• Tidak ada hasil yang ditemukan

14 บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู

ประถมศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสาร วารสาร บทความ งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เรื่องนี้ โดยน าเสนอข้อมูล ดังต่อไปนี้

15 เพราะสามารถแสดงอักษรภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง

(Virtual Situation)

วิจารณ์ พานิช (2553) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่จะเกิด กับผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติบูรณาการทักษะเข้าในการสอนเนื้อหาหลักด้านวิชาการ ได้พัฒนา วิสัยทัศน์การเรียนรู้เป็นกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

1. สาระวิชาการหลักและทักษะในการด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การรอบรู้

สาระวิชามีความส าคัญและจ าเป็นเป็นอย่างยิ่งต่อความส าเร็จของนักเรียน สาระวิชาหลัก ได้แก่

ภาษาอังกฤษการอ่าน ภาษาของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์เศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์

ประวัติศาสตร์การปกครองและความเป็นพลเมืองที่ดี

2. หัวข้อส าหรับศตวรรษที่ 21 ความรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านเงิน เศรษฐศาสตร์

ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดีความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้าน สิ่งแวดล้อม

3. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวก าหนดความพร้อมของนักเรียนใน การเข้าสู่การท างาน ซึ่งเป็นความซับซ้อนเพิ่มขึ้นในโลกปัจจุบัน ทักษะด้านนี้ได้แก่ความคิดสร้างสรรค์

และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and

Collaboration) ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Collaboration) ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยีได้แก่ ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy) ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information,

Communications and Technology, Literacy) ทักษะชีวิตและอาชีพ ได้แก่ความยืดหยุ่น และ ความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) การริเริ่มและการก ากับดูแลตัวเองได้

(Initiative and Self Direction) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross- cultural Skills) การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Productivity and

Accountability) ภาวะผู้น าและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility) ระบบส่งเสริม การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) การประเมินผลทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Assessments of 21st Century Skills) หลักสูตร และวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 (21st Century Curriculum and Instruction) การพัฒนาวิชาชีพ ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Professional Development) บรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่

21 (21st Century Learning Environment) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 หนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in Out Times ระบุลักษณะ 8 ประการของเด็กสมัยใหม่

ไว้ดังนี้

16 3.1 มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน

3.2 ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน (Customization and personalization)

3.3 ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (Scrutiny)

3.4 เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา

3.5 ความสนุกสนานและการเล่น เป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทาง สังคม

3.6 การร่วมมือและความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม 3.7 ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูลและการตอบค าถาม 3.8 สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

หลักการหรือปัจจัยส าคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 5 ประการ คือ

1. การเรียนรู้ที่แท้จริง (Authentic learning) การเรียนวิชาในห้องเรียนยังไม่ใช่การ เรียนรู้ที่แท้จริง ดังนั้น ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุด

2. การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์(Mental Model building) อาจมองอีกมุม หนึ่งว่าเป็น authentic learning แนวหนึ่ง นี่คือ การอบรมบ่มนิสัย หรือการปลูกฝังความเชื่อหรือ ค่านิยมในถ้อยค าเดิม แต่ในความหมายนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการน าเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิด เป็นกระบวนทัศน์(หรือความเชื่อ ค่านิยม)

3. การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ (Internal motivation) ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่

ภายในตัวคนไม่ใช่ขับดันด้วยอ านาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะ เรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียน เพราะอยากเรียน

4. การจัดการเรียนรู้โดยค านึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน Multiple

Intelligence เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และ เด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่ก าเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายต่อครูในการจัดการเรียนรู้โดยค านึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคน และ จัดให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว (Personalized learning)

5. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม (Social learning) หากยึดหลักการนี้ ครูก็

จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคม เพื่อให้ศิษย์สนุกและเกิดนิสัยรักการเรียน เพราะการเรียน จะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่หงอยเหงาน่าเบื่อ ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้

ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิต คือ 3R คือ Reading-อ่านออก (W) Riting-เขียนได้

(A) Rithenmatics-คิดเลขเป็น 8 C คือ Critical Thinking and Problem Solving : การคิดอย่างมี

17 วิจารณญาณ แก้ไขปัญหาได้ Creativity and innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม Cross-cultural understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้าม วัฒนธรรม Collaboration teamwork and leadership : ความร่วมมือ การท างานเป็นทีม และภาวะผู้น า Communications information and media literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ Computing and ICT literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทัน เทคโนโลยี Career and learning skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้ Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานส าคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจ าเป็นต้องมี ครูเองต้องเรียนรู้ 3R 8C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

กล่าวโดยสรุปได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นส าคัญ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่จะท าให้ผู้เรียนมีความรู้ในหลักวิชาและทักษะเพื่อด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรู้สื่อและเทคโนโลยีทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านสังคมและทักษะข้าม วัฒนธรรม

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของชาญชัย อาจินสมาจาร (2548) กล่าวว่า ครูควรมี

ลักษณะและพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ดังนี้

1. กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนให้รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

2. การเป็นผู้น าทางวิชาการ โดยเฉพาะการเป็นผู้น าทางวิชาการในชุมชนที่เป็นที่ตั้ง ของโรงเรียน

Garis besar

Dokumen terkait