• Tidak ada hasil yang ditemukan

การบรรจุและการขนส่งสารเคมี

หมวด 6.1 วัตถุมีพิษ

13) ติดป้ายเตือนทางรังสีโดยรอบรถ

3.3.3 การขนส่งชีววัตถุ

การรับและจัดส่งตัวอย่างชีววัตถุจากห้องปฏิบัติการหนึ่งไปยังอีกห้องปฏิบัติ

การหนึ่งทั้งในและนอกประเทศ เพื่อใช้ในการวิจัยหรือการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ ต้องปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “แนวทางปฏิบัติใน การจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างวัตถุเพื่อการวิจัย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551” โดยต้อง กรอกแบบฟอร์มข้อตกลงการใช้ตัวอย่างวัตถุเพื่อการวิจัย (material transfer agreement) (ภาคผนวก ฉ) (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ http://

www.mat.mahidol.ac.th/ th/index.php) เพื่อขออนุญาตจากมหาวิทยาลัยมหิดล และตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 การนำเข้าหรือการส่ง ออกเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องยื่นคำขออนุญาตจากสำนักยาและวัตถุเสพติด กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอ อนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ได้ที่ http://www.dmsc.moph.go.th/

webroot/drug/index.stm) และผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดทำบัญชีรายเดือนแสดงปริมาณ การนำเข้าหรือการส่งออกเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องจัดให้มีการควบคุมการนำเข้า การส่งออก หรือการ ขนส่งซึ่งเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์โดยมิให้มีการแพร่กระจาย ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการในการจัดการและควบคุมดูแลสารเคมี รังสี และ ชีววัตถุอันตรายที่มีการใช้ในห้องปฏิบัติการต่างๆ มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบ ได้ ตลอดจนเป็นการช่วยสนับสนุนให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของประกาศมหาวิทยาลัย มหิดล เรื่อง มาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2553 หมวด 3 ข้อที่ 5 มาตรการป้องกันภัยจากห้องปฏิบัติการต่อสิ่งแวดล้อม ภายนอก จึงกำหนดให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการสารเคมี สารกัมมันตรังสี หรือ ชีววัตถุในห้องปฏิบัติการของทุกหน่วยงานบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อหรือนำเข้าสารเคมี

การขอใช้สารกัมมันตรังสี และการสั่งซื้อหรือนำเข้าสารชีววัตถุเข้ามาในห้องปฏิบัติการ ของหน่วยงานตามแบบฟอร์มแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางเคมี ทางรังสี

หรือทางชีวภาพ ตามลำดับ หรือตามตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานการสั่งซื้อหรือการ นำเข้าสารเคมี สารกัมมันตรังสีและชีววัตถุ (ภาคผนวก ช)

ห้องปฏิบัติการทดลองถือเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งน้ำเสียที่เป็น อันตรายและที่ไม่เป็นอันตราย และยังส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม หากขาดการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบและไม่มีประสิทธิภาพ เพราะน้ำเสียส่วน หนึ่งของห้องปฏิบัติการจะถูกทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำโดยมิได้ผ่านการบำบัดอย่างถูกต้อง หรือผ่านการบำบัดอย่างไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้น้ำเสียดังกล่าวยังคงมีความสกปรก เป็น พิษและมีอันตรายแฝงอยู่ และน้ำเสียจะไหลไปรวมกับท่อน้ำทิ้งรวมของสถานที่นั้นๆ และถูกปล่อยลงสู่แหล่งแม่น้ำสาธารณะต่อไป นอกจากนี้น้ำเสียอีกส่วนหนึ่งจากห้อง ปฏิบัติการถูกรวบรวมไว้ในภาชนะต่างๆ และถูกรวบรวมไว้ในห้องปฏิบัติการ เพื่อรอ การนำไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป ดังนั้นห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องมีระบบการ จัดการน้ำเสียอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้

ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ และป้องกันการเกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสภาพแวดล้อมในบริเวณโดยรอบได้

บทที่4

การจัดการน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการ