• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 4 การวิเคราะหขอมูล

3. ผลการศึกษาวิธีการวัดเนื้องาน

3.4 การศึกษามาตรฐานการวัดเนื้องานของประเทศอังกฤษ

มาตรฐานของประเทศอังกฤษมีการแบงหมวดงานออกเปนตัวอักษรอังกฤษแยกตามงาน โดยเริ่มจาก หมวดงาน A กฎเกณฑทั่วไป หมวดงาน B งานจัดการขั้นตนและหมวดงาน C งานรื้อถอน ไปจนถึง หมวดงาน W งานระบบเครื่องกลและงานระบบไฟฟา โดยมีทั้งหมด 23 หมวด โดยอธิบายหมวดงาน ดังกลาวไดดังนี้

หมวดงาน A กฎเกณฑทั่วไป (General Rules) อธิบายถึงหลักเกณฑทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการวัด และเงื่อนไขตางๆที่จําเปนตองคํานึงถึงทุกครั้ง ไมวาจะเปนการพิจารณาวิธีการวัดเนื้องานหรือจะเปน การจัดทําบัญชีรายการปริมาณงานของหมวดงานตางๆ เชน ในกรณีมิไดระบุไวเปนอยางอื่นภายใน บัญชีรายการปริมาณหรือภายในมาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานรายการดังกลาวตอไปนี้จะรวมอยูในทุก หัวขอที่ปรากฏในมาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานนี้

(ก) คาแรงงานและตนทุนทั้งหมดที่เกี่ยวของกับคนงาน

(ข) คาตนทุนทั้งหมดที่เกี่ยวของกับวัตถุดิบ และวัสดุรวมทั้งคาการขนสงการขนถายและการ เก็บรักษาวัสดุ

 

(ค) ตนทุนที่เกี่ยวของกับอุปกรณติดตั้ง และวิธีการประกอบวัสดุใหอยูในตําแหนงที่ใชงาน (ง) คาเครื่องจักรและตนทุนที่เกี่ยวของกับเครื่องจักรที่ใชในการติดตั้ง

(จ) การสูญเปลาของวัสดุ

(ฉ) คาใชจายในสวนของการดําเนินการ คาโสหุย และกําไร

หมวดงาน B การจัดการขั้นตน (Preliminaries) อธิบายถึงเงื่อนไขเบื้องตนที่จําเปนตองระบุไว

ใหชัดเจน ในสัญญาหรือในบัญชีปริมาณงาน (Bill of Quantity) เชนขอมูลโครงการ เสนทางการเขาถึงและ ตําแหนงของโครงการ ระบบระบายน้ํา ระบบประปาและระบบสาธารณูปโภคเดิมอื่นๆ ที่ยังคงอยูใน หนวยงาน นอกจากนี้งานจัดการขั้นตนจะแสดงถึงแนวทางสําหรับการลงรายการยอยในบัญชีปริมาณงาน โดยกําหนดไวเปนมาตรฐานเพื่อความสะดวกในการประมาณราคา ตัวอยางเชนคาเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช

การบริการหนวยงาน การจัดยามเฝาหนวยงาน การเดินทางสําหรับคนงาน ถนนชั่วคราวคาไฟฟาและคา ประปาในหนวยงาน

หมวดงาน C งานรื้อถอน จนถึงหมวดงาน W งานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟา จะกลาวถึง ขอกําหนดวิธีการวัดเนื้องานซึ่งประกอบอยูในรูปแบบของตาราง มีสวนประกอบอยู 3 สวน ไดแก

1. Information Provided 2. Classification Tables 3. Supplementary Rules

ซึ่งมีรายละเอียดในแตละสวนอธิบายไดดังนี้

1. Information Provided อธิบายถึงรายละเอียดทั่วไปของงานที่ผูทําการวัดปริมาณงานควร ทราบ ซึ่งอาจแสดงไวในแบบกอสรางหรือระบุไวในสัญญา หรือระบุไวในบัญชีรายการปริมาณงาน (Bill of Quantity) เพื่อใชประกอบการในการวัดปริมาณงาน ตัวอยาง Information Provided งานคอนกรีต

มาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานคอนกรีต มีรายละเอียดที่ควรแสดงในแบบกอสราง สัญญา หรืออยูในบัญชี

ปริมาณงาน มีรายละเอียดดังนี้

− ตําแหนงที่เกี่ยวของกับชิ้นสวนประกอบของคอนกรีต

− ขนาดของสวนที่จะเทคอนกรีต

− ความหนาของพื้น

− กําลังของคอนกรีต

2. Classification Tables อธิบายถึงการแบงรายการงานและหนวยที่ใชในการวัดปริมาณงาน สวนของ Classification Tables จะแบงออกเปน 5 ชอง มีรายละเอียดแตละชองดังนี้

 

ชองที่ 1 แสดงการแบงงานในแตละหมวดงานออกเปนหัวขอยอยตามลักษณะงาน ชองที่ 2 แสดงการแบงหัวของานจากชองที่ 1 ออกตามลักษณะของงานยอย ชองที่ 3 แสดงการแบงหัวของานจากชองที่ 2 ออกตามลักษณะของงานยอย

ชองที่ 4 แสดงหนวยที่ใชในการวัดปริมาณงานตามลักษณะของงานที่ไดมีการแบงไวจาก ชองที่ 1-3

ชองที่ 5 แสดงการแบงหัวของานจากชองที่ 3 ออกตามลักษณะของงานหรือเปนรายละเอียด เพิ่มเติมสําหรับหัวของานในชองที่ 3

ในการวัดปริมาณงานคอนกรีตไดมีการแบงหัวของานในชองที่ 1 ของ Classification Tables ออกเปน 17 งานยอยดังนี้

1. งานฐานราก (Foundation) 2. งานคานคอดิน (Ground Beams) 3. งานฐานรากเดี่ยว (Isolated Foundation)

4. งานผิวหนาของฐานคอนกรีตที่รองรับฐานแผของผนังคอนกรีต (Beds) 5. งานพื้น (Slabs)

6. งานพื้นที่เปนเบาหรือเวา (Coffered And Troughed Slabs) 7. งานผนัง (Walls)

8. งานอุดผนังกลวง (Filling Hollow Walls) 9. งานคาน (Beams)

10. งานชิ้นบังคาน (Beam Casing) 11. งานเสา (Column)

12. งานชิ้นบังเสา (Column Casing) 13. งานบันได (Staircases)

14. งานคันขอบ (Up-stands)

15. งานคอนกรีตหลอในที่แบบพิเศษ (Items Extra Over The In Situ Concrete In Which They Occur)

16. งานอัดปูน (Grouting) 17. งานอุดปูน (Filling)

 

ในสวนชองที่ 2 ไดมีการแบงหัวของานที่ 4 งานผิวหนาของฐานคอนกรีตที่รองรับฐานแผของ ผนังคอนกรีต จนถึงหัวของานที่ 8 งานอุดผนังกลวง ออกเปน งานยอยลงไปอีก 3 ลักษณะคือ

1. งานที่มีความหนาไมเกิน 150 มิลลิเมตร

2. งานที่มีความหนามากกวา 150 มิลลิเมตร แตไมเกิน 450 มิลลิเมตร 3. งานที่มีความหนามากกวา 450 มิลลิเมตร

ในสวนชองที่ 3 ไมมีการแยกยอยรายการ

ในสวนชองที่ 4 แสดงหนวยที่ใชในการวัดปริมาณงานจะแบงหัวของานในชองที่ 1 จากขอ 1 งานฐานราก จนถึงขอที่ 14 งานคันขอบ วัดปริมาณในหนวยลูกบาศกเมตร ขอที่ 15 งานคอนกรีตหลอ ในที่แบบพิเศษ วัดปริมาณเปนพื้นที่ตารางเมตร สวนขอ 16 งานอัดปูน วัดปริมาณเปนจํานวนชุด

ในสวนชองที่ 5 ไดกําหนดรายละเอียดเพิ่มเติมวาควรมีการระบุชนิดเหล็ก และลักษณะของการเท คอนกรีต ซึ่งเปนรายละเอียดเพิ่มเติมของหัวขอยอยที่ 1 งานฐานราก ถึงงานยอยที่ 10 งานชิ้นบังคาน ที่

แสดงงานยอยในชองที่ 1

3. Supplementary Rules อธิบายในสวนของวิธีการวัดปริมาณงาน ประกอบดวยสวนสําคัญ ตางๆ 4 สวนคือ

3.1 Measurement Rules แสดงงานที่ตองทําการวัดและวิธีที่ใชในการวัดปริมาณงาน 3.2 Definition Rules แสดงขอบเขตของงานที่ตองการวัดปริมาณ

3.3 Coverage Rules แสดงงานอื่นๆที่ควรควบคุมในการวัดปริมาณ

3.4 Supplementary Information แสดงรายละเอียดที่ควรเพิ่มเติมเพื่อใชประกอบรายละเอียด ของงานจาก Classification tables

4. ผลการวิเคราะหขอมูลการคิดงานเปลี่ยนแปลงและสาเหตุของงานเปลี่ยนแปลงแบบหรือ วัสดุกอสราง

จากการศึกษารูปแบบงานเปลี่ยนแปลงในงานกอสรางในกรณีตางๆ พบวามีผูวิจัยหลายทานที่มี

การสรุปแบงรูปแบบงานเปลี่ยนแปลงเปนหมวด โดยครอบคลุมงานทุกสวนซึ่งผูวิจัยเองสามารถแบงเปน หมวดงานที่เกี่ยวของกับการกอสรางไดดังตอไปนี้

4.1 งานเปลี่ยนแปลงงานโครงสราง 4.2 งานเปลี่ยนแปลงงานสถาปตยกรรม 4.3 งานเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟา 4.4 งานเปลี่ยนแปลงระบบสุขาภิบาล