• Tidak ada hasil yang ditemukan

Proceeding of the 5th IWCERT International Workshop and Conference on Earth Resources Technology; 2011 May 10-12; The University of Science Malaysia at Heritage Hotel, Perak

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "Proceeding of the 5th IWCERT International Workshop and Conference on Earth Resources Technology; 2011 May 10-12; The University of Science Malaysia at Heritage Hotel, Perak"

Copied!
10
0
0

Teks penuh

(1)

การพัฒนาเทคนิคการระเบิดเปลือกดินที่เกิดแรงสั่นสะเทือนต ่าที่เหมืองแม่เมาะ Development of Low-Vibration Overburden Blasting at Mae Moh mine

จิราวรรณ ด ารงฤทธิ์ (Jirawun Dumrongrit)1* ดร.พิษณุ บุญนวล (Dr.Pitsanu Bunnaul)**

ดร.วิษณุ ราชเพ็ชร (Dr.Vishnu Rachpech)*** กฤษณ์ สารทะวงษ์ (Krit Santawong)****

วิสวัส หลีวิจิตร (Witsawas Lheewijit)*****

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการระเบิดที่เกิดแรงสั่นสะเทือนต ่ากว่าการระเบิดแบบ ปกติที่เหมืองแม่เมาะใช้ในปัจจุบัน ส าหรับประยุกต์ใช้ในการระเบิดดินแดงที่เหมืองถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ล าปาง เทคนิคที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด เทคนิคการใช้การเว้นช่องว่างอากาศ ในรูเจาะ เทคนิคการใช้แก็ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกันและเทคนิคที่อาศัยการสลายพลังของคลื่นด้วยกันเอง ผล การศึกษาพบว่าเทคนิคที่ลดแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุดคือเทคนิคที่อาศัยการสลายพลังกันเองของคลื่น แต่เมื่อพิจารณา ครบทั้งด้านการแตกของดิน การลดแรงสั่นสะเทือน และความยากง่ายในขั้นตอนการปฏิบัติแล้วเทคนิคที่ดีที่สุดคือการ ระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิดที่สามารถลดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 44.78%

ABSTRACT

The purpose of this study was to develop a blasting technique with lower vibration for blasting application at Maemoh Lignite mine, Lampang Province. Blasting techniques to be included in this study were stem-plug blasting., air-deck blasting, deck-charged blasting and waveform interference technique. Waveform interference technique was found to provide the most reduction in vibration. However, if fragmentation and ease of operation were included into consideration stem-plug blasting technique was the best. With this technique, the reduction in vibration was 44.78%.

ค าส าคัญ: เทคนิคการระเบิดแรงสั่นสะเทือนต ่า การระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด Keywords: Low-vibration blasting technique, Stem-plug blasting

1Correspondent author : jirawun.d@gmail.com

* นักศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

**** ผู้จัดการฝ่ายผลิตหินก่อสร้าง บริษัทเอเชียผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ จ ากัด

***** วิศวกรระดับ 4 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

(2)

บทน า

ในงานระเบิดเหมืองที่จ าเป็นต้องควบคุมแรงสั่นสะเทือนให้ต ่ามากเป็นพิเศษ เช่น การระเบิดเปลือกดินที่

เหมืองลิกไนต์แม่เมาะอ าเภอแม่เมาะจังหวัดล าปางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งควบคุมให้

แรงสั่นสะเทือนให้อยู่ในระดับที่ต ่ามากเทียบเท่าเกณฑ์ส าหรับโบราณสถาน คือที่ค่าความเร็วอนุภาคไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ต่อวินาทีโดยการควบคุมปริมาณวัตถุระเบิดสูงสุดต่อจังหวะถ่วงของแก๊ปจุดระเบิด ตามโมเดลการประเมิน แรงสั่นสะเทือนที่ได้มีการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา [1] แต่เมื่อหน้างานระบิดเข้าใกล้หมู่บ้านมากขึ้น จะไม่สามารถลดปริมาณ วัตถุระเบิดในรูเจาะให้น้อยตามที่จะสอดคล้องกับเกณฑ์การควบคุมข้างต้นได้จึงไม่สามารถท าการระเบิดก่อนเพื่อให้รถ ขุดสามารถขุดได้ง่าย จึงส่งผลให้อัตราการขุดต ่าลงมากและค่าสึกหรอและค่าบ ารุงรักษาสูงขึ้นมาก ดังนั้นหากสามารถ พัฒนาเทคนิคการระเบิดที่มีแรงสั่นสะเทือนต ่ากว่าเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันได้ก็จะท าให้มีความเป็นได้ที่จะ ยังคงให้มีการระเบิดเปลือกดินก่อนการขุดในพื้นที่ที่ใกล้หมู่บ้านที่มีข้อจ ากัดข้างต้นได้

มีหลายแนวทางจากงานวิจัยที่ผ่านมาที่อาจพิจารณาเลือกน ามาศึกษาทดสอบและประยุกต์ใช้ได้เช่น การอาศัย ช่องว่างในหิน รอยแตก และรอยเลื่อน [2] ที่เหมืองหิน Suprenในรัฐ Eskisehir ประเทศตุรกีที่พบว่าลักษณะโครงสร้าง ทางธรณีวิทยาที่มีสภาพไม่ต่อเนื่องมีผลให้แรงสั่นสะเทือนลดลง ซึ่งเราอาจสามารถสร้างแนวไม่ต่อเนื่องได้โดย ประยุกต์การระเบิดแบบสร้างหน้าเรียบ (pre-splitting) ดังผลการศึกษา [3] ในปีพ.ศ. 2554 ที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดล าปางที่พบว่าสามารถสร้างระนาบรอยแตกได้โดยจะต้องให้ระยะระหว่างรูเจาะห่างกันไม่เกิน 10.5 เท่าของ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเจาะ

นอกจากนี้การใช้แนวรูว่างในการลดแรงสั่นสะเทือน [4] ที่ได้ท าการศึกษาผลของการท ารูว่าง (barrier hole) เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนโดยท าการศึกษาในพื้นที่ขนาด 1000 เมตร ×100 เมตร และท าแนวรูว่างขวางแนวคลื่นระเบิด 3 แถวๆ ละ 10 รู แต่ละแถวห่างกัน1 เมตร และระยะระหว่างรูว่างในแต่ละแถวเท่ากับ1 เมตร พบว่าสามารถลด แรงสั่นสะเทือน 18% แต่ถ้ามีการเติมน ้าในรูดังกล่าวท าให้แรงสั่นสะเทือนลดลงได้เพียง 9% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติม น ้าในรูไม่ได้ช่วยลดแรงสั่นสะเทือนเมื่อเทียบกับรูว่าง

การศึกษาดังกล่าวคล้ายกับการศึกษา [5] ที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดล าปางที่ท าการทดลองการใช้ร่องกันคลื่น โดยร่องที่ท ามีขนาดลึกประมาณ 4.5 เมตร ยาวประมาณ 12 เมตร ห่างจากรูระเบิด85เมตร มีการติดตั้งเครื่องวัด แรงสั่นสะเทือนก่อนและหลังร่องประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 นิ้ว จ านวน 1 รู พบว่าการสั่นสะเทือนที่

เกิดขึ้นจากการระเบิดลดลงเมื่อใช้ร่องไม่มีน ้า 22.5-66.8% และเมื่อให้ร่องอยู่ใกล้ต าแหน่งระเบิดเข้ามาอีก (30 เมตร) และให้ร่องลึกประมาณ 12 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร สามารถช่วยลดการสั่นสะเทือนได้มากขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ยังมีอีก 3 เทคนิคที่มีการยืนยันว่าสามารถลดการสั่นสะเทือนได้เช่นกันได้แก่เทคนิคที่ใช้การเว้น ช่องว่างในรูเจาะ(air-deck blasting) [6-7] เทคนิคการใช้กรวยอุดรูระเบิด (stem-plug blasting) [8] และ เทคนิคการอาศัย หลักการสลายพลังงานของคลื่นด้วยกันเอง (waveform interference)ใช้จังหวะถ่วงในการระเบิดที่แตกต่างกันซึ่งพบว่า ที่จังหวะถ่วง 12-15 มิลลิวินาทีจะลดแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุด [5,9]

วิธีการด าเนินงานวิจัย

การศึกษาได้ท าที่บ่อเหมืองลิกไนต์แม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่จังหวัดล าปาง ท าการ ทดลองระเบิดในพื้นที่บ่อ C (ภาพที่ 1) โดยอาศัยรูปแบบการระเบิดที่ใช้อยู่เดิมเป็นฐานส าหรับเปรียบเทียบ (ภาพที่ 2) ขนาดรูระเบิด 7 นิ้ว ความสูงชั้นหน้างาน (Bench height) 6 เมตร ความลึกรูระเบิด 6.5 เมตร ระยะห่างจากหน้าอิสระ

(3)

(Burden distance) 5 เมตร ระยะระหว่างรูในแต่ละแถว (Stemming) 4 เมตร ปริมาณวัตถุระเบิดต่อจังหวะถ่วง 50 กิโลกรัม อัตราการใช้วัตถุระเบิด (explosive factor) 0.3 kg/m3และบรรจุดินระเบิด (primer) 1 กิโลกรัมต่อหนึ่งรูเจาะ โดยกระตุ้นการระเบิดด้วยแก็ปโนเนล (non-electric detonator)

เทคนิคการลดแรงสั่นสะเทือนที่เลือกศึกษา ประกอบด้วย เทคนิคการใช้กรวยอุดรูระเบิด เทคนิคการใช้

ช่องว่างในรูเจาะ (อุปกรณ์ในภาพที่ 3) เทคนิคการใช้แก็ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกัน (deck-charge) ซึ่งเป็นการแบ่ง ปริมาณวัตถุระเบิดต่อจังหวะถ่วงลงครึ่งหนึ่งโดยแบ่งให้แก็ปดอกบนกระตุ้นวัตถุระเบิดส่วนบนของรูระเบิดก่อน แล้วที่

เหลือในส่วนล่างจะถูกกระตุ้นด้วยแก็ปดอกที่อยู่ก้นรูอีกทีหนึ่ง (ภาพที่ 4) และเทคนิคสุดท้ายคือ เทคนิคการอาศัยการ สลายพลังของคลื่นระเบิดด้วยกันเองที่ต้องใช้เครื่องจุดระเบิดแบบเลือกตั้งเวลาการหน่วงเวลาได้ (sequential blasting machine) และในการหน่วงเวลาจะเป็นการหน่วงระหว่างรูเจาะ ดังในภาพที่ 3 (ค)

การเก็บข้อมูลแรงสั่นสะเทือนนั้นใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนที่น ามาใช้คือ Mini mate plus และ Blastmate Series III (ภาพที่ 5) โดยตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนที่ระยะ 500 เมตรในทิศทางไปทางด้านหลังหรือด้านข้างของหน้า ระเบิดโดยขึ้นอยู่กับลักษณะของหน้างานจะเอื้ออ านวยให้

ผลการศึกษา

การระเบิดที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันที่เหมืองแม่เมาะช่วยให้รถขุดบุ้งกี้เสย (shovel) สามารถท าการขุดได้ง่าย และเร็วโดยค่าแรงสั่นสะเทือนเฉลี่ยที่ตรวจวัดที่ระยะ 500 เมตรเท่ากับ 3.1 – 5.33 มิลลิเมตรต่อวินาทีเฉลี่ย 4.48 มิลลิเมตรต่อวินาที และแรงอัดอากาศ (air blast) เฉลี่ย 117.17 dB(L) (ตารางที่ 1) ซึ่งจะใช้เป็นค่าฐานส าหรับการ ประเมินผลของการใช้เทคนิคการระเบิดแบบต่างๆที่จะประยุกต์ใช้ส าหรับการลดระดับแรงสั่นสะเทือนลงมา ทั้งนี้ผล การแตกของเปลือกดินที่ได้หลังการระเบิดไม่ค่อยจะดีนัก (ระดับ 3 จากที่จัดระดับเชิงเปรียบเทียบจาก 1 ถึง 5 คือ 1 =ไม่ดี

2=พอใช้ 3=ปานกลาง 4=ดี 5=ดีมาก) ดังภาพที่ 6

เทคนิคแรกที่ทดลองคือการใช้กรวยอุดรูระเบิด (ผลแสดงในตารางที่ 2 และภาพที่ 7) ได้ผลการแตกของ เปลือกดินดีขึ้นมากโดยสามารถจัดให้อยู่ในล าดับที่ 5 ในขณะเดียวกันก็สามารถลดระดับแรงสั่นสะเทือนมาที่ 2.05 – 2.75 เฉลี่ย 2.47 มิลลิเมตรต่อวินาที ทั้งนี้ แรงอัดอากาศยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเทคนิคเดิม วิธีนี้มีข้อได้เปรียบใน เรื่องวิธีปฏิบัติที่ท าได้ค่อนข้างง่ายและสะดวกเพราะหลังอัดวัตถุระเบิดแล้วก็เพียงใส่กรวยอุดรูระเบิดที่เตรียมไว้ ก่อน อุดปากรูด้วยเศษดินที่ได้จากการเจาะ ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน

เมื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการเว้นช่องว่างในรูระเบิด พบว่าเมื่อเว้นช่องว่างมากขึ้นจาก 10% ถึง 15% จะสามารถ ลดแรงสั่นสะเทือนได้มากขึ้นจาก 2.94 มิลลิเมตรต่อวินาทีที่ 10% ลงมาเป็น 2.07 มิลลิเมตรต่อวินาที เมื่อเพิ่ม % ช่องว่างเป็น 15% โดยลดลงมาจากที่ใช้เทคนิคเดิมถึง 53.78% (ตารางที่ 3) แต่ผลการแตกของเปลือกดินกลับแย่ลงไป จนถึงระดับ 1 (ดูรูปผลการระเบิดในภาพที่ 8 ประกอบ) ทั้งนี้ จะเห็นว่าการลดลงของแรงสั่นสะเทือนนั้นสอดคล้องกับ การลดลงของ explosive factor หรืออัตราการใช้วัตถุระเบิดต่อหน่วยปริมาตรเปลือกดิน นั่นคือแรงสั่นสะเทือนที่ลดลง น่าจะมีผลมาจากการใช้วัตถุระเบิดที่น้อยลงเป็นหลัก จึงท าให้การแตกของเปลือกดินดินที่ขึ้นกับอัตราการใช้วัตถุระเบิด กลับมีการแตกที่แย่ลงมาก นอกจากจะด้อยในเรื่องการแตกของดินแล้ว วิธีนี้ยังมีความยุ่งยากพอสมควรในการใส่

อุปกรณ์ขั้นช่องว่างในรูระเบิด

(4)

ในกรณีของเทคนิคที่ใช้แก็ป 2 เบอร์ในรูเดียวกันเพื่อช่วยลดปริมาณวัตถุระเบิดต่อจังหวะถ่วงนั้น สามารถลด แรงสั่นสะเทือนลงได้ถึง 46.65% และผลการแตกของดินดีขึ้นถึงระดับ 4 (ดูตารางที่ 4 และภาพที่ 9) แต่วิธีนี้มีข้อเสีย เปรียบที่ขั้นตอนยุ่งยาก และอาจมีข้อผิดพลาดในการวางล าดับเบอร์จังหวะถ่วงได้ง่าย

ส าหรับเทคนิคสุดท้ายที่ประยุกต์ใช้คือ หลักการหักล้างหรือสลายพลังกันเองของคลื่นระเบิดนั้น จะเห็นว่าที่

จังหวะการถ่วงเวลา 15 มิลลิวินาทีสามารถลดแรงสั่นสะเทือนได้มากถึง 68.07 % (ภาพที่ 10 และตารางที่ 5) และการ แตกของดินก็ดีมากถึงระดับ 4 (ภาพที่ 11) อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติการระเบิดที่เหมืองแม่เมาะไม่นิยมใช้วิธีนี้เพราะมีความ เชื่อว่าอาจมีความผิดพลาดในล าดับของการถ่วงจังหวะจากการเบี่ยงเบนของแก็ปไฟฟ้าที่ใช้จริง

สรุป

เมื่อพิจารณาในเรื่องของเปอร์เซ็นต์การลดแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดแล้ว เทคนิคการอาศัยการสลายพลัง กันเองของคลื่นระเบิดจากการระเบิดที่ถ่วงจังหวะไป 15 มิลลิวินาทีจะดีที่สุด แต่เมื่อพิจารณาครอบคลุมทั้งเรื่อง แรงสั่นสะเทือน การแตกของดิน และความยากง่ายหรือยุ่งยากในการปฏิบัติแล้ว เทคนิคที่ใช้กรวยอุดรูระเบิดจะเป็น เทคนิคที่ดีที่สุด

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบคุณการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส าหรับทุนวิจัยและพัฒนาในหัวข้อการพัฒนา เทคนิคการระเบิดที่เกิดแรงสั่นสะเทือนต ่าส าหรับการระเบิดเปลือกดินที่เหมืองแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย สัญญาเลขที่ 56-B104000-112-IO.SS03A3008182-PSU ในครั้งนี้ ขอขอบคุณแผนกเจาะระเบิดส าหรับความ ช่วยเหลือในทุกๆเรื่องทั้งความรู้ ความช่วยเหลือในการปฏิบัติงานภาคสนาม สุดท้ายนี้ขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรม เหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เอกสารอ้างอิง

1. Bunnaul P, Walthongtanawat T, Rachpech V, Katekaew C. Local ground paramaters of blasting vibration models in the SE Pit-Hang direction at Mae Moh lignite mine. Proceeding of the 5th IWCERT International Workshop and Conference on Earth Resources Technology; 2011 May 10-12; The University of Science Malaysia at Heritage Hotel, Perak. Malaysia.

2. Ak H, Konuk A. The effect of discontinuity frequency on ground vibrations produced from bench blasting: A case study. Soil Dynamics and Earthquake Engineering. 2008 Sep; 28(9) .686–694

3. Santawong K, Bunnaul P, Rachpech V. Development of overburden blasting technique with no free face.

Proceeding of the 9th International Conference on Mining Metallurgical and Petroleum Engineering; 2011 Jan 13- 14; Chulalongkorn University at Montien Riverside Hotel, Bangkok, Thailand.

4. Uysal O, Erarslan K, Cebi M, Akcakoca H. Effect of barrier holes on blast induced vibration. International Journal of Rock Mechanics & Mining Sciences. 2008 July; 45(8).712–719

5. Langoo J. Reduction of Ground Vibration from blasting at Mae Moh mine [dissertation]. Chaingmai: Chaingmai University; 2002.

(5)

6. Park D, Jeon S. Reduction of blast-induced vibration in the direction of tunneling using an air-deck at the bottom of a blasthole. International Journal of Rock Mechanics & Mining Sciences. 2010 July; 47(5). 752–761

7. Bunnaul P, Naewbunthud S. A study on air-deck blasting applied for limestone quarries. Proceeding of the 10th International Conference on Mining, Materials and Petroleum Engineering and the 6th International Conference on Earth Resources Technology; 2012 May 9-11; Prince of Songkla University, Hat Yai, Thailand

8. Lheewijit W, Bunnaul P, Rachpech, V. A Comparison Study on Conventional Blasting and Stem Plug Blasting Technique. Proceeding of the 10th International Conference on Mining, Materials and Petroleum Engineering and The 6th International Conference on Earth Resources Technology; 2012 May 9-11; Prince of Songkla University, Hat Yai, Thailand

9. Shi X.Z, Chen Sh.R. Delay time optimization in blasting operations for mitigating the vibration-effects on final pit walls’ stability. Soil Dynamics and Earthquake Engineering. 2011 August; 31(8). 1154–1158

ภาพที่ 1 ลักษณะของหน้างานระเบิด

Bench high 6 m

(6)

ภาพที่ 2 (ก) แผนผังการระเบิด (ข) ภาพตัดขวางของรูเจาะแบบปกติที่เหมืองแม่เมาะใช้

ก. กรวยอุดรูระเบิด (Stem-plug) ข. ที่กั้นเพื่อเป็นช่องว่างในรูระเบิด ค. เครื่องจุดระเบิดแบบหน่วงเวลา ภาพที่ 3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการระเบิด

ภาพที่ 4 ภาพตัดขวางของรูเจาะของเทคนิคการใช้แก็ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกัน (deck-charge) Free Face

(7)

ภาพที่ 5 เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน Mini mate plus และ Blast mate Series III

ตารางที่ 1 ผลการวัดแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดแบบที่เหมืองแม่เมาะใช้อยู่ในปัจจุบันวัดที่ระยะ 500 เมตรExplosive factor 0.3 kg/m3และปริมาณวัตถุระเบิดสูงสุดต่อจังหวะถ่วง 50 กิโลกรัม

แรงสั่นสะเทือน PPV Air blast

ชนิดของเปลือกดิน

mm/s Hz dB(L) Hz

1 5.10 11 105.5 7.8 Red bed/Gray bed

2 4.51 10 107.5 5.2 Red bed

3 4.64 9.1 136.4 N/A Red bed

4 3.10 6.6 107.5 5.1 Red bed/Gray bed

5 4.19 6 108 15 Red bed

6 5.33 9.1 138.1 N/A Red bed

ค่าเฉลี่ย 4.48 117.17

ตารางที่ 2 แรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด

แรงสั่นสะเทือน PPV Air blast

mm/s Hz dB(L) Hz

1 2.40 8.5 135.2 <10

2 2.46 10 118.8 <16

3 2.05 5.1 110.9 10

4 2.75 3.7 111.8 7.6

5 2.71 6.9 113.8 5.7

เฉลี่ย 2.47 118.10

(8)

ตารางที่ 3 ผลการระเบิดโดยเทคนิคการเว้นช่องว่างอากาศ

% ช่องว่าง เทียบความลึกรูระเบิด

แรงสั่นสะเทือน ppv (mm/s)

เฉลี่ย (mm/s)

Explosive factor (kg/ m3)

%การลดลงของ แรงสั่นสะเทือน

การแตกของ เปลือกดิน

10 1.65– 3.68 2.94 0.24 34.40 3

12.5 2.29–3.87 2.87 0.22 41.44 3

15 1.62 – 2.46 2.07 0.20 53.78 1

หมายเหตุ 1=ไม่ดี 2=พอใช้ 3=ปานกลาง 4=ดี 5=ดีมาก

ตารางที่ 4 ผลการระเบิดโดยเทคนิคการแบ่งบรรจุวัตถุระเบิดออกเป็นช่วง ช่วงบน และ ช่วงล่าง แรงสั่นสะเทือน

PPV (mm/s)

เฉลี่ย (mm/s)

%การลดลงของ

แรงสั่นสะเทือน การแตกของดิน

1.5 เมตร ต่อ 2.5 เมตร 2.24 – 2.54 2.39 46.65 4

หมายเหตุ 1=ไม่ดี 2=พอใช้ 3=ปานกลาง 4=ดี 5=ดีมาก

ภาพที่ 6 ผลการระเบิดด้วยเทคนิคเหมืองแม่เมาะใช้อยู่ในปัจจุบัน

ภาพที่ 7 ผลการระเบิดของดินโดยเทคนิคการใช้กรวยอุดรูระเบิด

10% 12.5% 15%

ภาพที่ 8 ขนาดของดินที่ได้จากการระเบิดโดยใช้ช่องว่างอากาศภายในรูเจาะ10, 12.5 และ15%ช่องว่าง

(9)

ภาพที่ 9 ขนาดของดินที่ได้จากการระเบิดโดยการใช้แก๊ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกันแบบ 1.5:2.5 เมตร

ภาพที่ 10 ผลการศึกษาการระเบิดโดยเทคนิคที่อาศัยหลักการการสลายพลังของคลื่นระเบิด (Waveform interference)

ภาพที่ 11 ขนาดของดินที่ได้จากการระเบิดโดยการใช้หลักการสลายกันของพลังงานพันธะที่ 15 มิลลิวินาที

0.0 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 6.0 7.0 8.0 9.0

0.0 5.0 10.0 15.0 20.0 25.0 30.0

Peak Particle Velocity (mm/s)

เวลาหน่วง (มิลลิวินาที)

Peak Particle Velocity

(10)

ตารางที่ 5 เปรียบเทียบแรงสั่นสะเทือนและ ระดับผลการแตกของดินส าหรับเทคนิคระเบิดที่ต่างกัน

เทคนิคการระเบิด PPV

(mm/s)

เฉลี่ย

(mm/s) %การลดลง การแตกของ เปลือกดิน

การระเบิดแบบปกติที่เหมืองแม่เมาะใช้ 3.10 - 5.33 4.48 0 3

การระเบิดโดยใช้กรวยอุดรูระเบิด 5x5.5เมตร 2.05 - 2.75 2.47 44.85 5 การระเบิดโดยการเว้นช่องว่างอากาศภายในรูเจาะ

15%

1.62 – 2.46

2.07 53.78 1

การใช้แก็ปกระตุ้น 2 เบอร์ในรูเดียวกันแบบ 2.24 – 2.54 2.39 46.65 4 หลักการการสลายกันของพลังงานพันธะ 15 ms 0.89 – 1.97 1.43 68.07 4 หมายเหตุ 1=ไม่ดี 2=พอใช้ 3=ปานกลาง 4=ดี 5=ดีมาก

Referensi

Dokumen terkait

โดยมุ่งเน้นไปทีหน่วยปฏิบัติงาน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น จากแนวทางการวางกลยุทธ์ในระดับต่างๆทีกล่าวมา กลยุทธ์ทัง 3