• Tidak ada hasil yang ditemukan

การบรรจุและการขนส่งสารเคมี

หมวด 6.1 วัตถุมีพิษ

3. ปริมาณของแข็ง 1 ค่าสารแขวนลอย

(suspended solids) 3.2 ค่าตะกอนหนัก (settleable solids)

3.3 ค่าสารที่ละลายได้ทั้งหมด (total dissolved solid) 4. ค่าไนโตรเจน (nitrogen) ในรูปทีเคเอ็น (TKN)

mg/l mg/l

mg/l mg/l mg/l mg/l

5-9 20

30 0.5 500 35

pH meter

azide modification ที่อุณหภูมิ 20 oC glass fiber filter disc

Imhoff cone ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ

103-105 องศา เซลเซียส

Kjeldahl method

หมายเหตุ: วิธีวิเคราะห์ตามวิธีการมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียใน standard methods of examination of water and waster (2005)

(ที่มา: ดัดแปลงจากข้อมูลประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะถูกควบคุมการ ปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรืออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548)

4.5 ระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง ภายในมหาวิทยาลัย ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2524 โดยมีลักษณะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบ บ่อธรรมชาติ (oxidation pond) ซึ่งในปัจจุบันประสบกับปัญหาประสิทธิภาพการใช้

งาน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอาคารและจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ประกอบกับ ระบบเดิมซึ่งมีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี มีการชำรุดเสียหายของระบบ การขาด การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง อีกทั้งพบว่ามีการทิ้งน้ำเสียจากบางส่วนงานลงสู่คูคลอง สาธารณะ และรางระบายน้ำฝนของมหาวิทยาลัย ทำให้แหล่งน้ำผิวดินเกิดการเน่า เสีย ทางมหาวิทยาลัยเห็นควรที่จะต้องมีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขึ้นใหม่ เพื่อ แก้ไขและป้องกันการทิ้งน้ำเสียจากส่วนงานต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะในระยะยาว พร้อมทั้งส่งเสริมการบริหารจัดการระบบน้ำผิวดิน และระบบบำบัดน้ำเสีย ภายใน มหาวิทยาลัย มหิดล มีสภาพเรียบร้อยสวยงาม ถูกต้องตามมาตรฐานด้านคุณภาพ น้ำเสียตามมาตรฐานน้ำทิ้งประเภท ก. (น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วต้องมีค่า BOD ไม่

เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร) ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะต่อไป จึงมีการศึกษา สำรวจ ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียรวม (central treatment) ของมหาวิทยาลัย มหิดล (ภาพที่15) ซึ่งออกแบบเพื่อรองรับน้ำเสียจากอาคารต่างๆ ในปัจจุบัน รวมถึง อาคารที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต กำหนดปริมาณการรองรับน้ำเสีย 6,000 ลูกบาศก์

เมตรต่อวัน

ภาพที่ 15 ระบบบำบัดน้ำเสียรวม (Central Treatment) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สถานที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัยมหิดล (ภาพที่ 16) ตั้ง อยู่บริเวณทิศตะวันตกของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 2 ไร่

ภาพที่ 16 ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงสถานตั้งระบบบำบัดน้ำเสียรวม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

แผนควบคุมเหตุหรือภาวะฉุกเฉิน มีไว้เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาทุกคนใน มหาวิทยาลัยได้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นแผนควบคุม เหตุหรือภาวะฉุกเฉินที่ดีจึงต้องกำหนด หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารจัดการ พนักงาน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานวิธีปฏิบัติ อุปกรณ์ในการป้องกันและระงับเหตุ

การบรรเทาทุกข์ และการปฏิบัติพื้นฟูภายหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน

5.1 วิธีการควบคุมเหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ การเกิดสารเคมีรั่วไหล หรือการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง ตัวอย่างแผนฉุกเฉินนี้เกี่ยวข้องกับข้อควรปฏิบัติกรณีสารเคมีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิง ไหม้และการป้องกันอันตราย เพื่อช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถแก้ไขเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ได้อย่างรวดเร็วและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น