• Tidak ada hasil yang ditemukan

การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2023

Membagikan "การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ"

Copied!
69
0
0

Teks penuh

(1)

เรื่อง

การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ

ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีงบประมาณ 2555

(2)

การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ

นายวัชระ สังโขบล นางสาวสุดารัตน์ ศรีมา

ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีงบประมาณ 2555

(3)

หน้า

กิตติกรรมประกาศ... ก บทคัดย่อภาษาไทย... ข สารบัญ... ค บทที่

1 บทน า……….…... 1

ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา... 1

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย... 3

ขอบเขตของการวิจัย... 3

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย... 3

นิยามศัพท์เฉพาะ... 3

2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง... ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ... 5

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร... 13

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน... 16

การออกแบบกระบวนการใหม่... 19

คู่มือกระบวนการปฏิบัติงาน... 20

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง... 23

กรอบแนวคิดของการวิจัย... 26

3 วิธีด าเนินการวิจัย... ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง... 28

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย... 28

การเก็บรวบรวมข้อมูล... 30

การวิเคราะห์ข้อมูล... 30

สถิติที่ใช้ในการวิจัย... 31

4 ผลการวิจัย... ตอนที่ 1 ผลการออกแบบกระบวนการ... 33

ตอนที่ 2 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการ... 47

ตอนที่ 3 ผลการตรวจสอบผลลัพธ์การพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ... 53

(4)

หน้า

5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ตอนที่ 1 สรุปผลการพัฒนากระบวนการจัดการโครงการพัฒนาคุณลักษณะ

ของผู้เรียน... 57

ตอนที่ 2 อภิปรายผลการวิจัย... 61

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ... 62

บรรณานุกรม... 63

(5)

ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนต้นแบบด้านบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศตาม ปรัชญาการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ที่ส่งเสริมและให้ค าแนะน าที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในครั้ง นี้

ขอขอบคุณส านักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติที่ให้ทุนอุดหนุนการวิจัย และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่อ านวยความสะดวก และช่วยเหลือการวิจัย ให้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี

ขอขอบคุณผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาสุมทรสงคราม ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียน ต้นแบบ จังหวัดสมุทรสงครามที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม และให้ข้อมูลประกอบการท า วิจัย ทุกท่านเป็นอย่างสูง

สุดท้ายขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง หัวหน้าชุดโครงการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ที่ให้ค าแนะน าที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในครั้งนี้ และ ช่วยเหลือการวิจัยให้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี

วัชระ สังโขบล

สุดารัตน์ ศรีมา

ธันวาคม 2555

(6)

บทน า

ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 6 ก าหนดหลักในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมในการด ารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

อย่างมีความสุข และมาตรา 24 ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความ ถนัดของผู้เรียน โดยค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การ เผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้

สัดส่วนสมดุลกัน ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อ านวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้

ทุกสถานการณ์ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงควรให้มีความสอดคล้องและสนองพระราชบัญญัติ

การศึกษา

ในส่วนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ สถานศึกษาเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศโดยที่ ‘ความเป็นเลิศ’ ของสถานศึกษาสามารถวัดได้จากเกณฑ์

มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 6 มาตรฐาน และในการท าให้‘คุณภาพผู้เรียน’เกิดความเป็นเลิศ สถานศึกษาจ าเป็นต้องมีกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการ จัดการศึกษา 6 มาตรฐาน รวมทั้งมีการบริหารจัดการกับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาตาม เกณฑ์มาตรฐานด้านการสร้างสังคมการเรียนรู้ 1 มาตรฐาน ด้านการจัดการอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 1 มาตรฐาน และด้านการส่งเสริมสถาบัน 1 มาตรฐาน

กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา เกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา ซึ่งครูมีบทบาทส าคัญในการท าให้กระบวนการจัดการเรียน การสอนมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานด้านการจัดการศึกษา โดยมาตรฐานที่ 7 ก าหนดให้ครูปฏิบัติ

ตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในวิชาและระดับชั้นที่รับผิดขอบ ซึ่งมี

ตัวชี้วัด 9 ข้อ ดังนี้ 1) ครูก าหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ชัดเจน2) วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นรายบุคคล 3) น าข้อมูลสารสนเทศจากผลการวิเคราะห์มาออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ความแตกต่างระหว่างบุคคล4) ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและน าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการ ในการจัดการเรียนรู้5) ประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย6) ให้

ค าแนะน าค าปรึกษาและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนอย่างทั่งถึง7) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ 8) ประพฤติ

ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 9) จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ

(7)

สมุทรสงครามโดยก าหนดวิสัยทัศน์ว่า จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ชุมชน สังคมสมุทรสงคราม และ เกื้อหนุนต่อการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมอันดีงาม การ ด ารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ดังนี้ 1) ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง 2) เร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3) เสริมสร้างการจัด การศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น

โดยผลการด าเนินงานของโรงเรียนสังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด พื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ประจ าปีงบประมาณ 2554 ตามประเด็นยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานมีผลบรรลุเป้าหมายเพียง 25% โดยมี

ผลการด าเนินงานที่ไม่บรรลุเป้าหมาย จ านวน 6 ประเด็นจากทั้งหมด 8 ประเด็น และมีผลการ ทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ปี

การศึกษา2552 เทียบกับปีการศึกษา 2553 มีค่าคะแนนลดลงเฉลี่ย -2.11 แต่เมื่อเทียบกับค่าคะแนน เฉลี่ยระดับ สพฐ. สพป. สมุทรสงคราม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นวิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 เฉลี่ยสูงกว่าทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553 อ่านออก ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 96.69 ต่ ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 3.31 เขียนได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 86.75 ต่ ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 12.67 รวม เฉลี่ยอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 87.33 ต่ ากว่าเกณฑ์ร้อยละ 9.74 (ส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม, 2554, 65)

จากสถานการณ์ที่กล่าวมาบ่งชี้ให้เห็นถึงจุดที่ควรพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์

และยุทธศาสตร์ ด้านการศึกษาของจังหวัดที่ก าหนดไว้ ตลอดจนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้

อยู่ในระดับที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนให้สูงขึ้นทั้งระบบและทั่วทั้งโรงเรียน เพื่อ ยกระดับคุณภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีพันธกิจที่ส าคัญที่นอกจากการผลิตบัณฑิต สาขา การศึกษาแล้ว ยังมีภารกิจส าคัญประการหนึ่ง คือ การพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพครูและการให้บริการ ทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม จึงมีเจตนารมย์ที่จะน าศักยภาพและประสบการณ์ที่มีในการ ปฏิบัติงานตามพันธกิจที่มีเพื่อพัฒนาสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามที่มีบริบท ของปัญหาดังกล่าวมาแล้ว โดยก าหนดเป็นชุดโครงการที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ พัฒนา กระบวนการบริหารจัดการแก่โรงเรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วยกระบวนการส าคัญ สองกระบวนการ คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับกระบวนการบริหารจัดการศึกษาใน โรงเรียน โดยที่กระบวนการแรกเป็นกระบวนการหลักและกระบวนการหลังเป็นกระบวนการ สนับสนุนให้กระบวนการแรกสามารถด าเนินงานไปอย่างได้ผลดี

โดยที่ในปีการศึกษา 2555 มีโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพ จ านวน 10 โรงเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจึงร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงครามคัดเลือก โรงเรียนต้นแบบเจาะจงโดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสมัครใจเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนา เพื่อเป็นโรงเรียน ต้นแบบ โครงการวิจัยและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบจึงมุ่งการพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้น

(8)

คุณภาพ โดยใช้หลักการส าคัญ 3 ประการ คือ การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน และการให้ความส าคัญกับผู้รับบริการ

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความ เป็นเลิศ

2. เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการที่ออกแบบใหม่

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านประชากร

ประชากรที่ก าหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สถานศึกษาที่ได้รับการ คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การพิจารณา คือ เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาขนาดเล็กถึงขนาดกลางของจังหวัดสมุทรสงคราม และผู้บริหารมีความ สมัครใจร่วมพัฒนาเพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบ จ านวน 10 โรงเรียน

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐานด้วยการจัดการคุณภาพ โดยการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน ประกอบด้วย 1 กระบวนการ หลัก คือ กระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน 5 กระบวนการย่อย คือ 1) กระบวนการส ารวจ ทฤษฎีและคัดเลือกนวัตกรรมที่น ามาใช้ในการพัฒนา 2) การสร้างนวัตกรรมและวิธีวัด 3) การ ตรวจสอบและประเมินคุณภาพของนวัตกรรม 4) การสรุปผลการสร้างนวัตกรรม และ 5) การจัดท า รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม

3. ขอบเขตด้านเวลา

ระยะเวลาด าเนินการ มกราคม – กันยายน 2555

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

1. ได้กระบวนการ ขั้นตอน กิจกรรม และดัชนีวัดคุณภาพของกระบวนการจัดการนวัตกรรม ในชั้นเรียร

2. ได้คู่มือกระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนที่สถานศึกษาอื่นสามารถน าไปปฏิบัติได้

นิยามศัพท์เฉพาะ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ หมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ และมี

คุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ 1 – 6

(9)

คุณลักษณะขึ้นมาใหม่จากวิธีปฏิบัติที่ท าอยู่เดิมผนวกกับแนวคิดเชิงทฤษฎี โดยศึกษา วิเคราะห์

กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน หาเสียงสะท้อนกระบวนการ ออกแบบกระบวนการ และประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ

กระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน หมายถึง ขั้นตอนการบริหารจัดการ เพื่อให้ครูจัด นวัตกรรมในชั้นเรียนได้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา ในมาตรฐานที่ 7

คุณลักษณะ หมายถึง คุณสมบัติ ด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และพฤติกรรมของผู้เรียนให้

เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ 1 – 6

ตัวบ่งชี้ หมายถึง ตัวชี้วัดคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 7 ตัวบ่งชี้ 7.5 – 7.6

คู่มือกระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน หมายถึง เอกสารที่อธิบายกระบวนการจัดการ นวัตกรรมในชั้นเรียน ประกอบด้วย ชื่อกระบวนการ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ค าจ ากัดความ หน้าที่

ความรับผิดชอบ ขั้นตอนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน และเอกสารแนบ

การตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือ หมายถึง การหาระดับคะแนนของความสามารถใน การน าไปปฏิบัติได้จริงของวิธีการเพื่อเป็นวิธีการปฏิบัติส าหรับการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน

(10)

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนากระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยการจัดการ คุณภาพ โดยใช้กระบวนการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียน ผู้วิจัยได้ศึกษา แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยจะน าเสนอผลการศึกษาตามล าดับดังนี้

1. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

3. มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน 4. การออกแบบกระบวนการใหม่

5. คู่มือกระบวนการปฏิบัติงาน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

7. กรอบแนวคิดของการวิจัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา

จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม ผู้วิจัยได้จ าแนกการศึกษาออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมทางการศึกษา ความจ าเป็นของนวัตกรรมทาง การศึกษา คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา และการ พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ความหมายของนวัตกรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 565) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า หมายถึงสิ่งที่ท าขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น

ไชยยศ เรืองสุวรรณ์ (2521 : 14 อ้างจาก กมล และนิตยา เวียสุวรรณ, 2540 : 78) ได้

ให้ความหมายนวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ที่แปลงไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการ คิดค้นพบวิธีใหม่ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดี ในทางปฏิบัติท าให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายได้อย่างมี

ประสิทธิภาพขึ้น

จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37 อ้างจาก กมล และนิตยา เวียสุวรรณ, 2540 : 78) ได้

กล่าวถึงความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันไป 2 ระดับ โดยทั่วไปนวัตกรรมหมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลส าเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่

เป็นไป เพื่อจะน าสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ท าอย่างเดิมแล้วกับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการ วิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามมีการดึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี ผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่

เกี่ยวข้อง ค าว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึงสิ่งที่ได้น าความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้าใช้ได้ผลส าเร็จ กว้าง

(11)

ออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมาดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การท าเหล็กกล้า ในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542 : 12) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า หมายถึง การน าสิ่ง ใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ท าอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 48) ได้ให้ความหมาย ของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง กิจกรรม กระบวนการ เครื่องมือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งที่

มีรูปแบบใหม่ๆ หรือของเก่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพดีขึ้น

กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 16) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า หมายถึง การปฏิบัติ

หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้

ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

กมล และนิตยา เวียสุวรรณ (2540 : 77) ให้ความหมายของนวัตกรรมที่สอดคล้องกับ บุญเกื้อ ควรหาเวชว่า นวัตกรรม หมายถึง การน าสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ท าอยู่

เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ฉะนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เมื่อมีการน าเอาความ เปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมุ่งที่จะให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ สูงขึ้น ก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ

ทิศนา แขมมณี (2548 : 418 อ้างจาก สุคนธ์ สินทพานนท์, 2553 : 8) ได้ขยาย ความหมายของนวัตกรรมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศงท 2525 ออกไปว่า สิ่งท าขึ้น ใหม่ๆ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดท าขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ทางการศึกษา

ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดี

ยิ่งขึ้น เมื่อน านวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การท างานนั้นๆ ได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง กว่าเดิม และยังช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานด้วย

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542 : 14) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมการศึกษาว่า หมายถึง เป็นการน าเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระท ารวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามา ใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี

ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กิดานันท์ มลิทอง (2548 : 17) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาว่า หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถ เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรม เหล่านั้น ทั้งยังประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย

กมล และนิตยา เวียสุวรรณ (2540 : 78) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับบุญเกื้อ ควรหาเวชว่า เป็นการน าเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือ

(12)

การกระท ารวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่

เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 9 อ้างจาก สุคนธ์ สินทพานนท์, 2553 : 8) กล่าวว่า นวัตกรรมการเรียนการสอนคือสื่อการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยผ่านการผลิต การ ทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพแล้วจึงน าไปใช้ได้จริงอย่างได้ผล

ธนาธิป พรกุล (2537 : 59 สุคนธ์ สินทพานนท์, 2553 : 8) อธิบายว่านวัตกรรมการ เรียนการสอน (Educational Innovation) คือ สิ่งที่น าเข้าในใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้

เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สุคนธ์ สินทพานนท์ (2553 : 8) ได้สรุปความหมายของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน คือ สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การศึกษา

ผู้วิจัยสามารถสรุปความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การน าแนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งเป็นสิ่งคิดค้น ใหม่ๆ มาช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถประหยัดเวลา แต่กลับ ท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสรุปความหมายของการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาหรือการจัดการ นวัตกรรมในชั้นเรียน หมายถึง การวางแผนกลยุทธ์ การก าหนดกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ เรียนรู้ ทรัพยากร และนวัตกรรมที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของครูหรือ ผู้บริหารโครงการนวัตกรรมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในชั้นเรียน เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนเกิดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ความจ าเป็นของนวัตกรรมการศึกษา

ปัจจัยส าคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่ แนวความคิดพื้นฐานทาง การศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลท าให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน ความคิด ทางการศึกษาที่ส าคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ (บุญเกื้อ ควรหาเวช, 2543 : 17 – 20)

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความส าคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะ เห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้

ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง ในปัจจุบันได้มีการคิดคั้นวิธีใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนที่มุ่งให้

นักเรียนใช้ความสามารถ ความสนใจ ที่แต่ละคนมีแตกต่างกันไปให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนมาก ที่สุด และไม่จ ากัดเพียงในเรื่องของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังไม่ขยายครอบคลุมไปถึงความแตกต่าง ระหว่างครูอาจารย์ด้วย ได้แก่

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนส าเร็จรูป (Programmed Text Book)

(13)

- เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็ก จะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันผลการวิจัยทางด้าน จิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัด บทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็ก วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมส าหรับ เด็กเล็ก ถ้าได้รับการพิจารณาปรับปรุงล าดับของเนื้อหาใหม่หรือน านวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับ การสร้างความพร้อมให้กับเด็กก็จะท าให้การเรียนรู้ได้ผลดีขึ้น นวัตกรรมการศึกษาที่สนอง แนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- ศูนย์การเรียน (Learning Center)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อ การสอนหรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมงๆ เท่ากันทุกวิชาทุกวัน นอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปีไป ในปัจจุบันได้

มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จ ากัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดอันนี้ ได้แก่

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

- แบบเรียนส าเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์

4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร ท าให้ความต้องการในด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น และความจ าเป็นในการศึกษาเพียงเฉพาะเรื่องมี

สูงขึ้นตามสภาพแวดล้อมและการด ารงชีพ แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถ สนองตอบได้เพียงพอ จึงท าให้เกิดนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น ได้แก่

- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ

- การเรียนทางโทรทัศน์

- การเรียนทางไปรษณีย์

- แบบเรียนส าเร็จรูป - ชุดการเรียน

(14)

คุณลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา

ดร.เปรื่อง กุมุท (2518 อ้างจาก กมล และนิตยา เวียสุวรรณ, 2540 : 79) ได้ให้แนวคิด เกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาเอาไว้ 5 ลักษณะด้วยกัน คือ

(1) ความคิดหรือการกระท าใหม่นั้น โดยมากอาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ใน สถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา เช่น การสอนในทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน

(2) ความคิดหรือการกระท าใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยน ามาใช้แล้ว แต่บังเอิญไม่

เกิดผลเพราะสิ่งแวดล้อมไม่อ านวย ขาดนั่นขาดนี่ ครั้งเลิกไป พอมาถึงเวลานี้ระบบต่างๆ พร้อม จึงน า ความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็เรียกว่า นวัตกรรม หรือของใหม่ เช่น เมื่อระบบการสื่อสารมวลชนโดยเฉพาะ วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาดีแล้ว การศึกษาเพื่อมวลชนจึงท าไปได้ เป็นต้น

(3) ความคิดหรือการกระท าใหม่นั้น เข้ามาพร้อมๆ กัน ความคิดที่จะกระท าอะไร บางอย่างอยู่พอดี และมองเห็นว่าการใช้สิ่งเหล่านั้นหรือวิธีการนั้น สามารถจะช่วยแก้ปัญหาทาง การศึกษาหรือท าให้การด าเนินการทางการศึกษาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้เป็นอย่างดี นี้คือ ความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา

(4) ความคิดหรือการกระท าใหม่นั้น เพราะครั้งหนึ่งเคยถูกทัศนคติของผู้ใหญ่หรือ ผู้บริหารบดบังไว้ ตอนนี้เปรียบผู้ใหญ่หรือผู้บริหารเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่สนับสนุนการกระท าหรือ ความคิดนั้นๆ จึงเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา

(5) ความคิดและการกระท าใหม่ เพราะยังไม่เคยคิดและท ามาเลย ในโลกนี้เพิ่งจะมี

ใครหนึ่งหนึ่งคิดได้เป็นคนแรก และเห็นว่าน่าจะใช้ได้ก็เอามาใช้

นวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน ควรมีคุณลักษณะซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ (สุคนธ์

สินธพานนท์, 2553 : 8 – 9)

(1) เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่

ซึ่งไม่เคยมีใครท ามาก่อน

(2) เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แต่

ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ แต่มีการเพิ่มบัตร ฝึกทักษะความคิด บัตรงานส าหรับผู้เรียน เป็นต้น

(3) เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่าจะมีประสิทธิภาพในการน าไปใช้มาก น้อยเพียงไร เช่น การน าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนทุกรายวิชา

(4) เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและน าไปใช้บ้างแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย เช่น แหล่ง การเรียนรู้ท้องถิ่น มีวนอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องถิ่นนั้น แต่งเนื่องจากมีอุปสรรค์เกี่ยวกับเดินทางจึง ยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ

(5) เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ต่อมาได้น ามาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพ่รจัดเป็นนวัตกรรมได้

ในกรณีที่สิ่งนั้นได้น ามาใช้จนกลายเป็นสิ่งปกติของระบบงานนั้นก็ไม่จัดว่าเป็นนวัตกรรม เช่น การจัดท าบทเรียนคอมพิวเตอณ์ข่วยสอนของโรงเรียนเมฆวิทยา เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่

(15)

ผู้บริหารสนใจและสนับสนุนให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลิดตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุก ระดับชั้นจนกลายเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของโรงเรียน จึงไม่เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่า เป็นนวัตกรรมอีกต่อไป

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา

ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กัน แพร่หลายแล้วและที่ก าลังเผยแพร่ อาทิเช่น (กิดานันท์ มลิทอง, 2548 : 17)

(1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะสื่อหลายมิติบรรจุลงแผ่นซีดี/ดีวีดี หรือ น าเสนอบนเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต

(2) การใช้เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เพื่อเสนอเนื้อหาบทเรียนจากสิ่งพิมพ์

และแผ่นโปร่งใส แทนการใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงและเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทั้งยังสามารถใช้

เป็นกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวภายในห้องเรียนได้ด้วย

(3) การนใช้เครื่องแอลซีดี (LCD) ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ขึ้น จอภาพขนาดใหญ่ เพื่อให้สามาระเห็นได้อย่างทั่วถึงภายในห้อง

(4) อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในลักษณะการสอนบนเว็บ การสืบค้นข้อมูล ฯลฯ (5) การเรียนในลักษณะอีเลิร์นนิงแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา

(6) ความเป็นจริงเสมือนเพื่อการศึกษาในการส ารวจ แกรสนร้างและใช้มดนทัศน์

ด้านนามธรรม เช่น การจัดแปลนห้องในด้านสถาปัตยกรรม ฯลฯ

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3 อ้างจาก สุคนธ์ สินธพานนท์, 2553 : 9 – 10) ได้กล่าวถึง นวัตกรรมทางการศึกษาว่า นวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจ านวนมากแต่

สามารถจ าแนกประเภทได้ ดังนี้

(1) นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมประเภทนี้ มีลักษณะ เป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน หรือท า ให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น นวัตกรรมประเภทนี้ ได้แก่ ชุดการ เรียน/ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ บทเรียน ส าเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม เกม การ์ตูน นิทาน เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสาร ประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน ฯลฯ

(2) นวัตกรรมประเภทรูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้

วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ ที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้

ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ และเจตคติ ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอน จ านวนมาก ได้แก่ วิธีการสอนคิด วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIPPA MODEL วัฏ จักรการเรียนรู้ 4 MAT วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี วิธีสอนแบบบูรณาการ วิธีสอนโครงงาน วิธีสอนโดย การตั้งค าถาม Constructivism ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยของผู้เรียน ด้านจิตพิสัย ซึ่ง ส านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 3 – 11) สรุปว่าการพัฒนา

(16)

จิตพิสัยในการเรียนการสอนที่จ าเป็น ได้แก่ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความมีน้ าใจ การบริโภคด้วยปัญญาและวิถีไทย

กล่าวโดยสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา สามารถจัดเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรม ประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมประเภทรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน ซึ่งรวมทั้งการ พัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนด้วย

การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนรู้ที่น ามาใช้นั้นต้องได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ มี

ประสิทธิภาพ และเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย จึงจะเป็นผลดีต่อกระบวนการเรียนการ สอน การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาใช้ผู้สอนต้องพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของ นวัตกรรมเสียก่อน เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์การสอน การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ควรมีขั้นตอนการด าเนินงานดังนี้ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 : 49 – 59)

(1) สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ต้องสร้างกรอบ แนวคิดเสียก่อน จากการพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ศึกษา หลักสูตร เนื้อหา และเนื้อเรื่องที่สอน ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา ศึกษาสภาพปัญหาการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนและระดับความต้องการในขณะนั้น ก าหนดแนวทางการพัฒนา และ ประเมินคุณภาพนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น

(2) วิเคราะห์หลักสูตร เมื่อได้กรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมแล้ว ต้องน า หลักสูตรมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบ ได้แก่ วิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหา วิเคราะห์ความยาวนาน ของเวลาที่ใช้ วิเคราะห์ผู้เรียน

(3) ก าหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยพิจารณาก าหนดวิธีการให้ผู้เรียนเกิด พฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ ด้วยการจัดล าดับเนื้อหา ก าหนดเวลาการน าเสนอและกิจกรรม โดยแบ่งประเภทการเรียนรู้และระดับการเกิดพฤติกรรมการ เรียนรู้ ได้แก่ พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ การรับข้อมูลและเนื้อหาความรู้จากสิ่งง่ายไปสู่สิ่งยากอันเป็น การพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ มี 6 ระดับ ทักษะพิสัย (Psycho-motor) คือ การเรียนรู้ที่แสดงออก ในด้านทักษะและความสามารถทางด้านบังคับกลไกของร่างกายในการปฏิบัติงานต่างๆ มี 7 ระดับ จิต พิสัย (Affective) คือ การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ความรู้สึก อารมณ์ มี 5 ระดับ

(4) ก าหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้ โดยการน าเอาวัตถุประสงค์มาเป็น กรอบก าหนดคุณลักษณะ ได้แก่ พิจารณาคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน พิจารณาคุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยล าดับขั้นการเรียนรู้ พิจารณาคุณลักษณะของ นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประเภทของลักษณะข้อมูลและ ประสิทธิภาพของการรับรู้ของผู้เรียน

(5) ส ารวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม โดยส ารวจทรัพยากรที่จ าเป็น ได้แก่

ส ารวจบุคลากร ส ารวจเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ส ารวจงบประมาณ และส ารวจสถานที่

Referensi

Dokumen terkait

2549-2553 จ านวน 392 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์กลุ่มย่อยโดยใช้ Chow Test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยของหน่วยวิเคราะห์ทั้งหมด พบว่า ก