• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวัดความคงทนในการเรียนรู้

4. การตอบ

4.5 การวัดความคงทนในการเรียนรู้

หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปแล้วนั้น ผู้เรียนจะยังสามารถคงไว้ซึ่งผลการเรียนรู้

หรือไม่นั้น ได้มีนักการศึกษากล่าวถึงวิธีการวัดความคงทนในการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ (2542: 242-248) ได้กล่าวถึงการวัดความคงทนในการเรียนรู้ว่าเมื่อ ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วจะมีการคงไว้ซึ่งผลการเรียนรู้ หรือสามารถระลึกได้ต่อสิ่งเร้าที่เคยเรียนได้หรือมี

ประสบการณ์รับรู้มาแล้ว โดยจะทิ้งไว้สักระยะหนึ่งแล้วจึงท าการวัดจึงเรียกว่าการวัดความคงทนใน การเรียนรู้หรือการทดสอบความจ า ซึ่งมีวิธีการวัดอยู่ 3 วิธี คือ

1. การจ าได้, การระลึก (Recall) หมายถึง การนึกถึงสิ่งที่เคยผ่านการเรียนรู้มาก่อน หรือนึก ถึงสิ่งที่ประสบมาก่อน โดยสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในระหว่างการเข้ารหัสของข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสจาก ตา หู จมูก ลิ้น ในขณะนั้น แต่เป็นการรื้อฟื้นเหตุการณ์จากความจ านั้นเอง เป็นต้นว่า ในการเรียนรู้สิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเรียนรู้ได้แล้วสักพักหนึ่ง กลับมานึกดูว่าสิ่งที่เคยเรียนรู้อยู่นั้นมี

อะไรบ้าง

2. การจ าแบบรู้จัก (Recognition) หมายถึง การรู้สึกว่าเคยประสบสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก่อนเมื่อ ประสบสิ่งนั้นเป็นครั้งที่ 2

3. การเรียนซ้ า (Relearning) การที่สามารถเรียนรู้สิ่งที่เคยเรียนรู้ก่อนได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม การระลึก (Recall) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบความจ าสามารถแบ่งออกตามลักษณะของ สถานการณ์ที่ระลึก 3 แบบ คือ ระลึกเสรี (Free recall), การระลึกตามล าดับ (Serial recall) และ การระลึกตามตัวแนะ (Cued recall)

ชวาล แพรัตกุล (2516 อ้างใน วรพงษ์ ผิวทน, 2544) ได้กล่าวเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้วัด ความคงทนในการเรียนรู้ไว้ว่าในการสอบซ้ าโดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันไปสอบบุคคลกลุ่ม เดียวกัน เวลาในการทดลองครั้งแรกและครั้งที่สองควรเว้นห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์

นอกจากนั้นชัยพร วิชชาวุธ (2520 อ้างใน วรพงษ์ ผิวทน, 2544) กล่าวว่าช่วงระยะเวลาที่

ความจ าระยะสั้นจะฝังตัวกลายเป็นความจ าในระยะยาวหรือความคงทนในการจ าประมาณ 14 วัน หลังจากที่ได้เรียนรู้ผ่านไป

ในการวัดความคงทนของการเรียนรู้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบวัดความคงทนใน การเรียนรู้ แบบปรนัย 30 ข้อ ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้

เรื่อง การคูณ ทดสอบเพื่อวัดความคงทนในการเรียนรู้หลังจากผู้เรียนได้เรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบแก้ปัญหาไปแล้ว 2 สัปดาห์

5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ภราดร เขมะกนก (2551: บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัย เรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดชลบุรี

เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การ แปลงทางเรขาคณิต 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การแปลงทาง เรขาคณิต 3) ศึกษาพัฒนาการในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จ านวน 34 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จ านวน 1 ห้องเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดลองใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ประสิทธิภาพของบทเรียน 77.16/71.18 เป็นไปตามเกณฑ์ที่

ก าหนดไว้ 70/70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

มนทกานติ รุธิรบริสุทธิ์ (2551: 97) ได้ท าการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ 1)พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธากะยาม อ าเภอบ้านแพ้ว จังหวัด สมุทรสาคร จ านวน 30 คน โดยการสุ่มแบบยกชั้น ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การคูณ มีประสิทธิภาพ 78.89/76.78 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การคูณ พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มี

ต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ อยู่ในระดับมาก

รุ่งเรือง เสาสมสงษ์ (2552: 73) ได้ท าการวิจัย เรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแหลมบัววิทยา จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ มีค่าประสิทธิภาพเป็น 72.72/70.93 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

วรรณพร ทองสมนึก (2554: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน โพธาวัฒนาเสนี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของ นักเรียนโดยการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี จังหวัดราชบุรี จ านวน 45 คน ได้มา ด้วยการสุ่มแบบยกชั้น (Cluster Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.65/79.10 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและ ร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อน เรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ชานและคณะ (Chan et al, 2006) ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ชื่อว่า MathCAL ไปสอนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์กับกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 130 คน โดย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบไปด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน คือ 1) การท าความ เข้าใจปัญหา 2) การวางแผน 3) การด าเนินการตามแผน 4) ตรวจสอบกลับ ผลวิจัยพบว่า บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน MathCAL ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาต่ าให้สูงขึ้นได้ และ ยังตอบสนองต่อความแตกต่างในการแก้ปัญหาของนักเรียนแต่ละคน อีกทั้งช่วยพัฒนาความสามารถ ในการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนได้อีกด้วย

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่าการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพเป็นไป ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ และการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

งานวิจัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

ธีรวรรณ ไชยพิชิต (2551: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์

ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยการสอดแทรกข้อมูลท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จ านวน 44 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทั้ง 4 ด้าน คือ การท าความเข้าใจโจทย์ปัญหา ด้านการวางแผนแก้ปัญหา ด้านการด าเนินการตามแผน และด้านการตรวจสอบค าตอบ อยู่ในระดับดี นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลัง การเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนผ่านเกณฑ์

ร้อยละ 60 นอกจากนี้นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการท างานร่วมกับผู้อื่นอยู่

ในระดับดีมาก และนักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม จิตติมา พิศาภาค (2552: บทคัดย่อ) ท าการวิจัย เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้

โจท ย์ ปั ญ ห าค ณิ ตศ าสตร์ข อ งนั ก เรีย น ชั้น ป ระ ถม ศึก ษ าปี ที่ 2 โรงเรีย น สาธิต แห่ ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา โดยใช้กระบวนแก้ปัญหาตามแนวคิดของ โพลนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อสร้างโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความหลากหลายและเหมาะสม ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียน สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จ านวน 1 ห้องเรียน นักเรียน จ านวน 39 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ได้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีความ หลากหลายและเหมาะสมส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

กมลกาญจน์ นพโสภณ (2554 : บทคัดย่อ) ได้ท าการวิจัย เรื่อง การศึกษาความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง“ร้อยละ” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้เทคนิค K-W-D-L โรงเรียนประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง“ร้อยละ” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้เทคนิค K-W-D-L 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง “ร้อยละ” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยการใช้เทคนิค K-W-D-L และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี

ต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิค K-W-D-L กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชานิเวศน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จ านวน 1 ห้องเรียน

Dokumen terkait