• Tidak ada hasil yang ditemukan

การบรรจุและการขนส่งสารเคมี

หมวด 6.1 วัตถุมีพิษ

13) ติดป้ายเตือนทางรังสีโดยรอบรถ

4.1 ระบบการรวบรวมน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการ

4.3.1 ระบบบ่อเติมอากาศ (aerated lagoon)

บ่อเติมอากาศหรือสระเติมอากาศ มีลักษณะเป็นสระดินเหมือนกับบ่อผึ่งแต่

มีการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ (aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้

เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำเสียอย่างทั่วถึงแทนการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายหรือ พืชน้ำอื่นๆ (ภาพที่ 11 และ 12) นอกจากนี้บ่อเติมอากาศยังเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย ทางชีวภาพที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนในลักษณะแขวนลอยอยู่

ในถังปฏิกิริยา ซึ่งเป็นบ่อดินอัดแน่นที่มีการควบคุมรูปร่างโดยทั่วไป มีรูปร่างสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจกรุผนังและพื้นบ่อด้วยหินก้อนใหญ่ คอนกรีตหรือพลาสติก เพื่อป้องกันการกัด เซาะดินในเวลาที่มีการเติมอากาศและป้องกันการรั่วซึมของน้ำที่ลงปนเปื้อนน้ำใต้ดิน ผนังบ่อมีความลาดเอียงประมาณ 1:2 ถึง 1:4 ระยะเวลาในการเก็บกักน้ำเสียไว้ในบ่อ นานประมาณ 10 วัน ส่วนความลึกของบ่อประมาณ 2-6 เมตร แต่ไม่ควรลึกมากกว่า 4 เมตร ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องเติมอากาศอาจจะไม่สามารถเติมออกซิเจนได้อย่างเพียง พอและการกวนผสมของน้ำในบ่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมในระบบบ่อ บำบัดน้ำเสียรวมได้

บ่อชนิดนี้สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี

(Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการ ทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (aerobic condition)

ภาพที่ 11 บ่อเติมอากาศแบบ aerobic and facultative aerated lagoons (ดัดแปลงจาก: http://www.ilo.org/encyclopedia)

รูปที่ 12 ตัวอย่างบ่อเติมอากาศ

(http://www.tawanbott.com/gallery/gallery3.html)

ส่วนประกอบของระบบบ่อเติมอากาศ มีดังนี้

- บ่อเติมอากาศ (จำนวนบ่อขึ้นอยู่กับการออกแบบ)

- บ่อบ่มเพื่อปรับสภาพน้ำทิ้ง (จำนวนบ่อขึ้นอยู่กับการออกแบบ) - บ่อเติมคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรค จำนวน 1 บ่อ

อุปกรณ์ที่สำคัญของระบบบ่อเติมอากาศ ได้แก่ เครื่องเติมอากาศ ซึ่งมี

วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ออกซิเจนแก่น้ำเสีย สำหรับข้อดีและข้อเสียของบ่อเติมอากาศ มีดังนี้

ข้อดีของบ่อเติมอากาศ

- ค่าลงทุนก่อสร้างต่ำแต่ประสิทธิภาพของระบบสูงสามารถรับการเพิ่มภาระ มลพิษอย่างกะทันหัน (shock load) ได้ดี มีกากตะกอนและกลิ่นเหม็นเกิดขึ้นน้อย

- สามารถรองรับน้ำเสียหรือสารมลพิษที่ไหลเข้าสู่ระบบอย่างกะทันหันได้

รวมทั้งสามารถควบคุมปัญหาเรื่องกากตะกอนหรือปัญหาเรื่องกลิ่นได้ดี

- การดำเนินการและบำรุงรักษาง่ายสามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำ เสียโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานผลิตอาหาร เป็นต้น

ข้อเสียของบ่อเติมอากาศ

- ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศ ค่า ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาเครื่องเติมอากาศ

- การสร้างระบบเติมอากาศจะต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก 4.3.2 ระบบคลองเวียนวน (Oxidation Ditch; OD)

ระบบนี้รูปแบบของถังเติมอากาศจะมีลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม ทำให้น้ำ ไหลวนเวียนตามแนวยาว (plug flow) ของถังเติมอากาศ และรูปแบบการกวนที่ใช้

เครื่องกลเติมอากาศตีน้ำในแนวนอน (horizontal surface aerator) รูปแบบของ ถังเติมอากาศลักษณะนี้จะทำให้เกิดสภาวะแอน็อกซิก (Anoxic zone) ซึ่งเป็น สภาวะที่ไม่มีออกซิเจนละลายในน้ำ ทำให้ไนเตรท (NO32-) ถูกเปลี่ยนไปเป็นก๊าซ ไนโตรเจน (N2) โดยแบคทีเรียกลุ่มดีไนตริฟายอิงแบคทีเรีย (denitrifying bacteria) จึงทำให้ระบบสามารถบำบัดไนโตรเจนได้ (ดังภาพที่ 13)

ภาพที่ 13 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (กรมควบคุมมลพิษ, 2545)

4.3.3 ระบบแอกทิเวทเต็ตสลัดจ์หรือตะกอนเร่ง (Activated sludge