• Tidak ada hasil yang ditemukan

The Results of Teaching by Using Communicative Tasks to Improve English Speaking Skill, Communication Strategies and Risk Taking of Mattayomsuksa

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "The Results of Teaching by Using Communicative Tasks to Improve English Speaking Skill, Communication Strategies and Risk Taking of Mattayomsuksa "

Copied!
198
0
0

Teks penuh

(1)

ผลการจัดการเรียนรู้เน้นภาระงานสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ การใช้กลวิธีสื่อสาร และความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วิทยานิพนธ์

ของ

เพ็ญพักตร์ พินธุนิบาตร

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ตุลาคม 2561

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(2)

ผลการจัดการเรียนรู้เน้นภาระงานสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ การใช้

กลวิธีสื่อสารและความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วิทยานิพนธ์

ของ

เพ็ญพักตร์ พินธุนิบาตร

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ตุลาคม 2561

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(3)

The Results of Teaching by Using Communicative Tasks to Improve English Speaking Skill, Communication Strategies and Risk Taking of Mattayomsuksa

II Students

Penpak Pinthunibart

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Master of Education (Curriculum and Instruction)

October 2018

Copyright of Mahasarakham University

(4)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้พิจารณาวิทยานิพนธ์ของนางเพ็ญพักตร์ พินธุนิบาตร แล้วเห็นสมควรรับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

(อ. ดร. ประสงค์ สายหงษ์ )

ประธานกรรมการ

(ผศ. ดร. จิระพร ชะโน )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

(อ. ดร. ดนิตา ดวงวิไล )

กรรมการ

(ผศ. ดร. ไพศาล วรค า )

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

มหาวิทยาลัยอนุมัติให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(รศ. ดร. พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร)

คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

(ผศ. ดร. กริสน์ ชัยมูล ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย วัน เดือน ปี

(5)

บทคัดย่อ ภาษาไทย

ชื่อเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้เน้นภาระงานสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ การใช้กลวิธีสื่อสารและความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย เพ็ญพักตร์ พินธุนิบาตร

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิระพร ชะโน

ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮด ไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิลตาม เกณฑ์ 70/70 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดที่ใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสาร 3) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ระหว่างการสอนโดยใช้กิจกรรมเน้น ภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วย กิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล 4) ศึกษาการใช้กลวิธีสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในขณะ เรียนที่ใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสาร 5) ศึกษาความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในขณะเรียนที่ใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสาร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จ านวน 79 คน จาก 2 ห้องเรียน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อ าเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ส านักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 ได้มาโดยการสุ่มแบบจ าแนกกลุ่ม (Random Assignment) โดย ก าหนดให้กลุ่มทดลองที่ 1 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จ านวน 39 คน สอนโดยใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ กลุ่มทดลองที่ 2 คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จ านวน 40 คน สอนโดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะ โปสเตอร์แครูเซิล เครี่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนกิจกรรมพัฒนาทักษะ การพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีสื่อสาร แบบประเมินพฤติกรรมความกล้าพูด และแบบทดสอบทักษะการพูด โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ต แกลลอรี่และกิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จ านวน 8 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ

(6)

จ การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่

เท่ากับ 71.10/73.37 และกิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิลเท่ากับ 74.02/77.32 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 70/70

2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ต แกลลอรี่ มีค่าเท่ากับ 0.5633 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 56.33 และกิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล มีค่าเท่ากับ 0.6297 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 62.97

3. ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมเน้นภาระ งานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรม เฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่

4. กลวิธีสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้

กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ มีกลวิธีการสื่อสาร เฉลี่ยร้อย ละ75.26 และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล มีกลวิธีการสื่อสารเฉลี่ยร้อยละ 82.88

5. ความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้

กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ มีความกล้าพูด เฉลี่ยร้อยละ 76.83 และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล มีความกล้าพูด เฉลี่ยร้อยละ 82.39

สรุปได้ว่ากิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิลสามารถพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ กลวิธีสื่อสารและความกล้าพูดของนักเรียนได้

(7)

ฉ ค าส าคัญ : กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสาร, กลวิธีสื่อสาร, ความกล้าพูด, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

(8)

บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ

TITLE The Results of Teaching by Using Communicative Tasks to Improve English Speaking Skill, Communication Strategies and Risk Taking of Mattayomsuksa II Students

AUTHOR Penpak Pinthunibart

ADVISORS Assistant Professor Jiraporn Chano , Ed.D.

DEGREE Master of Education MAJOR Curriculum and Instruction UNIVERSITY Mahasarakham

University

YEAR 2018

ABSTRACT

The purposes of this research were to develop instructional plans for Mattayomsuksa II students using communicative task activities “The Poster Carousel”

and “Headline and Art Gallery” to meet the required efficiency of 70/70 ; to determine the effectiveness of these English learning activities ; to compare the learning achievement in English speaking of students who learned through the Poster Carousel and those learning through the Headline and Art Gallery ; to study communicative strategies of the students learning through the Poster Carousel and those learning through the Headline and Art Gallery ; and to study risk taking of the students learning through the Poster Carousel and those learning through the Headline and Art Gallery. The samples for this research consisted of 79 Mattayomsuksa II students from 2 classes studying in the academic year 2014 at Kalasinpittayasan School who were obtained through random assignment and later assigned into 2 experimental groups : 39 students for Experimental Group I using the Poster Carousel and 40 students for Experimental Group II using the Headline and Art Gallery.

The results of this research are as follows ;

1. The efficiency of the instructional plans using the Headline and

(9)

ซ Art Gallery 71.10/73.37 and the efficiency of the instructional plans using the Poster Carousel is 74.02/77.32

2. The effectiveness index of the instructional plans using The Headline and Art Gallery is 0.5633 and the effectiveness index of the instructional plans using the Poster Carousel is 0.6297

3. The average score in speaking skills of the students who learned through the Poster Carousel is higher than that of the students who learned through the Headline and Art Gallery at the .05 level of statistical significance.

4. The average scored in communicative strategies of the students who learned through the Poster Carousel and the Headline and Art Gallery are 82.88 and 75.26 respectively.

5. The average scored in risk taking of the students who learned through the Poster Carousel and the Headline and Art Gallery are 82.39 and 76.83 respectively.

In conclusion, the Poster Carousel can improve the students’ speaking skills, their communicative strategies and their risk taking.

Keyword : Communicative Tasks, communication Strategies, RiskTaking, English Speaking Skill

(10)

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก อาจารย์ ดร.ประสงค์ สายหงษ์ ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิระพร ชะโน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก อาจารย์ ดร.ดนิตา ดวงวิไล กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล วรค า กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก) ที่กรุณาให้

ค าแนะน า ข้อคิดเห็น ตรวจและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เป็นอย่างดี ผู้วิจัยของกราบขอบพระคุณเป็น อย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

ขอขอบพระคุณ นางพนิดา พาโสมนัสสกุล นางศรัญญา จันทร์เพ็ญ นางสาวกุสุมา เสนานาค นายเศวตสิทธิ์ มูลสาระ และนางแก้วใจ กิ่งแก้ว ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตลอดจนให้ค าแนะน า ปรึกษา และข้อเสนอแนะจนงานวิจัยส าเร็จได้ด้วยดี

ขอขอบพระคุณ ดร. เสน่ห์ ค าสมหมาย ผู้อ านวยการโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ตลอดจน คณะครูทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการทดลองใช้เครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ขอขอบใจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง

นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ นายนิวัติ แก้วไตรรัตน์ และ นาง อรุณี แก้วไตรรัตน์ ขอบพระคุณนายวิรสิทธิ์ พินธุนิบาตร นางพึงพึศ ค ามุลศรี นางสาวพริ้มเพรา แก้ว ไตรรัตน์ นายนพเดช พินธุนิบาตรและเด็กหญิงวิภาพร พินธุนิบาตร ที่คอยช่วยเหลือ สนับสนุน เป็น ก าลังใจ ให้แรงบันดาลใจและห่วงใยเสมอมา จนท าให้วิทยานิพนธ์เล่มนี้เสร็จสมบูรณ์

คุณค่าและประโยชน์จากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขออุทิศเพื่อบูชาพระคุณบิดา มารดา ผู้มี

พระคุณ ตลอดจนบูรพาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย ส่งผลให้ผู้วิจัยได้รับ ประสบการณ์อันทรงคุณค่าในครั้งนี้

เพ็ญพักตร์ พินธุนิบาตร

(11)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ... ช กิตติกรรมประกาศ... ฌ สารบัญ ... ญ สารบัญตาราง ... ฐ สารบัญภาพประกอบ... ฒ

บทที่ 1 บทน า ... 1

ภูมิหลัง ... 1

ความมุ่งหมายของการวิจัย ... 6

สมมติฐานของการวิจัย ... 6

ความส าคัญของการวิจัย ... 6

ขอบเขตของการวิจัย ... 7

นิยามศัพท์เฉพาะ ... 8

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 12

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ... 12

ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ... 26

กลวิธีสื่อสาร ... 49

พฤติกรรมกล้าแสดงออก... 52

ความกล้าพูด ... 60

กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสาร ... 65

(12)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 77

บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย ... 82

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ... 82

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 84

การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ ... 84

ขั้นตอนด าเนินการวิจัย ... 98

การจัดกระท าข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ... 99

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ... 100

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 104

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 104

ล าดับขั้นในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 104

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 105

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ... 123

ความมุ่งหมายของการวิจัย ... 123

วิธีด าเนินการวิจัย ... 124

สรุปผล ... 127

อภิปรายผล ... 128

ข้อเสนอแนะ ... 133

บรรณานุกรม ... 134

ภาคผนวก... 140

ภาคผนวก ก แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ... 141

ภาคผนวก ข แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ... 176

ภาคผนวก ค ผลการหาคุณภาพของเครื่องมือ ... 181

ประวัติผู้เขียน ... 183

(13)

สารบัญตาราง

หน้า

ตาราง 1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 1.1 ... 18

ตาราง 2 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 1.2 ... 20

ตาราง 3 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 1.3 ... 21

ตาราง 4 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 2.1 ... 22

ตาราง 5 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 2.2 ... 23

ตาราง 6 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 3.1 ... 24

ตาราง 7 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 4.1 ... 24

ตาราง 8 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาตรฐาน ต 4.2 ... 25

ตาราง 9 เกณฑ์การให้คะแนนทักษะพูด ... 44

ตาราง 10 วิเคราะห์เนื้อหา มาตรฐานตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้และเวลา ... 85

ตาราง 11 เกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ... 89

ตาราง 12 การสังเกตปริมาณการใช้กลวิธีสื่อสารในการพูดภาษาอังกฤษในขณะที่เรียน ... 90

ตาราง 13 การสังเกตพฤติกรรมความกล้าพูด ... 91

ตาราง 14 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง หน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้และจ านวน . 94 ตาราง 15 เกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ... 96

ตาราง 16 รูปแบบการวิจัยแบบ Two Group Pretest Posttest Design ... 98

ตาราง 17 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทักษะการพูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรม เฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ ... 106

ตาราง 18 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทักษะการพูด ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรม เดอะโปสเตอร์แครูเซิล ... 108

(14)

ฐ ตาราง 19 ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ .... 111 ตาราง 20 ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ... 111 ตาราง 21 ผลการศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสารกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ... 112 ตาราง 22 ผลการศึกษากลวิธีสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียนที่ใช้กิจกรรมเน้น ภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ ... 113 ตาราง 23 ผลการศึกษากลวิธีสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียนที่ใช้กิจกรรมเน้น ภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ... 115 ตาราง 24 ผลการศึกษาความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียนที่ใช้กิจกรรมเน้น ภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่ ... 118 ตาราง 25 ผลการศึกษาความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียนที่ใช้กิจกรรม ภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ... 120

(15)

สารบัญภาพประกอบ

หน้า ภาพประกอบ 1 องค์ประกอบของภาระงานสื่อสาร ... 70

(16)

บทที่ 1 บทน า

ภูมิหลัง

ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร พบปะพูดคุยแบบตัวต่อตัว หรือการติดต่อผ่าน อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหรือท าภารกิจต่างๆ และศึกษาหาความรู้ ผู้ที่

สามารถใช้ทักษะทางภาษาได้ดีย่อม ท าให้การด าเนินกิจกรรมต่างๆ ด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถด ารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่คนทั่วโลกใช้ในการ สื่อสาร โดยเฉพาะการพูดซึ่งเป็นการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจและความรู้สึกให้ผู้ฟังได้รับรู้และ เข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้พูด ดังนั้น ในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศทักษะการพูดจึงนับได้ว่าเป็น ทักษะ ที่ส าคัญและจ าเป็นมากเพราะผู้ที่พูดได้ย่อมสามารถฟังผู้อื่นได้เข้าใจและจะช่วยให้การอ่านและ เขียนง่ายขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามทักษะการพูดเป็นทักษะทางภาษาที่ซับซ้อนและเกิดจากการฝึกฝนเป็น เวลานานไม่ใช่เกิดจากการเข้าใจและจดจ า (สุมิตรา อังควัฒนกุล, 2539) การสื่อความด้วยการพูดเป็น การสื่อความที่สะดวกและใช้กันมากที่สุดนั่นคือ สามารถเปล่งออกมาได้อย่างรวดเร็วและสามารถ แสดงสีหน้าหรือใช้ท่าทางประกอบเพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกได้ง่ายกว่าการเขียนโดยเฉพาะเมื่อ ผู้พูดอยู่ต่อหน้าผู้ฟัง (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, 2539)

การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีความส าคัญและจ าเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจ าวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือส าคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก น ามาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ช่วยให้

มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองได้ดีขึ้น สามารถสื่อสารและ เข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการด าเนินชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) จากอิทธิพลของความก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลให้ภาษาอังกฤษยิ่งทวี

ความส าคัญมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าแสวงหา ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบอาชีพ หลักสูตรการศึกษาระดับขั้น การศึกษาพื้นฐาน ไม่ได้มองข้ามความส าคัญและความจ าเป็นของภาษาอังกฤษ มีการก าหนดให้

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งนักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้

เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ รวมทั้ง

(17)

2 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ง่ายและกว้างขึ้น (ฟาฎินา วงศ์เลขา, 2553)

ปี 2555 เป็นปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษตามการน าเสนอแนวทางนโยบายของสถาบัน ภาษาอังกฤษ ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ประกาศไปและ เร่งจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษให้เกิดความเข้มแข็ง และน าไปสู่การเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนในปี 2558 (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2551)จะเห็นได้ว่าใน ประเทศไทย แม้รัฐบาลบังคับให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ก็ยังมี

คนไทยจ านวนมากที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ หรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ ทั้งๆ ที่รวมเวลา ในการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ต่ ากว่า 10 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

หรือแม้กระทั่งปริญญาโทยังมีจ านวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการสรุปผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ในปี 2553 ที่ด าเนินการโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พบว่า วิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุดคือ ภาษาอังกฤษใน ระดับชั้นทั้ง ป.6, ม.3 และ ม.6 (ฟาฎินา วงศ์เลขา, 2553)

คนไทยจ านวนมากประสบปัญหาด้านการพูด คือเรียนภาษาอังกฤษมาหลายปีตั้งแต่อนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศให้เข้าใจได้ไม่สามารถน าภาษาอังกฤษ ไปใช้ตามสภาพการณ์ในความเป็นจริงได้ สาเหตุก็คือ การขาดความต่อเนื่อง เพราะ เมื่อได้เรียนรู้ใน โรงเรียนแล้ว พอกลับถึงบ้านก็จะไม่มีโอกาสได้ใช้อีกเนื่องจากในครอบครัวไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษได้

ไม่มีโอกาสได้ใช้ในชีวิตประจ าวัน จึงเป็นไปได้ยากที่จะท าให้เด็กพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว (ประนอม สุรัสวดี, 2535) อีกทั้ง ครูผู้สอนให้ความส าคัญในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน ค่อนข้างน้อย ซึ่งมีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่ ไม่เห็นคุณค่า และจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้เท่าที่ควร (อมร เสือค า, 2543) ปัญหาที่พบอีก ในการสอนพูด ภาษาอังกฤษคือ นักเรียนออกเสียงภาษาอังกฤษไม่เป็นธรรมชาติ ไม่กล้าออกเสียงเนื่องจากขาด ประสบการณ์ ขาดความมั่นใจและขาดแบบอย่างการออกเสียงที่ถูกต้องของครู (สุวัฒน์ ช่างเหล็ก, 2543) การที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารได้นั้น ผู้เรียนต้องท ากิจกรรมการใช้ภาษา ในรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งกิจกรรมที่เป็นงานคู่ หรืองานกลุ่ม (ธูปทอง กว้างสวาสดิ์, 2549)

ในช่วงปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา หนึ่งในวิธีการเรียนการสอนภาษาที่เป็นที่นิยมคือ การเรียน การสอนเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) เนื่องจากวิธีการสอนแบบนี้

น าสื่อการเรียนการสอนและแนวคิดที่เป็นจริงและเกี่ยวข้องกับโลกจริงที่เกิดขึ้นนอกห้องเรียน มาใช้ใน ห้องเรียน และยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียน การสอนเพื่อการสื่อสารนั้นมองว่าคนเราใช้ภาษาเพื่อวัตถุประสงค์ของการสื่อสารจริงในโลกจริง ดังนั้นการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร จึงพยายามให้ผู้เรียนใช้ข้อมูลของที่มีอยู่สื่อสารกันเพื่อเติมเต็ม

(18)

3 ข้อมูลที่หายไปในแต่ละฝ่าย เช่น ให้ผู้เรียนท างานคู่ซึ่งแต่ละคนจะมีข้อมูลไม่ครบต้องเจรจาพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลจึงสามารถเติมข้อมูลของตนในส่วนที่หายไปได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการสื่อสาร ที่ครูเตรียมให้เพื่อให้ผู้เรียนจ าเป็นต้องสื่อสาร ส่วนการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานเป็นหลัก (Task-Based Language Teaching) เป็นทางเลือกหนึ่งแทนการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร การเรียนการสอนแบบเน้นภาระงาน คือการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสื่อความหมายโดยใช้

ข้อมูลภาษาที่ตนมีอยู่แล้ว สิ่งนี้จะท าให้ผู้เรียนตระหนักถึงสิ่งที่ตนจ าเป็นต้องเรียนรู้ หลังจากนั้นผู้เรียน จึงได้รับการฝึกจากกิจกรรมที่เน้นแบบฟอร์มภาษาต่อไป ผู้เรียนอาจจะท างานใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้เรียน ได้น าภาษาที่ฝึกไปแล้วในขั้นตอนการเรียนรู้ภาษามาใช้อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการเรียนการสอนแบบเน้น

ภาระงานคือการสอนทักษะการพูดผ่านการท างานเป็นคู่หรือกลุ่มที่ท าให้ผู้เรียนมีโอกาสในการใช้

ภาษาของตัวเองมากขึ้น ท าให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะใช้ภาษาเพื่อความจ าเป็นในการสื่อสารอย่างแท้จริง (ช่อทิพ วิริยะ, 2558)

วิธีการพัฒนาทักษะการพูดมีหลายวิธี เช่น กิจกรรมสถานการณ์จ าลอง (Richards, 1990) กิจกรรมละคร (Conteh, 2006) กิจกรรมเล่าเรื่อง (Read, 2007) แต่ก็ยังพบว่ากิจกรรมภาระงาน เพื่อการสื่อสาร (Communicative Task) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะการพูดได้ดีเช่นกัน เพราะ กิจกรรมภาระงานเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแบบเน้นภาระงานเป็นหลัก ซึ่งสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการพูดเพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี มีวัตถุประสงค์ให้

ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาเป้าหมายโดยมุ่งความสนใจไปที่การสื่อความหมายเพื่อบรรลุงานที่ได้รับ มอบหมายมากกว่ารูปแบบของภาษาเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาในบริบทที่มีพื้นฐาน มาจากสถานการณ์จริง มีการเจรจาแลกเปลี่ยนความหมายและมีการสลับบทบาทภายใต้กรอบเวลา ที่ก าหนดให้ รวมทั้งการท างานภายในกรอบเวลาที่ก าหนดไว้และมีการประเมินผลจากผลลัพธ์ของ การท างาน อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาได้ด้วยตัวเอง (Nunan, 1989) ภาระงานเป็น กิจกรรมมุ่งเน้นเป้าหมายที่มีจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อให้ผลของการท างานที่ประสบผลส าเร็จ (Willis, 1996) กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารเป็นกิจกรรมที่ส าคัญที่ท าให้การเรียนภาษาบรรลุผลเนื่องจากได้

ฝึกให้ผู้เรียนใช้ภาษาในชีวิตประจ าวันและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความรู้ทางภาษาได้อย่างอัตโนมัติ ผู้พูด ผู้ฟังไม่สามารถคาดการณ์หรือเตรียมการล่วงหน้าและไม่มีการจ ากัดการใช้ภาษา (Thornbury, 2005) กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารมีหลายกิจกรรมในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมเดอะ โปสเตอร์แครูเซิลและกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่

กิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล (The Poster Carousel) คือ กิจกรรมฝึกสนทนาถามตอบ โดยครูก าหนดสถานการณ์ในชีวิตประจ าวันเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกพูดภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านภาพ โปสเตอร์ซึ่งจะด าเนินกิจกรรมในขั้นสุดท้าย โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เตรียม โปสเตอร์ตามหัวข้อที่ครูก าหนด แล้วน าไปวางไว้บนโต๊ะ นักเรียนครึ่งหนึ่งยืนอยู่ที่โปสเตอร์ของตนเอง

(19)

4 เพื่อตอบค าถาม อีกครึ่งหนึ่งเดินไปชมโปสเตอร์และตั้งค าถาม โดยให้เวลาในการชมโปสเตอร์ละ 5 นาที เมื่อหมดเวลาให้เจ้าของโปสเตอร์เคลื่อนที่ไปถามโปสเตอร์กลุ่มอื่นส่วนผู้ที่เยี่ยมชมภาพโปสเตอร์

ยืนรอเพื่อตอบค าถามเกี่ยวกับโปสเตอร์ใหม่กับกลุ่มเพื่อนกลุ่มอื่น ซึ่งเป็นการสลับบทบาทหน้าที่กัน ทั้งผู้ถาม ผู้ตอบและภาพโปสเตอร์ (Thornbury, 2005) ส่วนกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่

(Headline and Art Gallery) คือ กิจกรรมฝึกสนทนาถามตอบโดยครูก าหนดสถานการณ์ใน ชีวิตประจ าวันเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกพูดภาษาเพื่อการสื่อสารผ่านภาพวาดที่นักเรียนวาดเองหรือเป็น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่ผู้เรียนหามาเอง ซึ่งจะด าเนินกิจกรรมในขั้นสุดท้าย โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็น กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน น าภาพวาดตามหัวข้อที่ครูก าหนดไปติดไว้ตามผนังห้อง นักเรียนครึ่งหนึ่งยืนอยู่

ที่ภาพวาดของตนเองเพื่อตอบค าถาม อีกครึ่งหนึ่งเดินไปชมภาพวาดและตั้งค าถาม โดยให้เวลาในการ ชมภาพวาดละ 5 นาที เมื่อหมดเวลาให้เคลื่อนที่ไปชมภาพวาดกลุ่มอื่น (Thornbury, 2005)

กลวิธีสื่อสาร (Communicative Strategies) เป็นวิธีการที่ผู้พูดแสดงออกให้เห็นถึง ความพยายามหรือความตั้งใจของผู้พูดในการที่จะสื่อความหมายกับผู้ฟังให้ได้ตรงตามความต้องการ ของผู้พูด เมื่อผู้พูดอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจะใช้ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ในสถานการณ์จริงได้อย่างดีพอ ดังนั้น เพื่อให้การสื่อสารดังกล่าวด าเนินไปได้ด้วยดี และบรรลุ

จุดประสงค์ตามที่ผู้พูดต้องการ ผู้พูดจึงแสดงความพยายามในการใช้กลวิธีสื่อสารต่างๆ เข้ามาช่วยใน การสื่อสารโดยการสื่อสารด้วยการใช้ค าพูด (Verbal Communication) และการสื่อสารโดยการไม่ใช้

ค าพูด (Non-verbal Communication) เช่น การแสดงออกทางสีหน้า (Facial Expression) การแสดงท่าทางต่างๆ (Mime) เป็นต้น ประกอบกันไปเพื่อช่วยให้การสื่อสารในสถานการณ์ดังกล่าว มีความหมายชัดเจนตรงตามความต้องการของผู้พูด (สุภัทรา อักษรานุเคราะห์, 2539) กลวิธีสื่อสาร เป็นความสามารถที่ผู้เรียนต้องการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการสื่อสารเมื่อพวกเขายังมีความถูกต้อง ไม่เต็มร้อย ในการใช้ภาษาความคล่องแคล่วในการพูด อาจไม่ใช่ลักษณะพิเศษที่ผู้เรียนมีหรือไม่มี

หากจัดให้ความคล่องแคล่วในการพูดเป็นระดับ ผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาในระดับใดระดับ หนึ่ง อาจประสบความส าเร็จในระดับหนึ่งของความคล่องแคล่วในการพูดกลวิธีสื่อสารจะช่วยให้เขา

สื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าเขาจะมีความสามารถในระดับใดก็ตาม (Brown, 2003) ความกล้า (Risk-taking) เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนกล้าแสดงออกในการเรียนรู้ภาษา

ซึ่งสามารถพบได้ในหลายลักษณะ เช่น กล้าใช้กลวิธีการเดาความหมายศัพท์และพูดภาษาโดยที่ไม่

สนใจว่าจะเป็นการพูดถูกหรือผิดหรือการที่ผู้เรียนไม่กลัวที่จะตอบค าถามของผู้สอนในชั้นเรียนใน ขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ ไม่กล้าตอบแม้ว่าผู้เรียนจะรู้ว่าไม่ถูกต้อง การเต็มใจยอมรับและแสดงตนว่าไม่มี

ความรู้ในเรื่องนั้นๆ และยังรวมถึงการที่ผู้เรียนไม่กลัวที่จะพูดผิดหรือถูกแก้ไขจากผู้สอนในชั้นเรียน พฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลดีต่อการฝึกการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าการที่ผู้เรียนนั่งนิ่งๆ ไม่กล้าตอบ ค าถามหรือแม้กระทั่งอายต่อการตอบผิด นอกจากนี้ การท างานเป็นกลุ่มหรือคู่ ถ้าผู้เรียนที่กล้าใช้

(20)

5 ภาษาในการต่อรอง อภิปรายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้งานกลุ่มหรือคู่นั้นสมบูรณ์ ก็จะส่งผลดีต่อ การพัฒนาการใช้ภาษาด้วยเหล่านี้เป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาที่สองเป็นอย่างมาก (Hetzner, 2005) ความกล้าช่วยให้ผู้เรียนที่ใช้ภาษาที่สองเพิ่มความสามารถในการใช้ภาษาได้มาก ยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสที่จะได้ใช้และรับรู้ภาษาพร้อมทั้งแสวงหาโอกาสให้กับตนเอง ในการพูด ภาษาที่สองจากการเข้าสังคม ไม่กลัวการฝึกฝนทางภาษาการพูดภาษาหรือแม้กระทั้งสิ่งที่ต้องการจะ แสดงออกทางภาษาโดยปราศจากความกังวล อีกทั้งยังหมายถึง การที่ผู้เรียนมีความต้องการและ พร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาที่ซับซ้อนและยากขึ้นโดยมีความพยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองก่อน การพูดด้วยเช่นกัน (Zafar and Meenakshi, 2012)

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ตั้งอยู่เลขที่ 66 ถนนอรรถเปศล ต าบลกาฬสินธุ์ อ าเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ รูปแบบสหศึกษา ท าการเรียนการสอนตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียน ส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ผู้วิจัยได้สอนวิชา ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นความรู้

ด้านไวยากรณ์มากกว่าด้านการสื่อสาร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าพูด กล้าแสดงออก ท าให้การพูดขาดความคล่องแคล่ว (Fluency) และขาดความถูกต้องแม่นย า (Accuracy) คือพูดไม่ราบรื่นและไม่ต่อเนื่อง ขาดความเป็นธรรมชาติในการพูด ประกอบกับโครงสร้างในเรื่องเวลา เรียน ซึ่งหลักสูตรสถานศึกษาก าหนดเวลาเรียน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จึงไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนโดยเฉพาะทักษะการพูดซึ่งต้องใช้เวลาในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก เนื่องจาก ห้องเรียนมีนักเรียนมาก เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีอย่างจ ากัด อีกทั้งเนื้อหาในบางบทเรียนมีให้ฝึก ทักษะการพูดน้อย บางเนื้อหากิจกรรมยากเกินไป นักเรียนขาดความสนใจ ขาดความกระตือรือร้นใน การฝึกพูด ซึ่งส่งผลให้นักเรียนพูดไม่เก่ง ไม่คล่องแคล่ว เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24 นั้น พบว่า คะแนนทักษะการพูดต่ ากว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จึงมีความต้องการจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ มีความสนใจวิธีการพัฒนาทักษะการพูดเน้นภาระงานสื่อสารโดยใช้กิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ต แกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิลเพื่อประยุกต์ใช้ในการสอนพูด ซึ่งคาดว่ากิจกรรมดังกล่าว จะท าให้ผู้เรียนมีความสามารถในการพูดมากขึ้น อันจะน ามาซึ่งการบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ภาษาอังกฤษและเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนทักษะพูดภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นต่อไป

(21)

6 ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดที่ใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70

2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพูดที่ใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล

3. เพื่อศึกษาทักษะการพูดระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรม เฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล

4. เพื่อศึกษาการใช้กลวิธีการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในขณะเรียนที่ใช้

กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโพสเตอร์

แครูเซิล

5. เพื่อศึกษาความกล้าพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในขณะเรียนที่ใช้กิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสาร ด้วยกิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล สมมติฐานของการวิจัย

นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมเน้นภาระงานสื่อสารกลุ่มที่ใช้กิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ต แกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิลมีทักษะการพูด แตกต่างกัน

ความส าคัญของการวิจัย

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สามารถใช้กลวิธีสื่อสาร และมีความกล้าพูดมากขึ้น

2. ได้กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูปแบบกิจกรรมเน้นภาระ งานสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล

3. ได้ทราบผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูปแบบกิจกรรม เน้นภาระงานสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมเฮดไลน์แอนด์อาร์ตแกลลอรี่และกิจกรรมเดอะโปสเตอร์แครูเซิล

4. ครูผู้สอนภาษาอังกฤษใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Referensi

Dokumen terkait

DEGREE Master of Education MAJOR Teaching of Science and Mathematics UNIVERSITY Mahasarakham University YEAR 2022 ABSTRACT The purposes of this research were 1 to develop