาททาง สังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา สืบค้น รวบรวม และสรุปความรู้ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนเป็นภาษาต่างประเทศ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมีความมุ่งมั่นในการท างาน

26 สรุปได้ว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นแนวทางส าคัญ หรือหลักยึดในการบริหารจัดการหลักสูตรต่างๆ ในระดับชาติ โดยเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญและมุ่งเน้นให้

ผู้เรียนคิดเป็น ท าเป็น แก้ปัญหาเป็น และเป็นพลโลกที่มีคุณภาพ ส าหรับหลักสูตรกลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศนั้น ประกอบด้วย 4 สาระ 8 มาตรฐาน ซึ่งมุ่งหวังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของ ภาษาอังกฤษ สามารถใช้สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ได้ และใช้ภาษาในการแสวงหาความรู้ เปิดโลกทัศน์

ของตน อีกทั้งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ สังคมโลก

ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

1. ความหมายของการพูดภาษาอังกฤษ

ผู้วิจัยได้ศึกษาบทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการหลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านได้ให้ความหมายของการพูด ดังนี้

อัจฉรา วงศ์โสธร (2544) ให้ความหมายว่า การพูด คือ ทักษะทางสังคม (Social Skill) การพูดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความรู้ องค์ประกอบทางภาษาและความตระหนักถึงลีลา ภาษาตลอดจนการสื่อความหมายโดยสื่อที่ไม่ได้เป็นตัวภาษา (Non-verbal Pronoun) หรืออวัจน ภาษา โครงสร้างทางภาษามักไม่เป็นระเบียบแบบแผนโดยเฉพาะการพูด ดังนั้น ภาษาพูดจึงมี

ลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยการรวมค าให้สั้น (Contractions) บุรุษสรรพนาม

(Personal Pronoun) ค าถาม (Question) ค าที่เป็นรูปธรรม (Concrete Words) ค าที่มีพยางค์สั้นๆ (Fewer Syllables) การทวนค าและการทวนความ (Restatement) การซ้ าค าและซ้ าความ

(Repetition) และการอุทาน (Interjection)

พรสวรรค์ สีป้อ (2550) ให้ความหมายว่า การพูด คือ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในสังคม เป็นการสื่อสารทางวาจาของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ต่างฝ่ายต่างมีจุดประสงค์ที่สื่อ

ความหมายของตน และต่างฝ่ายก็ต้องตีความสิ่งที่ตนได้ฟัง

วรรณี โสมประยูร (2553) ให้ความหมายว่า การพูด คือ การสื่อความหมายอย่าง หนึ่งโดยใช้น้ าเสียง ภาษา กิริยาท่าทางเพื่อถ่ายทอดความในใจไปให้ผู้ฟังรู้หรือเข้าใจสิ่งที่ตนต้องการ หรือให้รู้ความรู้สึกนึกคิดของตน เพราะการพูดเป็นทักษะการส่งออกตามหลักภาษาศิลป์

บีลีย์ (Bailey, 2005) ให้ความหมายว่า การพูด คือ การเปล่งเสียงออกมาเพื่อให้

เกิดความหมายการพูดเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้พูด ผู้ฟัง และข้อมูล การพูดเป็น

27 Productive Skills เพราะผู้พูดเป็นผู้ให้ข้อมูล หรือเป็นผู้ส่งสาร การพูดกับการเขียนถือว่าเป็น

Productive Skills ส่วนการฟังและการอ่านเป็น Receptive Skills เพราะเป็นการรับสาร

ธอร์นเบอรี่ (Thornbury, 2005) ให้ความหมายว่า การพูด คือ ภาษาที่ถูกสร้างขึ้น โดยการเปล่งเสียงพูดแบบค าต่อค าเพื่อตอบคู่สนทนา

ปันไดดิกัน (Pandidikan, 2009) ให้ความหมายว่า การพูด คือ กระบวนการผลิต เสียงซึ่งเป็นทักษะที่ผู้สอนต้องท าความเข้าใจในศักยภาพของผู้เรียนก่อนที่จะเริ่มท ากิจกรรมการเรียน การสอน การพูดเป็นสิ่งที่ส าคัญส าหรับผู้เรียนในการรับรู้ภาษา เพราะการพูด

ไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการของการผลิตเสียงเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การโต้ตอบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ทัศนคติ และความรู้สึกระหว่างผู้พูดอีกด้วย

โมราร์ (Morar, 2010) ให้ความหมายว่า การพูด คือ กระบวนการในการสร้างค า และการมีส่วนร่วมทางการสื่อสารผ่านวัจนภาษาและอวัจนภาษา การพูด เป็นส่วนที่ส าคัญอย่างยิ่งใน การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม สภาวการณ์ของโลกในปัจจุบันได้ตั้งเป้าหมายในการ สอนการพูดให้ผู้สอนได้ยกระดับทักษะการพูดสื่อสารให้กับผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้การใช้

ภาษาได้ด้วยตนเอง และผู้เรียนควรเรียนรู้ที่จะพูดภาษาอังกฤษด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ สรุปได้ว่า การพูด หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเพื่อให้เกิดความหมาย เป็นการสื่อ ความหมายอย่างหนึ่งโดยใช้น้ าเสียง ภาษา กิริยาท่าทางเพื่อถ่ายทอดความในใจไปให้ผู้ฟังรู้หรือเข้าใจ สิ่งที่ตนต้องการ หรือให้รู้ความรู้สึกนึกคิดของตน การพูดเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้พูด ผู้ฟัง และข้อมูล

2. ความส าคัญของการพูด

ได้มีผู้อธิบายถึงความส าคัญของการพูด ดังนี้

กรมวิชาการ (2545) ได้สรุปความส าคัญของการพูดว่า ความสามารถในการพูด ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจ าเป็น เพราะจะท าให้ผู้พูดแสดงออกถึงความต้องการและความรู้สึกนึกคิด ของผู้พูด โดยสามารถน าเรื่องที่พูดนั้นไปใช้ในสถานการณ์สิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตประจ าวันหรือการรายงาน เหตุการณ์ต่างๆ ด้วยถ้อยค าที่กระชับ สามารถเรียบเรียงค าพูดที่ได้ฟัง หรือสิ่งที่อ่านมาให้เป็นค าพูด ของตนเองได้อย่างคล่องแคล่ว และเมื่อสามารถพูดได้ก็ย่อมสามารถฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้เข้าใจ ก็จะช่วย ให้ง่ายต่อการอ่านและเขียน

กุศยา แสงเดช (2548) ได้กล่าวถึงความส าคัญของการพูดว่า การพูดเป็นเครื่องมือ ที่มีความส าคัญเพื่อการสื่อสารในการสอนทักษะการพูดเบื้องต้น มุ่งเน้นให้ใช้ทักษะการพูดเพื่อการ สื่อสารได้ในสถานการณ์จ าลอง สิ่งส าคัญคือตัวครูผู้สอนจะต้องให้ความถูกต้อง รูปแบบ เสียง ดังนั้น กิจกรรมต่างๆ จึงเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติตามแบบหรือตัวอย่างที่ก าหนดเพื่อน าไปสู่ขั้น

28 การสอนพูดให้มีประสิทธิภาพและได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด การเตรียมกิจกรรมที่จะน าไปสู่การสอนพูด ครูผู้สอนต้องค านึงถึงความถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ และระดับภาษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน

วัทกินส์ (Watkins, 2005) กล่าวถึงความส าคัญของการพูดว่า มีเหตุผลมากมาย ที่มนุษย์ต้องพูดและเหตุผลพื้นฐานที่น่าจะเป็นการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคม การทักทายกัน เมื่อพบปะกัน การพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการงาน อากาศ กีฬาและครอบครัว หรือ แม้กระทั่งการใช้ภาษาเพื่อให้ความบันเทิงกับคู่สนทนา เช่นการเล่าเรื่องตลก การเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตตลอดจนการเล่าเรื่อง นิยาย ละคร ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ภาษาพูด เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในสังคมทั้งสิ้น เมื่อคุยกับเพื่อนภาษาที่ใช้ไม่เป็นทางการและไม่มีแบบแผน อะไรมากมาย ซึ่งต่างจากภาษาที่ใช้แลกเปลี่ยนหรือส่งผ่านข้อมูลในบริบทที่หลากหลายภาษาที่ใช้ต้อง มีแบบแผน ซึ่งต้องดูความเหมาะสมด้วยว่าสิ่งใดควรพูดและสิ่งใดไม่ควรพูด นอกจากนั้นยังต้องพูดให้

ตรงประเด็น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการพูดที่ไม่มีแบบแผน หรือมีแบบแผน สิ่งที่จ าเป็นขณะพูดคือ ผู้พูดต้องใช้ค าพูดและโครงสร้างได้ถูกต้อง นอกจากนั้นยังต้องสามารถขยับริมฝีปาก ลิ้น และอวัยวะ ที่ใช้ในการออกเสียงให้ถูกต้อง ในขณะที่พูดก็ต้องแก้ไขภาษาของตนเองให้ถูกต้อง รวมไปถึงต้องเข้าใจ วัฒนธรรมของการสนทนาว่าสิ่งใดไม่เหมาะสมที่จะพูด สิ่งที่บรรยายมาทั้งหมดส าหรับเจ้าของภาษา ท าได้ไม่ยาก และใช้เวลาไม่นาน แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการพูดภาษาต่างประเทศ ผู้พูดก็คงประสบความ ยากล าบากในการที่สื่อสารปฏิสัมพันธ์ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผู้เรียนจ าเป็นต้องฝึกพูดโดยผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกพูด

สรุปได้ว่าการพูดภาษาอังกฤษมีบทบาทส าคัญต่อการใช้ชีวิตประจ าวันมากขึ้นทุกวัน

เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับชาวต่างประเทศทั้งในทางธุรกิจ การประกอบอาชีพและการศึกษา แม้ว่าการพูดนั้นจะพูดผิดหรือถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ก็ตาม

3. องค์ประกอบของการพูด

นักการศึกษาได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการพูดไว้ ดังต่อไปนี้

กรมวิชาการ (2542) กล่าวถึงทักษะการพูดว่ามีองค์ประกอบที่ส าคัญอยู่

5 ประการ

1. ความคล่องในการพูด (Fluency)

2. ความสามารถในการพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ (Comprehensibility) 3. ปริมาณของข้อมูลที่สื่อสารได้ (Amount of Communication) 4. คุณภาพของข้อความที่น ามาสื่อได้ (Quality of Communication) 5. ความพยายามในการสื่อสาร (Effort of Communication)