• Tidak ada hasil yang ditemukan

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอุทยาน

เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่มา : อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง

88 ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอด เขาไกรลาส ดังนั้น การที่ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือ ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดีอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้งไม่ได้สร้างขึ้นมา พร้อมกันหมด ในคราวเดียว ได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการนับถือ ศาสนาของชุมชนขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่ใน สภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณหรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ปราสาทพนมรุ้ง คงมีความสำคัญสืบต่อมาจนถึง สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511-1544) พระองค์นับถือศาสนาฮินดูไศวนิกาย เช่นเดียวกับพระราชบิดา (พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2)

(วิลาสินี น้อยครบุรี, 2560)

นอกจากจะมีพระราชโองการให้สร้างจารึกเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระราชบิดาแล้วยัง ทรงถวายที่ดินให้กับเทวสถานในสมัยนี้เอง เทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนโดยรอบ อย่างแท้จริง ข้อความในจารึกพนมรุ้ง บางหลักแม้จะมีเนื้อความขาดหายแต่ก็ให้ภาพรวมได้ว่าเทว สถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้าวขวางมีที่ดิน ซึ่งพระเจ้า แผ่นดิน (พระเจ้าวรมันที่ 5) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถานพร้อมกับมี

พระราชโองการให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานพนมรุ้งพร้องกับการสร้างเมืองสร้างอาศรมให้กับ โยคี และนักพรตด้วย

จากหลักฐานทางด้านศิลาจารึกและงานศิลปกรรมที่ปรากฏ กล่าวได้ว่า ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นิกายปศุปตะ โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ศิลาจารึกพนม รุ้งหลักที่ 7 และหลักที่ 9 มีเนื้อความเริ่มต้นเป็นบทสรรเสริญพระศิวะ ศิลาจารึกบางหลักกล่าวถึงการ สร้างศิวลึงค์ สร้างรูปทองคำของพระศิวะในท่าฟ้อนรำ สร้างรูปทองคำของพระวิษณุขึ้นในเรือนของ พระศิวะ ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะ พระองค์มีที่ประทับอยู่บน เขาไกรลาส ดังนั้นการสร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นบนยอดเขา จึงเป็นการสะท้อนถึงการจำลองที่ประทับ ของพระศิวะมาไว้บนโลกมนุษย์ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของปราสาทพนมรุ้ง ไม่ได้สร้างขึ้นมาพร้อม กันทั้งหมดในคราวเดียวกัน ในช่วงแรกได้มีการสร้างศาสนสถานเพื่อเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อการ นับถือศาสนาของชุมชนขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ได้แก่ ปราสาทอิฐ 2 หลัง ที่ปัจจุบันอยู่

ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐานและกรอบประตู หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับ โดยอาณาจักรเขมรโบราณ หรือผู้นำที่ปกครองชุมชน อันมีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง

ปราสาทพนมรุ้ง คงมีความสำคัญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พุทธศักราช 1511 - 1544) พระองค์ทรงนับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย เช่นเดียวกับพระราชบิดา (พระเจ้า ราเชนทรวรมันที่ 2) นอกจากจะมีพระราชโองการให้สร้างจารึกเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระราช

89 บิดาแล้ว ยังทรงถวายที่ดินให้กับเทวสถานด้วย ในสมัยนี้เองเทวสถานบนเขาพนมรุ้งเป็นศูนย์กลางของ ชุมชนโดยรอบอย่างแท้จริง จากข้อความในจารึกที่พบที่ปราสาทพนมรุ้งแสดงให้เห็นว่า เทวสถานบนเขาพนมรุ้ง เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ คือ ศิวลึงค์ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีที่ดินซึ่ง พระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้าชัยวรมันที่ 5) และข้าราชการระดับต่าง ๆ ถวายหรือซื้อถวายให้กับเทวสถาน พร้อมกับมีพระราชโองการให้ปักหลักเขตที่ดินขึ้นกับเทวสถานเขาพนมรุ้งพร้อมกับการสร้างเมืองสร้าง อาศรมให้กับโยคีและนักพรตด้วย (วิลาสินี น้อยครบุรี, 2560)

ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ได้มีการก่อสร้างปราสาทประธานขึ้น จากการศึกษาศิลาจารึก พนมรุ้งหลักที่ 7 และหลักที่ 9 กล่าวว่าปราสาทประธานสร้างขึ้นในสมัย “นเรนทราทิตย์” ท่านเป็น โอรสของพระนางภูปตินทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้า ร่วมกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นจากศึกสงคราม นเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง เมือง ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ ทรงได้ดำเนินการสร้างปราสาทหลังใหญ่ขึ้น ประดิษฐานรูปเคารพ สร้างงานศิลปกรรมปรากฏเป็นงานสลักตามส่วนต่าง ๆ ที่ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่า มีความประสงค์ที่จะสร้างเทวสถานแห่งนี้เป็นเทวาลัยของพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธานและยังมี

การนับถือเทพองค์อื่น ๆ แต่อยู่ในสถานะเทพชั้นรอง นอกจากนี้ข้อความที่ปรากฏขึ้นในจารึกยังแสดง ให้เห็นว่า นเรนทราทิตย์ ได้สร้างปราสาทแห่งนี้เพื่อประดิษฐานรูปเคารพของตนเอง เพื่อเตรียมไว้

สำหรับการเข้าไปร่วมกับเทพที่ทรงนับถือหลังจากสิ้นพระชนม์ ความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้าต่อ ศาสนา ทำให้ท่านออกบรรพชาถือองค์เป็นนักพรตจวบจนวาระสุดท้าย ข้อความที่ปรากฏในจารึก พนมรุ้ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ท่านคงเป็นนักพรตในลัทธิไศวนิกาย ตามแบบนิกายปศุปตะที่มีการนับ ถือกันมาแล้วแต่เดิม โอรสของนเรนทราทิตย์ คือ หิรัณยะ เป็นผู้ให้จารึกเรื่องราวเพื่อสรรเสริญเกียรติ

คุณของพระบิดา และได้ให้ช่างหล่อรูปของนเรนทราทิตย์ด้วยทองคำ (วิลาสินี น้อยครบุรี, 2560) สิ่งก่อสร้างสมัยสุดท้าย คือ บรรณาลัย และพลับพลา ซึ่งมีการก่อสร้างเพิ่มเติมซ่อมแซมขึ้น ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1763) มหาราชองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ทรงโปรดให้สร้างอโรคยศาล จำนวน 102 แห่ง และที่

พักคนเดินทาง หรือธรรมศาลา จำนวน 121 แห่ง ขึ้นในดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์

ตามข้อความที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม และจารึกปราสาทพระขรรค์ตามลำดับ โบราณสถาน ดังกล่าวนี้ ที่อยู่ใกล้เคียงปราสาทพนมรุ้ง ได้แก่ กุฏิฤาษีโคกเมือง และกุฏิฤาษีหนองบัวราย ซึ่งเป็นอ โรคยศาล และปราสาทบ้านบุ เป็นที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา

90

ภาพประกอบ 10 หน้าบันพระศิวะที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง