• Tidak ada hasil yang ditemukan

สำหรับการกำหนดอายุปราสาทประธานปราสาทเขาพนมรุ้งนั้นปรากฏว่าปราสาท ประธานมีแผนผังเช่นเดียวกับปราสาทประธานของปราสาทพนมวันและปราสาทพิมาย จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งประกอบด้วยตัวปราสาทรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสออกมุม มีมุขปราสาททั้งสี่ทิศโดยมีมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหน้า กับทั้งมีอันตราละเชื่อมระหว่างตัวปราสาทกับมณฑปซึ่งเป็นแผนผังของ ปราสาทแบบเขมรในศิลปะร่วมแบบประตูพระราชวังหลวงตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 เป็นต้นมา แผนผังดังกล่าวนี้อาจเปรียบเทียบได้กับแผนผังของปราสาทบันทายสำเหร่ (Banteay Samre) ในศิลปะแบบนครวัดตอนต้นที่เมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ซึ่งสร้างขึ้นในคราวครึ่งหลัง ของพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บริเวณผนังด้านในมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑปปราสาทประธานของปราสาทเขาพนมรุ้งนี้มีซุ้มจระนำปรากฏ ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมแบบโบราณซึ่งคงอยู่เช่นเดียวกับปราสาทหมายเลข 1 ที่เมืองศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ เป็นอาทิ จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมและลวดลายเครื่องประดับนั้นแสดลถึงอิทธิพล ของศิลปะร่วมแบบบาปวนตอนปลายผสมกับศิลปะร่วมแบบนครวัดตอนต้น อิทธิพลของศิลปะร่วม แบบบาปวนตอนปลายปรากฏบนเสาติดกับผนังเป็นส่วนใหญ่ อันแสดงรูปสิงห์คายลายก้นขดและลาย ก้านต่อดอกซึ่งมีขีดสองขีดแบ่งก้านออกเป็นสามส่วนตามศิลปะร่วมแบบบาปวน

ส่วนรูปแบบของศิลปะร่วมแบบนครวัดนั้นอาจเห็นได้จากลักษณะหลายประการ เป็นต้นว่า ภาพสลักบนหน้าบันและทับหลังบางแผ่นแสดงภาพบุรุษทรงภูษาสมพตจีบเป็นริ้วชักชาย ออกมาเป็นวงโค้งใต้อุทรทางเบื้อขวา อันเป็นลักษณะของภูษาทรงของรูปบุรุษในศิลปะร่วมแบบนคร วัดตอนต้น นอกจากนี้ภูษาทรงของรูปบุคคลทั้งบุรุษเช่นรูปศิวนาฏราช และรูปสตรีที่โคนเสาติดกับ ผนังของมณฑปด้านทิศตะวันออกก็เป็นภูษาทรงในศิลปะร่วมแบบนครวัด อย่างแท้จริง

106 สำหรับลักษณะการจัดองค์ประกอบภาพเล่าเรื่องของหน้าบันซึ่งแสดงภาพบุคคลเป็นจำนวนมาก ประกอบกับลักษณะของขื่อปลอมหักตั้งให้ฉากตามแบบศิลปะร่วมแบบนครวัดตรงส่วนล่างของหน้า บันแต่ละแห่ง กับทั้งเศียรนาค ที่ปลายของกรอบหน้าบันซึ่งมีมังกรคายนั้น เห็นได้ชัดว่านาคทั้งห้า เศียรมีรัศมีขนาดใหญ่รวมเป็นแผ่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะทั้งหมดที่กล่าวนี้เป็นลักษณะของศิลปะร่วม แบบนครวัดทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวได้ว่า ปราสาทประธานของปราสาทเขาพรมรุ้งนี้คงสร้างขึ้นใน ศิลปะร่วมแบบนครวัดตอนต้น (ราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 17-ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ซึ่ง ยังคงรักษาอิทธิพลของรูปแบบบางประการของศิลปะร่วมแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะก่อนหน้านี้ไว้ด้วย อย่างไรก็ดี ปราสาทประธานปราสาทเขาพนมรุ้งนี้คงสร้างขึ้นภายหลังปราสาทประธานของปราสาทพิ

มายเล็กน้อย ด้วยเหตุผลที่ว่าลวดลายเครื่องประดับของปราสาทประธานปราสาทเขาพนมรุ้งได้มี

วิวัฒนาการเป็นศิลปะร่วมแบบนครวัดยิ่งกว่าลวดลายของปราสาทประธานของปราสาทพิมายซึ่งยังคง รักษาลักษณะศิลปะร่วมแบบบาปวนไว้มากกว่า นอกจากนี้จากหน้าบันซ้อนชั้นจำนวนสามชั้นของมุข ปราสาททิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกของปราสาทประธานปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งแตกต่างไปจาก หน้าบันซ้อนกันสองชั้นของมุขปราสาททิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกของปราสาทประธาน ปราสาทพิมาย ก็น่าจะแสดงถึงพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้าในระยะต่อมาภายหลังการ สร้างปราสาทประธานของปราสาทพิมายด้วย ส่วนเครื่องบนอันทำเป็นรูปพุ่มของปราสาทประธานทั้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทพิมายนี้ คงเป็นต้นเค้าที่สำคัญของการทำเครื่องบนรูปพุ่มของ ปราสาทเขมรในศิลปะแบบนครวัดที่เมืองพระนครในประเทศกัมพูชาโดยทั่วไปดังที่ได้กล่าวความ ไปแล้ว (อโศก ไทยจันทรารักษ์, 2558)

1.1.2.8.นาค

นาคหรืองูได้มีบทบาทสำคัญทั้งในประติมานวิทยาและบนลวดลาย เครื่องประดับทางสถาปัตยกรรมเขมร ด้วยเหตุที่ได้มีความสำคัญในเรื่องราวทางศาสนาทั้งในศาสนา ฮินดูและในพุทธศาสนา ในประเทศกัมพูชา ตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าปฐมกษัตริย์ของเขมรได้เสกสมรส กับธิดาของพญานาค และพญานาคผู้เป็นสัสสุระของพระราชาจึงได้ดูดน้ำทะเลให้แห้งและสร้างเมือง ให้พระราชาปกครอง ด้วยเหตุนี้จึงถือกันว่าพญานาคเป็นทั้งผู้ปกปักรักษาราชอาณาจักร และใน ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ปกครองคุ้มครองศาสนสถานไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนั้นจึงไม่เป็นที่น่าประหลาดที่

ได้พบรูปนาคในรูปแบบต่าง ๆ และมีการจำหลักรูปนาคในลักษณะที่หลากหลายอยู่ทั่วไป รูปนาคราว ลูกกรงได้มีพัฒนาการเจริญสูงสุดในศิลปะร่วมแบบนครวัด ในศิลปะร่วมแบบนครวัดนี้มิเพียงแต่เจริญ ถึงขีดสุดเท่านั้น แต่รัศมีของนาคยังมีลักษณะไม่เป็นทรงเรขาคณิตอย่างแท้จริงด้วย ณ ปราสาทเขา พนมรุ้งนี้ได้มีการสร้างรูปนาคราวลูกกรงสองข้างทางเดิน โดยจำหลักรูปนาคห้าเศียรมีรัศมีรวมเป็น แผ่นเดียวกันซึ่งมีลายในแนวนอนเช่นเดียวกับรูปนาคที่ปราสาทเบงเมียเลีย นอกจากนี้บริเวณหน้าอก

107 ก็ตกแต่งด้วยรูปดอกบัวและมีลวดลายประดับที่คอของนาคเหล่านี้ นาคดังกล่าวเลื้อยบนฐานโปร่ง รองรับด้วยเสาขนาดสั้นเป็นระยะซึ่งเสาเหล่านี้จำหลักออย่างเรียบง่ายเช่นเดียวกับเสารองรับฐานนาค ที่ปราสาทเบงเมียเลียอีกเช่นกัน ส่วนรูปมกรหรือมังกรคายที่คอนาคก็ได้ปรากฏบนรูปนาคลอยตัว เช่นเดียวกับที่ได้ปรากฏที่ปลายของกรอบหน้าบันของปราสาทประธานรูปนาคที่ปลายกรอบหน้าบัน ของปราสาทประธานมีความหลากหลายในรูปแบบ ถึงแม้ว่าลักษณะโดยส่วนรวมของนาคเหล่านี้จักมี

ความคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่ก็อาจสังเกตถึงความแตกต่าง รูปนาคที่ปลายกรอบหน้าบันชั้นล่างด้านทิศ เหนือของมณฑปนั้น แสดงลักษณะของศิลปะร่วมแบบบาปวนด้วยกรอบของหน้าบัน ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับลำตัวนาค กรอบของหน้าบันนี้เรียบไม่มีลวดลายประดับ หากแต่ทำสันนูนที่กึ่งกลางมี

ลักษณะเช่นเดียวกับลำตัวของนาคหรืองูตามธรรมชาติ ลวดลายเครื่องประดับปรากฏเพียงลายคล้าย รัศมีเพียงเบาบางเหนือเศียรของนาค อันอาจเปรียบเทียบได้กับนาคปลายกรอบหน้าบันของปราสาท แม่บุญตะวันตก ในประเทศกัมพูชาได้

ส่วนรูปแบบของศิลปะร่วมแบบนครวัดได้ปรากฏที่ปลายของกรอบหน้าบันรูป นาคเช่นกัน โดยแสดงรูปหัวสัตว์คายนาคหลายเศียรเนื่องจากรูปสัตว์ที่คายนาคนี้ไม่มีแขนเข้ามา ประกบ ด้วยเหตุนั้นจึงมิใช่รูปหน้ากาล หากแต่เป็นมกร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 และพุทธศตวรรษที่

15 นี้มีลักษณะพิเศษคือมีปากยื่นยาว ซึ่งอันที่จริงแล้วน่าจะเป็นมังกรซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศ จีน รูปนาคที่ปลายกรอบหน้าบันของมุขปราสาททั้งสามของปราสาทประธานกลับแสดงรูปแบบของ ศิลปะร่วมแบบนครวัดโดยเฉพาะนาคดังกล่าวมีรัศมีรวมเป็นแผ่นเดียวกันโดยมีขอบนอกหยักโดยรอบ รัศมีของนาคเหล่านี้มีลวดลายแนวนอนประกอบภายในกับทั้งมีรูปมังกรคายที่คอนาค ซึ่งลักษณะ เช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของนาค “กลุ่มที่สอง” ในศิลปะร่วมแบบนครวัด อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้ว่านาคที่ปลายกรอบหน้าบันเหล่านี้เป็นศิลปะร่วมแบบนครวัดก็ตาม แต่กรอบของหน้าบัน ดังกล่าวยังคงมีลักษณะคล้ายลำตัวของนาคหรืองูธรรมชาติตามศิลปะร่วมแบบบาปปวนอยู่แทนที่จะ ตกแต่งด้วยลวดลายตามศิลปะร่วมแบบนครวัด รูปนาคซึ่งสลักบนกลีบขนุนปราสาทของปราสาท ประธานเป็นลักษณะของศิลปะร่วมแบบนครวัดเช่นกัน รูปนาคหลายเศียรเหล่านี้มีรัศมีประกอบคาย พวงอุบะในรูปของก้านดอกไม้ แต่กระนั้นรูปนาคบนกลีบขนุนปราสาทบางชิ้นก็สลักอย่างคร่าว ๆ อย่างไรก็ดี รูปนาคบางรูปก็แสดงรูปลักษณ์พิเศษหรือจำหลักเป็นรูปทรงของนาคหลายเศียรใน ลักษณะของลายใบไม้ซึ่งคล้ายคลึงกับรูปนาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะร่วมแบบบันทายศรีในราว พุทธศตวรรษที่ 16

สำหรับทับหลังนั้นโดยทั่วไปปรากฏรูปนาคที่ปลายของท่อนพวงมาลัย ณ ปราสาทเขาพนมรุ้งนั้นอาจศึกษารูปนาคดังกล่าวจากทับหลังเหนือประตูด้านทิศเหนือของอันตราละ ของปราสาทประธานทับหลังดังกล่าวแสดงรูปพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและราชสีห์ตรงกลาง โดยมีรูปนาคสลักตอนปลายสุดของท่อนพวงมาลัย นาคเหล่านี้มีห้าเศียรพวงอุบะโดยมีมกรคายที่คอ

108 ซึ่งลักษณะเช่นนี้มีความคล้ายคลึงกับนาคที่ปลายของกรอบหน้าบันในศิลปะร่วมแบบนครวัดอย่างไรก็

ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าเศียรนาคของทับหลังแผ่นนี้ตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยลายใบไม้ในศิลปะร่วมแบบ บาปวน ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับรูปนาคที่ปลายกรอบหน้าบันของปราสาทแม่บุญตะวันตก ในศิลปะ แบบบาปวนในประเทศกัมพูชา (อโศก ไทยจันทรารักษ์, 2558)

ส่วนที่ปราสาทเขาพนมรุ้งได้แบ่งนาค หรือสะพานนาคราชเป็น 3 ส่วน สะพาน นาคราชส่วนที่ 1 ในคติของศาสนาฮินดู เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของเทพ เจ้า สะพานนาคราชช่วงที่ 1 ก่อสร้างด้วยหินทราย แผนผังเป็นรูปกาบาท ยกพื้นสูง บีบันไดทางขึ้น เป็นอัฒจันทร์รูปปีกกา ราวสะพานทำเป็นลำตัวนาคห้าเศียรแผ่พังพานออกไปทั้งสี่ทิศ ส่วนด้านหลัง เป็นชานกว้างเชื่อมต่อกับบันไดขึ้นปราสาท บริเวณกลางลานของสะพานสลักลวดลายรูปดอกบัวแปด กลีบวแปดกลีบมีความหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด หรืออาจจะเป็นจุดตั้งจิตอธิษฐานขอพรสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ สะพานาคราชส่วนที่ 2 สร้างเป็นลานยกระดับ มีแผนผังเป็นรูปกากากบาทเชื่อมระหว่าง ชาลากับซุ้มด้านทิศตะวันออก กลางลานสลักรูปดอกบัวแปดกลีบ ราวสะพานทำเป็นลำตัวนาคห้า เศียรแผ่พังพานออกไปทั้งสี่ทิศ สะพานนาครชช่วงที่ 3 ตั้งอยู่ด้านหน้าประธานก่อสร้างด้วยหินทราย แผนผังเป็นรูปกากากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาคห้าเศียร แผ่พังพานออกไปทั้งสี่ทิศ (ภานุวัฒน์ เอื้อสามาร. 2563 : สัมภาษณ์)

ภาพประกอบ 24 สะพานนาคราช