• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่2

5) ของแข็งที่รีไซเคิล

2.3.1 การขนส่งของเสียอันตราย

2.3.2.3 การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ

- ผสมของเสียหลายชนิดเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ค่าความเป็นกรด-ด่างที่

เป็นกลาง

- เติมปูนขาวที่เป็นของเหลวข้น (lime slurries) ในของเสียที่เป็นกรด - เติมโซดาไฟ (caustic soda) หรือ โซดาแอชในของเสียที่เป็นกรด - เติมคาร์บอนไดออกไซด์ในของเสียที่เป็นด่างหรือ

- เติมกรดซัลฟูริกในของเสียที่เป็นด่าง 3) การตกตะกอน (precipitation)

เป็นการทำให้สารที่เจือปนอยู่ในของเสียอันตรายซึ่งอยู่ในรูปสารละลาย แยกตัวและตกตะกอนออกมา

1) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ขนจากที่พักรวม มูลฝอยของแต่ละหน่วยงาน

2) ต้องมีพื้นที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อใช้ในการเก็บกักภาชนะบรรจุ

มูลฝอยติดเชื้อ ที่กว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักไว้ได้จนกว่าจะกำจัดหมด และต้องมี

ป้ายคำเตือนสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุ

มูลฝอยติดเชื้อ”

3) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวม ไปถึงเครื่องมือ สำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหล ของมูลฝอยติดเชื้อ และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณระบบกำจัดมูลฝอยติด เชื้อด้วย

สำหรับวิธีหลักที่ใช้ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1) การเผาในเตาเผา (incineration) ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติด เชื้อและห้องเผาควัน โดยเผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส และในการเผา ควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ตามแบบเตาเผาที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสีย ที่ปล่อยออกจากเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดด้วย

2) การทำลายเชื้อด้วยความร้อนภายใต้ความดันไอน้ำ (autoclave) โดยใช้อุณหภูมิ 132 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30-60 นาที

3) การทำลายเชื้อด้วยความร้อนแห้ง (hot-air oven) โดยใช้อุณหภูมิ

132 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30-60 นาที

การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการที่ 2 และ 3 ต้องมีประสิทธิภาพในการ ทำลายแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และปรสิตในมูลฝอยติดเชื้อได้ทั้งหมด ซึ่งมี

มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ มาตรฐานทางชีวภาพในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2546” โดยมีข้อกำหนด ดังนี้

1) มาตรฐานทางชีวภาพในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการใดๆ นอกจากวิธีการใช้เตาเผา (incinerator) ต้องสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา

ไวรัส และปรสิตในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด

2) หน่วยงานที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องตรวจสอบว่า มูลฝอย ติดเชื้อได้ผ่านการกำจัดเชื้อโรคได้ตามเกณฑ์มาตรฐานตามข้อ 1 นั้น โดยวิธีการตรวจ วิเคราะห์โดยวิธีการเพาะเชื้อ Bacillus stearothermophillus หรือเชื้อ Bacillus subtilis ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

2.1) ใช้ spore strip ของเชื้อ B. stearothermophillus หรือ B. subtilis โดยฉีกแผ่น strip เพื่อให้สปอร์แขวนลอยในน้ำกลั่นปราศจากเชื้อ 10 มิลลิลิตร ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ

2.2) นำหลอดทดลองดังกล่าวไปวางไว้รวมกับมูลฝอยติดเชื้อในเครื่อง กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ณ จุดที่คาดว่าเชื้อโรคจะถูกทำลายได้ยากที่สุด

2.3) เมื่อมูลฝอยติดเชื้อผ่านกระบวนการกำจัดแล้ว ให้นำหลอด Spore ของเชื้อ B. stearothermophillus หรือ B. subtilis ที่วางไว้ตามข้อ 2.2 ไปทดสอบ โดยนำไปเพาะในจานอาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม เช่น blood agar หรือ egg yolk agar แล้วนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 35 – 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 - 24 ชั่วโมง

2.4) ต้องไม่พบโคโลนี (colony) ของเชื้อ B. stearothermo- phillus หรือ B. subtilis เกิดขึ้นบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ blood agar หรือ egg yolk agar จึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ และควรทำการตรวจสอบ เช่นนี้ทุกเดือน

ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการในการจัดการและการส่งกำจัดของเสียอันตรายจาก ห้องปฏิบัติการมีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนเป็นการช่วย สนับสนุนให้บรรลุตามเจตนารมย์ของประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง มาตรการ รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553 หมวด 3 ข้อที่ 5 มาตรการป้องกันภัยจากห้องปฏิบัติการต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก จึงกำหนดให้

ผู้รับผิดชอบในการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการของทุกหน่วยงานบันทึกข้อมูลการ ส่งของเสียอันตรายไปกำจัดตามแบบฟอร์มในแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทาง ชีวภาพ ทางเคมี หรือทางรังสี หรือตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานชนิดและปริมาณของ เสียอันตรายที่ส่งกำจัด (ภาคผนวก ค) สำหรับวิธีกำจัดของเสียอันตรายแสดงในภาค

ผนวก ง และรายชื่อศูนย์บำบัดกำจัดของเสียอันตรายในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาต จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแสดงในภาคผนวก จ โดยสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่

http://infofile.pcd.go.th/haz/NameList_waste.pdf

3.1 ประเภทของสารเคมี สารกัมมันตรังสี และชีววัตถุ

สารเคมี สารกัมมันตรังสี และชีววัตถุอันตรายจัดอยู่ในกลุ่มของวัตถุ

อันตราย โดยตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ได้กำหนดความหมาย ของวัตถุอันตรายหมายถึงวัตถุดังต่อไปนี้