• Tidak ada hasil yang ditemukan

1. ก่อนสอนด้วยวิธี STADในแต่ละครั้ง ผู้วิจัยน าแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดสอบ นักศึกษา (Pre- Test)

2. ด าเนินการสอน ใช้แผนการสอนรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ วิธีเรียนแบบ STAD 3. เมื่อสอนจบในแต่ละครั้ง ผู้วิจัยน าแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดสอบนักศึกษา (Post Test)

การวิเคราะห์ข้อมูล

หลังจากท าการทดสอบแล้ว ผู้วิจัยจะน าผลการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี ้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1.วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลองที่ได้จากการให้

นักศึกษาท าแบบทดสอบระหว่างการเรียนแบบปกติกับการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์(STAD) แบบละ 5 ครั้ง พบว่า

1.1.นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบหลังเรียน(Post-test) 8.04 เพิ่มสูงขึ้นกว่า คะแนนทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยก่อนเรียนได้ 6.32 คะแนน

1.2. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนเฉลี่ยของห้องก่อนเรียนและหลังเรียนลดลงจาก 4.79 เหลือ 2.56

1.3. ความแตกต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าสถิติ t-test ส าหรับ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการทดลองดังกล่าวผู้วิจัยมีความเห็นว่าวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เป็นวิธีการเรียนที่มี

เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน มีการสร้างบรรยากาศที่

แปลกใหม่ในห้องเรียน ช่วยเหลือผู้เรียนที่อ่อนซึ่งโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยกล้าถามผู้สอน เพราะเกรงว่าจะถูก ดุหรืออายเพื่อนว่าจะเป็นตัวตลก แต่ในกิจกรรมการจัดการเรียนแบบร่วมมือนี ้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เรียน อ่อนสามารถถามเพื่อนที่เรียนเก่งกว่าได้ ขณะเดียวกันนักศึกษาที่เรียนเก่งกว่า รู้สึกเป็นหน้าที่และความ รับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องช่วยเพื่อนให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น ผลจากการเรียนแบบร่วมมือจึงท าให้

นักศึกษาแต่ละคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนสามารถมีความรู้เพิ่มขึ้นได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

2.การประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์

นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับสูง จากการ สังเกตพฤติกรรมการเรียน ผู้วิจัยพบว่า คาบแรกๆของการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่ม นักศึกษาพยายามขอ ผู้สอนอยู่ในกลุ่มเพื่อนสนิท แต่ผู้สอนไม่อนุญาตเพราะเงื่อนไขของวิธีการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มเดียวกันจะต้องมีทั้งผู้ที่เรียนเก่ง ปานกลางและอ่อน นักศึกษาก็จึงยอมสลายตัวจากกลุ่ม เพื่อนสนิท และมาจัดกลุ่มใหม่ตามเงื่อนไขที่แม้จะอยู่กลุ่มเดียวกันแต่ยังไม่สนิทกัน และยังไม่ช่วยเหลือกัน เท่าที่ควร ต่อเมื่อการเรียนผ่านไป นักศึกษารู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้น เริ่มสนิทกัน จึงช่วยเหลืออธิบายกัน และ คอยกระตุ้นเพื่อนที่เรียนอ่อนกว่าท างานให้ส าเร็จ ชึ่งเห็นได้จากคะแนน Post test ดีขึ้นทุกคาบ แม้ว่าคาบ แรกๆ คะแนนจะยังเพิ่มขึ้นไม่มากแต่นักศึกษาก็เรียนด้วยบรรยากาศไม่เครียดเพราะมีเพื่อนในกลุ่มคอยให้

ความช่วยเหลือ

2.1.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ สรุปภาพรวมว่า นักศึกษามีความพึงพอใจการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทั้ง 9 เรื่องในระดับสูง ได้คะเนนเฉลี่ย รวม 4.10

ส าหรับประเด็นที่นักศึกษาประเมินให้ค่าความพึงพอใจเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่เรื่องที่นักศึกษาได้

ช่วยเหลือเพื่อน มีค่าเฉลี่ย 4.28 สอดคล้องกับจอห์นสันและคณะ(Johnson et.al:1991)ซึ่งกล่าวถึงการ เรียนแบบร่วมมือว่าก่อให้เกิดการมีปฎิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างผู้เรียนกล่าวคือ ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มจะ

มีการอภิปราย ซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน สมาชิกในกลุ่มจะมีการช่วยเหลือสนับสนุน กระตุ้น ส่งเสริม และให้ก าลังใจกันและกันในการท างานและการเรียน เพื่อให้ประสบผลส าเร็จ

รองลงมาได้แก่เรื่องการท าให้กลุ่มประสบความส าเร็จในการท างาน มีความพึงพอใจใน ระดับสูงค่าเฉลี่ย 4.15 ซึ่งก็สอดคล้องกับ Johnson & Johnson, 1987. ซึ่งกล่าวถึงการเรียนแบบร่วมมือ ว่า ผู้เรียนทุกคนเข้าใจดีว่าคะแนนของตนมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดค่าเฉลี่ยของกลุ่ม ดังนั้นทุกคนต้องพยายาม ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้กลุ่มประสบความส าเร็จ

ความพึงพอใจอันดับ 3 มี 2 หัวข้อได้แก่ ผู้เรียนรู้สึกว่าการเรียนแบบเป็นกลุ่มช่วยให้ผู้เรียน เรียนดีขึ้นและการที่นักศึกษาอยากให้มีการจัดการเรียนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ในวิชาอื่นๆ มีค่าเฉลี่ย เท่ากัน 4.11 สอดคล้องกับ Johnson & Johnson, 1987.ซึ่งกล่าวถึงการเรียนแบบร่วมมือว่า การสอนเพื่อน เป็นการสอนแบบตัวต่อตัว ท าให้ผู้เรียนได้รับการเอาใจใส่ และท าให้มีความสนใจมากยี่งขึ้น ซึ่งเป็นผลให้

นักศึกษารุ้สึกว่าการเรียนเป็นกลุ่มช่วยให้ตนเองสามารถท างานได้ดีขึ้น และ จอห์นสันและคณะ(Johnson et.al:1991)กล่าวถึงลักษณะส าคัญของการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ไว้ว่า เป็นการสร้าง ความรู้สึกพึ่งพาอาศัยกันทางบวกให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้เรียน

ส่วนเรื่องที่นักศึกษามีความพึงพอใจน้อยที่สุดแต่ก็เป็นความพึงพอใจในระดับสูงได้แก่ การที่

ผู้เรียนคิดว่าการได้รับรางวัลในการพยายามท างานดีกว่าการท าคะแนนสอบได้สูง(ค่าเฉลี่ย3.97) 3.ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้

3.1 ผู้วิจัยมีความห็นว่าควรส่งเสริมให้ผู้สอนวิชาอื่นๆมีการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ให้แพร่หลายต่อไป

3.2 ผู้สอนควรศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคอื่น เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมกับ นักศึกษาและสอดคล้องกับรายวิชา

3.3 ผู้สอนควรให้ข้อมูลนักศึกษาที่เรียนเก่งกว่าว่าการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่าจะเป็น ผลดีกับตัวเองด้วย กล่าวคือ นักศึกษาผู้นั้นจะได้มิตรภาพและเพื่อนเพิ่มขึ้น