• Tidak ada hasil yang ditemukan

การรำอัปสราในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

1.1. การแบ่งช่วงของการจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง 1.1.1. การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งช่วงแรก

การกำหนดวันประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งก่อนปี พ.ศ. 2481 ไม่มีกำหนดการวันแน่นอนแต่

ประชาชนนิยมเดินทางตลอดฤดูแล้งระหว่างเดือน 3 ถึงเดือนห้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481ถึง 2533 กำหนด ระยะ 3 วันคือระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำวันเพ็ญและวันแรม 1 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีโดยกำหนดให้วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 เป็นวันประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ผู้ริเริ่มกำหนดให้มีวันประเพณีพระโอวาทธรรมญาณวัด ธาตุประสิทธิ์จังหวัดสุรินทร์ซึ่งท่านเดินทางมาปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานทุกๆปี การจัดงานของ ประเพณีร่วมทำบุญปิดทองนมัสการพระพุทธบาทจำลองซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ที่ปราสาทองค์น้อย แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาซึ่งเดิมมีวัดตั้งอยู่ที่บริเวณด้านซ้ายมือของเชิงเขา

13 สะพานนาคราชพบปะสังสรรค์ในหมู่เครือญาติเป็นที่นัดพบแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

โดยเฉพาะในเรื่องการทอผ้าไหมพูดเดินทางชายหญิงจะนิยมนุ่งผ้าไหมที่โทรด้วยลวดลายงดงามและ ประณีตที่สุดด้วยฝีมือของตนเพื่อให้ได้รับผลอานิสงส์แห่งความเพียรโดยการเดินขึ้นเขาพนมรุ้งและ เพื่อชมความงดงามของปราสาทหินพนมรุ้งกิจกรรมที่จัดปิดทองไหว้พระและนมัสการรอยพระพุทธ บาทจำลองทรงน้ำพระภิกษุในเทศกาลสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุญาติผู้ใหญ่จัดเทศน์มหาชาติจัด งานสมโภชภาคกลางคืนมีมหรสพเช่นเจียงเบรินกันตรึมชกมวยและมีการละเล่นแข่งขันสะบ้าและ การละเล่นอื่นๆที่นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ หมายเหตุมีการจัดงานสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในปี

2494 โดยความร่วมมือของอำเภอนางรองอำเภอประโคนชัย ความเชื่อทุกคนที่มาบำเพ็ญบุญด้วยแรง ศรัทธาจะต้องมีจิตใจงดงามสำรวมกายวาจาใจ ต้องประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงามพูดจาสุภาพ อ่อนโยนมีสัมมาคารวะและไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือโชคชิงวิ่งราว หากไม่ปฏิบัติตามความเชื่อทั้ง 4 ประการนี้จะก่อให้เกิดเหตุอาเพศอย่างรุนแรงเช่นเกิดลมพายุจัดฝนตกและเกิดฟ้าผ่าทำให้ผู้ที่ประพฤติ

ไม่ดีได้รับอันตรายอาจถึงแก่ชีวิต

สิ่งมหัศจรรย์สันนิษฐานว่าในอดีตชาวบ้านนิยมขึ้นเขาพนมรุ้งในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 น่าจะ ได้มีโอกาสพบเห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่พระอาทิตย์และพระจันทร์จะส่องแสงผ่านช่องประตูทั้ง 15 ช่องของ องค์ประสาทพนมรุ้งแต่มิได้มีการจดบันทึกไว้ งบประมาณไม่ต้องใช้งบประมาณเพราะเป็นประเพณีที่

เกิดจากความศรัทธาและความสามัคคีของชุมชนในท้องถิ่น การแสดงความคิดเห็นในระยะเวลาอีกไม่

นานนะประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งที่งดงามตามแบบดั้งเดิมจะค่อยๆเลือนลางไปในที่สุดประเพณีขึ้นเขา พนมรุ้งที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยกำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ของทุกปีควรส่งเสริมให้เป็น ประเพณีของท้องถิ่นโดยสนับสนุนให้ผู้อนุรักษ์ประเพณีเป็นชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอนุรักษ์

และพัฒนาประเพณีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนซึ่งมีความศรัทธาและความสามัคคีเป็นพื้นฐาน ที่จะเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่

ก่อให้เกิดรายได้ให้แก่คนในชุมชนผู้ที่อนุรักษ์และรักษาประเพณีอันดีงามมาโดยตลอดการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต้องคำนึงถึงประเพณีดั้งเดิมซึ่งนักท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและจะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรม ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิม

14 1.1.2. การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งช่วงที่สอง

การกำหนดวันประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งพิจารณาตามความเหมาะสมโดยจัดขึ้นในช่วงต้น เดือนเมษายนของทุกปีกำหนดเอาวันที่พระอาทิตย์ส่องแสงผ่านประตูทั้ง 15 ช่องปัจจุบันคือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีผู้ริเริ่มกำหนดให้มีวันประเพณียึดถือตามประเพณีดั้งเดิม การจัดงานของประเพณี

เพื่อชมความงดงามปราสาทหินพนมรุ้งซึ่งได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้วส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

กิจกรรมที่จัดในปี 2534 ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายพร อุดมพงษ์ อยู่จังหวัดบุรีรัมย์

ร่วมกับกรมศิลปากรและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สืบทอดประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งโดยจัด จำลองภาพเรื่องราวในอดีตขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี พรมด้วยขบวนเหตุเทพนะทั้ง 10 ทิศและจัดหาพลอยและวัวหนุ่มอีกอย่างละ 100 ตัวเพื่อถวายเดชมหาฤาษีนเรนทราทิตย์ ความเชื่อ เป็นจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเมื่อเดินทางมาทัศนศึกษาที่ปราสาทหิน พนมรุ้งทุกคนจะสำรวมกิริยามารยาทใช้คำพูดที่สุภาพอ่อนโยนเพราะมีความเชื่อว่าโบราณสถานเป็น แดนศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องแสดงความเคารพนับถือ

สิ่งมหัศจรรย์ในปัจจุบันพระอาทิตย์ได้ทำมุมเอียงไปบ้างแล้วตามวงโคจรของโลกพระ อาทิตย์พระจันทร์ได้ทำมึงเปลี่ยนไปตามระบบสุริยะจักรวาลทำให้วันที่พระอาทิตย์ขึ้นส่องแสงผ่าน ประตูทั้ง 15 ช่องคือวันที่ 5 เมษายนและ 8 กันยายนของทุกปี งบประมาณต้องใช้งบประมาณในการ จัดขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีและขบวนแห่เทพพาหนะทั้ง 10 ทิศเพื่อส่งเสริมและ พัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แสดงความคิดเห็นการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรมควรส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีให้มีการเผยแพร่

เอกสารทางวิชาการที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้เรียนนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจสร้าง ความรู้สึกภาคภูมิใจในความเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์มหิธรปุระ ณ ดินแดนปราสาทหินพนมรุ้งผู้เป็น ประดุจมหาบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีตรวมระยะเวลาถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1110 ปี

ควรพิจารณากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนโดยให้มีกิจกรรมต่างๆอาทิเช่น จัดแข่งขัน เดินขึ้นเขาพนมรุ้ง จัดประกวดผ้าไหมงานจังหวัดบุรีรัมย์ เทศกาลอาหารพื้นเมือง จัดประกวดวงมโหรี

วงกันตรึมพื้นเมือง เทศกาลขนมพื้นเมืองตามประเพณีต่างๆ กิจกรรมอื่นๆที่เป็นแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

15 1.1.3. การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งช่วงที่สาม

ในช่วงที่สามของการจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งนั้น ยังคงเป็นช่วงที่เวลาเดียวกันจาก จากช่วงที่สอง คือ การกำหนดวันประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งพิจารณาตามความเหมาะสมโดยจัดขึ้นในช่วง ต้นเดือนเมษายนของทุกปีกำหนดเอาวันที่พระอาทิตย์ส่องแสงผ่านประตูทั้ง 15 ช่องปัจจุบันคือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีผู้ริเริ่มกำหนดให้มีวันประเพณียึดถือตามประเพณีดั้งเดิม การจัดงานของประเพณี

เพื่อชมความงดงามปราสาทหินพนมรุ้งซึ่งได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้วส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

กิจกรรมที่จัดในปี 2559 ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายอนุสรณ์ แก้วกังวาน จังหวัด บุรีรัมย์ร่วมกับกรมศิลปากรและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้สืบทอดประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งโดย จัดจำลองภาพเรื่องราวในอดีตขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี พรมด้วยขบวนเหตุเทพนะ ทั้ง 10 ทิศ การแสดงแสง สี เสียง การแสดงดนตรีพื้นบ้าน การจัดตลาดโบราณ การจัดขบวนนางรำ อัปสรา และการนำเอาดารานักแสดงมาร่วมในงานอีกด้วย ทำให้ในช่วงปัจจุบันนี้มีนักท่องเที่ยวสนใจ มากขึ้น แต่ยังคงความเชื่อว่าเป็นจิตสำนึกของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเมื่อ เดินทางมาทัศนศึกษาที่ปราสาทหินพนมรุ้งทุกคนจะสำรวมกิริยามารยาทใช้คำพูดที่สุภาพอ่อนโยน เพราะมีความเชื่อว่าโบราณสถานเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องแสดงความเคารพนับถือ

สิ่งมหัศจรรย์ในปัจจุบันพระอาทิตย์ได้ทำมุมเอียงไปบ้างแล้วตามวงโคจรของโลกพระ อาทิตย์พระจันทร์ได้ทำมึงเปลี่ยนไปตามระบบสุริยะจักรวาลทำให้วันที่พระอาทิตย์ขึ้นส่องแสงผ่าน ประตูทั้ง 15 ช่องเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา งบประมาณที่ต้องใช้งบประมาณในการจัดขบวนเสด็จ ของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีและขบวนแห่เทพพาหนะทั้ง 10 ทิศ การแสดงแสง สี เสียง และใน การจัดงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แสดงความคิดเห็นการส่งเสริม และพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมควรส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องขบวนเสด็จพระนางภูปตินทร ลักษมีเทวีให้มีการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้เรียนนักศึกษา และประชาชนผู้สนใจสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในความเจริญรุ่งเรือง

16 1.2. ลักษณะการจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

ตั้งแต่ปีพ.ศ 2481 เป็นต้นมาประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งได้ก็ทำกันอย่างสม่ำเสมอโดย พระโอวาทธรรมญาณ ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งหรือประเพณีเลิงพนม (ขึ้นเขา) ของชาวบ้านได้ปฏิบัติ

อย่างนี้ด้วยมาต่อมาในช่วงปี พ.ศ 2520 ถึง 2524 แผนพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศเริ่มมีชื่อ ของจังหวัดบุรีรัมย์เข้าไปเป็นจังหวัดที่ภาครัฐต้องการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวแต่ในตอนนั้น กรมศิลปากรทำการบูรณะปราสาทพนมรุ้งยังไม่แล้วเสร็จด้านกรมศิลปากรเริ่มบูรณะ พ.ศ 2514 ใช้

เวลาบูรณาการทั้งสิ้น 16 ปี กระทั่ง ปี พ.ศ 2534 นายพร อุดมพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์สมัย นั้นเป็น ผู้ริเริ่มและพยายามผลักดันปราสาทพนมรุ้งโดยจัดจำลองภาพเรื่องราวในอดีตเป็นขบวนเสด็จ ของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีพร้อมกับขบวนเหตุเทพนะทั้ง 10 ทิศและจัดหาแพะวัวนมอีกอย่างละ 100 ตัว เพื่อถวายเเด่มหาฤาษีนเรนทราทิตย์และพบว่าจุดประสงค์ที่จัดงานขึ้นเขาพนมรุ้งได้ถูก ลดท่อนลดเหลือเพียงขึ้นไปเพื่อความงดงามของปราสาทพนมรุ้งซึ่งในขณะบูรณะเสร็จแล้ว จัดและ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ในปีต่อมาทางภาครัฐได้จัดงานขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดโดยส่วน

ใหญ่จัดงานในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปีเนื่องจากอ้างอิงกับช่วงวันที่จะปรากฏพระอาทิตย์ลอด 15 ช่องประตู แต่การจัดงานก็จะปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้จัด แต่คงสืบทอดกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมคือ

1.พิธีบวงสรวง

2.ขบวนแห่พระนางภูปตินทรลักษมีเทวีและเทพานะทั้ง 10 ทิศ

3.การแสดงประกอบแสงสีเสียงภาพจินตนาการ

ขบวนแห่เทพพาหนะ ทั้ง 10 ทิศ ประกอบด้วย

ขบวนที่1 หงส์ พาหนะของพระพรหม เป็นเทพเจ้าประจำทิศเบื้องต้น ขบวนที่2 ช้าง พาหนะของพระอินทร์ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออก

ขบวนที่3 วัว พาหนะของพระอิสาน เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนที่4 แรด พาหนะของพระอัคนี เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้

ขบวนที่5 คชสีห์ พาหนะของพระกุเวร เป็นเทพเจ้าประจำทิศเหนือ ขบวนที่6 นกยูง พาหนะของพระขันธกุมาร เป็นเทพเจ้าประจำทิศใต้

ขบวนที่7 นาค พาหนะของพระวิรุณ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตก

ขบวนที่8 ม้า พาหนะของพระพาย เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขบวนที่9 รากษส พาหนะของพระนิรฤติ เป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้

ขบวนที่10 กระบือ พาหนะของพระยม เป็นเทพเจ้าประจำทิศเบื้องล่าง