• Tidak ada hasil yang ditemukan

การสร้างเครื่องมือวิจัย

4. วิธีด าเนินการวิจัย

4.1 การสร้างเครื่องมือวิจัย

ผู้วิจัยศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง

วัฒนธรรมไทยในส ำนวนที่เกี่ยวกับดอกไม้” สัมภาษณ์ผู้เรียนชาวเวียดนามและลงภาคสนามเก็บ ข้อมูลและรูปภาพเพื่อสร้างเครื่องมือวิจัย ตามล าดับต่อไปนี้

4.1.1 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและดอกไม้ โดยศึกษาความหมายของ วัฒนธรรม การแบ่งหมวดวัฒนธรรม ความหมายของดอกไม้ และความส าคัญของดอกไม้ใน วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมเวียดนาม

4.1.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนส านวนไทยให้แก่

ชาวต่างชาติ และคัดเลือกส านวนไทยเกี่ยวกับดอกไม้ที่แสดงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส านวนที่ปรากฏซ ้า อย่างน้อย 2 ครั้งในหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ หนังสือ ภาษิต ค าพังเพย ส านวนไทย (ราชบัณฑิตย

สภา, 2561)หนังสือ ส านวนไทย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) และ หนังสือ ส านวนไทย (สง่า กาญจนาคพันธุ์, 2538) พบว่า มีส านวนเกี่ยวกับดอกไม้ทั้งหมด 8 ส านวนดังนี้

ตาราง 1 ส านวนเกี่ยวกับดอกไม้ที่แสดงวัฒนธรรม

ล าดับ ส านวน ราชบัณฑิตยสภา กระทรวงศึกษาธิการ สง่า กาญจนาคพันธุ์

1 กระดังงาลนไฟ ✓ ✓ ✓

2 กลัวดอกพิกุลจะร่วง ✓ ✓ ✓

3 เก็บดอกไม้ร่วมต้น ✓ ✓ ✓

4 เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย

✓ ✓ ✓

5 เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ✓ ✓ ✓

6 บัวไม่ช ้า น ้าไม่ขุ่น ✓ ✓

7 พ่อพวงมาลัย ✓ ✓

8 แม่สายบัวแต่งตัวค้าง ✓ ✓

4.1.3 ศึกษาการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดย ศึกษาความหมาย ประเภท โปรแกรมที่ใช้สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างและ ประโยชน์ของหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์

4.1.4 ผู้วิจัยลงภาคสนามเก็บรูปภาพและศึกษาบริบทการใช้ดอกไม้ในวัฒนธรรม ไทยในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อท าให้เห็นและเข้าใจวิถีชีวิตไทยในสถานที่ต่างๆ แล้วน าข้อมูลมา วิเคราะห์และก าหนดเนื้อหาบทอ่าน เช่น ปากคลองตลาด พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้

สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์สวนลุมพินี งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ประจ าปี 2564 (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) งานใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม สะพานบุญ(วัดตระพังทอง) จังหวัดสุโขทัย ฯลฯ

4.1.5 ผู้วิจัยน าข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อก าหนดบทอ่านในหนังสือ อ่านเพิ่มเติมและปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา

4.1.6 ผู้วิจัยน าหัวข้อบทอ่านไปสัมภาษณ์ความสนใจของนักศึกษาชาวเวียดนาม ที่ก าลังเรียนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยดานัง วิทยาเข ต ภาษาต่างประเทศ จ านวน 48 คน โดยให้นักศึกษาท าแบบสอบถามเพื่อน าผลมาจัดล าดับเนื้อหา บทอ่านตามความสนใจของผู้เรียน ผลเฉลี่ยคะแนนความสนใจของนักศึกษาเวียดนามต่อบทอ่าน เรียงจากมากไปน้อยตามตารางได้ดังนี้

ตาราง 2 ผลเฉลี่ยคะแนนความสนใจของนักศึกษาเวียดนามต่อหัวข้อบทอ่าน

บทที่ ชื่อบท ค่าเฉลี่ย

1 “บัวไม่ช ้ำ น ้ำไม่ขุ่น” : ดอกไม้กินได้ 4.4

2 “พ่อพวงมาลัย” : ร้อยพวงมาลัย 3.95

3 “กระดังงำลนไฟ” : การอบร ่าผ้า 3.91

4 “เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย” : ความผูกพันของครอบครัวไทย 3.64 5 “แม่สำยบัวแต่งตัวค้ำง” : ค าคล้องจองในส านวนไทย 3.44

6 “เด็ดดอกไม้ร่วมต้น” : การถวายดอกไม้ 3.31

7 “ดอกพิกุลร่วง” : นิทานพื้นบ้าน “พิกุลทอง” 3.06 8 “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว” : นิทานชาดก “มิตตวินทุกชำดก” 2.7

4.1.7 ผู้วิจัยน าข้อมูลทั้งหมดมาก าหนดเนื้อหาบทเรียนในหนังสืออ่านเพิ่มเติม อิเล็กทรอนิกส์ จ านวน 10 บท ได้แก่

บทที่ 1 ดอกไม้ในวิถีชีวิตคนไทย เป็นบทน า บทนี้น าเสนอภาพรวม เกี่ยวกับความส าคัญของดอกไม้ในวิถีชีวิตชาวไทยโดยเฉพาะดอกไม้ 5 ชนิด ได้แก่ ดอกราชพฤกษ์

ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกกระดังงา และดอกพิกุล ซึ่งประกอบด้วยดอกไม้ประจ าชาติไทยและดอกไม้

ที่ปรากฏในบทต่อไป

ตั้งแต่บทที่ 2 ถึงบทที่ 9 มีเนื้อหาเกี่ยวกับส านวนไทยที่แสดงวัฒนธรรม ได้แก่

บทที่ 2 “บัวไม่ช ้า น ้าไม่ขุ่น” : ดอกไม้กินได้ กล่าวถึงความหมายและที่มา ของส านวนบัวไม่ช ้า น ้าไม่ขุ่น และวัฒนธรรมการน าดอกบัวมาประกอบอาหารของคนไทย

บทที่ 3 “พ่อพวงมาลัย” : ร้อยพวงมาลัย กล่าวถึงความหมายและที่มาของ ส านวนพ่อพวงมาลัย และความส าคัญของพวงมาลัยในวิถีชีวิตคนไทย

บทที่ 4 “กระดังงาลนไฟ” : การอบร ่าผ้า เนื้อหาของบทนี้กล่าวถึง ความหมายและที่มาของส านวนกระดังงาลนไฟ และวัฒนธรรมการอบร ่าผ้าของชาวไทย โดยเฉพาะการน าดอกกระดังงาไปอบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม

บทที่ 5 “เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย” : ความผูกพันของครอบครัว ไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและที่มาของส านวนเด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใยและวัน ส าคัญที่เกี่ยวกับครอบครัวไทย รวมถึงขนบธรรมเนียม พิธีกรรมเกี่ยวกับดอกไม้ที่คนไทยนิยมท าใน วันส าคัญนั้น

บทที่ 6 “แม่สายบัวแต่งตัวค้าง” : ค าคล้องจองในส านวนไทย กล่าวถึง ความหมายและที่มาของส านวนแม่สายบัวแต่งตัวค้าง และการใช้ค าสัมผัสคล้องจองในส านวน ไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางภาษาของคนไทย สะท้อนความไพเราะของภาษาไทย เช่น แม่สายบัว แต่งตัวค้าง หวานเป็นลม ขมเป็นยา ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด

บทที่ 7 “เด็ดดอกไม้ร่วมต้น” : การถวายดอกไม้ กล่าวถึงความหมายและ ที่มาของส านวนเด็ดดอกไม้ร่วมต้น วัฒนธรรมและความเชื่อเรื่องการใช้ดอกไม้ไหว้พระของคนไทย บทที่ 8 ดอกพิกุลร่วง” : นิทานพื้นบ้าน “พิกุลทอง น าเสนอความหมาย และที่มาของส านวน ดอกพิกุลร่วง และนิทานพื้นบ้านภาคกลางไทย เรื่อง พิกุลทอง เนื้อเรื่อง สนุกสนานและให้แง่คิด

บทที่ 9 เห็นกงจักรเป็นดอกบัว” : นิทานชาดก “มิตตวินทุกชำดก กล่าวถึงความหมายและที่มาของส านวนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว และนิทานชาดก เรื่อง มิตตวินทุก ชาดก ในพระไตรปิฎก เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์

บทสุดท้ายคือ บทที่ 10 ปากคลองตลาด...ตลาดดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย แนะน าตลาดดอกไม้สดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดดอกไม้ที่ยังคงรักษา วัฒนธรรมดั้งเดิมและเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของไทย

ผู้วิจัยก าหนดองค์ประกอบของบทเรียน ประกอบด้วย

1. จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าต้องได้ความรู้อะไรจากบทเรียน

2. บทอ่านเรื่องส านวนซึ่งประกอบด้วยความหมายและที่มาของส านวนไทย ที่เกี่ยวกับดอกไม้และส านวนเวียดนามที่เกี่ยวข้อง

3. แบบฝึกหัดการใช้ส านวนเพื่อทบทวนส านวนที่เรียนมาและฝึกใช้ส านวนใน สถานการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจส านวนมากยิ่งขึ้น โดยมีคิวอาร์โค้ดให้สแกนเพื่อท าแบบฝึกหัดการใช้

ส านวนออนไลน์

4. ค าศัพท์ที่ควรรู้ในบทอ่านเกี่ยวกับส านวน จ านวน 20 ค า

5. บทอ่านหลักเรื่องวัฒนธรรมไทยที่แสดงในส านวนที่เกี่ยวกับดอกไม้ พร้อม คิวอาร์โค้ดชมวิดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง

6. ค าศัพท์ที่ควรรู้ในบทอ่านวัฒนธรรม จ านวน 20 ค า

7. เกร็ดความรู้เพิ่มเติม เป็นบทอ่านเสริมที่ให้ความรู้วัฒนธรรมเวียดนามที่

เชื่อมโยงกับบทอ่านหลักซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ผู้เรียนเห็นวัฒนธรรมที่เหมือนกันและต่างกัน ของไทยและเวียดนาม

8. แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก ทั้งหมด 10 บท บทละ 10 ข้อ รวม 100 ข้อ เพื่อทดสอบความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมกับดอกไม้ของไทยความหมายของ ส านวนและการประยุกต์ใช้ส านวนหลังจากเรียนจบแต่ละบท โดยมีคิวอาร์โค้ดให้สแกนเพื่อท า แบบทดสอบท้ายบทออนไลน์

4.1.8 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 50 ข้อ เพื่อวัดความรู้ความจ า ความเข้าใจและการน าไปใช้เกี่ยวกับเรื่องส านวน วัฒนธรรมและ ดอกไม้ในบริบทสังคมไทยและเวียดนาม

4.1.9 ออกแบบและจัดท าหนังสืออ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง “วัฒนธรรม ไทยในส ำนวนที่เกี่ยวกับดอกไม้” โดยใช้โปรแกรม AnyFlip แล้วให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบและ ปรับปรุงแก้ไข

4.1.10 สร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาเวียดนามหลังจากที่ใช้หนังสือ อ่านเพิ่มเติมอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “วัฒนธรรมไทยในส ำนวนที่เกี่ยวกับดอกไม้” โดยศึกษาเอกสาร การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของลิเคิร์ท (Likert) (Likert, 1967, p. 90-95) เป็นแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Ration Scales) ดังนี้

ระดับ 5 หมายถึง พอใจมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึง พอใจมาก ระดับ 3 หมายถึง พอใจปานกลาง

ระดับ 2 หมายถึง พอใจน้อย ระดับ 1 หมายถึง พอใจน้อยที่สุด

น าผลการประเมินจากนักศึกษามาหาค่าเฉลี่ยและเทียบเกณฑ์ดังนี้

คะแนนเฉลี่ย 4.50 -5.00 พอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.50 -4.49 พอใจมาก คะแนนเฉลี่ย 2.50 -3.49 พอใจปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.50 -2.49 พอใจน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 -1.49 พอใจน้อยที่สุด

น าแบบวัดความพึงพอใจที่สร้างเสร็จแล้วเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ ความถูกต้องและปรับแก้