• Tidak ada hasil yang ditemukan

ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม

ความเป็นมา

การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย เดิมเป็นภารกิจของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2515 โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่และ การก าหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (International Standard Industrial Classification of All Economic Activities 1968 : ISIC) ขององค์การสหประชาชาติ

(United Nations)

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 เป็นต้นมา การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย เป็น ภารกิจของกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานหลักในการด าเนินการจัดท า ข้อมูลและก าหนดรหัสหมวดหมู่อุตสาหกรรม ตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับการจัดประเภท มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) และได้ด าเนินการปรับปรุงมาตรฐานอุตสาหกรรมครั้งที่2ในปี

พ.ศ. 2544

ในปีพ.ศ. 2549 องค์การสหประชาชาติได้ด าเนินการปรับปรุงมาตรฐานอุตสาหกรรม สากลขึ้นใหม่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป และสืบเนื่องจากการประชุมของกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันผลักดันให้มีการปรับปรุงการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันภายในประเทศกลุ่มสมาชิก โดยน าโครงสร้างของการจัดประเภท มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล ปีพ.ศ. 2549 (International Standard Industrial Classification) ISIC Rev.4 มาเป็นแนวทางในการจัดท า ASEAN Common Industrial Classification : ACIC และให้แต่ละประเทศได้น าไปปรับข้อมูลอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับ ACIC และ ISIC Rev.4

TSIC เป็นมาตรฐานการจัดประเภทอุตสาหกรรมที่จัดท าขึ้นบนพื ้นฐานของ International Standard Industrial Classification of All Economic Activities Revision 4 (ISIC Rev.4) เป็น หลัก ซึ่ง ISIC เป็นการจัดประเภทตามชนิดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่การจัดประเภทตาม ชนิดของสินค้าหรือบริการ กิจกรรมการผลิตที่เหมือนกันที่ด าเนินงานโดยหน่วยงานต่างๆ จะถูก น ามาจัดประเภทรวมไว้ในกลุ่มเดียวกันเพื่อก่อให้เกิดเป็น “อุตสาหกรรม” ซึ่งอุตสาหกรรมในที่นี ้ หมายถึง กลุ้มของหน่วยผลิตทั้งหมดที่ด าเนินกิจกรรมการผลิตหลักที่เหมือนหรือคล้ายกัน

ในปี พ.ศ. 2551 ได้ท าการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ACIC และ ISIC Rev.4 เปรียบเทียบ โครงสร้างและข้อมูลการจัดประเภทอุตสาหกรรมประเทศไทยฉบับปีพ.ศ. 2544 กับ ACIC และ ISIC Rev.4 และ น าร่างมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทย ปีพ.ศ. 2544 มาพิจารณาจัด

129

หมวดหมู่ให้สอดคล้องกับ ACIC และ ISIC Rev.4 รวมทั้งการเพิ่มเติมข้อมูลและก าหนดเลขรหัส ในระดับตัวอุตสาหกรรม (เลข 5 หลัก)

โครงสร้าง

การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) โดยใช้หลักเกณฑ์และโครงสร้าง ของการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมสากล ISIC Rev.4 คือ การจัดประเภทอุตสาหกรรมที่

คล้ายกันเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยแบ่งเป็น หมวดใหญ่ หมวดย่อย หมู่ใหญ่และหมู่ย่อย

หมวดใหญ่ (Section) เป็นกลุ่มใหญ่อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด แบ่งเป็น 21 หมวดใหญ่ แทนด้วยตัวอักษร 1 ตัว คือ A – U

หมวดย่อย (Division) จ าแนกย่อยจากหมวดใหญ่ แทนด้วยเลขรหัสตัวที่ 1 – 2 หมู่ใหญ่ (Group) จ าแนกจากหมวดย่อยแทนด้วยเลขรหัสตัวที่ 1 – 3 หมู่ย่อย (Class) จ าแนกย่อยจากหมู่ใหญ่แทนด้วยเลขรหัสตัวที่ 1 – 4 ตัวอุตสาหกรรม (Industry) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่แต่ละประเทศจัดขึ้นเอง โดยจ าแนก

จากหมู่ย่อย แทนด้วยเลขรหัสที่ 1 - 5

การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมสากล (ISIC) จะจ าแนกประเภทไว้ถึงหมู่ย่อย เท่านั้น การจัดประเภทในระดับที่เล็กลงจากหมู่ย่อย องค์การสหประชาชาติให้เป็นหน้าที่ของแต่

ละประเทศ ในการพิจารณาจัดจ าแนกรายละเอียดตัวอุตสาหกรรมตามโครงสร้างเศรษฐกิจของ แต่ละประเทศซึ่งประเทศไทยได้จัดกลุ่มตัวอุตสาหกรรมในประเทศไว้เช่นกัน

ตารางโครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รหัส

หมวดใหญ่ เกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง A

หมวดย่อย การเพาะปลูกและการเลี ้ยงสัตว์ การล่าสัตว์และกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้อง 01

หมู่ใหญ่ การปลูกพืชล้มลุก 011

หมู่ย่อย การปลูกธัญพืช (ยกเว้นข้าว) พืชตระกูลถั่วและน ้ามันพืช 0111

อุตสาหกรรม การปลูกข้าวโพดที่ใช้เมล็ดแก่ 01111

ที่มา : การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยปี2552, ส านักงานสถิติแห่งชาติ2553.

ตารางประเภทอุตสาหกรรมที่เลือกศึกษาวิจัยในพื ้นที่จังหวัดนนทบุรี

อุตสาหกรรม รหัส

หมวดใหญ่ การผลิต C

หมวดย่อย การผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร 10

หมู่ใหญ่ การแปรรูปและการถนอมเนื้อสัตว์ 101

การแปรรูปและการถนอมสัตว์น ้า 102

การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก 103

การผลิตน ้ามันและไขมันจากพืชและจากสัตว์ 104

การผลิตผลิตภัณฑ์นม 105

การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโม่-สีธัญพืช สตาร์ชและผลิตภัณฑ์

จากสตาร์ช

106

การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ 107

การผลิตอาหารสัตว์ส าเร็จรูป 108

หมู่ย่อย * สามารถดูรายละเอียดได้ใน“หมู่ย่อย”

อุตสาหกรรม * สามารถดูรายละเอียดได้ใน “อุตสาหกรรม”

ที่มา : ประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม ปี 2552 , กรมโรงงานอุตสาหกรรม

131